- Details
- Category: ธปท.
- Published: Sunday, 01 September 2019 22:06
- Hits: 6900
ธปท.ยันยังไม่คุม DSR ในปีนี้ แต่ฝากสถาบันการเงินเข้มงวดสินเชื่อมากขึ้น
ธปท. ยันยังไม่มีมาตรการคุมภาระหนี้ต่อรายได้สูงสุด (DSR) ในปีนี้ ชี้ยังอยู่ในช่วงกำหนดมาตรฐานค่ากลาง พร้อมให้สถาบันการเงินนำหลักการการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบไปใช้ แต่พร้อมมีมาตรการควบคุมหากพบสถานการณ์มีความเปราะบางมากขึ้น
นายรณดล นุ่มนนท์ รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภายหลังจากที่ ธปท. ได้ออกมาตรการเพื่อดูแลปัญหาหนี้ครัวเรือนในช่วงที่่ผ่านมา และมีกระแสข่าวว่า ธปท. อาจมีมาตรการคุมภาระหนี้ต่อรายได้สูงสุด หรือ debt service ratio (DSR) limit เพิ่มเติม ธปท. ยืนยันว่ายังไม่ได้มีแผนที่จะนำมาตรการนี้มาบังคับใช้ภายในปีนี้
สำหรับ ปัจจุบัน ธปท. อยู่ระหว่างการร่วมกับสถาบันการเงินใน 2 เรื่อง คือ การกำหนดมาตรฐานกลางในการคำนวณ DSR ทั้งในส่วนภาระหนี้และรายได้ของผู้กู้ ซึ่งปัจจุบันสถาบันการเงิน แต่ละแห่งมีวิธีการคำนวณที่แตกต่างกัน โดยล่าสุดได้มีข้อตกลงมาตรฐานกลาง DSR ร่วมกันแล้ว ซึ่งคาดว่าจะเริ่มรายงานข้อมูล DSR ตามมาตรฐานกลางให้ ธปท. ได้ภายในไตรมาส 4 ปีนี้ และการผลักดันให้สถาบันการเงินนำหลักการการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ (responsible lending) ไปใช้ โดยลูกหนี้ต้องมีเงินเพียงพอสำหรับดำรงชีพหลังชำระหนี้แล้ว (affordability)
อย่างไรก็ตาม ธปท. จะติดตามปัญหาหนี้ครัวเรือนอย่างใกล้ชิด ส่วนหนึ่งผ่านข้อมูล DSR ตามมาตรฐานกลางที่ธนาคารพาณิชย์รายงาน ซึ่งหากพบว่าสถานการณ์มีความเปราะบางมากขึ้น ธปท. อาจพิจารณาออกเกณฑ์การกำกับดูแลที่เหมาะสม โดยพิจารณาถึงสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจและการเงิน กรอบการบังคับใช้และจังหวะเวลาที่เหมาะสม รวมทั้งคำนึงถึงผลกระทบที่มีต่อทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างรอบด้าน
ธปท.จับแบงก์พาณิชย์ทำข้อตกลงปล่อยสินเชื่อ แก้หนี้ครัวเรือนพุ่ง
นางวจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยในงาน 'Media Briefing: การธนาคารเพื่อความยั่งยืน” ระบุ สมาคมธนาคารไทยจับมือแบงก์ลงนามแนวทางการให้สินเชื่ออย่างรับชอบในวันที่ 13 ส.ค. นี้ หลังธปท. วิตกหนี้ครัวเรือนยังพุ่ง เหตุการให้สินเชื่อเกินตัว โดยมีสาระสำคัญดังนี้
ในวันที่ 13 ส.ค. 62 จะมีการลงนามบันทึกข้อตกลงระหว่างธนาคารแห่งประเทศไทย และสมา่ชิกสมาคมธนาคารไทย ถึงแนวนโยบายการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ(Responsible Lending) ซึ่งหนึ่งในนั้น คือ แนวนโยบายการให้สินเชื่อรายย่อยอย่างเหมาะสมเพื่อดูแลปัญหาหนี้เกินตัวของภาคครัวเรือน (Responsible Lending Directive) เนื่องจาก 10 ปีที่ผ่านมาสถานการณ์หนี้ครัวเรือนเร่งตัวขึ้นมากคนไทยเป็นหนี้เร็วขึ้น มากขึ้น นานขึ้น โดยหนี้ครัวเรือนต่อจีดีพีเพิ่มขึ้นกว่า 25% จากปี 52 อยู่ที่ 53.5% เป็น 78.7% ในปี 61 เป็นอันดับ 2 ของเอเชีย ส่วนอันดับ 1 เป็นเกาหลีใต้ อยู่ที่ 97.7% ซึ่งคนอายุ 60-69 ปี มีหนี้เฉลี่ย 453,438 บาทต่อราย และ คนอายุ 70-79 ปี มีหนี้เฉลี่ย 287,932 บาทต่อราย
แนวนโยบายดังกล่าว ประกอบด้วย 5 ข้อ 1.ปลูกฝังวัฒนธรรมองค์กรที่คำนึงถึงผลกระทบต่อลูกค้า โดยสิ่งที่ควรทำ คือ การกำหนด KPI พนักงานที่ผูกกับเป้าสินเชื่อเป็นหลักทำให้พนักงานมีแนวโน้มเสนอผลิตภัณฑ์ โดยไม่ดูถึงความต้องการของลูกค้า 2.การพัฒนาและออกแบบผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมกับลูกค้า โดยสิ่งที่ไม่ควรทำ คือ การออกแบบผลิตภัณฑ์สินเชื่อที่ผ่อนน้อยช่วงแรกแต่จ่ายก้อนใหญ่ในช่วงท้ายจนเกินความสามารถในการชำระหนี้ 3.การเสนอขายผลิตภัณฑ์โดยแจ้งรายละเอียดที่ชัดเจน และ ไม่กระตุ้นการก่อหนี้เกินความจำเป็น 4.การพิจาณาให้สินเชื่อ โดยคำนึงถึงความสามารถของผู้กู้ และ ยังมีเงินเหลือดำรงชีพได้ และ 5. กำหนดเงื่อนไขในสัญญาที่เป็นธรรมต่อลูกค้าเป็นหนี้เพิ่มขึ้นโดยไม่จำเป็น
“หลังการเซ็น MOU อยากเห็นแบงก์มีแผนปฏิบัติในทันที และ มีการปรับกระบวนการทำงานภายในให้ตอบโจทย์ทั้ง 5 ข้อ โดยจะเริ่มใช้ม.ค. 63 และ จะมีการรับฟังความคิดเห็นของสถาบันการเงินในเดือนนี้”นางวจีทิพย์ กล่าว
นอกจากนี้ ธปท. ยังจะมีการติดตามภาระหนี้ต่อรายได้(DSR) โดยเฉพาะสินเชื่อที่ให้กับกลุ่มเปราะบาง ซึ่งต้องการให้สถาบันการเงินติดตามลูกค้าที่มีกลุ่มเสี่ยงรวดเร็วและใกล้ชิดมากกว่ากลุ่มปกติ โดยธปท.จะเข้าไปติดตามกระบวนการภายในของสถาบันการเงินว่ามีประสิทธิภาพที่เพียงพอหรือไม่ ซึ่งเชื่อว่าคุณภาพหนี้ของสินเชื่อที่ปล่อยใหม่ดีขึ้น และ NPL จะลดลง แต่อย่างไรก็ตาม แนวนโยบายดังกล่าวไม่ได้เป็นข้อกฎหมายบังคับ แต่สถาบันการเงินควรที่จะปฏิบัติ มิฉะนั้นจะถูกภาคสังคมเข้ามาร่วมกดดัน เพราะหัวใจสำคัญของการทำธุรกิจ คือ ให้ความสำคัญกับความยั่งยืน การทำธุรกิจต้องมองกว้างกว่ากำไรของบริษัท และ คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมมาภิบาล
“การดำเนินงานต้องมองไกล ไม่ใช่มองระยะสั้นเฉพาะวันนี้ หรือ หวังกำไรระยะสั้น แต่ต้องมองเพื่อกำไรระยะยาว เราไม่ได้ห้ามไม่ให้แบงก์ปล่อยสินเชื่อ แต่ให้ขยับมุมมองที่มองแล้วว่าลูกหนี้จะจ่ายหนี้ได้ไหม”นางวจีทิพย์ กล่าว
แบงค์ชาติ เตรียมออกเกณฑ์ให้สถาบันการเงิน มีส่วนสร้างสังคมยั่งยืน
แบงก์ชาติ เตรียมออกแนวทาง 'การธนาคารเพื่อความยั่งยืน' เน้นดูแลการให้สินเชื่อสถาบันการเงิน ให้ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ พบคนไทยอายุ 60 แล้วยังมีหนี้ติดตัวกว่า 4 แสนบาท
ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เตรียมออกแนวนทางดูแลการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมมากขึ้น โดยจะเริ่มออกแนวทางใช้กับสถาบันการเงินในปีหน้า
แนวทางดังกล่าวเป็นไปตามทิศทางกระแสการเปลี่ยนแปลงของโลก ที่เริ่มหันมาใช้กลไกตลาดทุนตลาดเงินเพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับสังคมและสิ่งแวดล้อม
วจีทิพย์ พงษ์เพ็ชร ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายงานนโยบายและสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) กล่าวว่าธปท.จะให้ความสำคัญกับนโยบายธนาคารเพื่อความยั่งยืน โดยธนาคารจะต้องมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ตามหลักธรรมาภิบาล(ESG : Environment , Social , Governance)
ดังนั้น สิ่งที่ธนาคารจะต้องคำนึงถึงคือเมื่อธนาคารเป็นผู้รับฝากเงินแล้วนำเงินไปให้ผู้กู้ ธนาคารจะต้องจัดสรรค์สัดส่วนเงินให้ถูกต้อง เมื่อปล่อยกู้แล้วผู้ประกอบการรายดังกล่าวนำเงินไปทำธุรกิจที่ทำลายโลกหรือไม่ ? ใช้แรงงานเด็กหรือไม่ ? และเมื่อปล่อยกู้แล้ว ผู้กู้จะมีความสามารถในการคืนเงินหรือไม่ ?
ขณะที่การไม่มีธรรมาภิบาล สามารถส่งผลกระทบได้มากมาย ทั้งเรื่องของสิ่งแวดล้อมและสังคม ทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในสังคม และทำให้เกิดการคอร์รัปชั่น ซึ่งหากธนาคารปล่อยหนี้สินมากเกินไปก็จะทำให้เกิดหนี้สินครัวเรือนมากยิ่งขึ้น และอาจจะทำให้เกิดการเอาเปรียบผู้บริโภค ซึ่งนโยบายก็ต้องออกหลักเกณฑ์ที่จะมาดูแลสถาบันการเงินไม่ให้ล้ำเส้นออกไป
การผลักดันด้านสิ่งแวดล้อมในระดับสากล
ด้วยปัญหาที่ทวีความรุนแรงมากขึ้นหน่วยงานระหว่างประเทศได้มีการกำหนดกรอบพัฒนามาตรฐานต่างๆที่มุ่งเน้นเพื่อความยั่งยืน ซึ่งทางสหประชาชาติได้มีการเน้นในเรื่องของความเท่าเทียมกันในสังคม ซึ่งหนึ่งในนโยบายที่มีผลกระทบต่อประเทศไทยโดยตรงคือ “ข้อตกลงปารีส” (Paris Agreement) ซึ่งเป็นข้อตกลงว่าด้วยการลดการใช้คาร์บอนในการผลิต ซึ่งจะนำข้อตกลงนี้มาปรับให้เข้ากับธนาคารพาณิชย์ได้อย่างไร ?
ในส่วนนี้จะเข้ามาเกี่ยวข้องในการอนุมัติเงินทุนให้กับธุรกิจต่างๆที่ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอน โดยธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการกำหนดนโยบายการธนาคารที่ยั่งยืน ด้วยการสร้างวัฒนธรรมของธนาคารให้คำนึงถึงความยั่งยืนเป็นสำคัญ และมีการสร้างมาตรฐานในการดำเนินงานของธนาคาร(Code of Conduct)
ที่ผ่านมาได้มีการปรับกระบวนการในการทำงาน ของธนาคารไม่ว่าจะเป็นการออก เงินกู้สำหรับธุรกิจสีเขียว(Green Bond)เงินกู้เพื่อความยั่งยืน(Sustainable Bond) รวมถึงมีการออกผลิตภัณฑ์ใหม่ที่เกี่ยวข้องกับหลักธรรมาภิบาล ไม่ว่าจะเป็น สินเชื่อพลังงานทดแทน และ บัญชีเงินฝากขั้นพื้นฐาน
ที่ผ่านมาธนาคารแห่งประเทศไทยได้มีการจัดการ Bangkok Sustainable Banking Forum 2018 ด้วยการเชิญผู้เชี่ยวชาญเข้ามาให้ความรู้และร่วมพูดคุยเกี่ยวกับการสร้างการธนาคารเพื่อความยั่งยืน และในปีนี้ก็ได้มีการจัดงานเวิร์คชอปและสัมมนา เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับความสำเร็จในการสร้างความนั่งยืนในประเทศต่างๆ บันทึกให้ฉันซักดันในการทำให้ธนาคารพาณิชย์ลดปัญหาหนี้ครัวเรือน
แนวนโยบายการให้สินเชื่อรายย่อยอย่างเหมาะสมเพื่อดูแลปัญหาหนี้เกินตัวของภาคครัวเรือน(Responsible Lending Directive)
สาเหตุที่ธนาคารแห่งประเทศไทยจำเป็นต้องดำเนินการตามนโยบายดังกล่าว เนื่องจากประเทศไทยมีลูกหนี้เพิ่มมากขึ้นและระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา หนี้ครัวเรือนต่อ GDP ของไทยเพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 25 และมีแนวโน้มที่จะเป็นหนี้นานมากขึ้น โดยคนอายุ 60-69 ปี มีหนี้เฉลี่ย 453,498 บาท/คน และอายุ 70-79 ปี มีหนี้เฉลี่ย 287,932 บาท/คน
ประเทศไทยมีหนี้ครัวเรือนสูงเป็นอันดับ 2 ของเอเชีย โดยร้อยละ 50 ของคนไทยอายุ 30 ปีมีหนี้ติดตัว ทั้งประเทศคนไทยมีหนี้อยู่ประมาณ 21 ล้านคนและในนั้น 3 ล้านคนหรือ 15.9% เป็นหนี้เสีย
สิ่งหนึ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทยมาดำเนินการแก้ไขให้ครัวเรือน คือ สร้างความรู้ทางการเงินให้กับประชาชนก่อนเป็นหนี้ และ สถาบันการเงินต้องมีการให้สินเชื่อยังมีความรับผิดชอบ ในเมื่อเป็นหนี้ล้นพ้นตัวก็จำเป็นที่จะต้องมีการปรับโครงสร้างหนี้ให้กับประชาชน ซึ่งสถาบันการเงินจะต้องมีการให้สินเชื่อด้วยความรับผิดชอบประกอบด้วย หลัก 3 IN คือ
– INcome คำนึงถึงสถานการณ์การเงินของลูกค้าและความสามารถในการชำระหนี้เพิ่มมากขึ้น
– INdividual การวิเคราะห์ว่าเงินกู้ดังกล่าวตรงกับความต้องการของลูกค้าและตรงกับภูมิหลังของลูกค้าหรือไม่
– INfinity(debt) และสถาบันทางการเงินจะต้องไม่ชี้ชวนและเสนอเงินกู้ ให้กับลูกค้าที่มีหนี้มากอยู่แล้ว
ธนาคารแห่งประเทศไทยคาดหวังว่า สถาบันทางการเงินจะมีพฤติกรรมที่ตระหนักถึงการให้สินเชื่ออย่างเหมาะสมตลอดทั้งกระบวนการ โดยการกำหนดนโยบายในการทำธุรกิจสินเชื่อรายย่อยให้มีความสำคัญกับคุณภาพชีวิตและความสามารถในการดำรงชีพของลูกค้า ไม่ให้กรณีเกินตัว และคาดหวังว่าสถาบันการเงินจะจัดทำรายงานประเมินพฤติกรรมการให้สินเชื่อรายย่อย บอกถึงการติดตามสินเชื่อปล่อยใหม่ให้แก่ผู้กู้กลุ่มเปราะบาง และการนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมให้กับลูกค้าในด้านความต้องการและความจำเป็น รวมทั้งความสามารถทางการเงิน
“ธนาคารเพื่อความยั่งยืนจะมีเรื่องที่เพิ่มเติมออกมานอกเหนือจากกฎหมายที่มีการบังคับอยู่ โดยส่วนตัวเชื่อว่าธนาคารแห่งประเทศไทยสามารถใช้กลไกทางสังคมและกลไกของลูกค้าในการบังคับให้ธนาคารและสถาบันทางการเงินปรับตัวเพิ่มมากขึ้น โดยนโยบายนี้จะมีความชัดเจนเพิ่มมากขึ้นในปี 2563”
ในวันที่ 13 ส.ค. 62 จะมีการจัดงาน Bangkok Sustainable Banking Forum 2019 ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถาบันการเงินได้นำหลักการธนาคารเพื่อความยั่งยืนเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการดำเนินธุรกิจอย่างเป็นรูปประธรรม ซึ่งภายในงานจะมีการลงนามบันทึกข้อตกลง Sustainable Banking Guideline ในเรื่องของ Respirable Lending ของสมาคมธนาคารไทย ซึ่งจะเป็นก้าวสำคัญของธนาคารไทยในการยกระดับสินเชื่อให้คำนึงถึงหลักธรรมาภิบาลเป็นสำคัญ
5 อันดับดอกเบี้ยเงินฝากสูงสุด มากกว่า3%คนที่มีรายได้จาก "เงินฝาก" รู้สึกย่ำแย่ลงมาหลายปี ในยุคที่เงินทองล้นโลก ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยทั่วโลก รวมถึงของไทยต่ำเป็นประวัติการณ์ แต่ก็ยังมีเงินฝากบางประเภท ทั้งมีเงื่อนไขและปลอดเงื่อนไข ให้คนที่ต้องการมีรายได้จากดอกเบี้ยให้ความสนใจmoney2know - เงินทองต้องรู้ ประกันสุขภาพแบบเหม่าจ่าย ไม่จำกัดวงเงิน เพียงยื่นบัตรนี้ สมัครเลยGenerali Thailand| Sponsored