- Details
- Category: แบงก์พาณิชย์
- Published: Monday, 23 June 2014 22:50
- Hits: 3163
สินเชื่อแบงก์รัฐทะลุ 4 ล้านล้านออมสินปล่อยกู้นำโด่งวงเงินกว่า 1.54 ล้านล้าน
แนวหน้า : รายงานข่าวจากสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยข้อมูลผลดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ณ สิ้นเดือนมีนาคมหรือไตรมาสแรกปี2557 ว่ายอดสินเชื่อสุทธิรวมทั้งระบบอยู่ที่ 4.03 ล้านล้านบาทเพิ่มจากสิ้นปีก่อน 6.89 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นยอดปล่อยสินเชื่อคงค้างของธนาคารออมสินอยู่ที่ 1.54 ล้านล้านบาทหรือเพิ่มจากสิ้นปีก่อน 8,472 ล้านบาท ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มียอดสินเชื่อคงค้าง1.2 ล้านล้านบาท เพิ่มจากสิ้นปีก่อน 3.91 หมื่นล้านบาท
ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) มียอดสินเชื่อคงค้าง 7.46 แสนล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 9,878 ล้านบาท ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) มียอดสินเชื่อคงค้าง 1.08 แสนล้านบาท เพิ่มจากสิ้นปีก่อน 220 ล้านบาท ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (เอ็กซิมแบงก์) มียอดสินเชื่อคงค้าง 7.32 หมื่นล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 5,712 ล้านบาท
ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ( เอสเอ็มอีแบงก์) มียอดสินเชื่อคงค้าง 9.12 หมื่นล้านบาท ลดลงจากสิ้นปีก่อน 2,200 ล้านบาท บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มียอดค้ำประกันสินเชื่อคงค้าง2.49 แสนล้านบาท เพิ่มจากสิ้นปีก่อน 6,300 ล้านบาท และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) มีเงินลงทุนในลูกหนี้อยู่ที่ 7,346 ล้านบาท เพิ่มจากสิ้นปีก่อน 1,482 ล้านบาท
ขณะที่ยอดเงินฝากทั้งระบบอยู่ที่ 3.72 ล้านล้านบาท เพิ่ม 9.78 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น ธนาคารออมสินมียอดเงินฝากคงค้าง 1.82 ล้านล้านบาท เพิ่ม 3.75 หมื่นล้านบาท ธ.ก.ส. มียอดเงินฝากคงค้าง 1.15 ล้านล้านบาท เพิ่ม 1.02 แสนล้านบาท ธอส. มียอดสินเชื่อคงค้าง 6.24 แสนล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 2.49 หมื่นล้านบาท ไอแบงก์ มียอดสินเชื่อคงค้าง 1.19 แสนล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 8,252 ล้านบาท
ส่วนทางด้านยอดสินทรัพย์คงค้างทั้งระบบอยู่ที่ 4.55 ล้านล้านบาท เพิ่มจากปีก่อน 8.72 หมื่นล้านบาท ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ที่ 2.74 หมื่นล้านบาท เพิ่มจากสิ้นปีที่ยอดเอ็นพีแอลอยู่ที่ 2.26 หมื่นล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธิอยู่ที่ 1.19 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ตาม จากการหารือระหว่างผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลัง ร่วมกับ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ เห็นชอบมาตรการสินเชื่อผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากปัญหาการเมืองรวมทั้งสิ้น 11 มาตรการ คิดเป็นวงเงินรวม 3.43 แสนล้านบาทได้แก่ ธนาคารออมสิน ในโครงการสินเชื่อเอสเอ็มอีสุขใจ วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ธ.ก.ส. ออกโครงการเพิ่มสินเชื่อตลอดห่วงโซ่อุปทาน วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท
เอสเอ็มอีแบงก์ ออกโครงการขยายสินเชื่อพัฒนาผลิตภาพการผลิต 2 วงเงิน 3,000 ล้านบาท และโครงการสินเชื่อสนับสนุนผู้ประกอบการตามยุทธศาสตร์กระทรวงอุตสาหกรรม 5,000 ล้านบาท เอ็กซิมแบงก์ ออกโครงการขยายสินเชื่อให้เอสเอ็มอี1 หมื่นล้านบาท บสย. ออกมาตรการจ่ายค่าธรรมเนี้ยมค้ำประกันแทนเอสเอ็มอีปีแรก (PGS5) วงเงิน 1.19 แสนล้านบาท โดยของบชดเชย 1,224 ล้านบาท มาตรการให้ความช่วยเหลือไมโครเอสเอ็มอี 5,000 ล้านบาท มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการโอท็อป 1 หมื่นล้านบาท และมาตรการพักชำระค่าธรรมเนียมค้ำประกัน 6 เดือน
แบงก์รัฐปล่อยกู้พยุงเศรษฐกิจ ไตรมาส 1 สินเชื่อเพิ่ม 7 หมื่นล้าน
ไทยโพสต์ : พระรามหก * คลังแจงผลงานแบงก์รัฐไตรมาสแรก ปี 57 ดันสินเชื่อสู่ระบบ 4.03 ล้านล้านบาท กวาดกำไร 1.19 หมื่นล้านบาท ด้านเอ็นพีแอลทะยานเพิ่ม 2.26 หมื่นล้านบาท
รายงานข่าวจากสำนัก งานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) เปิดเผยข้อมูลผลดำเนินงานของสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ ณ สิ้นเดือน มี.ค. หรือไตรมาสแรกของปี 2557 ว่า ยอดสินเชื่อสุทธิรวมทั้งระบบอยู่ที่ระดับ 4.03 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน 6.89 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นยอดปล่อยสินเชื่อคงค้างของธนาคารออมสิน อยู่ที่ระดับ 1.54 ล้านล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนเพียง 8.47 พันล้านบาท ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) มียอดสินเชื่อคงค้างอยู่ที่ 1.2 ล้านล้านบาท เพิ่มจากสิ้นปีก่อน 3.91 หมื่นล้านบาท ธนาคารอาคารสงเคราะห์ (ธอส.) มียอดสินเชื่อคงค้างที่ 7.46 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 9.87 พันล้านบาท
ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) มียอดสินเชื่อคงค้าง 1.08 แสนล้านบาท เพื่มจากสิ้นปีก่อนประมาณ 220 ล้านบาท ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศ ไทย (ธสน.) หรือเอ็กซิมแบงก์ มียอดสินเชื่อคงค้าง 7.32 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 5.71 พันล้านบาท ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ มียอดสินเชื่อคงค้าง 9.12 หมื่นล้านบาท ลดลงจากสิ้นปีก่อน 2.2 พันล้านบาท
ขณะที่บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.) มียอดค้ำประกันสินเชื่อคงค้างที่ 2.49 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อน 6.3 พันล้านบาท และบรรษัทตลาดรองสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัย (บตท.) มีเงินลงทุนในลูกหนี้อยู่ที่ 7.34 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนที่ 1.48 พันล้านบาท
สำหรับยอดเงินฝากทั้งระบบ ณ สิ้นไตรมาสแรก อยู่ที่ 3.72 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.78 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นธนาคารออมสิน มียอดเงินฝากคงค้าง 1.82 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.75 หมื่นล้านบาท ธ.ก.ส.มียอดเงินฝากคงค้าง 1.15 ล้านล้านบาท เพื่มขึ้น 1.02 แสนล้านบาท ธอส. มียอดสินเชื่อคงค้าง 6.24 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 2.49 หมื่นล้านบาท ไอแบงก์มียอดสินเชื่อคงค้าง 1.19 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.25 พันล้านบาท
นอกจากนี้ ยอดสินทรัพย์คงค้าง ณ สิ้นไตรมาสแรกของทั้งระบบอยู่ที่ 4.55 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 8.72 หมื่นล้านบาท ยอดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) อยู่ที่ 2.74 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นปีก่อนที่ยอดเอ็นพีแอลอยู่ที่ 2.26 หมื่นล้านบาท ขณะที่กำไรสุทธิ ณ สิ้นไตรมาสแรกอยู่ที่ 1.19 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ดี จากการหารือระหว่างผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงการคลัง ร่วมกับ พล.อ.อ. ประจิน จั่นตอง รองหัวหน้ารักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ในฐานะหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ เห็นพ้องเรื่องมาตรการสินเชื่อผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้ เพื่อบรรเทาผล กระทบจากปัญหาการเมืองในช่วงที่ผ่านมา รวมทั้งสิ้น 11 มาตรการ คิดเป็นวงเงินรวมทั้งสิ้นกว่า 3.43 แสนล้านบาท อาทิ ธนาคารออมสิน ในโครงการสินเชื่อเอสเอ็มอีสุขใจวงเงิน 2 หมื่นล้านบาท ธ.ก.ส.ออกโครงการเพิ่มสินเชื่อตลอดห่วงโซ่อุปทาน วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท.