WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aแฟรนไชส 7500ลาน

SME Development Bank ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อหนุนธุรกิจเอสเอ็มอี กลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน –แฟรนไชส์ วงเงิน 7,500 ล้านบาท

     SME Development Bank ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อหนุนธุรกิจเอสเอ็มอี กลุ่มผู้ประกอบการท่องเที่ยว ชุมชน –แฟรนไชส์ วงเงิน 7,500 ล้านบาท

       นายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) เปิดเผยว่า ธนาคารได้ออกผลิตภัณฑ์สินเชื่อสำหรับผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชน วงเงินโครงการ 7,500 ล้านบาท โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุน ช่วยเหลือผู้ประกอบการ SMEs ที่ประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวและ/หรือธุรกิจที่เกี่ยวเนื่อง ธุรกิจแฟรนไชส์ ตลอดจนผู้ประกอบการในชุมชนและภูมิภาคที่ต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินกิจการ รวมทั้งเสริมสภาพคล่องในการต่อยอดกิจการ

      สำหรับ ผู้ประกอบการที่สนใจ กรณีที่เป็นบุคคลธรรมดา กำหนดวงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 2 ล้านบาท หากเป็นบุคคลธรรมดาที่มีการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) หรือมีหนังสือรับรองจากหน่วยงานภาครัฐ วงเงินสินเชื่อต่อรายไม่เกิน 5 ล้านบาท สำหรับนิติบุคคล วงเงินสินเชื่อสูงสุดต่อรายไม่เกิน 15 ล้านบาท โดยวงเงิน 5 ล้านบาทแรกไม่ต้องใช้หลักประกัน สามารถใช้ บสย. ค้ำประกันโดยจะได้รับการชดเชยค่าธรรมเนียม บสย. ใน 4 ปีแรก ระยะเวลาการกู้ยืมรวม 7 ปี กรณีใช้หลักประกันตามเกณฑ์ธนาคาร คิดอัตราดอกเบี้ย ดังนี้ ปีที่ 1 อัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR -1.5 ต่อปี ปีที่ 2 เป็นต้นไป คิดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ MLR -1.0 ต่อปี กรณีใช้หลักประกัน บสย. คิดอัตราดอกเบี้ย MLR ต่อปี ลูกค้าจะได้รับการช่วยเหลือฟรีค่าธรรมเนียม บสย. เป็นเวลา 4 ปี ปีละ 1.75% รวม 7% (รัฐบาลช่วยเหลือ 4% และอีก 3% เป็นการช่วยเหลือจาก ธพว.) ทั้งนี้ ต้องเป็นผู้ประกอบการที่ชำระหนี้ปกติตามเกณฑ์ของ ธพว.หรือเป็นผู้ประกอบการ SMEs ที่ประสงค์จะยื่นกู้เป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล เป็นกลุ่มลูกค้าสินเชื่อเดิมหรือผู้ประกอบการรายใหม่ก็ได้ แต่ต้องไม่ใช่ลูกหนี้โอนหนี้ (Re-Finance) มาจากสถาบันการเงินอื่น

       นายมงคล กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการสินเชื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวฯ เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลที่ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ ธพว.เป็นหน่วยงานที่ส่งเสริมและสนับสนุนธุรกิจต่างๆ ให้ผู้ประกอบการต่อยอดธุรกิจเข้ากับแหล่งท่องเที่ยว ทั้งโครงการหมู่บ้านอุตสาหกรรมสร้างสรรค์ (CIV) ครอบคลุมธุรกิจท่องเที่ยวชุมชน ตลาดต้องชม ธุรกิจที่พัก-โรงแรม สถานบริการ สถานตากอากาศ ร้านอาหาร ร้านจำหน่ายของที่ระลึกหรือธุรกิจอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวทั้งระบบ เป็นการสนับสนุนนโยบาย Local Economy ของรัฐบาลในจังหวัดต่างๆ โดยเฉพาะผู้ประกอบการในกลุ่มร้านอาหาร ภัตตาคาร อาทิ ร้านหนูณิชย์ติดดาว รถจำหน่ายอาหารเคลื่อนที่ (food truck) รวมถึงช่วยเหลือผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์แปรรูปผลไม้ ที่สามารถใช้วงเงินเพื่อรวบรวมผลผลิตทางการเกษตร เก็บสต็อกสินค้าได้นานถึง 9 เดือน ตลอดจนธุรกิจแฟรนไชส์ สามารถกู้ได้สูงสุดถึง 100% ของมูลค่าแฟรนไชส์ เนื่องจากข้อมูลพบว่า ธุรกิจในกลุ่มดังกล่าวไม่สามารถเข้าถึงสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ได้ เพราะไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน สินเชื่อดังกล่าวจะเข้าไปดูแลเอสเอ็มอีกลุ่มนี้

      นายมงคล กล่าวอีกว่า โครงการสินเชื่อสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวและผู้ประกอบการท่องเที่ยวชุมชนฯ ครั้งนี้มีผลต่อเศรษฐกิจทางตรง คือ ก่อให้เกิดสินเชื่อในระบบสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 7,500 ล้านบาท ช่วยให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุน 2,500 ราย (วงเงินสินเชื่อเฉลี่ยต่อราย 3 ล้านบาท) สามารถรักษาการจ้างงานได้ไม่น้อยกว่า 10,000 คน สร้างเงินทุนหมุนเวียนให้ระบบเศรษฐกิจได้ประมาณ 34,350 ล้านบาท ดังนั้นการสนับสนุนเงินทุนให้กับธุรกิจ SMEs จะทำให้การท่องเที่ยวกระจายไปสู่หัวเมืองรอง สอดคล้องกับประมาณการยอดนักท่องเที่ยวปี 2560 ที่คาดว่า จะมีนักท่องเที่ยวต่างชาติถึง 35 ล้านคน การพัฒนาชุมชน การบริการ ตลอดจนการผลิตสินค้าโดยผลิตภัณฑ์สินเชื่อนี้จะช่วยให้ท้องถิ่นเกิดการพัฒนา สอดคล้องกับนโยบาย Local Economy ของรัฐบาลในจังหวัดต่างๆ ให้เตรียมพร้อมเข้าสู่เศรษฐกิจ 4.0 ต่อไป ผู้ประกอบการ สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ Call Center 1357 หรือ ธพว.ทุกสาขาทั่วประเทศ และสามารถติดตามข่าวสารของ ธพว. ผ่านช่องทาง facebook.com/SMEDevelopmentBank

          สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม:  นางอุบลรัตน์ ค่าแพง ผู้อำนวยการฝ่ายสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม                    โทร. 085-980-7861 02-265-4571-73

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!