WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เอสเอ็มอีแบงก์คึกปล่อยกู้พุ่ง 4 พันล. เชื่อพันธมิตรช่วยกรองลูกค้า

     แนวหน้า : เอสเอ็มอีแบงก์คึกปล่อยกู้พุ่ง4พันล. เชื่อพันธมิตรช่วยกรองลูกค้า มั่นใจไม่มีปัญหาเอ็นพีแอล

     นางสาลินี วังตาล ประธานกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยถึงการปล่อยสินเชื่อใหม่ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมาพบว่าขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าของ 2 เดือนแรก (มกราคม-กุมภาพันธ์ 2558) หรือมีการปล่อยสินเชื่อใหม่ไปประมาณ 4,000 ล้านบาท จากปกติสินเชื่อจะขยายตัวอยู่ที่ประมาณ 1,600-1,700 ล้านบาท ต่อเดือน ทั้งนี้ เป็นผลมาจากการเร่งปล่อยสินเชื่อซึ่งได้ร่วมมือกับพันธมิตรอย่างกระทรวงอุตสาหกรรม สมาพันธ์เอสเอ็มอีไทย ที่ช่วยคัดกรองลูกค้าที่ดีมาให้ธนาคาร

     ขณะที่แผนฟื้นฟูกิจการของธนาคารยังคงทำเป็นไปตามที่คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ดกำหนดไว้ โดยสามารถลดหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ หรือเอ็นพีแอลลงอย่างต่อเนื่อง และผลจากการปล่อยสินเชื่อได้เพิ่มขึ้นในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา คาดว่าการปล่อยสินเชื่อใหม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ 4 หมื่นล้านบาท

    “การเร่งปล่อยสินเชื่อจนทำให้เดือนมีนาคมที่ผ่านมาขยายตัวเพิ่มเป็น 2 เท่าดังกล่าว ทำให้บางคนเป็นห่วงว่าสินเชื่อใหม่ที่เข้ามาจะทำให้มีเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นหรือไม่ ซึ่งเรื่องนี้เราขอยืนยันว่าการปล่อยสินเชื่อของธนาคารมีพันธมิตรที่ดีช่วยคัดกรองลูกค้าก่อนที่จะส่งเข้ามายื่นคำขอกู้จากธนาคารทำให้เราหมดกังวลเรื่องหนี้เน่านางสาลินี กล่าว

    นอกจากนี้ ธนาคารยังเตรียมปล่อยสินเชื่อวงเงินรวม 1.5 หมื่นล้านบาท ตามมาตรการของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เพื่อลดความเหลื่อมล้ำและแก้ไขปัญหาความยากจน ในอัตราดอกเบี้ย 7% ในส่วนนี้ได้ขอชดเชยจากกระทรวงการคลัง 3% ซึ่งได้รับหลักการแล้วและจะเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นชอบอีกครั้งเพราะต้องพิจารณาในส่วนของเงินงบประมาณที่จะนำมาดำเนินการ คาดว่ามาตรการดังกล่าวจะมีผลในเดือนเมษายนนี้

   มาตรการดังกล่าวจะช่วยเหลือเอสเอ็มอี 4 กลุ่ม คือ 1.ช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาเศรษฐกิจ 2.เอสเอ็มอีที่มีนวัตกรรมใหม่ 3.เอสเอ็มอีขนาดเล็กที่มีศักยภาพที่มีโอกาสเติบโตไปขนาดกลาง 4.ธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีการขายไปยังกลุ่มประเทศประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี

      อย่างไรก็ตาม ธนาคารจะขอปรับเพิ่มวงเงินกู้ไม่เกิน 50 ล้านบาทต่อรายใน 2 กลุ่มหลัง จากที่ต้องปล่อยกู้วงเงินไม่เกิน 15 ล้านบาทต่อรายตามมติของซูเปอร์บอร์ด เนื่องจากมองว่าเป็นกลุ่มที่มีความสามารถในการดำเนินการ ที่มีโอกาสขยายไปยังต่างประเทศได้

   นอกจากนี้ ยังมีโครงการจัดตั้งเว็บไซต์ซึ่งเป็น 1 ใน 10 มาตรการ ตามมติของครม. เพื่อช่วยผู้ประกอบการเอสเอ็มอีให้เข้าถึงแหล่งเงินทุนในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัวโดยสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) เป็นผู้ดำเนินการจัดทำร่วมกับธนาคารและ กระทรวงพาณิชย์ เพื่อเพิ่มช่องการจำหน่ายสินค้าระหว่างผู้ประกอบการและผู้ซื้อค้าส่งค้าปลีก ที่สามารถติดต่อกันได้ตลอดเวลา และมีโอกาสขยายตัวไปยังต่างประเทศ

.ธพว.วอนซูเปอร์บอร์ดขยายวงเงินกู้ช่วย SME

    ไทยโพสต์ : พระราม 6 * เอสเอ็มอีเตรียมอ้อนซูเปอร์บอร์ดขยายวงเงินปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำ ฟุ้งสินเชื่อใหม่เดือน มี.ค. พุ่ง 4 พันล้านบาท ออมสินคลอดมาตรการพักชำระหนี้เงินต้น นานสูงสุด 2 ปี

   นางสาลินี วังตาล ประ ธานกรรมการธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ เปิดเผยว่า ขณะนี้ได้เสนอให้กระทรวงการคลังพิจารณาโครงการปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำ วงเงิน 1.5 หมื่นล้านบาท ระยะเวลา 5 ปี โดยคิดอัตราดอกเบี้ย 7% โดยหลังจากนี้จะมีการเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาในรายละเอียดอีกครั้ง ซึ่งรวมถึงการชดเชยภาระดอกเบี้ยให้ธนาคารในอัตรา 3% ด้วย ก่อนที่โครงการดังกล่าวจะมีผลในเดือน เม.ย.2558 ซึ่งเป็นไปตามโครงการให้ความช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (เอสเอ็มอี)

   ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวมีการกำหนดหลักเกณฑ์การปล่อยกู้ตามความเหมาะสมของประเภทลูกค้า โดยในกลุ่มที่น่าเป็นห่วง คือ กลุ่มลูกค้าที่รองรับการขยายตัวของการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ซึ่งกลุ่มนี้ธนาคารประเมินว่าอาจมีความต้องการใช้เงินทุนมากกว่า 15 ล้านบาท จึงอาจมีการหารือกับคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด เพื่อปรับเกณฑ์การปล่อยกู้เพิ่มเป็น 50 ล้านบาท ส่วนกลุ่มอื่นๆ วงเงินไม่น่าจะมีปัญหา

    นางสาลินีกล่าวอีกว่า ภาพรวมการปล่อยสินเชื่อในเดือน มี.ค.2558 ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า หรือประมาณ 4 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับช่วง 2 เดือนแรกของปี (ม.ค.-ก.พ.58) ขณะที่แผนฟื้นฟูกิจการของธนาคารยังคงทำเป็นไปตามที่ซูเปอร์บอร์ดกำหนดไว้ คาดว่าปีนี้การปล่อยสินเชื่อใหม่เป็นไปตามเป้าหมายที่ 4 หมื่นล้านบาท

     ด้าน นายสมชัย สัจจพงษ์ ประธานกรรมการธนาคารออม สิน เปิดเผยว่า ธนาคารได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกค้าเงินกู้ที่ได้รับผลกระทบจากราคาพืชผลการเกษตรตกต่ำ ภัยธรรมชาติ การจัดระเบียบที่ทำกิน โดยจะเปิดให้พักชำระหนี้เงินต้นสูงสุด 2 ปี ซึ่งธนาคารจะเปิดให้ลูกค้าลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการตั้ง แต่วันที่ 1 เม.ย.2558 จนถึงวันที่ 30 มิ.ย.2558

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!