WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ME by TMB ปลุกเงินของคุณให้ ‘ตื่น’

สถานการณ์การออมของคนไทยได้ถูกหยิบยกขึ้นมาพูดถึงอยู่บ่อยครั้ง และในภาพรวมพบว่าพฤติกรรมการออมของคนไทยน้อยลง แต่เมื่อลงลึกไปในข้อมูลจะพบว่า แท้จริงแล้วคนไทยทั้งประเทศมีบัญชีออมทรัพย์รวมกว่า 72 ล้านบัญชี และมีเงินออมในระบบรวมแล้วกว่า 10 ล้านล้านบาท (ตัวเลขล่าสุดในวันที่ 28 เม.ย. 2557, ธนาคารแห่งประเทศไทย) คิดเป็นเงินในบัญชีออมทรัพย์สูงถึง 4.9 ล้านล้านบาท ซึ่งหากพิจารณาแล้วพบว่า แท้จริงแล้ว คนไทยไม่ได้ออมน้อยลงเลย แต่ปัญหาคือเราออมอย่างถูกวิธีหรือไม่ การที่เราปล่อยเงินให้นอนนิ่งๆ อยู่ในบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ นั่นไม่ต่างอะไรกับการปล่อยเงินนอนหลับอยู่แล้วรอเวลาที่จะลดมูลค่าลง เปรียบได้กับคำว่า “ยิ่งออม ยิ่งไม่งอกเงย”

“ดังนั้น...จึงถึงเวลาแล้วที่จะต้อง “ปลุก” เงินของคุณให้ “ตื่น” เพื่อให้เงินได้งอกเงย โดยการเปลี่ยนมุมมองใหม่ ให้มองการออมเป็นการลงทุนรูปแบบหนึ่ง ซึ่งการออมเพื่อการลงทุน ถือเป็นรูปแบบการลงทุนและการบริหารเงินที่ไม่มีความเสี่ยง โดยมีเคล็ดลับง่ายๆ คือ การเลือกออมในบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อ เช่น บัญชี ME ซึ่งให้ดอกเบี้ยสูงสุดถึง 3.25 เปอร์เซ็นต์ หรือสูงกว่าบัญชีออมทรัพย์ทั่วไปถึง 6 เท่า อีกทั้งเป็นบัญชีที่มีความคล่องตัวในการฝากหรือถอน สามารถเช็คดูจำนวนดอกเบี้ยที่งอกเงยทุกวันเพื่อเป็นกำลังใจในการออม  ME by TMB จึงจัดกิจกรรมภายใต้ชื่อ “WAKE UP YOUR MONEY WITH ME” ปลุกเงินให้ตื่น กระตุ้นคนไทยให้ปลุกเงินที่นอนหลับอยู่ในบัญชีออมทรัพย์ที่ให้ดอกเบี้ยต่ำ มาศึกษาทางเลือกการออมใหม่ๆ ที่ให้ดอกเบี้ยสูงเช่น ME by TMB”   นางสาวรัชดา เสริมศิลปกุล ผู้อำนวยการการตลาดและการขาย ME by TMB กล่าว

เพราะฉะนั้นถ้าอยากมั่นใจว่าในวัยเกษียณจะสามารถใช้ชีวิตสบายๆ ได้อย่างที่ฝัน ก็ต้องมีการวางแผนการเงินอย่างรอบคอบเหมาะสมกับตัวเองตั้งแต่วันนี้ ด้วยวิธีที่ง่ายที่สุด คือ การออมเงิน  ซึ่งต้องเริ่มตั้งแต่ตอนนี้ เริ่มให้เร็วที่สุด เพราะยิ่งเริ่มออมช้าก็ยิ่งต้องเพิ่มจำนวนเงินออมในแต่ละเดือนให้มากขึ้นเรื่อยๆ

ปลุกเงินออมด้วยดอกเบี้ยสูง

มาคิดกันง่าย.... แล้วถ้าเป็นเงินออมของคุณจะปลุกให้มันตื่นได้อย่างไร?

ในกรณีที่ออมเป็นประจำทุกเดือน เดือนละ 5,000 บาท โดยวิธีการแบบเดิมๆ คือ ฝากออมทรัพย์ (อัตราดอกเบี้ยออมทรัพย์ปัจจุบันเฉลี่ยอยู่ที่0.5% ต่อปี) เวลาผ่านไป 1 ปี เท่ากับมีเงินออมอยู่ที่ประมาณ 6 หมื่นบาท จะได้รับดอกเบี้ยทั้งสิ้นเพียง 163 บาท

แต่หากเปลี่ยนมาเป็นการลงทุนที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนมากขึ้น หรือ ฝากเงินที่ให้ดอกเบี้ยสูงขึ้น เช่น ME by TMB ได้ดอกเบี้ย 3.25% ต่อปี เพราะฉะนั้นเมื่อผ่านไป 1 ปี เราจะมีเงินออม 6 หมื่นบาท บวกกับดอกเบี้ยอีกประมาณ 1,065 บาท

ดอกเบี้ย 1,065 บาท ดูเหมือนจะน้อยนิด แต่ถ้าเราเดินหน้าออมเงินเดือนละ 5,000 บาทไปจนครบ 5 ปี เงินฝากจะเพิ่มเป็น 3 แสนบาท และได้ดอกเบี้ยประมาณ 9,445 บาท ซึ่งต่างกันลิบลับกับการฝากไว้ในบัญชีออมทรัพย์ เพราะจะได้ดอกเบี้ยเพียง 1,374 บาท เท่านั้น

นอกจากนี้ หากเรายังคงรักษาวินัยในการออมเงินไว้ที่เดือนละ 5,000 บาท โดยได้ดอกเบี้ย 3.25% ไปอย่างต่อเนื่อง เงินออมของเรากลายเป็น ล้านบาท ภายใน 13 ปี แต่ถ้าได้ดอกเบี้ย 0.5% จะต้องฝากกันนาน 17 ปี กว่าจะมี 1 ล้านบาท

ถ้าให้เงินล้านก้อนนี้เป็นส่วนหนึ่งของเงินสำหรับเกษียณ ซึ่งเป็นเงินสำหรับใช้ชีวิตในวันที่ไม่มีรายได้แล้ว ก่อนจะนำเงินก้อนนี้ไปทำอะไรจึงต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ ต้องคิดถึงความปลอดภัยของเงินต้น และ ผลตอบแทนที่สม่ำเสมอ

หลายคนมองซ้ายมองขวาแล้ว ไม่รู้จะนำเงินก้อนนี้ไปลงทุนอะไรให้เงินงอกเงย จึงลงเอยที่ฝากเงินไว้กับธนาคาร เพราะคุ้นเคยที่สุด สบายใจที่สุด

ในกรณีที่นำเงินล้านนี้ไปฝากไว้ในบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ทั้งหมด แล้วค่อยๆ ทยอยเบิกออกมาใช้เดือนละ 5,000บาท เงินนี้จะหมดไปภายใน 17 ปี แต่ถ้าฝากไว้ที่ ME by TMB ได้ดอกเบี้ย 3.25% ต่อปี เงินจำนวนนี้จะยืดอายุออกไปได้อีก 6 ปี หรือ ใช้ไปได้นานถึง23 ปี นี่ถือเป็นตัวอย่างที่คิดคำนวณเปรียบเทียบให้เห็นถึงความต่างของดอกเบี้ยที่เราจะได้รับ

เตรียมพร้อม...ใช้ชีวิตแฮปปี้หลังเกษียณ ด้วย “การออม”

อีกหนึ่งข้อมูลทำไม การออมจึงสำคัญ ....เชื่อหรือไม่ว่า อีกไม่ช้าไม่นาน ประเทศไทยจะไม่ต่างจากประเทศญี่ปุ่น ที่ไม่ว่าจะมองไปทางไหน ก็จะมีแต่ “ผู้สูงวัย” นั่นเพราะประเทศไทยกำลังก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ และ ในปี 2568 จะกลายเป็น “สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์” ตามการคาดการณ์ของกระทรวงสาธารณสุข

และอีกไม่ช้าไม่นานเช่นกัน เราก็จะเป็นหนึ่งในผู้สูงวัยเหล่านี้... ถ้าเราไม่เตรียมพร้อมไว้ล่วงหน้า เมื่อถึงวันนั้นเราอาจจะไม่ได้เป็นคนแก่ที่สามารถใช้ชีวิตอย่างมีความสุข เนื่องจากมีรายได้ไม่เพียงพอที่จะใช้ชีวิตแบบสุขสบายอย่างที่หวังไว้

ถ้าจะหวังพึ่งพารายได้จากลูกหลาน ก็คงต้องเตรียมใจเผื่อเอาไว้ด้วย โดยเฉพาะคนที่เลือกใช้ชีวิตโสด ยิ่งต้องเตรียมพร้อมเรื่องการเงินอย่างดี เพราะนอกจากไม่มีลูกหลาน ยังต้องสามารถดูแลตัวเองให้ได้ด้วย เพราะในอนาคตคนวัยทำงานหนึ่งคนจะต้องแบกรับภาระดูแลผู้สูงอายุจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ จนทำให้ลูกหลานของคนอื่นไม่มีกำลังเหลือพอมาดูแลผู้สูงอายุอย่างเรา

นั่นเพราะถ้าดูจาก อัตราส่วนเกื้อหนุนผู้สูงอายุ (Potential support ratio: PSR) จะเห็นว่า ผู้สูงอายุในปี 2543 มีคนวัยทำงานมาช่วยเหลือดูแลได้มากถึง 7 คน แต่ประเมินกันว่า ในปี 2573 ผู้สูงอายุไทยแต่ละคนจะมีคนวัยทำงานที่อาจจะช่วยในการดูแลค้ำจุนเพียง 2 คนเท่านั้น

ดังนั้นถ้าเรามีการวางแผนการออมและการลงทุน ไว้สำหรับใช้จ่ายในวัยเกษียณอย่างเหมาะสม  ก็จะใช้ชีวิตในวัยแห่งการพักผ่อนได้อย่างสบายๆ ไม่ลำบาก

แต่จากการสำรวจการเตรียมความพร้อมสำหรับการวางแผนทางการเงินเพื่อวัยเกษียณของกลุ่มแรงงานในระบบ ช่วงอายุ 40 - 60 ปี โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมกับ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย พบว่า ในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า คนไทย 86% จะกลายเป็น “คนแก่มีกรรม” เพราะมีเงินไม่พอใช้ในวัยหลังเกษียณ

สาเหตุที่ทำให้ผู้สูงอายุมีเงินไม่พอใช้ มีอยู่ 2 ข้อใหญ่ๆ คือ

1. ออมเงินไว้น้อยเกินไป

ถ้าต้องการจะใช้ชีวิตสบายๆ แบบคนแก่ที่พอมีพอกิน เราต้องเริ่มวางแผนเก็บออมไว้ตั้งแต่วัยหนุ่มสาว เพราะต้องใช้เวลาหลายปีกว่าจะเก็บออมให้เพียงพอสำหรับชีวิตอีก 20-30 ปีหลังจากเกษียณ

ลองคิดง่ายๆ ว่า ถ้าหลังจากเกษียณอยากจะใช้เงินสักเดือนละ 1.5 หมื่นบาท ไปอีก 25 ปี หลังจากเกษียณ เราจะต้องมีเงินอย่างน้อยๆ 4.5 ล้านบาท ในวันเกษียณ 

แต่น่าเสียดายที่คนไทยออมเงินไว้น้อยเกินไป เห็นได้จากระดับการออมของครัวเรือนไทย มีค่าเฉลี่ยการออมต่อรายได้อยู่ที่ 11.3% แต่ในปัจจุบันเหลือเพียง 9.2%เท่านั้น

เพราะฉะนั้นถ้าอยากจะใช้ชีวิตสบายๆ ในวัเกษียณจะต้องเริ่มออมตั้งแต่ตอนนี้ และต้องเริ่มให้เร็วที่สุด เพราะยิ่งเริ่มออมช้าก็ยิ่งต้องเพิ่มจำนวนเงินออมในแต่ละเดือนให้มากขึ้น

จำนวนเงินที่ออมเพื่อการเกษียณที่เหมาะสม

อายุที่เริ่มต้นออม

เงินออมรายเดือน (%ของเงินเดือน)

เริ่มทำงาน - 39 ปี

10% - 15%

40 - 49 ปี

20% - 25%

50 - 54 ปี

45% - 50%

55 - 59 ปี

80% - 85%

ที่มา: ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

การเงินออมทำได้ง่ายๆ คือ มีรายได้เท่าไรให้หักออกไปออมก่อนเสมอ และใช้เงินเท่าที่เหลือจากการออมเท่านั้น
     และวิธีที่ช่วยให้การออมเงินเดินหน้าไปตามเป้าหมายได้ง่ายขึ้น คือ การออมแบบเท่าๆ กันทุกเดือน โดยอาศัยการตัดบัญชีอัตโนมัติจากบัญชีเงินเดือนไปเก็บไว้ในอีกบัญชีหนึ่ง ซึ่งจะช่วยให้เรารักษาวินัยในการออมได้ดีมากขึ้น

นอกจากนี้ บัญชีที่จะใช้เป็นบัญชีสำหรับการออมเงิน ก็ไม่ควรจะทำให้เบิกเงินได้ง่ายเกินไป จึงไม่ควรเป็นบัญชีที่มีบัตรเอทีเอ็ม จะได้มีเวลาคิดทบทวนก่อนจะเบิกออกมาใช้

2. ฝากเงิน ได้ดอกเบี้ยน้อยเกินไป

หลายคนบอกว่า ออมเงินมาตั้งนาน แต่ดูเหมือนเงินไม่ได้งอกเงยขึ้นสักเท่าไร นั่นอาจจะเกิดจากการออมที่ได้ดอกเบี้ยน้อยเกินไป หรือเป็นการลงทุนที่ไม่กล้ารับความเสี่ยงทำให้มีโอกาสได้ผลตอบแทนน้อยตามไปด้วย

 เพราะแม้เราจะบอกว่า คนไทยมีระดับการออมไม่มากนัก แต่ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย ชี้ให้เห็นว่า คนไทยทั้งประเทศมีบัญชีเงินฝากกับธนาคารรวมกว่า 83 ล้านบัญชี และมีเงินออมในระบบรวมกว่า 10 ล้านล้านบาท

แต่เงินฝากเหล่านี้ได้ดอกเบี้ยน้อยเกินไป

ลองนำเงินฝากออมทรัพย์ เงินฝากประจำ 3 – 12 เดือน รวมกันประมาณ 8.4 ล้านล้านบาท มาคำนวณดูว่า ในระยะเวลา 1 ปี เงินจำนวนนี้ที่ฝากอยู่ในธนาคารมีรายได้ดอกเบี้ยรวมกันเท่าไร... ผลที่ได้ คือ เงินฝากจำนวนนี้จะได้ดอกเบี้ยประมาณ 7.6 หมื่นล้านบาท

เงินฝากและดอกเบี้ย

ประเภทเงินฝาก

จำนวน (ล้านบาท)

ดอกเบี้ย* (%ต่อปี)

รายได้ดอกเบี้ย (ล้านบาท)

เงินฝากออมทรัพย์

4,963,222

0.5

24,816

ประจำ 3 เดือน

951,447

1.15

10,941

ประจำ 6 เดือน

886,101

1.41

12,494

ประจำ 12 เดือน

1,632,443

1.72

28,078

รวม

8,433,213

 

76,329

หมายเหตุ : *อัตราดอกเบี้ยเงินฝากเฉลี่ย 4 ธนาคารขนาดใหญ่

ทีนี้ลองคิดแทนคนทั้งประเทศว่า ถ้าเปลี่ยนจากฝากออมทรัพย์ทั่วๆ ไป หรือ ฝากประจำ แล้วย้ายไป หาการลงทุน หรือ การออมที่ได้ดอกเบี้ยมากยิ่งขึ้น ปีละ 3.25% เงินฝากจำนวนเดียวกันนี้จะได้ดอกเบี้ยเพิ่มเป็น 2.74 แสนล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 1.97 แสนล้านบาท ภายในเวลาเพียง 1 ปี

รายได้เพิ่มขึ้นเมื่อได้ดอกเบี้ยดีขึ้น

เงินฝากดอกเบี้ยสูงสุดของ ME by TMB = 3.25%

274,079 ล้านบาท

เงินฝากดอกเบี้ยเฉลี่ย 4 ธนาคารใหญ่

                       76,329 ล้านบาท

ส่วนต่างรายได้

                     197,750 ล้านบาท

ทีนี้ก็พอจะเห็นแล้วว่า สาเหตุที่เงินเราไม่งอกเงยก็เพราะเราปล่อยเงินของเราให้นอนนิ่งๆ อยู่ในบัญชีมานานเกินไป

เพราะฉะนั้นคงต้องรีบปลุกตัวเองให้ลุกขึ้นมาออม พร้อมๆ กับปลุกเงินของเราให้ตื่นได้แล้ว…..

อ้างอิงตัวเลข จากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.)

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!