- Details
- Category: แบงก์พาณิชย์
- Published: Wednesday, 15 November 2017 19:29
- Hits: 3726
ซิตี้แบงก์ ประเทศไทย จับมือ แฟรงคลิน เทมเพิลตัน เปิดตัว 6 กองทุนต่างประเทศในประเทศไทย
• จากการฟื้นตัวของตลาดการเงินใน 3 ไตรมาศที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ซิตี้แนะนำให้นักลงทุนควรรักษาผลกำไรของตน โดยการปรับสมดุลและกระจายพอร์ตการลงทุนในช่วงไตรมาส 4 นี้
• เผยสถานการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและ ผลประกอบการของกิจการ ในปี 2561 จะมีการขยายตัวในอัตรา 3.4% และ 9% ตามลำดับ ทั้งนี้นักวิเคราะห์ซิตี้เชื่อว่ายังมีโอกาสสำหรับนักลงทุนอยู่ โดยให้น้ำหนักไปที่ตลาดเกิดใหม่และตลาดตราสารทุนกลุ่มยูโรโซน
ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย จับมือ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแฟรงคลิน เทมเพิลตัน เปิดตัว 6 กองทุนต่างประเทศ ประกอบไปด้วย 3 กองทุนแรกในชื่อ กองทุนกลุ่ม NextStep Series อันประกอบไปด้วย กองทุน Franklin NextStep Stable Growth Fund กองทุน Franklin NextStep Balanced Growth Fund และกองทุน Franklin NextStep Dynamic Growth Fund โดยทั้งสามกองทุนเป็นกองทุนมัลติแอสเซทที่เน้นลงทุนในตราสารทุน ตราสารหนี้ และสินทรัพย์ทางเลือกทั่วโลก และอีก 3 กองทุน ได้แก่ กองทุน Templeton Emerging Market Smaller Companies Fund กองทุน Franklin Technology Fund กองทุน Franklin Floating Rate Fund PLC
นักวิเคราะห์ซิตี้แนะนำว่านักลงทุนควรรักษาผลกำไรของตน โดยการปรับสมดุลและกระจายพอร์ตการลงทุนในช่วงไตรมาส 4 นี้ โดยสถานการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและผลประกอบการของกิจการ ในปี 2561 จะมีการขยายตัวในอัตรา 3.4% และ 9% ตามลำดับ ทั้งนี้นักวิเคราะห์ซิตี้เชื่อว่ายังมีโอกาสสำหรับนักลงทุนอยู่ โดยให้น้ำหนักไปที่ตลาดเกิดใหม่และตลาดตราสารทุนกลุ่มยูโรโซน
ทั้งนี้ ซิตี้แบงก์ ประเทศไทย ร่วมกับ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแฟรงคลิน เทมเพิลตันจัดงานเปิดตัวความร่วมมือทางธุรกิจ เมื่อเร็วๆนี้ ณ โรงแรมสยามเคมปินสกี้ กรุงเทพฯ สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือเข้ารับการบริการแนะนำการลงทุนได้ที่ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย www.citibank.co.th หรือ www.citi.co.th.
นายดอน จรรย์ศุภรินทร์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ ฝ่ายบุคคลธนกิจ ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า จากการฟื้นตัวของตลาดตราสารทุนและตราสารหนี้ ตั้งแต่ต้นปี 2560 นักวิเคราะห์ซิตี้แนะนำว่านักลงทุนควรรักษาผลกำไรของตน โดยการปรับสมดุลและกระจายพอร์ตการลงทุนในช่วงไตรมาส 4 นี้ โดยสถานการณ์ภาพรวมเศรษฐกิจโลกและผลประกอบการของกิจการ ในปี 2561 จะมีการขยายตัวในอัตรา 3.4% และ 9% ตามลำดับ ทั้งนี้นักวิเคราะห์ซิตี้เชื่อว่ายังมีโอกาสสำหรับนักลงทุนอยู่ โดยให้น้ำหนักไปที่ตลาดเกิดใหม่และตลาดตราสารทุนกลุ่มยูโรโซน
นายดอน กล่าวต่อว่า นักวิเคราะห์ซิตี้ได้กล่าวถึง ปัจจัยพื้นฐาน 2 ประการ ที่ส่งผลต่อตลาดโลกในปี 2561 ได้แก่ประการแรก การฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และประการที่ 2 การปรับใช้นโยบายการเงินแบบเข้มงวดของธนาคารกลางสหรัฐอย่างค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้นักวิเคราะห์ซิตี้คาดว่าในปีหน้า ผลตอบแทนในสินทรัพย์เสี่ยงจะเพิ่มขึ้นในระดับปานกลาง และตลาดอาจมีการปรับตัวลงบ่อยครั้ง โดยซิตี้ยังคงให้น้ำหนักไปที่ตราสารทุนในตลาดเกิดใหม่ อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากความแข็งแกร่งของสินทรัพย์ในตลาดเกิดใหม่ นักลงทุนอาจเผชิญกับการปรับตัวเล็กน้อย สำหรับตราสารทุนยุโรปคาดว่ามีทิศทางที่เป็นบวก แต่นักลงทุนควรเฝ้าระวังความเสี่ยงด้านการเมือง
ในปี 2560 ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย ได้ร่วมมือกับบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน แฟรงคลิน เทมเพิลตัน เสนอขายกองทุนให้กับนักลงทุนไทยเป็นครั้งแรก ภายใต้รูปแบบการลงทุนในกองทุนต่างประเทศโดยตรง โดยพอร์ตการลงทุนเหล่านี้ ได้รับการออกแบบมาโดยเฉพาะสำหรับนักลงทุนในปัจจุบัน ซึ่งลูกค้าสามารถเข้าถึงการจัดการการลงทุนระดับโลกที่ออกแบบมาคลอบคลุมกับความเสี่ยงของลูกค้าแต่ละกลุ่ม การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่เป็นหนึ่งในกลยุทธ์ของธนาคารเพื่อนำเสนอผลิตภัณฑ์และการลงทุนที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า รวมถึงการเปิดตัวเครื่องมือวางแผนทางการเงิน โทเทิล เวลท์ แอดไวเซอร์ โดยในปีนี้ ธนาคารได้ออกผลิตภัณฑ์ใหม่ 30 กองทุน 5 ตราสารหนี้ รวมผลิตภัณฑ์ทั้งสิ้น 161 กองทุน 46 ตราสารหนี้ นายดอน กล่าวสรุป
1 ใน 6 กองทุนที่เป็นไฮไลท์ของงานเปิดตัว คือกองทุนกลุ่ม 'NextStep Series'เป็น 3 กองทุนที่มีความหลากหลายและรวบรวมความต้องการของนักลงทุนในปัจจุบันไว้อย่างครบถ้วน เพื่อตอบโจทย์เป้าหมายทางการเงินตามระดับความเสี่ยงของนักลงทุน โดยพอร์ตการลงทุนเน้นลงทุนในตราสารทุน ตราสารหนี้ และสินทรัพย์ทางเลือกทั่วโลก
กองทุนกลุ่ม'NextStep Series'เป็นกองทุนมัลติแอสเซท (Milti-Asset) เน้นการลงทุนในตราสารทุนและตราสารหนี้ ทั่วโลก โดยมีการกระจายการลงทุนตามกลยุทธ์ของแต่ละกองทุน ได้แก่
1. กองทุน Franklin NextStep Stable Growth Fund โดยกลยุทธ์การลงทุนนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงต่ำถึงปานกลาง หรือนักลงทุนที่ต้องการลดความผันผวนของตลาดหรือผู้ที่ต้องการลงทุนเป็นระยะเวลาสั้น เช่น ผู้เกษียณอายุ
2. กองทุน Franklin NextStep Balanced Growth Fund เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับปานกลาง คาดหวังผลตอบแทนที่เติบโตในระยะยาว และต้องการกระจายการลงทุนแบบสมดุลเพื่อผลตอบแทนและความเสี่ยงโดยรวม
3. กองทุน Franklin NextStep Dynamic Growth Fund เป็นกองทุนที่เหมาะสำหรับนักลงทุนที่ต้องการเพิ่มศักยภาพในการสร้างผลตอบแทนในระยะยาว และมีความสามารถในการยอมรับความผันผวนของตลาดได้มากและสามารถยอมรับความเสี่ยงได้ในระดับสูง
มร. ริคกี้ ชาว ผู้อำนวยการฝ่าย Multi-Asset Solutions ประจำภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแฟรงคลิน เทมเพิลตัน กล่าวว่า กองทุนกลุ่ม NextStep Series นักลงทุนสามารถมอบความไว้วางใจให้แก่ผู้จัดการกองทุนที่มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการความผันผวนของตลาด โดยมีการปรับสมดุลพอร์ตการลงทุนให้เหมาะสมอยู่เป็นระยะ เพื่อให้บรรลุผลสำเร็จ และได้รับผลกระทบจากความผันผวนน้อยที่สุด
บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแฟรงคลิน เทมเพิลตันเป็นคู่ค้าธุรกิจกับธนาคารซิตี้แบงก์ ทั่วโลก เรามีความยินดีที่ได้ร่วมมือกับธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย ในการออกผลิตภัณฑ์กองทุนกลุ่ม NextStep Series ประเทศไทยเป็นตลาดที่มีศักยภาพเติบโตจากกลุ่มนักลงทุนเกิดใหม่ที่มีฐานะ เรามุ่งหวังที่จะนำเสนอนวัตกรรมด้านผลิตภัณฑ์ใหม่ๆในอนาคต เพื่อตอบสนองความต้องการของนักลงทุนในประเทศไทย ให้สามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการด้านการลงทุนที่ดีที่สุด มร. ริคกี้ กล่าวสรุป
แฟรงคลิน เทมเพิลตัน เป็น บลจ.ขนาดใหญ่จากประเทศสหรัฐอเมริกา มีเครือข่ายให้บริการการจัดการด้านการลงทุน ระดับโลกแก่ลูกค้ารายย่อยและสถาบันการเงินในกว่า 170 ประเทศ มีความชำนาญในการบริหารสินทรัพย์ประเภทต่างๆ ทั้งตราสารทุน ตราสารหนี้ และสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องอื่นๆ โดยเฉพาะการลงทุนในตลาดเกิดใหม่ (Emerging Market) ซึ่งถือเป็นตลาดการลงทุนที่กำลังเป็นที่จับตา
มองของนักลงทุนในปัจจุบัน โดยปัจจุบันมีผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนกว่า 650 คนทั่วโลก โดยมีสำนักงานในกว่า 33 ประเทศ มีประสบการณ์การลงทุนมากกว่า 70 ปีและมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) กว่า 753 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 25,225.5 พันล้านบาท ณ วันที่ 31 กันยายน พ.ศ. 2560
สนใจสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมหรือเข้ารับการบริการแนะนำการลงทุนได้ที่ธนาคารซิตี้แบงก์ ประเทศไทย www.citibank.co.th หรือ www.citi.co.th
หมายเหตุถึงกองบรรณาธิการ
คำเตือนการลงทุนมีความเสี่ยง รวมทั้งมีความเป็นไปได้ที่จะสูญเสียเงินลงทุน ผู้ลงทุนควรศึกษาข้อมูล ก่อนการตัดสินใจลงทุน ไม่ใช่ภาระหนี้หรือภาระค้ำประกันของธนาคารซิติ้แบงก์ ไม่ใช่เป็นการฝากเงินกับธนาคาร ราคาของหน่วยลงทุนอาจขึ้นหรือลงได้ ผลการดำเนินงานในอดีตมิได้เป็นสิ่งยืนยันผลการดำเนินงานในอนาคต หน่วยลงทุนไม่สามารถขายให้แก่บุคคลอเมริกัน
เกี่ยวกับ 'ซิตี้'
ธนาคารชั้นนำของโลก ที่ให้บริการแก่ลูกค้ากว่า 200 ล้านราย ในกว่า 160 ประเทศและเขตปกครองทั่วโลก ซิตี้นำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินที่หลากหลายให้กับลูกค้าบุคคล องค์กร ภาครัฐและสถาบันต่างๆ โดยธุรกิจหลักครอบคลุมการธนาคารและสินเชื่อเพื่อลูกค้าบุคคล (สายบุคคลธนกิจ) ธนาคารเพื่อองค์กรและการลงทุน (สายสถาบันธนกิจและวาณิชธนกิจ) ธุรกิจนายหน้าค้าหลักทรัพย์ บริการธุรกรรมทางการเงินต่างๆ รวมถึงบริการบริหารความมั่งคั่ง ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.citigroup.com | ทวิตเตอร์: @Citi | ยูทูป: www.youtube.com/citi | บล็อก: http://new.citi.com | เฟซบุ๊ก: www.facebook.com/citi | ลิงก์อิน: www.linkedin.com/company/citi
เกี่ยวกับ 'บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนแฟรงคลิน เทมเพิลตัน'
แฟรงคลิน เทมเพิลตัน ดิสทริบิวเตอร์ (Franklin Templeton Distributors, Inc. ) เป็นผู้จัดจำหน่ายหน่วยลงทุนหลัก ซึ่งเป็น บริษัท ในเครือของแฟรงคลิน รีซอร์ส (Franklin Resource) (NYSE: BEN) ซึ่งเป็นองค์กรการจัดการการลงทุนระดับโลกที่ดำเนินกิจการโดย Franklin Templeton Investments แฟรงคลิน เทมเพิลตัน อินเวสเมนท์ให้การจัดการการลงทุนในระดับโลกและระดับประเทศแก่ลูกค้ารายย่อยที่เป็นสถาบันการเงินและภาครัฐกว่า 170 ประเทศ ด้วยทีมงานที่มีความเชี่ยวชาญ ด้านการลงทุน โดยบริษัทมีความชำนาญในทุกประเภทสินทรัพย์ ทั้งตราสารทุน ตราสารหนี้และโซลูชั่นที่กำหนดขึ้นเอง โดยผู้เชี่ยวชาญด้านการลงทุนกว่า 650 คน และโซลูชันต่างๆ ได้รับการสนับสนุน โดยทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารความเสี่ยงทั่วโลกและเครือข่ายซื้อขายหลักทรัพย์ทั่วโลก ทั้งนี้ แฟรงคลิน เทมเพิลตัน มีสำนักงาน โดยมีสำนักงานในกว่า 33 ประเทศ มีประสบการณ์การลงทุนมากกว่า 70 ปีและมีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการกว่า 753 พันล้านเหรียญ ณ วันที่ 30 กันยายน 2560 ตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.franklintempleton.com