WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1aMOU


ธ.ออมสิน MOU จัดซอฟท์โลน 3 หมื่นลบ.ผ่าน 18 สถาบันการเงินช่วยเอสเอ็มอีปรับเปลี่ยนเครื่องจักร

     ธนาคารออมสิน โดยมี นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เป็นผู้ให้ข้อมูล ธนาคารออมสินจัดเงินกู้ซอฟท์โลนอีก 3 หมื่นล้านบาท ผ่านสถาบันการเงินรวม 18 แห่ง ให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีเพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ภายใต้เงื่อนไข 'ห้ามรีไฟแนนซ์' ยื่นขอสินเชื่อได้ตั้งแต่วันนี้จนถึงสิ้นปี 59 คาดช่วยเหลือได้ 2,000 ราย โดยมีสาระสำคัญดังนี้

    GSB Chatchaiรัฐบาลได้ออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบกิจการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) อย่างต่อเนื่อง ทั้งแหล่งเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ สิทธิประโยชน์ทางภาษี ตลอดจนจัดหาตลาดเพื่อเป็นช่องทางจำหน่าย โดยล่าสุดคณะรัฐมนตรีได้มีมติอนุมัติโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ (ซอฟท์โลน) เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสำหรับเอสเอ็มอี วงเงิน 3 หมื่นล้านบาท โดยให้กำหนดวิธีการปล่อยสินเชื่อให้ทั่วถึง โดยเฉพาะไม่ให้รีไฟแนนซ์หนี้เดิม

    สำหรับ โครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสินเชื่อระยะยาว ให้แก่ผู้ประกอบการกิจการเอสเอ็มอีใช้ในการลงทุนหรือต่อเติมเปลี่ยนแปลง ขยายหรือทำให้ดีขึ้น ซึ่งทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับกิจการแต่ไม่ใช่เป็นการซ่อมแซมให้คงสภาพเดิม และต้องเป็นทรัพย์สินประเภทเครื่องจักร ส่วนประกอบอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรืออาคารถาวรเพื่อใช้เป็นที่ตั้งของเครื่องจักร แต่ไม่รวมถึงที่ดินและอาคารที่ใช้เพื่ออยู่อาศัย เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนในประเทศ ซึ่งมีบุคคลสัญชาติไทยถือหุ้นเกินกว่า 50% ของทุนจดทะเบียน ระยะเวลากู้ 7 ปี ดอกเบี้ย 4% ต่อปี และมาระยะเวลาปลอดดอกเบี้ย 1 ปีเพื่อให้เวลาในการสร้างโรงงาน  โดยปล่อยกู้ผ่านสถาบันการเงิน  18 แห่ง อัตราดอกเบี้ย 0.1% ต่อปี ซึ่งคาดว่าจะช่วยเหลือผู้ประกอบการได้ 2,000 ราย

       "เอสเอ็มอีที่สนใจสามารถขอสินเชื่อไดถึง 31 ธ.ค.59 หรือจนกว่าวงเงินจะถูกจัดสรรหมด โดยหลังจากอนุมัติเงินกู้มีระยะเวลาเบิกเงินกู้ถึง มิ.ย.60 เพื่อให้เวลาในการก่อสร้างโรงงาน ซึ่งการพิจารณาสินเชื่อจะใช้ลักษณะมาก่อนได้ก่อน โดยการดำเนินการตรงนี้ถือเป็นซอฟท์โลนของเอสเอ็มอีระยะที่ 3 ซึ่งก่อนหน้านี้มีซอฟท์โลนช่วยเอสเอ็มอีไปแล้ว 1.5 แสนล้านบาท ซึ่งสามารถช่วยเอสเอ็มอีได้ 30,000 ราย"

   ทั้งนี้ ในส่วนของ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB คาดหวังปล่อยกู้ซอฟท์โลน ระยะที่ 3 วงเงิน 30,000 ล้านบาท ที่ 8,000-10,000 ล้านบาท  ส่วนธนาคารมีไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) หรือ SCB ตั้งเป้าปล่อยซอฟท์โลนส่วนนี้  ประมาณ 20% ของวงเงิน 30,000 ล้านบาท  ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือ BBL ตั้งเป้าปล่อยซอฟท์โลน ประมาณ 10% ของวงเงิน 30,000 ล้านบาท  และธนาคารออมสิน ตั้งเป้าปล่อยซอฟท์โลน ประมาณ 1,500 ล้านบาท

      ในช่วงครึ่งปีแรกธนาคารออมสิน ได้ปล่อยสินเชื่อใหม่ไปแล้วมูลค่า 1.9 แสนล้านบาท คิดเป็น 60% ของเป้าหมายทั้งปีที่วางไว้ 300,000 ล้านบาท  โดยเป็นการเติบโตในสินเชื่อเกือบทุกประเภท เช่น เอสเอ็มอีปล่อยสินเชื่อไปแล้ว 1.8 หมื่นล้านบาท จากเป้าหมาย 3 หมื่นล้านบาท

    อย่างไรก็ตาม หากประเมินพอร์ตสินเชื่อรวมเมื่อเทียบกับปีก่อนยังติดลบ 1.5 หมื่นล้านบาท เพราะภาครัฐและรัฐวิสาหกิจมีการจ่ายคืนสินเชื่อกว่า 1.2 แสนล้านบาท ในช่วงเดือน พ.ค.-มิ.ย. แต่มั่นใจว่าพอร์ตสินเชื่อทั้งปีจะเติบโตได้ 6% ตามเป้าหมายที่วางไว้

   ปัจจุบันพอร์ตสินเชื่อของธนาคารอยู่ที่ 1.9 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นสินเชื่อของภาครัฐ 4.5 แสนล้านบาท และอีก 1.5 ล้านล้านบาท คือสินเชื่อรายย่อยรวมถึงเอสเอ็มอี โดยสถานการณ์สินเชื่อช่วงครึ่งปีหลังคาดว่าธนาคารจะมีการเร่งปล่อยสินเชื่อเพิ่มมากขึ้น โดยธนาคารออมสินพยายามปรับพอร์ตสินเชื่อให้กับเอสเอ็มอีมากขึ้น

   สำหรับ การลงทะเบียนพร้อมเพย์ของธนาคารตั้งเป้าหมายภายในเดือนก.ค.นี้ จะถึง 1 ล้านราย จากปัจจุบันอยู่ที่ 3-4 แสนรายแล้ว โดยจะเริ่มเปิดระบบให้ลงทะเบียนผ่านโมบายแบงกิ้งของธนาคาร ซึ่งคาดว่าจะช่วยผลักดันยอดลงทะเบียนให้เป็นไปตามเป้าหมาย

  ส่วนการลงทะเบียนสวัสดิการแห่งรัฐต่อผู้ที่มีรายได้ต่ำกว่า 100,000 บาทต่อปี ที่มีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป ที่เปิดให้ลงทะเบียนเดือนก.ค.  ขณะนี้มีผู้ลงทะเบียน 80,000-90,000 รายเท่านั้น จากเป้าหมายที่ธนาคารคาดไว้ 2 ล้านรายภายในเดือนนี้ โดยในระยะต่อไปธนาคารจะเริ่มลงพื้นที่ตามชุมชนเพื่อประชาสัมพันธ์ให้เข้าถึงกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีรายได้ เพราะต้องยอมรับว่ายอดลงทะเบียนถือว่าต่ำกว่าที่คาดไว้มาก ซึ่งคาดหวังให้ภาครัฐออกมาประกาศสิทธิประโยชน์ที่ได้รับหลังการลงทะเบียนเพื่อจูงใจให้ประชาชนมาลงทะเบียนมากขึ้น 

BSP

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!