- Details
- Category: แบงก์พาณิชย์
- Published: Sunday, 17 December 2017 20:13
- Hits: 2402
สภาแบงก์รัฐ'ตื่นทำ BigData ยกเครื่องฐานข้อมูลลูกค้า คลังผุดกม.ธนาคารชุมชน
ไทยโพสต์ * ‘สภาแบงก์รัฐ’ จัดแถวทำ Big Data รวมฐานข้อมูลลูกค้าบุคคลกว่า 40 ล้านรายเสนอภาครัฐแก้กฎหมายให้ทุกหน่วยงานเปิดเผยข้อมูล พร้อมจัดทำกฎหมายสถาบันการเงินประชาชน
นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (แบงก์รัฐ) กำลังเริ่มต้นเดินหน้าโครงการการจัดทำฐานข้อมูลรวม (Big Data) เพื่อใช้เป็นฐานข้อมูลให้แก่ภาครัฐในการกำหนดนโยบายให้เข้าถึงและตรงกับความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย เนื่องจาก ปัจจุบันธนาคารออมสิน มีฐานลูกค้าทั้งหมดกว่า 20 ล้านราย ธนาคารเพื่อการเกษตรและ สหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มีฐาน ลูกค้าอักกว่า 20 ล้านราย ธนา คารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) มีฐานลูกค้ากว่า 2 ล้านราย รวมแล้วเฉพาะแบงก์รัฐที่มีขนาดใหญ่มีฐานลูกค้าบุคคลรวมกันมากกว่า 40 ล้านราย
ทั้งนี้ การทำ Big Data ในส่วนของแบงก์รัฐ จะทำในฐานะของสภาสถาบันการเงินเฉพาะกิจ (สภาแบงก์รัฐ) เพื่อนำไปเชื่อมโยงกับข้อมูล Big Data ของ 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มสาธารณูปโภค และกลุ่มท่องเที่ยวซึ่งในระยะต่อไปภาครัฐจำเป็นต้องมีการแก้กฎหมายรวมของทั้งประเทศให้ทุกหน่วยงานสามารถเปิดเผยข้อมูลระหว่างกันได้
ข้อมูลที่ได้จะเอามาผนวกเข้าด้วยกัน สามารถรู้ได้ว่าคนๆ หนึ่ง หรือในคนที่มีการลงทะ เบียนผู้มีรายได้น้อยกว่า 11 ล้านคน แต่ละคนมีภาระหนี้สินอยู่ที่ไหน เท่าไรบ้าง มีอัตราการใช้น้ำใช้ไฟต่อเดือนเท่าไร ถ้าหากมีการใช้ไฟเยอะ ก็สามารถสังเคราะห์ได้ว่าคนไม่ได้จนอย่างที่คิด เพราะอาจมีเครื่องใช้ไฟ ฟ้าเยอะ ที่บ้านติดแอร์ มีรถยนต์ขับสบาย ก็จะหลุดออก จากความช่วยเหลือตามมาตรการของรัฐไป" นายชาติชายกล่าว
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง ระบุว่า กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างจัดทำร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) สถาบันการเงินประชาชน พ.ศ.... ซึ่งจะเป็นกฎหมายใหม่ เพื่อให้มีกฎหมายรับรองสถานะองค์กรการเงินระดับชุมชนให้มีสภาพความเป็นนิติบุคคล และบูรณา การการทำงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในด้านการเงินให้แก่ชุมชนระดับฐานราก ซึ่งจะช่วยลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมโดยการสร้างโอกาสการเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึง
ทั้งนี้ องค์กรการเงินระดับฐานรากที่มีอยู่ในปัจจุบัน ยังให้บริการทางการเงินได้ไม่ครบถ้วน ขาดความยั่งยืนในการดำเนินการ และขาดความมั่นคงจากข้อจำกัดด้านการจัดการ ด้านการบริหารความเสี่ยง และด้านบัญชีแก่สมาชิกในองค์กร ซึ่งเป็นผลมาจากการทำธุรกรรมระดับชุมชนยังพึ่งพาการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านตัวบุคคล เนื่อง จากการขาดสภาพความเป็นนิติบุคคล ขาดการกำกับดูแล และสนับสนุนด้านการดำเนินงานจากหน่วยงานทางการเงิน
นอกจากนี้ ยังไม่มีการบูรณา การฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมขององค์กรการ เงินระดับฐานราก เพื่อนำมาประกอบการพิจารณาจัดทำนโยบายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการ รับรองสภาพความเป็นนิติ บุคคลขององค์กรการเงินระดับชุมชนเป็นสถาบันการเงินประ ชาชน จะทำให้สมาชิกเข้าถึงธุรกรรมทางการเงินได้ทั่วถึง
"การเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างทั่วถึงเป็นเป้าหมายสำคัญของภาครัฐ จะช่วยสร้างโอกาสที่เท่าเทียมด้านการเงินให้แก่ประชาชน แต่เนื่องจากองค์กรการเงินระดับฐานรากที่มีอยู่ในปัจจุบันส่วนมากยังให้ บริการทางการเงินไม่ครบถ้วนทำให้ต้องพึ่งแหล่งเงินนอกระบบ อาจก่อให้เกิดความเสีย หายและส่งผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจในวงกว้างได้" รายงาน ระบุ.