WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ฟิทช์ : ธนาคารพาณิชย์ไทยน่าจะออกตราสารด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 เพิ่มมากขึ้นในอนาคต

ฟิทช์ เรทติ้งส์-กรุงเทพฯ/สิงค์โปร์-  9 มิถุนายน 2557: ฟิทช์ เรทติ้งส์ กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์ไทยน่าจะมีการออกหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 เพิ่มขึ้น เนื่องจากธนาคารพาณิชย์ไทยจำเป็นที่จะต้องเสริมสร้างเงินกองทุนให้แข็งแกร่งมากขึ้น นอกจากนี้กฎเกณฑ์ต่างๆ ได้มีการปรับปรุงให้มีความชัดเจนมากขึ้นแล้ว รวมทั้งนักลงทุนมีการยอมรับการลงทุนในตราสารประเภทดังกล่าว

แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มมีการบังคับใช้เกณฑ์บาเซล 3 ไปแล้วตั้งแต่เดือนมกราคม 2556 แต่การออกหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 นั้นยังมีจำนวนไม่มากนักในช่วงแรก โดยเป็นการเสนอขายในวงจำกัด (private placement) และมีมูลค่าค้อนข้างน้อย ดังนั้นแผนการเสนอขายหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 ของธนาคารธนชาต (TBANK, อันดับเครดิตภายประเทศ ‘A+(tha)’/แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ) ในวันที่ 19 มิถุนายน จึงจะเป็นการเสนอขายหุ้นกู้ประเภทดังกล่าวครั้งแรกในวงกว้างในประเทศไทย

หลักเกณฑ์ของฟิทช์ในการจัดอันดับเครดิตตราสารที่มีคุณสมบัติตามเกณฑ์บาเซล 3 จะเป็นการปรับลดอันดับเครดิตลงจากอันดับเครดิตที่ใช้อ้างอิง (anchor rating) ซึ่งจะพิจารณาจากระดับความเสี่ยงที่ตราสารดังกล่าวจะไม่สามารถชำระผลตอบแทนได้ตามที่ได้กำหนดไว้ (non-performance risks) และการขาดทุนจากการรับชำระคืนเงินกู้ (loss severity risk)  สำหรับประเทศไทยหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 ที่ผ่านมาได้มีการระบุถึงปัจจัยที่จะทำให้ผู้ถือตราสารประเภทดังกล่าวต้องรองรับผลขาดทุนไว้เพียงปัจจัยเดียวคือเมื่อธนาคารมีผลการดำเนินงานที่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ (at point of non-viability) ทั้งนี้ตราสารประเภทดังกล่าวไม่ได้มีการระบุถึงการรองรับผลขาดทุนในระหว่างดำเนินการ (going-concern loss absorption) ดังนั้นจึงไม่มีการปรับอันดับเครดิตลดลงเพิ่มเติมจากอันดับเคดดิตที่ใช้อ้างอิงสำหรับความเสี่ยงที่ตราสารดังกล่าวจะไม่สามารถชำระผลตอบแทนได้ตามที่กำหนดในระหว่างการดำเนินงาน ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของฟิทช์

ปัจจัยที่จะแสดงว่าธนาคารมีผลการดำเนินงานที่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้แล้ว คือเมื่อทางการตัดสินใจเข้าให้การช่วยเหลือทางการเงินแก่ธนาคารเพื่อให้ธนาคารสามารถดำเนินกิจการต่อได้ ในกรณีที่ธนาคารมีผลการดำเนินงานที่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้  ตราสารดังกล่าวซึ่งมีคุณสมบัติที่ด้อยสิทธิในโครงสร้างเงินทุนจะมีระดับหนี้สูญที่อาจได้รับคืน (debt recovery) ที่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับตราสารที่ไม่ด้อยสิทธิ ดังนั้นเพื่อสะท้อนถึงความเสี่ยงของการขาดทุนจากการรับชำระคืนเงินกู้ ในกรณีปรกติฟิทช์จะปรับลดอันดับเครดิตของตราสารที่ด้อยสิทธิลง 1 อันดับจากอันดับเครดิตที่ใช้อ้างอิง และ 2 อันดับในกรณีที่น่าจะเกิดการขาดทุนในระดับสูงมาก (ตัวอย่างเช่น ในกรณีที่มีการระบุอย่างชัดเจนว่าตราสารดังกล่าวจะถูกตัดเป็นหนี้สูญทั้งจำนวนอย่างถาวร)

หุ้นกู้ที่นับเป็นกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 ของธนาคาร ยูโอบี (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ UOBT (‘A-’/แนวโน้มมีเสถียรภาพ) จำนวน 170 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่ธนาคารเสนอขายในวงจำกัดเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2556 มีการระบุถึงการรองรับผลขาดทุนในลักษณะที่จะถูกตัดเป็นหนี้สูญทั้งจำนวนอย่างถาวรเมื่อธนาคารมีผลการดำเนินงานที่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ซึ่งในกรณีนี้อันดับเครดิตของหุ้นกู้ดังกล่าวจะถูกปรับลดอันดับลง 2 อันดับจากอันดับเครดิตที่ใช้อ้างอิง แม้ว่าโดยทั่วไปอันดับเครดิตที่ใช้อ้างอิงคืออันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน หรือ Viability Rating ของผู้ออกหุ้นกู้ แต่ในกรณีของธนาคารที่เป็นบริษัทลูกของธนาคารแม่ เช่น UOBT ฟิทช์เชื่อว่าธนาคารแม่จะให้ความช่วยเหลือกับธนาคารลูกล่วงหน้าเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ธนาคารลูกมีผลการดำเนินงานที่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้  ดังนั้นในกรณีนี้อันดับเครดิตที่เหมาะสมในการใช้อ้างอิงจะเป็นอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Issuer Default Rating) ของธนาคาร

หุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 ที่จะออกโดย TBANK มีคุณสมบัติที่สามารถแปลงสภาพเป็นหุ้นสามัญ เมื่อธนาคารมีผลการดำเนินงานที่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ด้วยคุณสมบัติดังกล่าวอันดับเครดิตของหุ้นกู้น่าจะถูกปรับลงจากอันดับเครดิตที่ใช้อ้างอิง 1 อันดับ ซึ่งในกรณีของ TBANK อันดับเครดิตที่ใช้อ้างอิงคืออันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารที่ ‘A+(tha)’ ซึ่งพิจารณาจากความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารเอง (stand-alone)

ณ สิ้นปี 2556 ธนาคารพาณิชย์ไทยทั้งหมดมียอดคงค้างของหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ที่ 270 พันล้านบาท โดยเกือบทั้งหมดเป็นหุ้นกู้เดิมตามเกณฑ์บาเซล 2 เนื่องจากหุ้นกู้เหล่านี้ต้องทยอยหมดสิทธิในการนับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 รวมทั้งต้องทยอยไถ่ถอนเมื่อครบกำหนด  ฟิทช์คาดว่าหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 จะลดลงประมาณ 81 พันล้านบาทในปี 2557 และลดลงต่อเนื่องอีก 53 พันล้านบาทในปี 2558  ซึ่งแสดงว่าธนาคารพาณิชย์ไทยน่าจะมีความจำเป็นที่จะต้องออกหุ้นกู้ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 เพิ่มขึ้นอย่างมากในอนาคต เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งในด้านเงินกองทุน

อย่างไรก็ตามอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (core Tier 1) ของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยยังคงอยู่ในระดับที่เพียงพอที่ประมาณ 11.63% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2557 ซึ่งอาจแสดงว่าแรงกดดันต่อธนาคารพาณิชย์ไทยส่วนใหญ่ในการออกตราสารที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ตามเกณฑ์บาเซล 3 ยังคงมีไม่มากนัก

รายละเอียดเพิ่มเติมเรื่องหลักเกณฑ์การพิจารณาอันดับเครดิตของตราสารด้อยสิทธิและตราสารด้อยสิทธิที่มีลักษณะคล้ายทุนของธนาคาร แสดงไว้ใน “Assessing and Rating Bank Subordinated and Hybrid Securities Criteria” ลงวันที่ 31 มกราคม 2557 ซึ่งสามารถหาได้จาก www.fitchratings.com

ติดต่อ

 

พาสันติ์ สิงหะ, CFA

Senior Director

สถาบันการเงิน

+662 108 0151

พชร ศรายุทธ

Director

+662 108 0152

ข้อมูลเพิ่มเติมหาได้จาก  www.fitchratings.com

การใช้อันดับเครดิตที่จัดทำโดยฟิทช์เรทติ้งส์มีข้อจำกัดและขอบเขตการใช้ ซึ่งข้อจำกัดและขอบเขตของการใช้อันดับเครดิตดังกล่าวสามารถหาได้จาก HTTP://FITCHRATINGS.COM/UNDERSTANDINGCREDITRATINGS  นอกจากนี้คำจำกัดความของอันดับเครดิตและการใช้อันดับเครดิตของ ฟิทช์ เรทติ้งส์ สามารถหาได้จาก www.fitchratings.com อันดับเครดิตที่ประกาศ หลักเกณฑ์และวิธีการจัดอันดับเครดิต ได้แสดงไว้ในเว็บไซต์ดังกล่าวตลอดเวลา หลักจรรยาบรรณ การรักษาข้อมูลภายใน ความขัดแย้งทางผลประโยชน์ที่อาจเกิดขึ้น แนวทางการเปิดเผยข้อมูลระหว่างบริษัทในเครือ กฎข้อบังคับรวมทั้งนโยบายและกระบวนการที่เกี่ยวข้องอื่นๆของฟิทช์ ได้แสดงไว้ในส่วน หลักจรรยาบรรณในเว็บไซต์ดังกล่าวเช่นกัน ฟิทช์อาจจะมีการให้บริการจัดอันดับอื่น ๆ ที่ได้รับอนุญาตให้แก่บริษัทที่ฟิทช์จัดอันดับเครดิตอยู่หรือบริษัทที่เกี่ยวข้องกับบริษัทที่ฟิทช์จัดอันดับเครดิตอยู่  ซึ่งรายละเอียดสำหรับการให้บริการจัดอันดับอื่น ๆ ดังกล่าวโดยนักวิเคราะห์หลัก (Lead Analyst) ที่อยู่ในหน่วยงานของฟิทช์ที่จดทะเบียนในสหภาพยุโรป ได้แสดงไว้ที่หน้าแรกของบริษัทนั้น ๆ ในเว็ปไซต์ของฟิทช์ เรทติ้งส์ www.fitchratings.com

Fitch: Expect More Basel III Tier 2 Issues from Thai Banks

Fitch Ratings–Bangkok/Singapore – 9 June 2014: Fitch Ratings says that issuance of Basel III-compliant Tier 2 instruments by Thai banks is likely to increase, driven by the banks’ need to replenish their capital, improved regulatory clarity and investor acceptance.

While the Bank of Thailand has implemented the Basel III framework since January 2013, issuance of Basel III-compliant instruments was initially limited to relatively small private placements. The proposed issue of Thanachart Bank Public Company Limited’s (TBANK; A+(tha)/Negative) Basel III Tier 2 instrument on 19 June will be the first widely-distributed transaction  in the domestic market.

Fitch’s approach to rating Basel III instruments is to notch down from an issuer’s anchor rating based on non-performance risk as well as loss severity risk. The Basel III Tier 2 instruments seen in Thailand thus far stipulate that losses would be triggered only at the point of non-viability. As they do not include any going-concern loss absorption, under Fitch’s criteria there would be no notching down from the anchor rating for non-performance risk.

The non-viability trigger is the injection of public funds to prevent the bank from failing. After non-viability, the subordination of these instruments means there would be reduced recovery prospects relative to senior debt. To reflect this loss severity risk, Fitch’s base case would be to rate the instrument by one notch below the anchor rating, and by two notches if very high losses are highly probable (for example in the case of a mandatory full and permanent write-down).

The privately-placed USD170m Basel III Tier 2 issue by the United Overseas Bank (Thai) Public Company Limited (UOBT; A-/Stable) on 25 March 2013 included a provision for full and permanent write-down of the instrument at non-viability, which implies an instrument rating two notches below the anchor rating. While the anchor rating would usually be the issuer’s Viability Rating, in the case of subsidiary banks such as UOBT, Fitch considers that the parent bank would most likely provide pre-emptive support to prevent non-viability. Hence, the appropriate anchor would be the issuer’s IDR.

TBANK’s planned Basel III Tier 2 issue will incorporate a conversion to common equity at non-viability. That structure would suggest a one-notch differential from its anchor rating, which for TBANK is the entity’s stand-alone ‘A+(tha)’ rating.

As at end-2013, there was THB270bn in subordinated debt included as Tier 2 capital at Thai commercial banks, virtually all of which are legacy Basel II instruments. Due to the phasing out of these legacy instruments as well as ongoing redemptions, Fitch estimates that this stock of Tier 2 capital would decline by THB81bn in 2014and by a further THB53bn in 2015. This suggests that Thai banks will need to issue significant amounts of Basel III Tier 2 instruments to replenish their capital. 

However, comfortable levels of Core Tier 1 equity ratios in the Thai system of around 11.63% as at end-March 2014 suggest limited immediate pressure to issue Basel III Tier 1 instruments for most of the banks.

More details on how Fitch assesses risks in bank subordinated and hybrid securities can be found in the report "Assessing and Rating Bank Subordinated and Hybrid Securities Criteria", dated 31 January 2014, at www.fitchratings.com

Contacts:

Parson Singha, CFA

Senior Director

+662 108 0151

Fitch Ratings (Thailand) Limited

Park Ventures, Level 17

57 Wireless Road, Lumpini

Patumwan, Bangkok 10330

Patchara Sarayudh

Director

+662 108 0152

Additional information is available at www.fitchratings.com.

ALL FITCH CREDIT RATINGS ARE SUBJECT TO CERTAIN LIMITATIONS AND DISCLAIMERS. PLEASE READ THESE LIMITATIONS AND DISCLAIMERS BY FOLLOWING THIS LINK: HTTP://FITCHRATINGS.COM/UNDERSTANDINGCREDITRATINGS. IN ADDITION, RATING DEFINITIONS AND THE TERMS OF USE OF SUCH RATINGS ARE AVAILABLE ON THE AGENCY'S PUBLIC WEBSITE 'WWW.FITCHRATINGS.COM'. PUBLISHED RATINGS, CRITERIA AND METHODOLOGIES ARE AVAILABLE FROM THIS SITE AT ALL TIMES. FITCH'S CODE OF CONDUCT, CONFIDENTIALITY, CONFLICTS OF INTEREST, AFFILIATE FIREWALL, COMPLIANCE AND OTHER RELEVANT POLICIES AND PROCEDURES ARE ALSO AVAILABLE FROM THE 'CODE OF CONDUCT' SECTION OF THIS SITE. FITCH MAY HAVE PROVIDED ANOTHER PERMISSIBLE SERVICE TO THE RATED ENTITY OR ITS RELATED THIRD PARTIES. DETAILS OF THIS SERVICE FOR RATINGS FOR WHICH THE LEAD ANALYST IS BASED IN AN EU-REGISTERED ENTITY CAN BE FOUND ON THE ENTITY SUMMARY PAGE FOR THIS ISSUER ON THE FITCH WEBSITE.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!