WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GSBชาตชายออมสิน ออกเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 70 วัน ดอกเบี้ย 2.89% ยกเว้นภาษี เปิดรับใบจองสิทธิ์ในงาน... Thailand Smart Money ครั้งที่ 7 @เซ็นทรัลลาดพร้าว วันที่ 16-18 ธ.ค.นี้ เพียงวันละ 600 รายเท่านั้น

   ธนาคารออมสิน นำเสนอ 'เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 70 วัน'ดอกเบี้ยสูง 2.89% ต่อปี รับฝากเฉพาะบุคคลธรรมดา อายุ 15 ปีขึ้นไป ดอกเบี้ยได้รับยกเว้นภาษี จำกัดผู้ฝากเพียง 1,800 ราย รับใบจองสิทธิ์ภายในงาน Thailand Smart Money ครั้งที่ 7 ช่วง 16-18 ธันวาคม 2559 ณ ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลลาดพร้าว ฝากได้ภายในงาน หรือทุกสาขาทั่วประเทศ ระหว่าง 16-22 ธันวาคมนี้

    นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารออมสินในฐานะสถาบันการเงินของรัฐที่ดำเนินภารกิจสำคัญคือ มุ่งมั่นทำหน้าที่ส่งเสริมการออม และนำเสนอรูปแบบการออมผ่านผลิตภัณฑ์เงินฝากที่หลากหลาย เพื่อสนับสนุนภาคการออมอย่างเป็นรูปธรรมและยั่งยืน ด้วยการปรับปรุงและพัฒนาผลิตภัณฑ์เงินฝากอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดนี้ ธนาคารฯ ได้นำเสนอผลิตภัณฑ์เงินฝากที่มีผลตอบแทนอย่างน่าสนใจ คือ “'เงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 70 วัน' อัตราดอกเบี้ย 2.89% ต่อปี ไม่เสียภาษี (เทียบเท่าเงินฝากประจำ 3.40% ต่อปี) นำเสนอภายในงาน Thailand Smart Money ครั้งที่ 7 ระหว่างวันที่ 16 - 18 ธันวาคม 2559 ณ ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซาลาดพร้าว โดยผู้ฝากจะต้องมีใบจองสิทธิ์ซึ่งจะแจกภายในงานวันละ 2 รอบๆ ละ 300 ราย รวม 1,800 ราย ซึ่งฝากได้ภายในงาน หรือ ณ สาขาธนาคารออมสินทุกแห่งทั่วประเทศ ตั้งแต่วันที่ 16-22 ธันวาคม 2559 นี้เท่านั้น

     ทั้งนี้ ธนาคารฯ เปิดรับฝากเฉพาะบุคคลธรรมดาอายุตั้งแต่ 15 ปีขึ้นไป เปิดบัญชีขั้นต่ำ 10,000 บาท ฝากสูงสุดไม่เกินรายละ 500,000 บาท เปิดได้คนละ 1 บัญชีเท่านั้น ไม่รับฝากบัญชีเพื่อประโยชน์ของผู้เยาว์ หรือบัญชีร่วม หรือบัญชีคณะบุคคล หรือบัญชีนิติบุคคล ถ้าถอนก่อนครบกำหนด จำนวนเงินที่ถอนจะได้รับดอกเบี้ยในอัตราดอกเบี้ยเงินฝากเผื่อเรียก คำนวณดอกเบี้ยเป็นรายวันจากยอดเงินฝาก โดยผู้ฝากจะต้องมีใบจองสิทธิ์ฝากเงินประเภทเผื่อเรียกพิเศษ 70 วัน จากในงาน Thailand Smart Money ครั้งที่ 7 ในวันที่ 16 - 18 ธันวาคม 2559 และต้องสมัครใช้บริการบัตรอิเล็กทรอนิกส์ และ Mobile Banking (MyMo) จึงจะมีสิทธิ์เปิดบัญชีเงินฝากเผื่อเรียกพิเศษ 70 วัน

   หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดตามได้ตามสื่อประชาสัมพันธ์ของธนาคารออมสินทุกช่องทาง ได้แก่ Website : www.gsb.or.th, Facebook : GSB Society, Official Line : GSB ธนาคารออมสิน  หรือหากมี   ข้อสงสัย ต้องการรายละเอียดเพิ่มเติมจากเจ้าหน้าที่ สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ ธนาคารออมสินทุกสาขาทั่วประเทศ หรือ ศูนย์ลูกค้าสัมพันธ์ธนาคารออมสิน Call Center โทร.1115

ถาม-ตอบ มาตรการเพิ่มรายได้ให้แก่ผู้มีรายได้น้อยในโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ

1.           ถาม : กรณีผู้ที่ได้รับสิทธิ์ ไม่มีบัญชี ธ.ก.ส. จะได้รับเงินหรือไม่

ตอบ : ท่านลงทะเบียนที่ธนาคารไหนต้องมีบัญชีของธนาคารนั้น เช่น ลงทะเบียนที่ ธ.ก.ส. จะต้องมีบัญชี ธ.ก.ส.   ถ้าลงทะเบียนที่ออมสินก็ต้องมีบัญชีของธนาคารออมสิน

              2.           ถาม : ไปลงทะเบียนฯไว้แล้ว แต่ไม่เคยแจ้งเลขที่บัญชีไว้ ธนาคารจะทราบได้อย่างไร

ตอบ : กรณีท่านมีคุณสมบัติครบถ้วน ระบบธนาคารจะประมวลผลหาเลขที่บัญชีของท่านเอง ด้วยการนำเลขบัตรประชาชน ชื่อ-สกุล ที่ถูกต้อง ค้นหาเลขที่บัญชีที่ท่านมีอยู่กับธนาคารนั้นๆ

              3.           ถาม : กรณีไปตรวจจากเว็บกรมสรรพากร แล้วแจ้งว่าคุณสมบัติไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ ควรทำอย่างไร

ตอบ : หน้าจอในเว็บฯจะแจ้งคุณสมบัติไม่ถูกต้อง แบ่งได้เป็น 3 กรณีหลักๆ ได้แก่

          1. เกี่ยวกับ ชื่อ-สกุล ไม่ว่าจะชื่อถูกต้อง แต่นามสกุลไม่ถูก หรืออย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่ถูกต้องทั้งสองอย่าง กรณีนี้ให้นำหลักฐานที่มี ไปแจ้งธนาคารที่เคยลงทะเบียนไว้ ธนาคารจะบันทึกข้อมูลที่ถูกต้องให้ท่านใหม่

          2. เกี่ยวกับ ความเป็นเกษตรกร กรณีนี้แสดงว่าท่านไม่ได้อยู่ในครัวเรือนที่เคยขึ้นทะเบียนเกษตรกร หรือหากมีหลักฐานยืนยันได้ว่าท่านอยู่ในครัวเรือนเกษตรกร ขอให้นำหลักฐานไปแจ้งธนาคารที่เคยลงทะเบียนไว้

           3. เกี่ยวกับ รายได้เกิน 100,000 บาท เนื่องจากกรมสรรพากรตรวจพบในฐานภาษีว่าท่านมีรายได้เกิน หากมีข้อสงสัยหรือต้องการโต้แย้ง ให้สอบถามกับสรรพากรใกล้บ้านท่าน กรณีเช่นว่านี้ท่านต้องหลุดจากโครงการทันที และอาจมีความผิดฐานให้ข้อมูลเท็จ

4.           ถาม : ผู้ลงทะเบียนสงสัยว่า ชื่อ-สกุล ที่แจ้งไว้เมื่อตอนลงทะเบียนถูกต้องแล้ว ทำไมจึงแจ้งว่าคุณสมบัติไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ จะแก้ไขอย่างไร

ตอบ : = เนื่องจากในช่วงการลงทะเบียนฯมีผู้ให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก อาจเกิดความผิดพลาดได้บ้าง กรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย จะเป็นหน่วยงานตรวจสอบความถูกต้องของเลขบัตรประจำตัวประชาชน ชื่อ สกุล ของผู้ลงทะเบียนทุกราย กรณีพบชื่อ-สกุล สะกดผิด หรือตกหล่นไม่ตรงกับฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์ก็จะแจ้งว่า คุณสมบัติไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ กรณีนี้ขอให้ท่านนำหลักฐานไปแจ้งธนาคารที่ท่านลงทะเบียน

5.           ถาม : ผู้ลงทะเบียนได้รับแจ้งว่าคุณสมบัติไม่ถูกต้องตามหลักเกณฑ์ และได้แก้ไขภายในกำหนดระยะเวลา 15 ธ.ค. 2559แล้ว จะได้รับเงินโอนหรือไม่

ตอบ : กรณีท่านยื่นแก้ไขข้อมูลภายในกำหนดวันที่ 15 ธ.ค. 2559 ธนาคารจะแก้ไขข้อมูลให้ท่าน แล้วเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบจากกรมสรรพากรและกระทรวงมหาดไทย ดังเช่นที่เคยตรวจในชุดที่ผ่านมา คาดว่าวันที่ 16 ธ.ค.2559 ธนาคารจะส่งข้อมูลใหม่ของท่านเข้าสู่กระบวนการตรวจสอบต่อไป หากไม่พบข้อบกพร่องกระทรวงการคลังจะส่งรายชื่อกลับมายังธนาคารเพื่อโอนเงินให้ท่านภายใน 30 ธ.ค. 2559

6.           ถาม : หากเลยกำหนดการยื่นแก้ไขข้อมูลวันที่ 15 ธ.ค. 2559 จะได้รับสิทธิ์หรือไม่

ตอบ : มติ ค.ร.ม. กำหนดให้ยื่นแก้ไขข้อมูลภายในวันที่ 15 ธ.ค. 2559 หากเลยกำหนดนี้ ถือว่าท่านสละสิทธิ์

7.           ถาม : การเปิดให้ตรวจสอบสิทธิ์ผ่านทางเว็บไซต์กรมสรรพากร คนเฒ่าคนแก่ จะทำอย่างไร

ตอบ: การลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยเป็นสิทธิส่วนบุคคล ไม่พึงเปิดเผย จึงไม่สามารถนำไปติดประกาศเป็นการทั่วไปได้ กระทรวงการคลังจึงได้จัดทำเว็บไซต์ให้ผู้ลงทะเบียนตรวจสอบสิทธิ์ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากรด้วยตนเอง กรณีคนเฒ่าคนแก่ ขอความอนุเคราะห์ลูกหลานในหมู่บ้านหรือผู้นำชุมชน ช่วยตรวจสอบให้ได้

8.           ถาม : จะมีการเปิดให้ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยอีกเมื่อไร

ตอบ : ตามมติ ค.ร.ม. กำหนดให้ลงทะเบียน ช่วง 1-30 ก.ย. ของทุกปี

9.           ถาม : การโอนเงินเพิ่มให้ผู้มีรายได้น้อย โอนครั้งเดียวหรือให้เป็นเดือน

ตอบ : เป็นการโอนให้ครั้งเดียว

10.         ถาม : สำหรับผู้ลงทะเบียนที่มีบัญชีกับธนาคารที่ลงทะเบียนนั้นแล้ว ต้องไปแจ้งที่ธนาคารนั้นอีกครั้งหรือไม่

ตอบ : ไม่ต้องแจ้ง ระบบธนาคารจะประมวลผลหาเลขที่บัญชีของท่านเอง

11.         ถาม : ช่วงที่ลงทะเบียนได้ไปทำงานอยู่ต่างจังหวัดและลงทะเบียนกับ ธ.ก.ส. สาขาหนึ่ง ต่อมาย้ายกลับบ้าน จะสามารถเปิดบัญชีที่ สาขาใกล้บ้านได้หรือไม่

ตอบ : ท่านลงทะเบียนที่ธนาคารไหนต้องมีบัญชีของธนาคารนั้น กรณีนี้ท่านสามารถเปิดบัญชีที่      ธ.ก.ส. ใกล้บ้านท่านได้เลย

12.         ถาม : ตรวจสอบสิทธิ์แล้วถูกต้อง แต่ยังไม่เปิดบัญชี และถ้าเปิดบัญชีแล้วจะได้รับเงินภายในกี่วัน

ตอบ : ขอให้ท่านรีบเปิดบัญชีกับธนาคารที่ท่านลงทะเบียนโดยด่วน ธนาคารจะโอนเงินให้ท่านภายใน 7 วัน

13.         ถาม : ตอนลงทะเบียนใครแจ้งรายได้เท่าไร ธนาคารตรวจสอบหรือไม่

ตอบ : ธนาคารมีหน้าที่รับลงทะเบียนตามคุณสมบัติ 1.สัญชาติไทย 2.อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี 3.เป็นผู้ว่างงานหรือไม่มีรายได้ หรือมีรายได้รวมทั้งปีไม่เกิน 100,000 บาท ซึ่งในแบบพิมพ์ลงทะเบียนระบุให้ผู้ลงทะเบียนรับรองความถูกต้องด้วยตนเอง สำหรับการตรวจสอบรายได้เป็นหน้าที่ของกระทรวงการคลัง โดยกรมสรรพากร

14.         ถาม : คนที่ลงทะเบียนฯแล้วแจ้งว่าเป็นเกษตรกรส่วนใหญ่ไม่ได้รับสิทธิ์ จริงหรือไม่

ตอบ : มติ ค.ร.ม. กำหนดคุณสมบัติเกษตรกรที่จะได้รับสิทธิ์ต้องอยู่ในครัวเรือนเกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริม กรมปศุสัตว์ กรมประมง ถึงแม้การขึ้นทะเบียนเกษตรกรจะรับขึ้นทะเบียนเป็นครัวเรือน แต่หากผู้มีรายได้น้อยรายใดอยู่ในครัวเรือนนั้นด้วย ก็จะได้รับสิทธิ์เช่นกัน

15.         ถาม : การลงทะเบียนโครงการเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ เกี่ยวข้องกับการพิจารณาสินเชื่อของ ธ.ก.ส. และ เกี่ยวข้องกับข้อมูลเครดิตบูโรหรือไม่

ตอบ : ไม่เกี่ยวข้องกัน

16.         ถาม : : ตรวจสอบสิทธิ์ตามเว็บแล้วปรากฏว่าไม่พบข้อมูลการลงทะเบียน

ตอบ : ขอให้ท่านนำหลักฐาน(หางตั๋ว)ที่พนักงานมอบให้ในวันลงทะเบียน ไปยืนยันที่ธนาคารสาขาที่ท่านลงทะเบียนไว้ เพื่อให้พนักงานลงทะเบียนให้ใหม่อีกครั้งภายใน 15 ธ.ค.2559

17.         ถาม : หากผู้ลงทะเบียนไม่ผ่านคุณสมบัติ และไม่ได้รับเงินโอน จะต้องทำอย่างไร

ตอบ : ต้องรอฟังข่าวจากรัฐบาลว่าจะดำเนินการอย่างไร หรือ รอลงทะเบียนครั้งต่อไป ซึ่งตามมติ ค.ร.ม. กำหนดให้ลงทะเบียน ช่วง 1-30 ก.ย. ของทุกปี

18.         ถาม : การโอนเงินเข้าบัญชีผู้มีรายได้น้อย ผ่านระบบโอนเงินพร้อมเพย์ หรือไม่

ตอบ :  การโอนเงินครั้งนี้ไม่ได้ผ่านระบบพร้อมเพย์

19.         ถาม : ผู้ลงทะเบียนฯระบุเป็นนักศึกษา มีสิทธิ์ได้รับเงินโอนตามมาตรการเพิ่มรายได้นี้หรือไม่

ตอบ : ตามคุณสมบัติของผู้ลงทะเบียน 1.สัญชาติไทย 2.อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี 3.เป็นผู้ว่างงานหรือไม่มีรายได้หรือมีรายได้รวมทั้งปีไม่เกิน 100,000 บาท  ซึ่งไม่ได้จำกัดอาชีพ ดังนั้น นักศึกษาจะได้รับสิทธิ์ด้วย

20.         ถาม : ผู้ลงทะเบียนจะสามารถตรวจสอบสิทธิ์ได้ที่ไหนบ้าง

ตอบ : สามารถเข้าไปที่เว็บไซต์ www.epayment.go.th  หรือเว็บไซต์กรมสรรพากร หรือสามารถค้นหาจาก google พิมพ์คำว่าตรวจสอบการลงทะเบียนก็จะปรากฏเว็บไซต์ให้เข้าไปค้นหาได้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!