WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

KBANK ตั้งเแป้าสินเชื่อลูกค้าบุคคลปีหน้าโต 6-9% ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมโต 20-23%

    KBANK ตั้งเป้าสินเชื่อลูกค้าบุคคลปีหน้าโต 6-9% ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมโต 20-23%  และมีแผนระดมเงินฝากเพิ่มขึ้น 9-12% ขยายฐานลูกค้าใหม่จากดิจิทัลแบงก์กิ้ง4ล้านราย  คาด NPL ลูกค้าบุคคลปีหน้าอยู่ที่ 2% จากปีนี้ที่ 1.8% ส่วนใหญ่มาจากบัตรเครดิต - สินเชื่อส่วนบุคคล

    นายปกรณ์  พรรธนแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBANK เปิดเผยว่า ธนาคารตั้งเป้ายอดสินเชื่อลูกค้าบุคคลปี 2558 โต 6-9% จากปี 2557 ที่สินเชื่อโต 9%  และตั้งเป้ารายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิปี 2558 โต 20-23% จากปี 2557 ที่รายได้ค่าธรรมเนียมโตตามเป้าหมายที่ 22% จากผลิตภัณฑ์ที่สร้างรายได้ค่าธรรมเนียม ได้แก่ บัตรเครดิต และร้านค้ารับบัตร ผลิตภัณฑ์ประกัน และผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Transaction Service

    ส่วนยอดเงินฝากและกองทุนรวมปีหน้า ตั้งเป้าหมายเพิ่มขึ้น 9-12% และจะเพิ่มจำนวนลูกค้าใหม่ของดิจิทัล แบงก์กิ้ง เพิ่มอีก 4 ล้านราย จากปัจจุบันที่มีลูกค้า 9.7 ล้านราย  โดยธนาคารจะมีพัฒนาผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการบริการผ่านระบบออนไลน์ที่จะเน้นการพัฒนาระบบให้เหมาะสมกับพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ที่นิยมใช้เทคโนโยลีใหม่ ๆที่สามารถทำธุรกรรมด้วยตนเอง  พร้อมพัฒนาระบบให้รองรับกับทุกแพลทฟอร์มของสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ๆ  หนี้ที่ไม่ให้เกิดรายได้ หรือ NPL ในปีหน้าคาดเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 2% จากปีนี้ที่คาดว่าจะอยู่ 1.8% สาเหตุมาจากการปล่อยสินเชื่อส่วนบุคคล และบัตรเครดิตที่มากขึ้น อย่างไรก็ตาม  ธนาคารฯตั้งเป้าไม่ให้ NPL ปีหน้าเกิน 2% โดยจะระมัดระวังในการปล่อยกู้ และการให้สินเชื่อต่างๆ มากขึ้น

    ทั้งนี้  ในปีหน้าธนาคารมีแผนจับมือกับพันธมิตรรายใหม่ในการออกบัตรเดบิต เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าในต่างจังหวัด ซึ่งคาดว่าปีหน้าจะออกบัตรเดบิตใหม่ 4.5 ล้านใบ ทำให้สิ้นปี 2558 จะมีบัตรเดบิตที่ 11.8 ล้านใบ

   นายปกรณ์  กล่าวว่า  จำนวนการเข้าถึงสื่อดิจิทัลในประเทศไทยกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจำนวนหมายเลขโทรศัพท์มือถือมากกว่า 96 ล้านเบอร์ โทรศัพท์มือถือหรือสมารท์โฟนจึงกลายเป็นช่องทางหลักในการเข้าอินเทอร์เน็ตของคนไทย ผู้บริโภคเข้าถึงคอนเทนต์ผ่านหน้าจอที่หลากหลายมากขึ้นในเวลาพร้อมๆ กัน โลกดิจิตอลจึงไม่ได้เป็นเพียงเทคโนโลยีเพื่อการใช้งาน (Functional) แต่ยังเป็นเรื่องของการสร้างประสบการณ์และความรู้สึก (Emotional) ด้วย  

   ภาพรวมปี 2557 ลูกค้าของธนาคารกสิกรไทยในช่องทางออนไลน์ ทั้งบริการธนาคารทางโทรศัพท์มือถือ (K-Mobile Banking) และธนาคารทางอินเทอร์เน็ต (K-Cyber Banking) มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีจำนวนผู้ใช้บริการรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2556 จำนวน  2.7 ล้านราย หรือเติบโตถึง 67% และมีปริมาณการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดังกล่าวจำนวนรวมมากกว่า 600 ล้านรายการหรือสูงกว่าปี 2556 ถึง 42%  ความท้าทายในการพัฒนาธุรกรรมด้านดิจิตอล แบงกิ้ง คือ เทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างรวดเร็ว และการใช้งานแบบอินเตอร์แอคทีฟ ธนาคารจึงต้องมีทีมงานด้านนวัตกรรม เพื่อติดตามแนวโน้มและศึกษาเทคโนโลยี                                              

      นายปกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2558 ธนาคารตั้งเป้าหมายพัฒนาสู่บริการแบบ “Full Digital Banking” และรักษาความเป็นผู้นำอันดับหนึ่งด้านดิจิตอลแบงกิ้ง ด้วยคอนเซ็ปท์ “ดิจิตอล ไลฟ์สไตล์ แบงกิ้ง” ตั้งโจทย์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ทำให้ชีวิตแต่ละช่วงของลูกค้าดีขึ้น (Life Stage) ผ่านทุกช่องทางดิจิตอล ทั้งการออม การลงทุน รวมถึงการทำธุรกรรมการเงิน มุ่งสู่การนำเสนอบริการดิจิตอลแบงกิ้งเพื่อตอบสนองความต้องการหลักของลูกค้าใน 3 ด้าน ได้แก่ การทำให้ชีวิตไม่สะดุด (Life Simplicity) นั่นคือ ช่องทางบริการที่ใช้งานง่าย เข้าถึงช่องทางบริการได้สะดวกและมีระบบปลอดภัยที่รัดกุมสูงสุด  ต่อมา คือการทำให้ชีวิตได้ดั่งใจ (Life Enhancement) เน้นบริการให้คำปรึกษาด้านการเงิน รวมถึงนำเสนอผลิตภัณฑ์การออมและการลงทุน  สุดท้าย คือการทำให้ชีวิตสมบูรณ์ (Life Completion) ตอบโจทย์การบริหารจัดการการเงินและการลงทุน เพื่อทำให้ผลตอบแทนงอกเงย   

กสิกรไทย ประกาศแนวรุกดิจิตอล แบงกิ้ง ตั้งเป้าลูกค้าดิจิตอลใหม่เพิ่มอีก 4 ล้านราย

    กสิกรไทย เปิดแผนธุรกิจลูกค้าบุคคลปี 58 มุ่งธุรกิจด้านดิจิตอลแบงกิ้ง ด้วยคอนเซ็ปท์ “ดิจิตอล ไลฟ์สไตล์ แบงกิ้ง” เน้นตอบโจทย์การจัดการด้านการเงินด้วยนวัตกรรมผลิตภัณฑ์และบริการที่เป็นดิจิตอลให้ครอบคลุมทุกความต้องการในแต่ละช่วงชีวิต ในทุกช่องทางทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ตั้งเป้าก้าวกระโดดเพิ่มลูกค้าดิจิตอลใหม่อีก 4 ล้านราย

    นายปกรณ์ พรรธนะแพทย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า จำนวนการเข้าถึงสื่อดิจิตอลในประเทศไทยกำลังเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว มีจำนวนหมายเลขโทรศัพท์มือถือมากกว่า 96 ล้านเบอร์ โทรศัพท์มือถือหรือสมารท์โฟนจึงกลายเป็นช่องทางหลักในการเข้าอินเทอร์เน็ตของคนไทย ผู้บริโภคเข้าถึง คอนเทนต์ผ่านหน้าจอที่หลากหลายมากขึ้นในเวลาพร้อมๆ กัน โลกดิจิตอลจึงไม่ได้เป็นเพียงเทคโนโลยีเพื่อการใช้งาน (Functional) แต่ยังเป็นเรื่องของการสร้างประสบการณ์และความรู้สึก (Emotional) ด้วย

     ภาพรวมปี 2557 ลูกค้าของธนาคารกสิกรไทยในช่องทางออนไลน์ ทั้งบริการธนาคารทางโทรศัพท์มือถือ (K-Mobile Banking) และธนาคารทางอินเทอร์เน็ต (K-Cyber Banking) มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยมีจำนวนผู้ใช้บริการรวมเพิ่มขึ้นจากปี 2556 จำนวน 2.7 ล้านราย หรือเติบโตถึง 67% และมีปริมาณการทำธุรกรรมผ่านช่องทางดังกล่าวจำนวนรวมมากกว่า 600 ล้านรายการหรือสูงกว่าปี 2556 ถึง 42% ความท้าทายในการพัฒนาธุรกรรมด้านดิจิตอล แบงกิ้ง คือ เทคโนโลยีและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาอย่างรวดเร็ว และการใช้งานแบบอินเตอร์แอคทีฟ ธนาคารจึงต้องมีทีมงานด้านนวัตกรรม เพื่อติดตามแนวโน้มและศึกษาเทคโนโลยี

    นายปกรณ์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปี 2558 ธนาคารตั้งเป้าหมายพัฒนาสู่บริการแบบ “Full Digital Banking” และรักษาความเป็นผู้นำอันดับหนึ่งด้านดิจิตอลแบงกิ้ง ด้วยคอนเซ็ปท์ “ดิจิตอล ไลฟ์สไตล์ แบงกิ้ง” ตั้งโจทย์ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการที่ทำให้ชีวิตแต่ละช่วงของลูกค้าดีขึ้น(Life Stage) ผ่านทุกช่องทางดิจิตอล ทั้งการออม การลงทุน รวมถึงการทำธุรกรรมการเงิน มุ่งสู่การนำเสนอบริการดิจิตอลแบงกิ้งเพื่อตอบสนองความต้องการหลักของลูกค้าใน 3 ด้าน ได้แก่ การทำให้ชีวิตไม่สะดุด (Life Simplicity) นั่นคือ ช่องทางบริการที่ใช้งานง่าย เข้าถึงช่องทางบริการได้สะดวกและมีระบบปลอดภัยที่รัดกุมสูงสุด ต่อมา คือการทำให้ชีวิตได้ดั่งใจ (Life Enhancement) เน้นบริการให้คำปรึกษาด้านการเงิน รวมถึงนำเสนอผลิตภัณฑ์การออมและการลงทุน สุดท้าย คือการทำให้ชีวิตสมบูรณ์ (Life Completion) ตอบโจทย์การบริหารจัดการการเงินและการลงทุน เพื่อทำให้ผลตอบแทนงอกเงย

      นายทวี ธีระสุนทรวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันธนาคารมีจุดให้บริการด้วยตนเอง (Self-Service) มากที่สุดในประเทศ ธนาคารมีเครื่องให้บริการด้วยตนเอง (Self-Service) เช่น ตู้เอทีเอ็ม ตู้ฝาก-ถอนอัตโนมัติรวมกว่า 12,500 เครื่อง ในขณะที่ช่องทางดิจิตอลได้พัฒนาฟังก์ชั่นที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ เช่น K-Mobile Banking PLUS เป็นธนาคารออนไลน์ที่บริการทางด้านการเงินที่ครอบคลุมเทียบเท่ากับการให้บริการที่สาขา นอกจากระบบที่ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าซึ่งมีฟีเจอร์ที่ใช้งานง่ายตรงกับความต้องการ และลูกค้าสามารถจัดการด้วยตนเอง ทำให้ลูกค้าสามารถใช้บริการได้ตลอด 24 ชั่วโมง ทุกที่ ทุกเวลา นับเป็นเครือข่ายการให้บริการทางการเงินที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

     สำหรับ แนวทางการดำเนินงานในปี 2558 จะเพิ่มจำนวนลูกค้าและอัตราการใช้บริการผ่านช่องทางการให้บริการอื่นๆ นอกเหนือจากบริการสาขา รวมไปถึงการพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์ทางการเงินและการให้บริการผ่านระบบออนไลน์ โดยธนาคารจะเน้นการพัฒนาระบบให้เหมาะกับพฤติกรรมคนรุ่นใหม่ที่นิยมใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถทำธุรกรรมด้วยตนเอง ด้วยการพัฒนาระบบให้รองรับกับทุกแพลทฟอร์มของสมาร์ทโฟนรุ่นใหม่ ขณะเดียวกันต้องให้ความสำคัญกับความปลอดภัยกับการนำรหัสโอทีพี (OTP) ในทุกประเภทรายการ พัฒนาฟีเจอร์ต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพ ยกระดับพร้อมสร้างประสบการณ์การใช้งานของลูกค้าให้สอดคล้องกับเทคโนโลยีที่เปลี่ยนแปลงไป

     ด้านผลการดำเนินงานด้านธุรกิจลูกค้าบุคคลฯ ในปี 2557 ยังเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยรายได้จากค่าธรรมเนียมเติบโตได้ตามเป้าหมาย คือ 22% จากผลิตภัณฑ์หลักที่สร้างรายได้ค่าธรรมเนียม ได้แก่ บัตรเครดิตและร้านค้ารับบัตร ผลิตภัณฑ์ประกัน และผลิตภัณฑ์ในกลุ่ม Transaction Service ในขณะที่ด้านสินเชื่อ ธนาคารให้ความสำคัญกับคุณภาพสินเชื่อเป็นหลักโดยภาพรวมสินเชื่อในปีนี้โตที่ 9% ซึ่งเติบโตสอดคล้องกับตลาดตามเป้าหมายที่วางไว้

    นายปกรณ์ กล่าวในตอนท้ายว่า สำหรับปี 2558 ธนาคารตั้งเป้าหมายรายได้ค่าธรรมเนียมสุทธิเติบโต 20-23% และตั้งเป้าหมายจำนวนลูกค้าใหม่ของดิจิตอล แบงกิ้ง เพิ่มอีก 4 ล้านราย ด้านยอดเงินฝากและกองทุนรวม ตั้งเป้าเติบโต 9-12% เป้าหมายยอดสินเชื่อทั้งหมดเติบโตที่ 6-9% ซึ่งยังคงนโยบายการเติบโตอย่างระมัดระวังให้สอดคล้องกับการเติบโตของเศรษฐกิจโดยรวม

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!