WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aaaDดอน

ธปท.ยันเงินเฟ้อ พ.ค.63 ติดลบต่ำสุดรอบเกือบ 11 ปี ยังไม่เข้าข่ายเงินฝืด

  ธปท. ยืนยันเงินเฟ้อ พ.ค.63 ติดลบต่ำสุดในรอบเกือบ 11 ปี ยังไม่เข้าข่ายเงินฝืดตามนิยามของการดำเนินนโยบายการเงิน เหตุติดลบแค่ 3 เดือน - ส่วนใหญ่มาจากพลังงานกดดัน  - ประมาณการ 5 ปี ยังเป็นบวก

   นายดอน นาครทรรพ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจมหภาค สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในการดำเนินนโยบายการเงิน ธปท. อิงนิยามภาวะเงินฝืดของธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ซึ่งต้องเข้าเงื่อนไข 4 ข้อ ดังนี้

   1. อัตราเงินเฟ้อติดลบเป็นเวลานานพอสมควร (prolonged period)

   2. อัตราเงินเฟ้อติดลบกระจายในหลายๆหมวดสินค้าและบริการ

   3. การคาดการณ์เงินเฟ้อในระยะยาว (ปรกติดูที่ระยะ 5 ปี) ต่ำกว่าเป้าหมายระยะปานกลางอย่างมีนัย และ

   4. อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจติดลบ และอัตราว่างงานมีแนวโน้มสูงขึ้น

   หากพิจารณาตามเงื่อนไขดังกล่าว พบว่าอัตราเงินเฟ้อไทยติดลบมาเพียงสามเดือน แม้ประมาณการล่าสุดของ ธปท. จะให้อัตราเงินเฟ้อทั้งปีนี้ติดลบ แต่ยังมองว่าปีหน้าจะกลับเป็นบวกได้ อีกทั้งเป็นการติดลบจากราคาพลังงานเป็นสำคัญ ขณะที่การคาดการณ์เงินเฟ้อระยะ 5 ปี อยู่ที่ร้อยละ 1.8 ต่อปี ถือว่าใกล้เคียงกับกึ่งกลางของช่วงเป้าหมายเงินเฟ้อของ ธปท. ที่ร้อยละ 1-3 ต่อปี

  จึงยังไม่เข้าข่ายเงินฝืดตามนิยามของการดำเนินนโยบายการเงิน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจไทยยังมีความเสี่ยงเข้าสู่ภาวะเงินฝืดได้ หากเศรษฐกิจไทยหดตัวลึกหรือฟื้นตัวช้ากว่าที่ประเมินมาก โดย ธปท. จะติดตามพัฒนาการของเศรษฐกิจและเงินเฟ้ออย่างใกล้ชิด

   อนึ่งวันนี้  กระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (เงินเฟ้อทั่วไป) เดือนพ.ค. ที่ผ่านมา ติดลบ 3.44% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ติดลบมากสุดในรอบ 10 ปี 10 เดือน นั้บตั้งแต่ส.ค.52 และส่งผลให้ไทยเข้าสู่ภาวะเงินฝืด หลังจากติดลบต่อเนื่อง 3 เดือน

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!