- Details
- Category: แบงก์พาณิชย์
- Published: Sunday, 23 April 2023 22:57
- Hits: 2265
ฟิทช์ คงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของธนาคารยูโอบี (ไทย) ที่ ‘A-’ และอันดับเครดิตภายในประเทศที่ ‘AAA(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ
ฟิทช์ เรทติ้งส์- สิงคโปร์- 21เมษายน 2566: ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign-Currency Issuer Default Rating) ของ ธนาคารยูโอบี (ไทย) จำกัด (มหาชน) หรือ UOBT ที่ ‘A-’ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว (National Long-Term Rating) ที่ ‘AAA(tha)’ โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ นอกจากนี้ฟิทช์ประกาศคงอันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น (Shareholder Support Rating: SSR) ที่ 'a-' อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นของ UOBT ที่ ‘F1’ และอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating) ที่ ‘bbb-’
สำหรับ รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดแสดงไว้ในส่วนท้าย
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต
การสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นช่วยหนุนอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ: อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของ UOBT พิจารณาจากอันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น (SSR) ของธนาคาร ซึ่งสะท้อนถึงการคาดการณ์ของฟิทช์ว่าธนาคารจะได้รับการสนับสนุนเป็นพิเศษ (extraordinary support) จากธนาคารแม่ในประเทศสิงคโปร์ ซึ่งคือ United Overseas Bank Limited (UOB; AA-/Negative/aa-) ฟิทช์ให้อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นแก่ UOBT ที่ 'F1' ซึ่งเป็นตัวเลือกที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับ 'F2' เพื่อสะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มในการสนับสนุนของผู้ถือหุ้นมีความแน่นอนมากขึ้นในระยะสั้น
อันดับเครดิตภายในประเทศของ UOBT สะท้อนถึงโครงสร้างเครดิตของธนาคารที่พิจารณาจากการสนับสนุนของผู้ถือหุ้นเทียบกับธนาคารหรือบริษัทอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศ โดยอันดับเครดิตของ UOB นั้นสูงกว่าอันดับเครดิตของประเทศไทยที่ 'BBB+' อยู่หลายอันดับ อันดับเครดิต 'AAA(tha)' ของ UOBT สะท้อนถึงระดับของโอกาสในการผิดนัดชำระหนี้ที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับธนาคารหรือบริษัทรายอื่นในประเทศไทย
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (VR) ของ UOBT พิจารณาจากขนาดของธุรกิจที่อยู่ในระดับปานกลางและฐานะที่เป็นธนาคารขนาดกลางในประเทศไทย รวมทั้งการมีผลการดำเนินงานที่ยอมรับได้แม้ต้องเผชิญกับความท้าทายจากโรคระบาด การเข้าซื้อธุรกิจสินเชื่อรายย่อย จากธนาคารซิตี้แบงก์ (Citibank) ในประเทศไทยเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2565 จะช่วยเพิ่มความหลากหลายทางธุรกิจของธนาคาร แต่ก็จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่อระดับเงินกองทุนของธนาคารในระยะสั้นและอาจบ่งชี้ถึงการเพิ่มขึ้นของการยอมรับความเสี่ยง
อันดับเครดิตถูกจำกัดโดยเพดานอันดับเครดิตของประเทศ : เพดานอันดับเครดิตของประเทศไทย (Country Ceiling) ที่ 'A-' เป็นปัจจัยที่จำกัดความสามารถของ UOBT ในการรับการสนับสนุนจาก UOB ดังนั้นจึงเป็นเพดานจำกัดอันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นของธนาคารลูกในประเทศไทย
มีความเชื่อมโยงและการผสานการดำเนินงานอย่างมีนัยสำคัญ : UOB ถือหุ้นใน UOBT 99.7% โดยธนาคารแม่มีการควบคุมการจัดการและการผสานการดำเนินงานในระดับสูง UOBT มีส่วนช่วยสนับสนุนฐานธุรกิจที่สำคัญในประเทศไทยให้กับกลุ่มธนาคารแม่ ซึ่งประเทศไทยเป็นตลาดที่ใหญ่เป็นอันดับสองในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ การที่ UOBT เข้าซื้อสินทรัพย์ในธุรกิจสินเชื่อรายย่อยจาก Citibank สะท้อนถึงกลยุทธ์การขยายธุรกิจของกลุ่มธนาคารแม่ในประเทศไทย อีกทั้งจะช่วยเพิ่มการรับรู้ถึงชื่อเสียงและธุรกิจของกลุ่มในประเทศไทยด้วย
สภาพแวดล้อมการดำเนินงานโดยรวมส่งผลสนับสนุน : ฟิทช์ คาดว่า อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ(GDP) น่าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2566 (4.0% ในปี 2566 เทียบกับ 2.6% ในปี 2565) และน่าจะช่วยสนับสนุนโอกาสทางธุรกิจและการเติบโตของธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย อย่างไรก็ตามภาระหนี้สินของภาคธุรกิจและภาคครัวเรือนได้มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงที่เกิดโรคระบาด (โดยมีอัตราส่วนสินเชื่อของภาคเอกชนต่อ GDP ที่ 155% ในปี 2565 ตามการประมาณการของฟิทช์) ซึ่งอาจนำไปสู่ความเสี่ยงเชิงลบหากเศรษฐกิจมีแนวโน้มที่จะปรับตัวถดถอยลงอย่างไม่คาดคิด
เครือข่ายทางธุรกิจอยู่ในระดับปานกลางแต่กำลังเติบโต : UOBT เป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของประเทศไทย โดยมีส่วนแบ่งตลาดด้านเงินฝากประมาณ 4% การเข้าซื้อสินทรัพย์ในธุรกิจธุรกิจสินเชื่อรายย่อยจาก Citibank ของ UOBT จะช่วยให้เครือข่ายธุรกิจสินเชื่อรายย่อยที่ไม่มีหลักประกัน (เช่น บัตรเครดิตและสินเชื่อส่วนบุคคล) ของธนาคารเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ซึ่งจะช่วยส่งเสริมการดำเนินงานของธุรกิจเดิมของธนาคารในด้านสินเชื่อเพื่อที่อยู่อาศัยและสินเชื่อธุรกิจ อย่างไรก็ตามฟิทช์คาดว่าอาจต้องใช้เวลาอีกสักระยะหนึ่งกว่าที่การควบรวมกิจการจะแล้วเสร็จอย่างสมบูรณ์และกว่าที่ได้รับประโยชน์จากการขายผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวเนื่องกันระหว่างบริษัท (cross-selling) อย่างเต็มที่
คุณภาพสินทรัพย์มีเสถียรภาพ : อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพของ UOBT อยู่ที่ 3.1% ในเดือนมิถุนายน 2565 ซึ่งเพิ่มขึ้นเล็กน้อยจากระดับก่อนเกิดโรคระบาดที่ 2.9% ณ สิ้นปี 2562 อย่างไรก็ตามธนาคารยังคงมีความเสี่ยงเชิงลบจากสินเชื่อปรับโครงสร้างที่เกิดจากมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่ได้รับผลกระทบจากโรคระบาด (เช่นเดียวกันกับธนาคารอื่นๆในประเทศไทย)
นอกจากนี้ สินเชื่อรายย่อยที่ไม่มีหลักประกันได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นด้วยหลังจากการเข้าซื้อธุรกิจสินเชื่อรายย่อย จาก Citibank อย่างไรก็ตาม ฟิทช์คาดว่าสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจโดยรวมน่าจะช่วยสนับสนุนผลการดำเนินงานและช่วยลดความเสี่ยงด้านเชิงลบในระดับที่รุนแรงได้
เงินกองทุนได้รับผลกระทบจากการเข้าซื้อธุรกิจ : ฟิทช์ได้ปรับลดอันดับคะแนนสำหรับฐานะเงินกองทุนลงเป็น 'bbb-' เนื่องจากการซื้อสินทรัพย์ในธุรกิจสินเชื่อรายย่อยจาก Citibank จะส่งผลกระทบอย่างมากต่ออัตราส่วนเงินกองทุนของ UOBT ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2565 เป็นต้นไป
โดยอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (CET1) ของ UOBT มีแนวโน้มว่าจะยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของภาคธนาคารไทยอย่างมีนัยสำคัญในระยะปานกลาง (ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 อยู่ที่ 15.3%) แต่อย่างไรก็ตามการประเมินฐานะเงินทุนของ UOBT ของฟิทช์ ยังคงรวมการพิจารณาถึงสถานะของ UOBT ที่เป็นธนาคารในกลุ่ม UOB ด้วย
และเรามองว่ากลุ่มธนาคารมีข้อผูกพันตามแผนของกลุ่มธนาคารในระยะยาวที่จะต้องบริหารความสามารถในการรองรับความเสี่ยงของธนาคารลูกในด้านของฐานะเงินกองทุนให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
สภาพคล่องได้รับประโยชน์จากความเชื่อมโยงกับกลุ่ม : อัตราส่วนเงินให้สินเชื่อต่อเงินฝากของ UOBT อยู่ที่ 92.2% ในเดือนมิถุนายน 2565 (เทียบกับค่าเฉลี่ยของภาคธนาคารไทยที่ 92.8% ณ สิ้นปี 2565)
และฟิทช์ไม่คาดว่าอัตราส่วนดังกล่าวจะปรับตัวลดลงหลังจากการเข้าซื้อสินทรัพย์จาก Citibank อันดับคะแนนด้านการระดมเงินและสภาพคล่องของธนาคารที่ 'bbb+' ยังสะท้อนให้เห็นว่าสถานะสภาพคล่องของ UOBT ยังได้รับประโยชน์จากการสนับสนุนในด้านการดำเนินงานตามปกติอย่างต่อเนื่องจากธนาคารแม่ ซึ่งรวมถึงการเข้าถึงวงเงินกู้ระหว่างธนาคารและ ความสัมพันธ์กับกลุ่ม และการให้ความช่วยเหลือในการเข้าระดมทุนในตลาดการเงิน
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตสากล อันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น อันดับเครดิตภายในประเทศ
อันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นและอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวอาจถูกปรับลดอันดับเครดิตหากความสามารถและโอกาสในการให้การสนับสนุนของธนาคารแม่แก่ธนาคารลูกในประเทศไทยปรับตัวลดลงอย่างมาก
ตัวอย่างเช่น การที่อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ UOB ถูกปรับลดลงหลายอันดับ ลงมาในระดับต่ำกว่าเพดานอันดับเครดิตของประเทศไทย อาจส่งผลกระทบในเชิงลบต่ออันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นของ UOBT และอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ รวมถึงอันดับเครดิตภายในประเทศ
นอกจากนี้ อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น และอันดับเครดิตภายในประเทศยังอาจถูกปรับลดอันดับได้ หากการเชื่อมโยงกันระหว่าง UOB และ UOBT มีการปรับตัวด้อยลงอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งหมายถึงโอกาสในการให้การสนับสนุนที่ปรับตัวลดลง
โดยเหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้จากตัวอย่างเช่น การลดลงของสัดส่วนการถือหุ้นของธนาคารแม่ลงต่ำกว่า 75% รวมถึงการลดระดับการควบคุมการบริหารงานและการเชื่อมโยงในด้านกลยุทธ์ อย่างไรก็ตามฟิทช์ ไม่คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงในด้านโอกาสที่ธนาคารแม่จะให้การสนับสนุนในระยะปานกลาง
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นอาจถูกปรับลดอันดับได้ หากอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของธนาคารถูกปรับลดลงเป็น 'BBB'
ทั้งนี้ การปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศยังจะต้องพิจารณาเทียบเคียงกับโครงสร้างอันดับเครดิตของธนาคารและบริษัทอื่นๆในประเทศไทยด้วยเช่นกัน
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ UOBT อาจถูกปรับลดอันดับ หากอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญมีการปรับตัวด้อยลงกว่าคาดการณ์ของฟิทช์ ตัวอย่างเช่น หากอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมอยู่ในระดับที่สูงกว่า 4% เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง (ณ สิ้นเดือน มิถุนายน ปี 2565 อยู่ที่ 3.1%) ควบคู่ไปกับการปรับลดลงของความสามารถในการรองรับความเสี่ยง เช่น อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์เสี่ยงทรงตัวที่ประมาณ 1% เป็นระยะเวลาต่อเนื่อง ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวอาจบ่งชี้ว่าผลประโยชน์จากการซื้อธุรกิจาก Citibank ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างที่คาด และอาจบ่งชี้ว่าโครงสร้างธุรกิจของธนาคารมีแนวโน้มที่อ่อนแอลง
การรักษาระดับอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของที่ 11% (ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำกว่าระดับอ้างอิงของฟิทช์อย่างมีนัยสำคัญ) อาจส่งผลให้มีการทบทวนและปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร นอกจากนี้กการเพิ่มขึ้นของระดับการยอมรับความเสี่ยงและการเติบโตในกลุ่มลูกค้าที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นอาจกดดันคะแนนด้านฐานะเงินทุนและส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารลง
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตสากล อันดับเครดิตสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น อันดับเครดิตภายในประเทศ
อันดับเครดิตสนับสนุนผู้ถือหุ้น และอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว ไม่มีโอกาสได้รับการปรับเพิ่มอันดับ เว้นแต่จะมีการปรับเพิ่มเพดานอันดับเครดิตของประเทศไทย อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นก็ไม่สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้อีก ถ้าอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวไม่ได้มีการปรับขึ้นเป็น 'A'
ไม่มีโอกาสที่อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวจะได้รับการปรับเพิ่มอันดับขึ้นอีก เนื่องจากเป็นอันดับที่สูงที่สุดสำหรับอันดับเครดิตภายในประเทศแล้ว
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับจากการพัฒนาการที่ดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของเครือข่ายธุรกิจซึ่งจะนำไปสู่ความสามารถในการแข่งขันที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นๆ ซึ่งอาจบ่งชี้โดยอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ทรงตัวในระดับที่สูงกว่า 2%
และอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า 3% ควบคู่ไปกับความสามารถในการรองรับความเสี่ยงในระดับที่ยอมรับได้ อย่างไรก็ตามการปรับตัวดีขึ้นดังกล่าวอาจไม่เพียงพอสำหรับการปรับเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินหากอัตราส่วนด้านเงินกองทุนยังคงอยู่ในระดับที่ต่ำกว่าธนาคารอื่นในประเทศไทย
อันดับเครดิตหุ้นกู้
อันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ UOBT อยู่ในระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคาร เนื่องจากหุ้นกู้ดังกล่าวเป็นภาระผูกพันที่ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีหลักประกันของธนาคาร
หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 (Basel III-compliant Tier 2 subordinated notes) ได้รับการจัดอันดับต่ำกว่าอันดับเครดิตอ้างอิง ซึ่งคืออันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคารอยู่ 2 อันดับ
อันดับเครดิตที่ต่ำกว่าอยู่ 2 อันดับสะท้อนความเสี่ยงของการขาดทุนจากการชำระคืนเงินกู้ (loss severity risk) ที่สูงกว่าเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ที่ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันเนื่องจากสถานะด้อยสิทธิของตราสารดังกล่าว หุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวไม่มีคุณสมบัติรองรับผลขาดทุนระหว่างการดำเนินกิจการ (going-concern loss absorption)
จึงไม่ได้มีการปรับลดอันดับเครดิตเพิ่มเติมสำหรับความเสี่ยงที่ผู้ถือหุ้นกู้จะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดการณ์ (non-performance risk) วิธีการจัดอันดับเครดิตเป็นไปตามเกณฑ์ในการจัดอันดับเครดิตของฟิทช์และสอดคล้องกับตราสารที่คล้ายคลึงกันสำหรับธนาคารพาณิชย์ไทยอื่นๆซึ่งได้รับการจัดอันดับเครดิตโดยฟิทช์
หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคาร 4 อันดับ โดยแนวทางในการจัดอันดับเครดิตดังกล่าวสอดคล้องกับการจัดอันดับเครดิตสำหรับตราสารหนี้ประเภทเดียวกันในกรณีที่ออกโดยธนาคารแม่ ซึ่งคือ UOB
และสอดคล้องกับแนวทางพื้นฐานสำหรับการจัดอันดับเครดิตตราสารหนี้ประเภทดังกล่าวตามเกณฑ์ของฟิทช์ อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ UOBT สะท้อนถึงความคาดหวังที่ธนาคารจะได้รับการสนับสนุนพิเศษนอกเหนือจากการดำเนินงานตามปรกติจาก UOB
ฟิทช์ ใช้อันดับเครดิตซึ่งรวมปัจจัยสนับสนุนจากธนาคารแม่ (support-driven rating) ของ UOBT เป็นอันดับเครดิตอ้างอิงสำหรับหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 แทนที่จะใช้อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของตัวธนาคารเอง
เนื่องจากฟิทช์เชื่อว่า UOB จะให้การสนับสนุนแก่บริษัทลูกในประเทศไทยล่วงหน้าเพื่อป้องกันภาวะวิกฤติ (pre-emptive) ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงที่ผู้ถือหุ้นกู้จะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดการณ์ (non-performance risk)
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต
การปรับลดอันดับเครดิตของอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวจะส่งผลในทางเดียวกันกับอันดับเครดิตของหุ้นกู้ทั้งหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกัน หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 และหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1
อันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่มีโอกาสปรับขึ้นอีกแล้ว เนื่องจากอันดับเครดิตอ้างอิง ซึ่งก็คือ อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวนั้นอยู่ในอันดับสูงสุดของอันดับเครดิตภายในประเทศแล้ว
การปรับคะแนนของปัจจัยในการพิจารณาอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
อันดับคะแนนที่ให้แก่ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานอยู่สูงกว่าคะแนนตามเกณฑ์เนื่องจากการปรับเพิ่มคะแนนด้วยปัจจัยด้าน ‘อันดับเครดิตของประเทศ’
อันดับเครดิตที่เชื่อมโยงกับอันดับเครดิตอื่น
อันดับเครดิตของ UOBT มีความเชื่อมโยงกับอันดับเครดิตของ ธนาคารแม่ซึ่งคือ UOB ในประเทศสิงคโปร์
การพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
ระดับคะแนนที่สูงที่สุดสาหรับความสัมพันธ์ของ ESG ต่ออันดับเครดิต (หากมีการเปิดเผย) แสดงว่าระดับคะแนนจะอยู่ที่ระดับ 3 ซึ่งหมายความว่าปัจจัยด้าน ESG จะไม่ส่งผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบในระดับที่น้อยมากต่ออันดับเครดิตของธนาคาร ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยจากลักษณะของธุรกิจหรือจากการบริหารจัดการของธนาคารก็ตามสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมหาได้จาก www.fitchratings.com/esg
ติดต่อ
Tania Gold
Senior Director
Primary Rating Analyst
+65 6796 7224
Fitch Ratings Singapore Pte Ltd.
1 Wallich Street #19-01 Guoco Tower
Singapore 078881
พาสันติ์ สิงหะ
Senior Director
Secondary Analyst
อันดับเครดิตสากล
+662 108 0151
พาสันติ์ สิงหะ
Senior Director
Primary Analyst
อันดับเครดิตภายในประเทศ
+662 108 0151
บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จากัด
ชั้น 17 อาคารปาร์คเวนเชอร์ 57 ถนน วิทยุ
ลุมพินี ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
จินดารัตน์ สิริสิทธิโชติ
Associate Director
Secondary Analyst
อันดับเครดิตภายในประเทศ
+662 108 0153
Jonathan Cornish
Managing Director
Committee Chairperson
+852 2263 9901
ข้อมูลเพิ่มเติมหาได้จาก www.fitchratings.com