WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1Kbank24

กสิกรไทย ตอกย้ำความเป็นผู้นำบริการด้านบริหารความมั่งคั่งครบวงจร จับมือลอมบาร์ด โอเดียร์ พันธมิตรระดับโลก ตั้งเป้าดัน AUM เป็น 7.7 แสนล้านบาท

       ธนาคารกสิกรไทย เดินหน้ารักษาความเป็นที่หนึ่งด้านบริหารความมั่งคั่งของไทยต่อเนื่อง ต่อยอดความร่วมมือกับลอมบาร์ด โอเดียร์ พันธมิตรไพรเวทแบงค์ระดับโลก ส่งมอบบริการบริหารความมั่งคั่งของบุคคลและครอบครัวครบวงจร พุ่งเป้าปี 60ขยายฐานลูกค้าสินทรัพย์สูงเป็น 10,300 คน มาร์เก็ตแชร์ 34% ของประเทศ ดันยอดสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร 7.7 แสนล้านบาท

      นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจบริการไพรเวทแบงค์ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ตลาดลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงทั่วโลกยังมีการเติบโตต่อเนื่อง จากรายงาน World Wealth Report 2559 สำรวจโดย Capgemini พบว่าในปี 2558 กลุ่มบุคคลสินทรัพย์สูง (HNWI) ไทยและเอเชียที่ถือครองสินทรัพย์มูลค่า 35 ล้านบาทต่อรายขึ้นไปทั่วโลก จำนวนบุคคลสินทรัพย์สูงในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมามีการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 10-11% ต่อปี สูงกว่าตลาดโลกที่โตเฉลี่ยประมาณ 9% ต่อปี ซึ่งตลาดลูกค้ากลุ่มนี้ของไทยยังมีแนวโน้มเติบโตได้อีกในอนาคต แต่อาจมีอัตราส่วนที่ชะลอตัวลง เช่นเดียวกับประเทศอื่นในเอเชียแปซิฟิก

      สำหรับ ลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงที่มีสินทรัพย์มูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไปในไทย ปี 2560 ตลาดรวมคาดว่าจะมีประมาณ30,400 คน โดยลูกค้ามีแนวโน้มไว้ใจใช้บริการไพรเวทแบงค์มากขึ้น ทั้งในการจัดการเงินออมและการลงทุนที่ครอบคลุมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่เป็นทั้งสินทรัพย์ส่วนตัวและสินทรัพย์ของครอบครัว เพื่อให้สามารถมองเห็นและบริหารจัดการในองค์รวมได้ จากเดิมที่นิยมแยกบริหารสินทรัพย์เป็นส่วน ๆ

        ที่ผ่านมาธนาคารกสิกรไทยให้บริการไพรเวทแบงค์ที่มีบริการตามมาตรฐานสากลที่ครบวงจรที่สุดในประเทศ โดยมีธนาคารลอมบาร์ด โอเดียร์ จากสวิตเซอร์แลนด์เป็นพันธมิตร ร่วมพัฒนาและยกระดับให้บริการไพรเวทแบงค์ของธนาคารกสิกรไทยให้ครอบคลุม 3 ด้าน ได้แก่

       1. บริการด้านการวางแผนความมั่งคั่งและยั่งยืนของครอบครัว (Wealth Planning Services) เพื่อบริหารสินทรัพย์ของลูกค้าให้เติบโตอย่างยั่งยืนสู่รุ่นต่อ ๆ ไป นับเป็นจุดเด่นสำคัญของบริการไพรเวทแบงค์ ธนาคารกสิกรไทยที่แตกต่างจากธนาคารอื่นโดยบริการประกอบด้วย การวางแผนความต่อเนื่องเพื่อความยั่งยืนของครอบครัว การให้คำปรึกษาด้านการสร้างธรรมนูญครอบครัวการวางแผนโครงสร้างการถือครองสินทรัพย์ และธุรกิจครอบครัว ทั้งในและต่างประเทศ การวางแผนส่งผ่านกิจการ และทรัพย์สินจากรุ่นสู่รุ่น การจัดตั้งสำนักงานครอบครัว เพื่อดำเนินการตามแผนและอำนวยความสะดวกในการบริหารครอบครัว เป็นต้น

      2. บริการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน (Investment Advisory Services) ทั้งภายในและภายนอกตลาดทุน โดยมีกองทุน KStrategic Global Multi Asset (K-SGM) กองทุนแรกของไทยที่ใช้หลักการกระจายความเสี่ยง ตามหลักบริหารจัดการที่ลอมบาร์ด โอเดียร์ ใช้ในการจัดการพอร์ตการลงทุนให้แก่ลูกค้าทั่วโลกเป็นกองทุนหลักในการแนะนำ ประกอบกับกองทุนต่าง ๆ ทั้งจากบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์อื่น ๆ ผ่านทาง Open Architecture (OA) โดยปัจจุบัน K-SGM มียอดขายสูงถึง 1.7 หมื่นล้านบาท ส่วนการให้คำปรึกษาด้านการลงทุนนอกตลาดทุน เช่น การบริหารจัดการอสังหาริมทรัพย์ผ่านเครือข่ายพันธมิตรระดับโลกที่มีความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน

        3. สิทธิพิเศษต่างๆ ทั้งทางด้านการธนาคารและการลงทุน การสร้างเครือข่ายทางธุรกิจและการใช้ชีวิตสุดพิเศษ(Privileges) ประกอบด้วย การให้ข้อมูลด้านการลงทุน อาทิ การจัดงานสัมมนาให้ข้อมูลสถานการณ์การลงทุนทั้งตลาดในประเทศไทยและตลาดโลก รวมทั้งการจัดกิจกรรมสร้างเครือข่าย และตอบสนองไลฟ์สไตล์ของลูกค้าตลอดทั้งปี

     นายจิรวัฒน์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ด้วยรูปแบบการให้บริการที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าสินทรัพย์สูงในทุกมิติ พร้อมด้วยทีมงานผู้ดูลูกค้า หรือไพรเวท แบงเกอร์กว่า 50 คน เป็นหัวใจสำคัญที่สุดของการให้บริการ ซึ่งธนาคารเชื่อมั่นว่า ลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงของธนาคารจะได้รับบริการไพรเวทแบงค์ที่ครบถ้วนที่สุดตามมาตรฐานสากล สามารถบริหารสินทรัพย์ในองค์รวมได้อย่างมีประสิทธิภาพ

        โดยในปี 2559 ที่ผ่านมา ธนาคารกสิกรไทยมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 33% จากฐานลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูง10,000 คน มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) 7.6 แสนล้านบาท และสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์(Revenue on Asset) ได้ 0.29% สำหรับปี 2560 ธนาคารกสิกรไทยเน้นการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนของพอร์ตสินทรัพย์ โดยตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเป็น 34% ด้วยฐานลูกค้าจำนวน 10,300 คน มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) 7.7 แสนล้านบาท และสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ได้ 0.37% พร้อมตั้งเป้าหมายสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์เป็น 0.5% เทียบเท่ามาตรฐานสากล ภายใน 3 ปี ครองความเป็นผู้นำในธุรกิจนี้อย่างต่อเนื่อง

        มร. วินเซนต์ แมกนีแนตท์ ผู้อำนวยการบริหาร ธนาคารลอมบาร์ด โอเดียร์ เอเชีย เปิดเผยว่า ลอมบาร์ด โอเดียร์ เข้าเป็นพันธมิตรให้บริการแก่ลูกค้าไพรเวทแบงค์ ธนาคารกสิกรไทย โดยการนำเสนอทางเลือกในการลงทุนระดับโลก ที่มีการบริหารความเสี่ยงที่มีความเฉพาะตัว สามารถปรับได้ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละราย และสามารถตอบโจทย์การบริหารความมั่งคั่งของลูกค้าในระยะยาว ทั้งนี้ ลอมบาร์ โอเดียร์มีความยินดีที่จะนำประสบการณ์และความเชี่ยวชาญเข้ามาช่วยดูแลลูกค้าไพรเทแบงค์ธนาคารกสิกรไทยและครอบครัวเพื่อการบริการจัดการความมั่งคั่งได้อย่างครบวงจร

KBANK ตั้งเป้าปี 60 มีสินทรัพย์กองทุนส่วนบุคคลภายใต้การบริหาร(AUM) แตะ 7.7 แสนลบ. เพิ่มลูกค้าไพรเวทแบงก์เป็น 10,300 คน

     ธนาคารกสิกรไทย หรือ KBANK ตั้งเป้าปี 60 ขยายฐานลูกค้าไพรเวทแบงก์เป็น 10,300 คน ดันมาร์เก็ตแชร์แตะ 34% ของประเทศ ดันยอดสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร 7.7 แสนล้านบาท

 นายจิรวัฒน์ สุภรณ์ไพบูลย์ ผู้บริหารสายงานธุรกิจบริการไพรเวทแบงค์ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด(มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ในปี 60 ธนาคารเน้นการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนของพอร์ตสินทรัพย์ โดยตั้งเป้าเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเป็น 34% ด้วยฐานลูกค้าจำนวน 10,300 คน มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) 7.7 แสนล้านบาท และ สร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์ได้ 0.37% และ ตั้งเป้าหมายสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์เป็น 0.5% เทียบเท่ามาตรฐานสากล ภายใน 3 ปี ครองความเป็นผู้นำในธุรกิจนี้อย่างต่อเนื่อง

 โดยในปี 59 ที่ผ่านมา ธนาคารมีส่วนแบ่งการตลาดประมาณ 33% จากฐานลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูง 10,000 คน มีสินทรัพย์ภายใต้การบริหาร (AUM) 7.6 แสนล้านบาท และ สามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนในสินทรัพย์(Revenue on Asset) ได้ 0.29%

  สำหรับ ตลาดลูกค้าบุคคลสินทรัพย์สูงทั่วโลกยังมีการเติบโตต่อเนื่อง จากรายงาน World Wealth Report 2559 สำรวจโดย Capgemini พบว่า ในปี 58 กลุ่มบุคคลสินทรัพย์สูง (HNWI) ไทยและเอเชียที่ถือครองสินทรัพย์มูลค่า 35 ล้านบาทต่อรายขึ้นไปทั่วโลก จำนวนบุคคลสินทรัพย์สูงในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมามีการเติบโตเฉลี่ยประมาณ 10-11% ต่อปี สูงกว่าตลาดโลกที่โตเฉลี่ยประมาณ 9% ต่อปี ซึ่งตลาดลูกค้ากลุ่มนี้ของไทยยังมีแนวโน้มเติบโตได้อีกในอนาคต แต่อาจมีอัตราส่วนที่ชะลอตัวลง เช่นเดียวกับประเทศอื่นในเอเชียแปซิฟิก

  ปี 60 คาดว่า ลูกค้าบุคคลที่มีสินทรัพย์มูลค่า 50 ล้านบาทขึ้นไปในไทย คาดว่าจะมีประมาณ 30,400 คน โดยลูกค้ามีแนวโน้มไว้ใจใช้บริการไพรเวทแบงค์มากขึ้นทั้งในการจัดการเงินออมและการลงทุนที่ครอบคลุมทั้งในประเทศ และ ต่างประเทศที่เป็นทั้งสินทรัพย์ส่วนตัว และสินทรัพย์ของครอบครัวเพื่อให้สามารถมองเห็น และบริหารจัดการในองค์รวมได้ จากเดิมที่นิยมแยกบริหารสินทรัพย์เป็นส่วนๆ

  ที่ผ่านมา KBANK ให้บริการไพรเวทแบงค์ที่มีบริการตามมาตรฐานสากล โดยมีธนาคารลอมบาร์ด โอเดียร์ จากสวิตเซอร์แลนด์เป็นพันธมิตร ร่วมพัฒนาและยกระดับให้บริการไพรเวทแบงค์ของธนาคารกสิกรไทยให้ครอบคลุม 3 ด้าน ได้แก่ บริการด้านการวางแผนความมั่งคั่งและยั่งยืนของครอบครัว (Wealth Planning Services) , บริการให้คำปรึกษาด้านการลงทุน (Investment Advisory Services) ทั้ และ สิทธิพิเศษต่าง ๆ ทั้งทางด้านการธนาคารและการลงทุน

   นายจิรวัฒน์ กล่าวต่อว่า ปัจจัยเสี่ยงที่ธนาคารต้องติดตามในปีนี้ ประกอบด้วย นโยบายกีดกันทางการค้า นโยบายการคลัง และการขึ้นดอกเบี้ยของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ตลอดจนการเมืองในต่างประเทศ โดยเฉพาะการเลือกตั้งที่ฝรั่งเศสเพราะอาจเกิดการเปลี่ยนแปลงขั้วอำนาจเหมือนสหรัฐ

  โดยธนาคารยังเน้นลงทุนในกองทุน ประกอบด้วย KSGM , KGA และ K-FIXED INCOME ที่มีสัดส่วนการลงทุน 60% และ อีก 40% ลงทุนในหุ้น ซึ่งการลงทุนในตลาดหุ้นแนะนำให้หันมาลงทุนตลาดเกิดใหม่ เพราะให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงกว่าตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้ว โดยตลาดหุ้นเกิดใหม่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 5% ต่อปีเมื่อเทียบกับตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้วที่ให้ผลตอบแทนเฉลี่ย 2-3% ต่อปี

นอกจากนี้ ราคาหุ้นตลาดเกิดใหม่ยังถูกกว่าตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้ว และยังผันผวนน้อยกว่า ซึ่งจะเห็นได้จากที่ผ่านมาปัจจัย BREXIT และการขึ้นดอกเบี้ยของเฟดไม่ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อตลาดหุ้นเกิดใหม่

  สำหรับ ความคืบหน้าการขออนุญาตกับธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เพื่อเพิ่มทางเลือกให้กับลูกค้ารายย่อยที่มีสินทรัพย์ หรือ เงินลงทุนตั้งแต่ 50 ล้านบาทขึ้นไปที่ส่วนใหญ่มีทรัพย์สินเป็นที่ดินเปล่าจำนวนมาก และไม่ได้ใช้งาน ซึ่งอาจมีภาระภาษีเพิ่มขึ้นจากการจัดเก็บภาษีที่ดินใหม่นั้น ขณะนี้ได้ทำหนังสือเสนอไปยัง ธปท.เป็นที่เรียบร้อยแล้ว และคาดว่าจะเห็นความชัดเจนถึงบริการที่ธนาคารเสนอไปยังธปท. แต่จะออกมาเป็นรูปแบบใดไม่สามารถเปิดเผยในรายละเอียดได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับการพิจารณาของธปท.

  "แนวทางที่เราเสนอไปก็มีหลายแนวทาง เช่น การช่วยเหลือลูกค้าในการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ หรือที่ดิน ไม่ว่าจะเป็นการจับคู่ หรือศึกษาการลงทุนอื่นๆ ที่นอกจากผ่อนคลายภาระภาษีที่ดินแล้ว ยังสร้างผลตอบแทนที่ดีในภาวะที่ดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ และตลาดทุนผันผวน อีกทั้งหากพัฒนาโครงการขึ้นมาแล้วอาจจะขยับไปทำกองทรัสต์เพื่อการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ (REIT)"นายจิรวัฒน์ กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!