WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

BOAจาตรงค จนทรงษ copyธปท.เล็งจัดชั้นลูกหนี้รับ IFRS9 รับมือศก.ผันผวน - ชะลอการเกิด NPL

  ธปท. ส่งหนังสือเวียนถึงแบงก์ เตรียมแผนปรับโครงสร้างหนี้ เล็งแผนจัดชั้นลูกหนี้ 3 ระดับ รองรับมาตรฐาน IFRS9 ช่วยผู้ประกอบการ - ลูกหนี้ชั้นดีเข้าถึงแหล่งเงินทุนรับมือศก.ผันผวน ชะลอการเกิด NPL ใหม่

 นายจาตุรงค์ จันทรังษ์ ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายกำกับสถาบันการเงิน 1 ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ในวันที่ 2 ตุลาคมที่ผ่านมา ธปท.ได้ออกหนังสือเวียนไปยังสถาบันการเงิน เพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และแนวนโยบายการปรับปรุงโครงสร้างหนี้

  โดยเฉพาะส่วนที่สถาบันการเงิน จะต้องปฏิบัติตามมาตรฐานรายงานทางการเงินฉบับที่ 9 (IFRS9) ที่จะเริ่มใช้ 1 มกราคม 2563 เพื่อส่งเสริมให้สถาบันการเงินปรับการจัดชั้นลูกหนี้ให้ยืดหยุ่นมากขึ้น

 ทั้งนี้ หนังสือเวียนดังกล่าว เป็นการส่งเสริมให้สถาบันการเงิน ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และพิจารณาให้สินเชื่อใหม่ แก่ลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพที่จะสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ โดยเฉพาะในภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีความไม่แน่นอน โดยขอให้สถาบันการเงินเร่งติดตามลูกหนี้และปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตั้งแต่เริ่มมีสัญญาณของปัญหาในการชำระหนี้ให้ลูกหนี้มีโอกาสบริหารจัดการกระแสเงินสดในการชำระหนี้ และช่วยให้ลูกหนี้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนเพิ่มขึ้นด้วย

     ที่ผ่านมาภาวะเศรษฐกิจมีความไม่แน่นอน ทั้งจากสงครามการค้าโลก และภาวะภัยธรรมชาติในประเทศที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อรายได้ของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจ SME ธปท.จึงได้สื่อสารไปยังสถาบันการเงินผู้ปล่อยสินเชื่อ ให้ช่วยลูกหนี้แก้ไขปัญหาหรือปรับโครงสร้างหนี้ให้กับลูกหนี้ SME ที่ได้รับผลกระทบและยังมีเสถียรภาพให้สามารถดำเนินธุรกิจไปได้ ”นายจาตุรงค์ กล่าว

  สำหรับ สาระสำคัญของหลักเกณฑ์ และแนวนโยบายการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ตามหลักการของ TFRS9 กำหนดให้การพิจารณาสถานะหรือชั้น (Stage) ของลูกหนี้ จะแบ่งชั้นลูกหนี้แบบใหม่เป็น 3 ระดับชั้น คือ Stage 1 กลุ่มที่ไม่มีการเพิ่มขึ้นของความเสี่ยงด้านเครดิต Stage2 กลุ่มที่มีความเสี่ยงด้านเครดิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งลูกหนี้ Stage 1-2 จะไม่นับว่าเป็น NPL ด้าน Stage3 กลุ่มลูกหนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) ที่ค้างชำระตั้งแต่ 90 วันขึ้นไป

 ด้านการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่ยังไม่เป็น NPL จะเป็นการปรับปรุงโครงสร้างเชิงป้องกัน ซึ่งจะไม่เป็นการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ที่มีปัญหา (Troubled debt restructuring หรือ TDR) ซึ่งการเข้าไปช่วยเหลือลูกหนี้จะมีทั้ง การติดตามดูแลลูกหนี้อย่างใกล้ชิด การปรับหนี้ตั้งแต่ลูกหนี้เริ่มมีสัญญาณปัญหาการชำระหนี้ เป็นต้น

 สำหรับ การปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เช่น ขยายระยะเวลาการชำระหนี้ การลดอัตราดอกเบี้ย การให้สินเชื่อเพิ่มเติม เป็นต้น โดยมีข้อดี คือ ช่วยให้ลูกหนี้ที่ยังมีศักยภาพสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้ ช่วยรองรับแรงกดดันจากภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน และช่วยให้ลูกหนี้สามารถพลิกฟื้นธุรกิจได้ทันท่วงที

  นายจาตุรงค์ กล่าวว่า สำหรับลูกหนี้ที่เป็น NPL หากสถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้ สามารถเลื่อนชั้นลูกหนี้จาก Stage3 เป็น Stage2 ถ้าลูกหนี้สามารถชำระหนี้ได้ติดต่อกัน 3 เดือน หรือ 3 งวด ตามเงื่อนไขใหม่ได้ และหลังจากนั้นหากสถาบันการเงินพิจารณาว่าลูกหนี้จะสามารถปฏิบัติได้ตามสัญญาและไม่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น สถาบันการเงินสามารถพิจารณาลูกหนี้ขึ้นเป็น Stage1 โดยไม่ต้องรอครบ 9 เดือนตามที่สภาวิชาชีพบัญชีกำหนด

  ขณะเดียวกัน หากสถาบันการเงินเห็นว่าการให้สินเชื่อประเภทเงินทุนหมุนเวียน (Working capital) แก่ลูกหนี้ NPL เพิ่มเติมจะช่วยให้ลูกหนี้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างต่อเนื่องให้สถาบันการเงินพิจารณาให้สินเชื่อเพิ่มเติมแก่ลูกหนี้ที่ปรับโครงสร้างหนี้นั้นได้

    ทั้งนี้ ธปท.หวังให้ภาคธุรกิจไทย โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจเอสเอ็มอี ซึ่งเป็นฐานรากสำคัญของเศรษฐกิจไทยให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้ง่ายขึ้น เพื่อใช้ในการดำเนินงานและต่อยอดธุรกิจต่อไปได้ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน

  “แม้ในระยะต่อไป NPL ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น จากภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอน ธปท.จึงได้ออกหลักเกณฑ์ปรับปรุงโครงสร้างหนี้ เพื่อส่งเสริมให้สถาบันการเงินปรับปรุงโครงสร้างหนี้ พิจารณาสินเชื่อใหม่ รวมถึงเข้าไปช่วยเหลือผู้ประกอบการที่เริ่มส่งสัญญาณว่าจะมีปัญหา เพื่อหวังว่าจะหยุดการเติบโตของ NPL ได้”นายจาตุรงค์ กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย- -9 ต.ค. 62 11:30 น.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!