WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1May ดาโตะ จอน ชองตลาดเอเซีย เติบโตต่อเนื่อง นับเป็นโอกาสในการลงทุนสำหรับนักลงทุนยุโรป

     ลอนดอน – เมย์แบงก์ กิมเอ็ง, ฝ่ายวานิชธนกิจ ของเมย์แบงก์กรุ๊ป ได้กล่าวในงานอินเวสต์ เอเซีย ที่ประเทศอังกฤษว่า ท่ามกลางความไม่แน่นอนทางเศรษฐกิจในยุโรป เอเซียถือว่าเป็นโอกาสในการลงทุนสำหรับนักลงทุนยุโรป งาน Invest Asia UK จัดขึ้นที่ The May Fair ลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีนักลงทุนเข้าร่วมงานมากกว่า 300 คนจาก 23 ประเทศ รวมทั้งมีบริษัท 31 บริษัท จาก 12 ประเทศ ในเอเซีย เช่น จีน, เกาหลี, ไต้หวัน, อินเดีย, มาเลเซีย, ไทย, อินโดนีเซีย, ฟิลิปปินส์ และปากีสถาน ครอบคลุมทั้งเอเซียเหนือ และกลุ่มอาเซียน คิดเป็นมูลค่าตลาดราว 5 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ  ร่วมด้วย ผู้จัดการกองทุนกว่า 120 แห่ง ทั่วทั้งยุโรปรวมทรัพย์สินภายใต้การดูแลกว่า 19 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ

     ฝ่ายวานิชธนกิจคาดว่าเอเซียจะเติบโตมากในปีนี้เนื่องจาก ภาวะการฟื้นตัวของราคาสินค้าโภคภัณฑ์ และการฟื้นตัวของภาคการส่งออกตั้งแต่ปลายปี 2559 ซึ่งส่งผลดีต่อหลายประเทศในอาเซียนโดยเฉพาะประเทศที่ต้องพึ่งพาการส่งออกเป็นหลัก ด้านประเทศเศรษฐกิจฝั่งเอเซียตะวันออก เช่น ไต้หวั่น เกาหลี สิงคโปร์ และจีน ซึ่งเป็นประเทศที่ส่งออกชิ้นส่วน อิเลคโทรนิคของโลกก็ได้รับประโยชน์จากการฟื้นตัวของการส่งออกชิ้นส่วนอิเลคโทรนิคเช่นกัน The Asia Development bank คาดว่าเอเซียจะเติบโตประมาณ 5.7% ในปี 2560 และ 2561

      ดาโต๊ะ จอน ชอง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เมย์แบงก์ กิมเอ็ง กล่าวว่า เอเชียมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งและมีโครงสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจแบบยั่งยืนด้วยประชากรและโครงสร้างพื้นฐานของประเทศประชากร 4.4 พันล้านคนในเอเชียที่อายุเฉลี่ย 30 ปี เป็นประชากร 60% ของประชากรโลก  อาเซียนเองก็เป็นกลุ่มแรงงานสำคัญอันดับ 3 ของโลก ซึ่งมีประมาณ 60% อายุต่ำกว่า 35 ปี ประเทศต่างๆ เช่น ฟิลิปปินส์ เวียดนาม อินเดียและอินโดนีเซีย คาดว่าจะได้รับประโยชน์จากการเติบโตของประชากร งบดุลทางการเงินที่ต่ำ และเทคโนโลยี่ที่ล้ำสมัยจากรายงานของ Asian Development Bank รายงานว่า เอเชียต้องการงบประมาณ 22.6 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือ 1.5 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี (เทียบเท่า 5.1% ของจีดีพี) สำหรับค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานในระหว่างปี 2559-2573 เพื่อรักษาการเติบโตและขจัดความยากจน นอกเหนือจากการบริโภคที่เพิ่มมากขึ้น ค่าใช้จ่ายด้านโครงสร้างพื้นฐานของเอเชียส่งเสริมให้เอเชียเติบโต โดยการพัฒนาประสิทธิภาพ การผลิตและการเชื่อมโยงกันในภูมิภาค

      "เอเชียยังเป็นที่ตั้งของศูนย์กลางของประเทศมีเศรษฐกิจที่ก้าวหน้ามากสองแห่งของโลก นั่นคือ อินเดียและจีน  ด้วยอัตราการเติบโตที่น่าประทับใจราว 6-7% ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจโดยรอบ การลงทุนนอกประเทศของจีนเติบโตขึ้น 28% CAGR ของปี 2553 ถึง 2558 อยู่ที่ 1.1 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ และการลงทุนนอกประเทศของจีนราว 70% อยุ่ที่เอเชีย' ดาโต๊ะ จอน ชอง กล่าว

      ด้านการลงทุนหุ้น ประเทศเอเชียยกเว้นญี่ปุ่นยังคงเป็นจุดหมายปลายทางการลงทุนที่สำคัญสำหรับนักลงทุนทั่วโลก และมีสัดส่วนค่าคอมมิสชั่นเป็น 15% ของทั้งโลก ในปี 2559 และเป็นอันดับสองรองจากอเมริกาเหนือ นับตั้งแต่ต้นปีตลาดหุ้นเอเชียมีกระแสเงินลงทุนไหลเข้าจำนวนมาก โดย ดัชนีMSCI ประเทศในเอเชียยกเว้นญี่ปุ่นฟื้นตัวขึ้น 19% เทียบกับปีที่แล้วในเดือน เมษายน 2559

     ดาโต๊ะ จอน กล่าวว่า “การประเมินมูลค่าของตลาดเอเซียยังคงน่าสนใจมากขึ้นเมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว สำหรับปี 2560 เราคาดว่า S&P500 จะซื้อขายที่ค่า P/B 2.9เท่า ขณะที่ประเทศเอเชียยกเว้นญี่ปุ่นจะมีค่า P/Bที่ 1.5เท่า”ในปี 2559 เมย์แบงก์ กิมเอ็ง ได้รับการจัดอันดับให้เป็นบริษัทชั้นนำอันดับ 1ด้านวานิชธนกิจในอาเซียน  โดยเป็นอันดับ 1 ด้านการเป็นที่ปรึกษา, การควบรวมกิจการและด้านธุรกิจหลักทรัพย์ และเป็นอันดับ 2 ของอาเซียนด้านพันธบัตรสกุลเงินในประเทศและตราสาร Sukuk

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!