WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

5938 iBank

ไอแบงก์ แจงมีกำไรเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง เดินหน้าสร้างเสริมประสิทธิภาพเพื่อเป็นสถาบันการเงินที่ให้บริการตามหลักชะรีอะฮ์เพื่อความยั่งยืน

          ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2567 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-AGM) ถ่ายทอดจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย สำนักงานใหญ่ เมื่อช่วงบ่ายวันอังคารที่ 28 พฤษภาคม 2567 โดย นายยงยุทธ ชัยพรหมประสิทธิ์ ประธานกรรมการธนาคาร เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วยคณะกรรมการและผู้บริหาร เข้าร่วมประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ 

          โดยในที่ประชุม ดร.ทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการและผู้จัดการธนาคาร ได้ชี้แจงผลประกอบการปี 2566 ว่าธนาคารมีรายได้รวม 3,322 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 12 เมื่อเทียบกับปี 2565 และธนาคารสามารถบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานได้ลดลง ร้อยละ 15 จากปี 2565 ในขณะที่ธนาคารมีค่าใช้จ่ายทางการเงินเพิ่มขึ้นร้อยละ 63 เนื่องจากสถานการณ์ในตลาดเงินมีการปรับเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ธนาคารมีการตั้งสำรองหนี้สูญและหนี้สงสัยจะสูญเพื่อรองรับความเสี่ยงด้านสินเชื่อและการใช้มาตรฐานการรายงานทางการเงิน (กลุ่มเครื่องมือทางการเงิน) เพื่อรองรับการปฏิบัติตาม TFRS9 รวมทั้งตั้งสำรองตามชั้นหนี้และตั้งสำรองส่วนเกินจากเกณฑ์ขั้นต่ำ ส่งผลให้ธนาคารมีกำไรสุทธิ 248 ล้านบาทในปี 2566 เพิ่มขึ้นร้อยละ 1,553 เมื่อเทียบกับปี 2565 ในส่วนของหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPF) ธนาคารสามารถบริหารหนี้ไม่ก่อให้เกิดรายได้ลดจากปี 2565 ลงเหลือราวร้อยละ 18 จากร้อยละ 21 ในปี 2565

          สำหรับผลการดำเนินงานที่สำคัญในปี 2566 ธนาคารได้ฉลองครบรอบ 20 ปี ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เงินรับฝากกว่า 20 โครงการและสินเชื่อ 20 โครงการ เพื่อตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกกลุ่มเป้าหมาย โดยเฉพาะลูกค้าพันธกิจของธนาคาร ธนาคารได้มีการยกระดับผลิตภัณฑ์เงินฝากอัลฮัจย์ที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของพี่น้องชาวมุุสลิม ด้วยการขยายวัตถุประสงค์ของเงินรับฝากประเภทนี้เป็นเงินฝากอัลฮัจย์และอุุมเราะห์ ซึ่งนอกจากผู้ฝากจะสะสมเพื่อการออมเงินไปแสวงบุญแล้วธนาคารยังมอบสิทธิ์ลุ้นรับรางวัลแพ็กเกจไปประกอบพิธีฮัจย์และอุุมเราะห์ ณ ประเทศซาอุุดีอาระเบีย รวม 45 รางวัล เพิ่มขึ้นจากปี 2565 ที่มีเพียง 12 รางวัล และในด้านสินเชื่อพันธกิจ ธนาคารได้ประสานความร่วมมือกับธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย หรือ EXIM และพันธมิตรต่างๆ ในการส่งเสริมและสนับสนุนผู้ประกอบการสินค้าฮาลาลสู่การส่งออก ทั้งในรูปแบบการให้ความรู้และช่วยเหลือผู้ประกอบการในการขอมาตรฐานฮาลาล ตลอดจนส่งเสริมศักยภาพผู้ประกอบการฮาลาลไทยสู่การส่งออกในตลาดโลก 

          สำหรับการพัฒนาด้านบริการ ในปี 2566 ธนาคารได้พัฒนาการทำธุรกรรมทางการเงินผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้สำเร็จและถือเป็นโมบายแบงกิ้งแรกที่ถูกต้องตามหลักชะรีอะฮ์ในประเทศไทยซึ่งอยู่ในแอปเป๋าตัง ส่งผลให้ลูกค้าของธนาคารได้รับความสะดวกและง่ายดายกว่าเดิม 

          นอกจากการมุ่งมั่นพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการให้ลูกค้าพึงพอใจสูงสุด ธนาคารยังให้ความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจภายใต้การกำกับดูแลกิจการที่ดีพร้อมกับดำเนินธุรกิจด้วยความใส่ใจสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อมุ่งมั่นในการเป็นสถาบันการเงินที่ให้บริการตามหลักชะรีอะฮ์เพื่อความยั่งยืนต่อไป

 

 

5938

Click Donate Support Web 

SME720x100 2024

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

EXIM One 720x90 C JMTL 720x100

QIC 720x100

TOA 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

kbank 720x100 66

ธกส 720x100PTG 720x100

ใจฟู720x100px

AXA 720 x100 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!