WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

FITCH12 5ฟิทช์ ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทยที่ AAA(tha); แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

ฟิทช์ เรทติ้งส์ – กรุงเทพฯ – 7 ตุลาคม 2565: บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Bank) ที่ ‘AAA(tha)’ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ และคงอันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ ‘F1+(tha)’

 

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต

การสนับสนุนจากรัฐเป็นปัจจัยหนุนอันดับเครดิต: อันดับเครดิตภายในประเทศของ SME Bank สะท้อนถึงมุมมองของฟิทช์ ว่ารัฐบาลไทย (BBB+/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) น่าจะให้การสนับสนุนพิเศษที่นอกเหนือจากการดำเนินงานตามปรกติ (extraordinary support) แก่ธนาคารในกรณีที่จำเป็น โดยพิจารณาจากการที่ SME Bank เป็นธนาคารรัฐที่ก่อตั้งขึ้นภายใต้พระราชบัญญัติเฉพาะ ซึ่งมีบทบาทในการช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมที่ไม่สามารถเข้าถึงบริการทางการเงินอย่างเต็มรูปแบบได้

นอกจากนี้ อันดับเครดิตของธนาคารยังพิจารณาถึงการควบคุมอย่างใกล้ชิดและการถือหุ้นในสัดส่วนเกือบทั้งหมดโดยกระทรวงการคลัง ทั้งนี้ อันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารนั้น เป็นอันดับที่สูงที่สุด สะท้อนถึงโอกาสการผิดนัดชำระหนี้ที่ต่ำที่สุดเมื่อเทียบกับธนาคารและบริษัทอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตในประเทศโดยฟิทช์

มีบทบาทในเชิงนโยบายที่สำคัญต่อรัฐบาล: SME Bank มีบทบาทสำคัญในเชิงกลยุทธ์ต่อรัฐบาลในการสนับสนุนเงินทุนให้กับธุรกิจขนาดเล็กในประเทศ ฟิทช์ เชื่อว่า วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมจะยังคงเป็นภาคส่วนที่สำคัญต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลและ SME Bank จะยังคงมีความสำคัญในเชิงนโยบายต่อรัฐบาลในระยะยาว สืบเนื่องจากความเชี่ยวชาญของธนาคารและความร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานภาครัฐ

SME Bank มีหน้าที่สำคัญในการช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของไวรัสโคโรน่า ผ่านมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้และการปรับโครงสร้างหนี้ ซึ่งสะท้อนถึงลักษณะของธุรกิจขนาดเล็กที่มีความเปราะบางต่อภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ ในระดับที่มากกว่าธุรกิจขนาดใหญ่

ความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับกระทรวงการคลัง: อันดับเครดิตของธนาคารยังพิจารณาถึงสัดส่วนการถือหุ้นเกือบทั้งหมด โดยกระทรวงการคลัง (99.4%) อำนาจควบคุมในคณะกรรมการธนาคาร และทิศทางการดำเนินนโยบายเชิงกลยุทธ์ของธนาคาร นอกจากนี้ ยังมีการสนับสนุนและการเชื่อมโยงอย่างต่อเนื่องจากรัฐบาลและธนาคารรัฐอื่น ทั้งในด้านสภาพคล่องและการดำเนินงาน ทั้งนี้ ธนาคารมีสัดส่วนสินเชื่อโครงการตามมติคณะรัฐมนตรีราว 55% ของสินเชื่อรวม โดยธนาคารได้รับการชดเชยในรูปแบบของรายได้ดอกเบี้ยและเงินชดเชยความเสียหาย เป็นต้น

ธนาคารได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากรัฐบาล ดังเห็นได้จากการเพิ่มทุนจำนวนหกพันล้านบาทในปี 2562-2563 เพื่อเพิ่มขนาดเงินกองทุนและสนับสนุนการเติบโตของสินเชื่อ นอกจากนี้ พระราชบัญญัติธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อมแห่งประเทศไทย ยังได้รวมถึงการสนับสนุนจากกระทรวงการคลังในรูปแบบของการค้ำประกันพันธบัตรของธนาคาร ทั้งนี้ ธนาคารมีพันธบัตรที่ค้ำประกันโดยกระทรวงการคลังมูลค่ารวม 2.1 หมื่นล้านบาท

การสนับสนุนด้านเงินกองทุนอย่างสม่ำเสมอ:  กระทรวงการคลังได้ทำการเพิ่มทุนให้ธนาคารเมื่อมีเหตุจำเป็น ซึ่งเกิดขึ้นล่าสุดในช่วงปี 2562-2563 ทำให้อัตราส่วนเงินกองทุนขั้นที่ 1 (Tier 1) ณ  สิ้นปี 2564 อยู่ที่ 12.1% ซึ่งสูงกว่าระดับตามเกณฑ์ขั้นต่ำ อย่างไรก็ตาม ฟิทช์คาดว่าอัตราเงินกองทุนน่าจะได้รับแรงกดดันในระยะปานกลางจากการเติบโตของสินเชื่ออย่างต่อเนื่อง และจากแผนการนำมาตรฐานบัญชี (TFRS 9) มาใช้ในปี 2568 อย่างไรก็ตาม คาดว่าธนาคารจะยังคงได้รับการสนับสนุนอย่างต่อเนื่องจากรัฐบาลซึ่งจะช่วยลดทอนความเสี่ยงด้านเงินทุนลงไปได้

ผลประกอบการยังได้รับผลกระทบจากการตั้งสำรอง : ผลการดำเนินงานปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อยในปี 2564 โดยมีกำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มขึ้นเป็น 0.7% (จาก 0.4% ในปี 2563) อย่างไรก็ตาม ฟิทช์คาดว่าค่าใช้จ่ายสำรองจะยังคงอยู่ในระดับสูงเพื่อรองรับมาตรฐานบัญชีฉบับใหม่ และความท้าทายทางเศรษฐกิจต่อกลุ่มลูกค้าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SME) อย่างไรก็ดี ฟิทช์เห็นว่าปัจจัยดังกล่าวนี้จะไม่ส่งผลกระทบต่อโอกาสที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนช่วยเหลือแก่ธนาคาร เนื่องจากธนาคารยังคงมีสถานะเป็นสถาบันการเงินของรัฐ

 

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

ฟิทช์ อาจปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศของ SME Bank หากฟิทช์เชื่อว่าโอกาสที่ทางการจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารปรับตัวลดลง ตัวอย่างเช่น มีการเปลี่ยนแปลงสถานะทางกฎหมายของธนาคารจากการเป็นธนาคารรัฐ ธนาคารมีบทบาทในการสนับสนุนนโยบายรัฐที่ด้อยลง หรือ กรณีที่รัฐบาลลดสัดส่วนการถือหุ้นในธนาคารลงอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามฟิทช์เชื่อว่าเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะปานกลาง

 

การปรับตัวลดลงของความสามารถของรัฐบาลในการสนับสนุนระบบการเงินไม่น่าจะส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคาร เนื่องจากฟิทช์คาดว่าธนาคารรัฐน่าจะมีโอกาสที่จะได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลในระดับที่สูงกว่า เมื่อเทียบกับธนาคารอื่นในประเทศ ดังนั้นอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารจึงไม่น่าจะมีการเปลี่ยนแปลง

 

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

อันดับเครดิตภายในประเทศของ SME Bank ไม่มีโอกาสที่จะได้รับการปรับเพิ่มอันดับเครดิต เนื่องจากอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารเป็นอันดับเครดิตที่อยู่ในระดับสูงสุดแล้ว

 

อันดับเครดิตที่มีความเชื่อมโยงกับอันดับเครดิตอื่น

อันดับเครดิตของ SME Bank มีความเชื่อมโยงกับอันดับเครดิตของประเทศไทย

 

ติดต่อ

Primary Rating Analyst

กุลรัตน์ ลีลานิรมล

Associate Director

+662 108 0154

 บริษัท ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) จำกัด

อาคารปาร์คเวนเชอร์ ชั้น 17

57 ถนน วิทยุ ลุมพินี

ปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330

 

Secondary Analyst

จินดารัตน์ สิริสิทธิโชติ

Associate Director

+662 108 0153

 

Committee Chairperson

Jonathan Cornish

Managing Director

+ 852 2263 9901

 

 

ข้อมูลเพิ่มเติมหาได้จาก www.fitchratings.com

 

Click Donate Support Web  

 

EXIM One 720x90 C J

วิริยะ 720x100

AXA 720 x100

aia 720 x100

PTG 720x100TU720x100sme 720x100

BANPU 720x100QIC 720x100

ธกส 720x100

ใจฟู720x100px

ais 720x100

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!