- Details
- Category: แบงก์พาณิชย์
- Published: Thursday, 02 March 2017 21:47
- Hits: 10789
กสิกรไทย ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการชำระเงินระหว่างธนาคารในภูมิภาค เปิดชำระค่าสินค้าทุกสกุลเงิน AEC+3 เป็นธนาคารแห่งแรกในไทย
กสิกรไทย ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการชำระเงินระหว่างธนาคารในภูมิภาค เปิดบริการโอนเงินทุกสกุลในกลุ่ม AEC+3 ผ่านทุกสาขาของธนาคาร รองรับการค้าระหว่างประเทศด้วยสกุลเงินท้องถิ่นที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกรรมของลูกค้า พร้อมเปิดโอกาสในการหาคู่ค้าได้มากขึ้น คาดมีการโอนเงินสกุลเงินอาเซียน+3 ผ่านธนาคารกว่า 280,000 ล้านบาทต่อปี และเป็นธนาคารแห่งแรกในไทยที่สามารถให้บริการนี้ได้ครบทุกสกุล
นายศีลวัต สันติวิสัฎฐ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยตั้งเป้าหมายเป็นศูนย์กลางการชำระเงินระหว่างธนาคารในภูมิภาค (Regional Settlement Bank) เพื่อรองรับการค้าระหว่างประเทศของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและกลุ่มประเทศ+3 คือ จีน ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ มีปริมาณสูงถึง 66 ล้านล้านบาท ต่อปี และการค้าภายในเฉพาะภูมิภาคอาเซียน มีมูลค่าถึง 20 ล้านล้านบาท ส่งผลให้มีอัตราการเติบโตของอย่างก้าวกระโดด ทำให้ภูมิภาคนี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกภูมิภาคหนึ่งของโลก
นายภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า ในปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศภายในภูมิภาคส่วนใหญ่ยังคงใช้สกุลเงินหลักของโลก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ปอนด์สเตอลิง และ ยูโร ฯลฯ เป็นตัวกลางในการชำระเงิน อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมา ภาครัฐในกลุ่มประเทศอาเซียนมีนโยบายในการสนับสนุนให้ค้าขายด้วยเงินสกุลท้องถิ่นมากขึ้น ส่งผลให้การใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าระหว่างไทยกับประเทศอาเซียนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอด 5 ปีที่ผ่านมา จากสัดส่วน 16% ของมูลค่าการค้าในปี 2555 เป็น 22% ในปี 2559
นายศีลวัต กล่าวเพิ่มเติมว่า จากความต้องการของลูกค้าในประเทศไทย ประกอบกับธนาคารมีสาขาและพันธมิตรในทุกประเทศอาเซียน +3 ธนาคารกสิกรไทยจึงพัฒนาการให้บริการโอนเงินและรับเงินโอนชำระค่าสินค้าและบริการด้วยทุกสกุลเงินในภูมิภาคอาเซียน+3 ได้เป็นธนาคารแรกในประเทศไทย ผ่านศูนย์บริการธุรกิจระหว่างประเทศและสาขาของธนาคารกสิกรไทย เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจในกลุ่มอาเซียน+3 มากขึ้น เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกรรมเนื่องจากอยู่ในเขตเวลาเดียวกัน อีกทั้ง ยังไม่ต้องแลกเปลี่ยนเงินผ่านหลายสกุลเหมือนที่ผ่านมา ทำให้ลดต้นทุนในการทำธุรกรรมและเพิ่มทางเลือกในการหาคู่ค้าในท้องถิ่นได้มากขึ้น เนื่องจากคู่ค้าในประเทศอาเซียน+3 หลายรายจะทำการซื้อขายด้วยสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศตนเองเท่านั้น โดยธนาคารกสิกรไทยคาดว่าจะมีปริมาณธุรกรรมการโอนเงินระหว่างประเทศด้วยสกุลเงินอาเซียน+3 ผ่านธนาคาร 280,000 ล้านบาทต่อปี และเติบโต 11%
นายภัทรพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารตั้งเป้าหมายเป็นธนาคารศูนย์กลางการชำระเงินระหว่างธนาคารในภูมิภาค โดยพัฒนาขีดความสามารถในการชำระเงินระหว่างธนาคารในภูมิภาคผ่านการวางโครงสร้างสำหรับการชำระเงินในภูมิภาคอาเซียน+3 พร้อมทั้งการจับมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนในต่างประเทศกว่า 70 ราย โดยมีแผนใช้ดิจิตอลเทคโนโลยีในการสร้างช่องทางการชำระเงินระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่ถูกต้อง สะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย เช่น การเพิ่มช่องทางการโอนเงินระหว่างประเทศผ่านแอพพลิเคชั่น K-Mobile Banking PLUS เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สะดวกรวดเร็วให้กับลูกค้าของธนาคาร เช่น ลูกค้าสามารถโอนเงินเข้าบัญชีของวิง (Wing) ที่ประเทศกัมพูชาได้ นอกจากความสะดวกในการทำธุรกรรมได้ทุกที่ ทุกเวลาแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน และการเข้าถึงลูกค้าครอบคลุมมากกว่าเดิมจากพันธมิตรของธนาคาร
KBank is Thailand’s first regional settlement bank supporting all AEC+3 currencies
Aiming to become a regional settlement bank, KASIKORNBANK has introduced funds transfer service for all AEC+3 currencies at every branch, embracing fast-growing cross-border trade denominated in local currencies. The move will not only cut customers’ transaction costs, but also give them opportunities to seek new partners. Being Thailand’s first bank to offer the service for all AEC+3 currencies, KBank expects at least 280 billion Baht in funds transfer under this service for the year.
According to Mr. Silawat Santivisat, KBank Executive Vice President, KBank plans to be a regional settlement bank supporting trade between AEC and three large, neighboring markets, namely China, Japan and South Korea, totaling 66 trillion Baht per annum, plus the 20-trillion-Baht intra-regional trade of ASEAN. To this end, AEC+3 has seen significant expansion as one of the world’s economic powers.
Mr. Pattarapong Kanhasuwan, KBank Executive Vice President, said ASEAN member states have agreed recently to promote trade settlement denominated in local currencies, replacing major global currencies, e.g. the US Dollar, Pound Sterling, Euro, etc. which have been largely used among regional trade partners. As a result, local currencies have become more popular, particularly in trade settlement between Thailand and ASEAN, which soared steadily over the past five years from 16 percent of total trade in 2012 to 22 percent in 2016.
Mr. Silawat added that, given strong demand from Thai customers, KBank, equipped with branches and allies in all AEC+3 countries, has turned out to be the first bank in Thailand to offer services of funds transfer and trade settlement denominated in AEC+3 currencies. Through its international trade service centers and branches located in the same time zone, related facilities and convenience will be offered to AEC+3 business operators, with speedier transactions. Reducing currency exchange, their transaction costs will be decreased, while their trade opportunities with new local partners will be enhanced, as many operators in this economic bloc prefer local currencies in trade. KBank expects to see at least 280 billion Baht in funds transfer under the new service for the year, with over-year growth of 11 percent.
Mr. Pattarapong revealed that in its efforts to turn into a regional settlement bank, KBank has teamed with more than 70 public and private organizations in AEC+3 and improved its settlement service capability especially for this region, plus the three neighboring markets. Digital technologies have been employed in advancing international settlement channels, so that customers can enjoy accurate, swift and secure services. Global remittance can also be made through K-MOBILE BANKING PLUS as an alternative channel for fast and convenient customer service, offering anywhere, anytime transactions that slash operating costs with greater customer access through KBank’s partners. For instance, a Thai operator may directly conduct outward remittance to a trade partner’s account with Wing (Cambodia) Limited Specialised Bank.
KBANK ตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางการชำระเงินระหว่างธนาคารในภูมิภาค เปิดบริการโอนเงินในกลุ่ม AEC+3 เป็นแห่งแรกในไทย
นายศีลวัต สันติวิสัฎฐ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) เปิดเผยว่า ธนาคารกสิกรไทยตั้งเป้าหมายเป็นศูนย์กลางการชำระเงินระหว่างธนาคารในภูมิภาค (Regional Settlement Bank) เพื่อรองรับการค้าระหว่างประเทศของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และกลุ่มประเทศ+3 คือ จีน, ญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ที่มีปริมาณสูงถึง 66 ล้านล้านบาทต่อปี และการค้าภายในเฉพาะภูมิภาคอาเซียน ที่มีมูลค่าถึง 20 ล้านล้านบาท ส่งผลให้มีอัตราการเติบโตของอย่างก้าวกระโดด ทำให้ภูมิภาคนี้มีความสำคัญทางเศรษฐกิจอีกภูมิภาคหนึ่งของโลก
จากความต้องการของลูกค้าในประเทศไทย ประกอบกับธนาคารมีสาขาและพันธมิตรในทุกประเทศอาเซียน +3 ธนาคารกสิกรไทยจึงพัฒนาการให้บริการโอนเงินและรับเงินโอนชำระค่าสินค้าและบริการด้วยทุกสกุลเงินในภูมิภาคอาเซียน+3 ได้เป็นธนาคารแรกในประเทศไทย ผ่านศูนย์บริการธุรกิจระหว่างประเทศและสาขาของธนาคารกสิกรไทย เพื่อรองรับและอำนวยความสะดวกให้กับธุรกิจในกลุ่มอาเซียน+3 มากขึ้น เพิ่มความรวดเร็วในการทำธุรกรรมเนื่องจากอยู่ในเขตเวลาเดียวกัน อีกทั้งยังไม่ต้องแลกเปลี่ยนเงินผ่านหลายสกุลเหมือนที่ผ่านมา ทำให้ลดต้นทุนในการทำธุรกรรมและเพิ่มทางเลือกในการหาคู่ค้าในท้องถิ่นได้มากขึ้น เนื่องจากคู่ค้าในประเทศอาเซียน+3 หลายรายจะทำการซื้อขายด้วยสกุลเงินท้องถิ่นของประเทศตนเองเท่านั้น
"ธนาคารกสิกรไทย คาดว่าจะมีปริมาณธุรกรรมการโอนเงินระหว่างประเทศด้วยสกุลเงินอาเซียน+3 ผ่านธนาคาร 280,000 ล้านบาทต่อปี และเติบโต 11%" นายศีลวัต กล่าว
ด้านนายภัทรพงศ์ กัณหสุวรรณ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย (KBANK) กล่าวว่า ในปัจจุบันการค้าระหว่างประเทศภายในภูมิภาคส่วนใหญ่ยังคงใช้สกุลเงินหลักของโลก เช่น ดอลลาร์สหรัฐ ปอนด์สเตอลิง และยูโร ฯลฯ เป็นตัวกลางในการชำระเงิน อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมา ภาครัฐในกลุ่มประเทศอาเซียนมีนโยบายในการสนับสนุนให้ค้าขายด้วยเงินสกุลท้องถิ่นมากขึ้น ส่งผลให้การใช้เงินสกุลท้องถิ่นในการค้าระหว่างไทยกับประเทศอาเซียนมีสัดส่วนเพิ่มขึ้นต่อเนื่องตลอด 5 ปีที่ผ่านมา จากสัดส่วน 16% ของมูลค่าการค้าในปี 2555 มาเป็น 22% ในปี 2559
นายภัทรพงศ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ธนาคารตั้งเป้าหมายเป็นธนาคารศูนย์กลางการชำระเงินระหว่างธนาคารในภูมิภาค โดยพัฒนาขีดความสามารถในการชำระเงินระหว่างธนาคารในภูมิภาค ผ่านการวางโครงสร้างสำหรับการชำระเงินในภูมิภาคอาเซียน+3 พร้อมทั้งการจับมือกับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชนในต่างประเทศกว่า 70 ราย โดยมีแผนใช้ดิจิตอลเทคโนโลยีในการสร้างช่องทางการชำระเงินระหว่างประเทศ ซึ่งจะทำให้ลูกค้าได้รับบริการที่ถูกต้อง สะดวกรวดเร็ว ปลอดภัย เช่น การเพิ่มช่องทางการโอนเงินระหว่างประเทศผ่านแอพพลิเคชั่น K-Mobile Banking PLUS เพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สะดวกรวดเร็วให้กับลูกค้าของธนาคาร เช่น ลูกค้าสามารถโอนเงินเข้าบัญชีของวิง (Wing) ที่ประเทศกัมพูชาได้ นอกจากความสะดวกในการทำธุรกรรมได้ทุกที่ ทุกเวลาแล้ว ยังช่วยลดต้นทุนการดำเนินงาน และการเข้าถึงลูกค้าครอบคลุมมากกว่าเดิมจากพันธมิตรของธนาคาร
อินโฟเควสท์