WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

GFIMSแบงก์รัฐเจอลูกค้าเบี้ยวหนี้ 1.76 แสนล้านบาท เร่งเจรจาก่อนตกชั้นเป็น NPL

    แนวหน้า :  แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การผิดนัดชำระหนี้ที่เป็นลูกหนี้ของแบงก์รัฐทั้ง 6 แห่ง ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยหนี้ที่ผิดชำระตั้งแต่ 1 เดือนแต่ไม่เกิน 3 เดือน ล่าสุดในเดือนมิถุนายน 2559 อยู่ที่ 1.76 แสนล้านบาท เทียบกับเดือนมีนาคม 2559 อยู่ที่ 1.38 แสนล้านบาท หรือเท่ากับมีหนี้ผิดนัดชำระเพิ่มขึ้นประมาณ 4 หมื่นล้านบาท

     ทั้งนี้ การผิดนัดชำระหนี้ ส่วนใหญ่เป็นการกู้ยืมเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล เช่น การผิดนัดชำระหนี้เงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย กู้ซื้อรถยนต์ และการบริโภคใช้จ่ายส่วนตัว เป็นต้น

     สำหรับ การผิดนัดชำระหนี้ดังกล่าวจะทำให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของแบงก์รัฐ 6 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามไปด้วย

              ขณะที่หนี้เอ็นพีแอลของแบงก์รัฐ 6 แห่งที่ผิดนัดชำระเกิน 3 เดือนขึ้นไป ล่าสุดเดือนมิถุนายน 2559 อยู่ที่ 9.24 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมีนาคม 2559 ประมาณ 2,000 ล้านบาท โดยธนาคารได้เร่งเจรจากับลูกหนี้ที่ผิดนัดชำระหนี้ ให้กลับมาชำระหนี้โดยเร็วเพื่อกลับมาเป็นหนี้ปกติ และไม่ให้ผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือน จนตกชั้นเป็นหนี้ เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น

     โดยภาพรวมของการดำเนินงานแบงก์รัฐทั้งหมด ในเดือนมิถุนายน 2559 มีสินเชื่ออยู่ที่ 4.16 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.9%จากช่วงเดียวกันปีก่อน และเพิ่มขึ้น 0.24% จากเดือนก่อนหน้า ด้านเงินรับฝาก อยู่ที่ 4.27 ล้านล้านบาท ขยายตัว 6.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อน และปรับเพิ่มขึ้น 1.0% จากเดือนก่อนหน้า ส่วนระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจมีเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง หรือ บีไอเอส อยู่ที่ 12.5% เป็นระดับที่เพียงพอต่อการดำเนินงานในระยะต่อไป

     อนึ่ง ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 18 ตุลาคม 2559 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบให้กระทรวงการคลังกำหนดอัตราเงินนำส่งเข้ากองทุนพัฒนาระบบสถาบันการเงินเฉพาะกิจ หรือกองทุนแบงก์รัฐ เพิ่มเป็น 0.25% ต่อปี จากเดิม 0.18% ต่อปี ของยอดเงินที่ได้รับจากประชาชน เช่น ยอดเงินฝากและสลากออมทรัพย์ โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2560 เป็นต้นไป

     การปรับเพิ่มเงินนำส่งเข้ากองทุนในครั้งนี้ เพื่อนำไปช่วยเหลือหรือสนับสนุนทางการเงินให้กับแบงก์รัฐ เช่น การเพิ่มทุนของไอแบงก์ ที่ปัจจุบันได้มีปัญหาขาดทุนและหนี้เสียอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะทำให้ช่วยลดภาระของกระทรวงการคลังในการจัดแหล่งเงินรองรับการเพิ่มทุนในอนาคต และให้ ไอแบงก์มีเงินทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง หรือบีไอเอส อยู่ที่ไม่น้อยกว่า 8.5% ตามหลักเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

คลังห่วงหนี้เสียแบงก์รัฐพุ่งสูง

     ไทยโพสต์ * คลังห่วงแนวโน้มลูกหนี้แบงก์รัฐส่อผิดนัดชำระหนี้ 1-3 เดือน เพิ่มขึ้นกว่า 4 หมื่นล้านบาท จี้ธนาคารเร่งเจรจาแก้ปัญหาก่อนตกชั้นเป็นหนี้เสีย

      แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า การผิดนัดชำระหนี้ที่เป็นลูกหนี้ของธนาคารรัฐที่รับฝากเงิน 6 แห่ง ในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว โดยหนี้ที่ผิดชำระ 1-3 เดือน ล่าสุดเดือน มิ.ย.2559 อยู่ที่ 1.76 แสนล้านบาท เทียบกับเดือน มี.ค. 2559 อยู่ที่ 1.38 แสนล้านบาท หรือเท่ากับมีหนี้ผิดนัดชำระเพิ่มขึ้นประมาณ 4 หมื่นล้านบาท

     ทั้งนี้ การผิดชำระหนี้ ส่วน ใหญ่เป็นการกู้ยืมเพื่ออุปโภคบริโภคส่วนบุคคล เช่น การผิดชำระหนี้เงินกู้เพื่อที่อยู่อาศัย กู้ซื้อรถยนต์ และการบริโภคใช้จ่ายส่วนตัว เป็นต้น

    สำหรับ หนี้ผิดชำระดังกล่าวจะทำให้หนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) ของธนาคารรัฐ 6 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารออมสิน ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ธนาคารพัฒนาวิสาห กิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) และธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามไปด้วย

   สำหรับ หนี้เอ็นพีแอลของธนาคารรัฐ 6 แห่ง ล่าสุดเดือน มิ.ย.2559 อยู่ที่ 9.24 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือน มี.ค.2559 ประมาณ 2 พันล้านบาท ซึ่งธนาคารได้เร่งเจรจากับลูกหนี้ที่ผิดชำระหนี้ให้กลับมาชำระหนี้เพื่อไม่ให้ผิดชำระหนี้เกิน 3 เดือน จนตกชั้นเป็นหนี้เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้น

     ทั้งนี้ ภาพรวมของการดำเนินงานของธนาคารรัฐทั้งหมด ใน เดือน มิ.ย.2559 มีสินเชื่ออยู่ที่ 4.16 ล้านล้านบาท ปรับเพิ่มขึ้น 3.9% ด้านเงินรับฝาก อยู่ที่ 4.27 ล้านล้านบาท ขยายตัว 6.2% จากช่วงเดียวกันปีก่อน.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!