- Details
- Category: แบงก์พาณิชย์
- Published: Tuesday, 01 September 2015 13:57
- Hits: 2199
TBANK คาดนโยบายกระตุ้นศก. จะหนุนสินเชื่อครึ่งหลังดีกว่าครึ่งปีแรกที่ติดลบ ตั้งเป้าคุม NPL ให้อยู่ระดับ 3%
นายสมเจตน์ หมู่ศิริเลิศ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและ กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารธนชาต (TBANK) ในกลุ่มบมจ.ทุนธนชาต (TCAP) คาดว่าสินเชื่อ ครึ่งปีหลังจะดีกว่าครึ่งปีแรกที่ติดลบ จากความคาดหวังนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะช่วยให้ การขยายตัวของสิน เชื่อกลับมาเป็นบวกได้ในไตรมาส 4/58 แต่ภาพรวมทั้งปีเชื่อว่าสินเชื่อรวมของ ธนาคารจะไม่ขยายตัวในปีนี้ (0%) เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยชะลอตัวตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา ส่งผล กระทบต่อการเติบโตสินเชื่อของธนาคารในครึ่งปีแรก
อย่างไรก็ตาม บริษัทมองว่าการที่คณะรัฐมนตรีชุดใหม่เข้ามาและจะมีการ ประกาศนโยบายกระตุ้น เศรษฐกิจออกมา จะสามารถช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจไทยให้กลับมาดีขึ้นได้ในระดับหนึ่ง และสามารถ สร้างความเชื่อมั่นของธุรกิจให้กลับมา ทำให้ภาคธุรกิจมีการลงทุนมากขึ้น และจะส่งผลดีต่อสินเชื่อ ธุรกิจเอสเอ็มอีและสินเชื่อธุรกิจขนาดใหญ่ให้ขยาย ตัวขึ้น และเมื่อลูกค้าของธนาคารมีความมั่นใจ กลับมาแล้วก็จะเบิกวงเงินสินเชื่อไปใช้ ในการลงทุนเพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันลูกค้าของธนาคารยังชะลอ การใช้สินเชื่อในช่วงนี้ เนื่องจากยังไม่มีความมั่นใจต่อเศรษฐกิจมากนัก
ทั้งนี้ มองว่าในช่วงไตรมาส 4/58 การขยายตัวของสินเชื่อจะสามารถกลับมาเป็นบวกได้ หาก มาตรการกระตุ้นเศษฐกิจของรัฐบาลได้ผล แต่ยังมีปัจจัยเสี่ยงที่ยังกดดันการขยายตัวของสินเชื่อรวม ของธนาคาร คือ ภาวะตลาดรถยนต์ที่ชะลอตัว ส่งผลให้สินเชื่อรถยนต์ของธนาคารหดตัว โดยในครึ่ง ปีแรกสินเชื่อรถยนต์ของธนาคารติดลบ 4-5% ซึ่งพอร์ตสินเชื่อรถยนต์ของธนาคารมีสัดส่วนมากที่สุดอยู่ ที่ 50% อย่างไรก็ตามธนาคารได้กระจายสัดส่วนพอร์ตสินเชื่อไปที่ธุรกิจเอสเอ็มอี และธุรกิจขนาด ใหญ่เพิ่มมากขึ้น เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยง
ด้านสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของธนาคารในปีนี้จะคุมให้อยู่ในระดับที่ 3% โดยแนว โน้ม NPL ในครึ่งปีหลังจะปรับลดลงจากครึ่งปีแรกที่ NPL อยู่ที่ 3.6% เป็นผลจากการปรับโครง สร้างหนี้ให้กับลูกค้า และการตัดจำหน่ายหนี้สงสัยจะสูญ ทั้งนี้ กระบวนการลด NPL ของธนาคารนั้น ส่งผลให้การตั้งสำรองในครึ่งปีหลังลดลงด้วย ซึ่งการตั้งสำรองปกติจะลดลงจากครึ่งปีแรกที่ตั้งสำรอง อยู่ที่กว่า 3 พันล้านบาท
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย