WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

1ESGAction

‘วิทัย รัตนากรง ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สานต่อสู่ความยั่งยืน ESG in Action ขยายผลเป็น CSV (creating shared value) คาดกำไรปี 66 พุ่ง 3.3 หมื่นล.

ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน สานต่อสู่ความยั่งยืน ESG in Action ขยายผลเป็น CSV (creating shared value) คาดกำไรปี 66 พุ่ง 3.3 หมื่นล.แก้ปัญหาสังคม ‘ลดปัญหาความยากจน-ความเหลื่อมล้ำ’ ชี้ธนาคารมีกำไร-สังคมดีขึ้น หวังต้นปีหน้าได้ใบอนุญาตทำธุรกิจ Non-Bank ดึง ‘ผู้มีความเสี่ยงสูง’ เข้าถึงระบบสินเชื่อได้

นายวิทัย รัตนากร ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน ปาฐกถาในหัวข้อ ‘How Does Social Bank Work on The Journey toward Sustainability?’ ภายในงานสัมมนา GSB Forum 2023 ESG : Social Pillar Driven ‘คนยั่งยืน เพื่อโลกที่ยั่งยืน’ ว่า เรื่อง ESG (Environmental ,Social และ Governance) เป็นเทรนด์ของทั้งโลก เพราะESG จะนำไปสู่ความยั่งยืน ขณะเดียวกัน องค์กรจำนวนมากยังให้ความสำคัญในเรื่องการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ด้วย

นายวิทัย กล่าวว่า เมื่อพูดถึงงานด้านสังคม หน่วยงานต่างๆทำเป็นโครงการ CSR (Corporate Social Responsibility) ซึ่งเป็นเรื่องดี แต่มุมมองต่อ CSR นั้น เป็นเรื่องต้นทุน การจัดสรรงบประมาณ มีการจัดสรรงบ 10-20 ล้านบาท แล้วแต่ขนาดองค์กร มาทำโครงการใดโครงการหนึ่ง แล้วจบไป อาจมีความต่อเนื่องบ้าง แต่จะมีกลิ่นอายของการเป็นต้นทุน มาแล้วจบไป ไม่ต่อเนื่อง และไม่ได้แก้ปัญหาในด้านสังคมที่ยั่งยืน

ในช่วง 3 ปีครึ่งที่ผ่านมา ธนาคารออมสิน ทำ (creating shared value) CSV มาตลอด เริ่มจากปรับบทบาทของธนาคารที่เดิมมุ่งเน้นกำไร มาเป็น triple bottom line ซึ่งมุ่งเน้นใน 3 เรื่อง คือ People ,Planet และ Profit และยังเป็นที่มาแนวคิด ‘ธนาคารเพื่อสังคม’ รูปแบบใหม่ โดยมียุทธศาสตร์ คือ สร้าง 2 ธุรกิจแยกออกจากกัน ในด้านหนึ่งก็ทำธุรกิจธนาคารปกติ เป็นธุรกิจขนาดใหญ่ มีกำไรพอสมควร แล้วเอากำไรจากธุรกิจปกติ ไปทำอีกธุรกิจหนึ่งที่เป็นภารกิจเชิงสังคม

      ธุรกิจฝั่งสังคมอาจเริ่มต้นด้วยการขาดทุนเลย ไม่ต้องมี break even ในบางโปรเจกต์ แต่เอากำไรจากธุรกิจใหญ่มาอุดหนุนต้นทุนของธุรกิจเล็ก เพื่อช่วยคน เพื่อช่วยสังคม เรา (ธนาคารออมสิน) มีการ Cut Cost อย่างรุนแรง เพื่อทำให้เกิด Governance ซึ่งปีที่ผมมา ค่าใช้จ่ายอยู่ที่ปีละ 42,000 ล้าน แต่ตอนนี้ลดเหลือ 32,000 ล้าน ในขณะที่ขนาดธุรกิจของออมสินใหญ่ขึ้น ลดลงมา 10,000 ล้านบาท ธนาคารยังอยู่ได้ แล้วเอากำไรไปช่วยคน และกำไรก็เพิ่มขึ้นด้วย

        ทั้งนี้ ธุรกิจเล็กที่เป็นธุรกิจช่วยคน อาจดูไม่มากในแง่มูลค่าของสินเชื่อ แต่จำนวนหัว หลายล้านคนมาก ที่ช่วยได้ แน่นอนว่าเขากู้ทีละ 1 หมื่น 2 หมื่น 3 หมื่น หรือเป็นงานพัฒนาสร้างอาชีพ งานพัฒนาชุมชนด้านอื่นๆ ที่ไม่อยู่ในพอร์ตสินเชื่อ ถ้าวัดในพอร์ตสินเชื่อ แน่นอนว่าไซส์ไม่ใหญ่ แต่ช่วยคนได้หลายๆล้านคน นี่คือธุรกิจออมสิน ที่ปักธงแค่ 2 ตัวของ UN คือ แก้ปัญหาความยากจน (No poverty) และบรรเทาปัญหาความเหลื่อมล้ำ (Reduce Inequality)

       ในปีที่ที่ผ่านมา ธนาคารได้ให้นโยบายเรื่อง Social mission integration คือ ให้คนที่ดูแลทุกผลิตภัณฑ์และกระบวนการสำคัญทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นจัดซื้อ สินเชื่อ เงินฝาก และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ต่างๆ ต้องนำปัจจัยด้านสังคมใส่เข้าไปในกระบวนการทำธุรกิจทั้งหมด และวันนี้เรื่อง Social mission integration ได้ถูกขยายผลไปเป็นเรื่อง CSV (creating shared value) โดยสิ่งที่ธนาคารกำลังจะทำต่อไป คือ การเข้าสู่ธุรกิจ Non-Bank

     “สิ่งที่กำลังจะทำต่อไป และจะได้รับใบอนุญาตต้นปี 2567 คือ เรื่อง Non-Bank ถ้าสามารถทำสำเร็จ จะสามารถดึงคนที่มีความเสี่ยงสูงๆเข้าสู่ระบบ ด้วยดอกเบี้ยของธนาคารออมสิน ลดดอกเบี้ยลงมา เขาไม่ไปนอกระบบ หรือแทนที่เขาจะโดนดอกเบี้ย 33% ต่อปี (สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์) จะลดเหลือ 30% หรือ 28% ตามเกณฑ์ Risk based pricing ซึ่งช่วยคนได้ และมีกำไรด้วย เป็นโอกาสขยายธุรกิจ โดยเอาปัญหาทางสังคมเข้ามา

       ในปี 2566 ธนาคารฯคาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 3.3 หมื่นล้านบาท หลังจากในช่วง 10 เดือนของปีนี้ ธนาคารฯมีกำไร 31,909 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการลดต้นทุนอย่างต่อเนื่อง ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ของธนาคารฯต่ำกว่าหลายธนาคาร รวมทั้งยังมีการตรึงดอกเบี้ยไว้จนถึงสิ้นปี 2566 นี้ด้วย นอกจากนี้ ธนาคารฯมีเงินสำรองฯรวมมากกว่า 1 แสนล้านบาท สะท้อนถึงความแข็งแกร่งของธนาคาร โดยทั้งหมดนี้เป็นผลมาจากการทำในเรื่อง CSV 

 

11843

Click Donate Support Web 

Banner GPF720x100 PX

CKPower 720x100

MTL 720x100

kasat 720x100TOA 720x100

kbank 720x100 66

QIC 720x100

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

BKI 720 x 100

PTG 720x100

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!