- Details
- Category: แบงก์พาณิชย์
- Published: Saturday, 11 April 2020 12:48
- Hits: 3157
ฟิทช์ ประกาศปรับลดอันดับเครดิตสากลของธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็น ‘BBB+’ และปรับแนวโน้มอันดับเครดิตเป็น ‘มีเสถียรภาพ’
ฟิทช์ เรทติ้งส์-กรุงเทพฯ/สิงคโปร์- 8 เมษายน 2563: ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศปรับลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign Currency IDR) เป็น ‘BBB+’ จาก ‘A-’ และปรับเป็น แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ จาก แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ โดยเป็นผลสืบเนื่องมาจากการปรับลดอันดับเครดิตสากลของธนาคารแม่ ซึ่งคือ MUFG Bank, Ltd. (A-/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ/a-) ซึ่งสะท้อนถึงการด้อยลงของความสามารถในการให้การสนับสนุนเป็นพิเศษนอกเหนือจากการดำเนินงานตามปรกติ (extraordinary support) แก่ BAY และฟิทช์ยังได้คงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น (Short-Term Foreign Currency IDR) ของธนาคารที่ ‘F1’ และอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating) ที่ ‘bbb’
อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวได้รับการคงอันดับเครดิตที่ ‘AAA(tha)’ และปรับเป็น แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ จาก แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิได้รับการคงอันดับเครดิตที่ ‘AAA(tha)’
อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิสกุลเงินบาทที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 ของ BAY ถูกปรับลดอันดับเป็น ‘AA(tha)’ จาก ‘AA+(tha)’ เพื่อให้สอดคล้องกับกรณีพื้นฐานของการจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิตามเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตฉบับปรับปรุงใหม่ของฟิทช์
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตสนับสนุน อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตสนับสนุน อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของธนาคารมีปัจจัยหลักในการพิจารณาอันดับเครดิตการสนับสนุนจาก MUFG โดย BAY เป็นบริษัทลูกที่มีบทบาทสำคัญในเชิงกลยุทธ์ในภูมิภาคต่อ MUFG และมีการดำเนินการร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพกับกลุ่มธนาคารแม่ในด้านการให้บริการธนาคารในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ MUFG มีสัดส่วนการถือหุ้นใน BAY ที่ 76.9% และมีอำนาจการบริหารงานควบคุม อันดับเครดิตภายในประเทศของ BAY
สะท้อนถึงโครงสร้างเครดิตของธนาคารเทียบกับธนาคารอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศของไทย โดยฟิทช์ประเมินแล้วว่าโครงสร้างเครดิตของ BAY ยังคงอยู่ในระดับที่สอดคล้องกับระดับที่แข็งแกร่งที่สุดในประเทศไทย อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิอยู่ในระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ BAY เนื่องจากหุ้นกู้ดังกล่าวเป็นภาระผูกพันที่ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีหลักประกันของธนาคาร
BAY และ MUFG มีความเชื่อมโยงและผสานการดำเนินงานกันอย่างใกล้ชิดมาก เช่น ในด้านการตลาด ด้านการดำเนินงาน และด้านการบริหารความเสี่ยง BAY เป็นผู้ให้บริการแก่กลุ่มลูกค้าญี่ปุ่นในประเทศไทย และมีการร่วมมือกันในด้านธุรกิจกับบริษัทต่างๆ ในภูมิภาคของกลุ่ม MUFG ยังได้ให้การสนับสนุนด้านการดำเนินงานแก่ BAY ซึ่งรวมถึง ผลิตภัณฑ์ทางการเงินและระบบ IT
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ BAY ที่ ‘bbb’ แสดงถึงโครงสร้างเครดิตของตัวธนาคารเอง ซึ่งพิจารณาจากการที่ BAY เป็น 1 ใน 5 ธนาคารที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดในด้านของเงินฝากที่ 11% ณ สิ้นปี 2562 นอกจากนี้ธนาคารมีการดำเนินงานที่หลากหลายและรองรับหลายกลุ่มลูกค้าและยังมีบริการทางการเงินที่ครบถ้วนและหลากหลาย นอกจากความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับกลุ่มลูกค้าญี่ปุ่นแล้ว BAY ยังมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่แข็งแกร่งในธุรกิจสินเชื่อลูกค้ารายย่อย
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินยังสะท้อนถึงการคาดการณ์ของฟิทช์ว่าสภาวะแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจจะเผชิญกับความท้าทายและเศรษฐกิจจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงมากจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัส และเหตุกาณ์ดังกล่าวจะยิ่งส่งผลกระทบในเชิงลบต่อสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานในประเทศไทยที่อ่อนแอมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและทั่วโลกที่ชะลอตัว แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีมาตรการผ่อนปรนเพื่อช่วยสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ แต่มาตรการเหล่านี้ไม่น่าจะหักล้างความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำต่อลูกหนี้ที่มีฐานะทางการเงินที่อ่อนแอหรือเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานของธาคารไทยสามารถดูได้จาก “Coronavirus Outbreak Increases Challenges for Thai Banks’ Operating Environment” ลงวันที่ 2 เมษายน 2563
เนื่องจากระยะเวลาและแนวโน้มความรุนแรงของสถานการณ์การระบาดของโคโรน่าไวรัสยังมีความไม่แน่นอน ซึ่งตามสมมติฐานกรณีฐานของฟิทช์นั้นผลการดำเนินงานของ BAY อาจได้รับผลกระทบในช่วงระยะเวลา 2 ปีข้างหน้า โดยอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญจะปรับตัวด้อยลงเมื่อเทียบกับปี 2562 อย่างไรก็ตามอาจจะไม่ได้มากนักเมื่อเทียบกับธนาคารส่วนใหญ่ในประเทศ โดยนอกจากระดับค่าใช้จ่ายการสำรองหนี้สูญ (credit cost) ที่อาจเพิ่มขึ้นแล้ว รายได้ของธนาคารก็อาจจะปรับตัวลดลงจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำรวมถึงรายได้ที่มิใช้ดอกเบี้ยที่ชะลอตัว ฟิทช์คาดว่าผลกำไรจากการดำเนินงานของธนาคารน่าจะยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของธนาคารอย่างน้อยในอีก 2 ปีข้างหน้า
ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิสกุลเงินบาทที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 ของ BAY ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวอยู่ 2 อันดับ ซึ่งสอดคล้องกับกรณีพื้นฐานในการจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ประเภทดังกล่าวตามเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตของฟิทช์ฉบับปรับปรุงใหม่ และสะท้อนถึงการที่หุ้นกู้ด้อยสิทธิมีโอกาสที่จะได้รับชำระหนี้คืน (recovery rate) ในอัตราที่ต่ำลงเมื่อเทียบกับหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ทั้งนี้ไม่ได้มีการปรับลดอันดับเครดิตเพิ่มเติม เนื่องจากหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวไม่มีคุณสมบัติรองรับผลขาดทุนระหว่างการดำเนินกิจการ (going-concern loss absorption)
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตสนับสนุน อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตสนับสนุน ของ BAY อาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากสมมติฐานใน
ด้านการได้รับการสนับสนุนปรับตัวดีขึ้น เช่น การปรับเพิ่มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของ MUFG อาจสะท้อนถึงความสามารถในการให้การสนับสนุนที่เพิ่มขึ้นและส่งผลให้อันดับเครดิตได้รับการปรับขึ้น
อันดับเครดิตภายในประเทศและอันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่สามารถปรับเพิ่มขึ้นได้อีก เนื่องจากเป็นระดับที่สูงที่สุดแล้ว
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
การที่ MUFG มีความสามารถในการให้การสนับสนุนแก่ BAY ลดลง (เช่นในกรณีที่ MUFG ถูกปรับลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ) เหตุการณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว และอันดับเครดิตสนับสนุน ของ BAY
การลดลงของโอกาสที่ MUFG จะให้การสนับสนุนแก่ BAY จะส่งผลกระทบในเชิงลบต่ออันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว อันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว และอันดับเครดิตสนับสนุนของ BAY ตัวอย่างเช่น การลดสัดส่วนการถือหุ้นใน BAY ลงต่ำกว่า 75% รวมทั้งการลดระดับความเชื่อมโยงในด้านการบริหารจัดการและควบคุมของธนาคารแม่ อย่างไรก็ตามฟิทช์ไม่คาดว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะเกิดขึ้นในระยะอันใกล้
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ BAY อาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากธนาคารมีเครือข่ายธุรกิจในประเทศที่แข็งแกร่งมากเพิ่มขึ้นใกล้เคียงกับกลุ่มธนาคารขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะสะท้อนในการปรับตัวดีขึ้นของความสามารถในการแข่งขัน โดยอาจบ่งชี้ได้จากอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่สูงกว่า 2.5% อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งอัตราส่วนคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารให้อยู่ในระดับที่ดีกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม (เช่น ต่ำกว่า 2% อย่างต่อเนื่อง) โดยไม่ได้มีการเพิ่มระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้อย่างมีนัยสำคัญจากมุมมองของฟิทช์ อย่างไรก็ตามด้วยสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานปัจจุบันโอกาสที่จะเกิดการปรับเพิ่มอันดับนั้นไม่น่าจะเกิดในช่วง 2 ปีข้างหน้า
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารอาจถูกปรับลดอันดับ หากมีการปรับตัวด้อยลงอย่างมากและมากกว่าที่ฟิทช์คาดไว้ของอัตรส่วนที่สำคัญด้านคุณภาพสินทรัพย์และด้านกำไร ซึ่งปรับลงไปในระดับที่ด้อยกว่าธนาคารในกลุ่มเดียวกันหรือค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม ซึ่งเหตุกาณ์ดังกล่าวจะส่งผลให้ฟิทช์อาจต้องทำการประเมินระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ของธนาคารใหม่รวมทั้งความสามารถในการรองรับความเสี่ยงในภาวะที่ภาคอุตสาหกรรมเผชิญความยากลำบาก ตัวอย่างเช่น อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพที่สูงกว่า 4% และอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์เสี่ยงที่ต่ำกว่า 1.5%
ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – หุ้นกู้ด้อยสิทธิ
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้เกิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ BAY ไม่มีโอกาสได้รับการปรับเพิ่มอันดับ เนื่องจากอันดับเครดิตอ้างอิงซึ่งคืออันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวอยู่ในอันดับที่สูงที่สุดแล้ว
ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้เกิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)
อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ BAY จะถูกปรับลดอันดับ จากการปรับลดอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคาร ซึ่งเป็นอันดับเครดิตอ้างอิง
การพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)
ESG จะไม่ส่งผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบในระดับที่น้อยมากต่ออันดับเครดิตของธนาคาร ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยจากลักษณะของธุรกิจหรือจากการบริหารจัดการของธนาคารก็ตาม ข้อมูลเพิ่มเติมดูได้จาก Fitch’s ESG Relevance Scores ที่ www.fitchratings.com/esg
รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดมีดังนี้
BAY
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว ปรับลดอันดับเครดิตเป็น ‘BBB+’ จาก ‘A-’; ปรับเป็น แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ จาก แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ
- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น คงอันดับเครดิตที่ ‘F1’
- อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน คงอันดับเครดิตที่ ‘bbb’
- อันดับเครดิตสนับสนุน ปรับลดอันดับเครดิตเป็น ‘2’ จาก ‘1’
- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับเครดิตที่ ‘AAA(tha)’ ปรับเป็น แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ จาก แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นลบ
- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับเครดิตที่ ‘F1+(tha)’
- อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกัน คงอันดับเครดิตที่ ‘AAA(tha)’
- อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 (ตามเกณฑ์บาเซล 3) ปรับลดอันดับเครดิตเป็น ‘AA(tha)’ จาก ‘AA+(tha)’
Fitch Downgrades Bank of Ayudhya to 'BBB+'; Outlook Stable
Fitch Ratings - Bangkok/Singapore - 08 Apr 2020: Fitch Ratings has downgraded Thailand-based Bank of Ayudhya Public Company Limited's (BAY) Long-Term Issuer Default Rating (IDR) to 'BBB+' from 'A-' with a Stable Outlook, following similar rating action for its parent, MUFG Bank, Ltd. (A-/Stable/a-), which reflects reduced ability to provide extraordinary support to the subsidiary. The agency has affirmed BAY's Short-Term IDR at 'F1' and its Viability Rating at 'bbb'.
BAY's National Long-Term Rating has been affirmed at 'AAA(tha)'. The Outlook has been revised from Negative to Stable. The rating on its locally issued senior debt instruments have also been affirmed at 'AAA(tha)'.
BAY's Basel III Tier 2-compliant Thai baht subordinated notes have been downgraded to 'AA(tha)' from 'AA+(tha)'. The downgrade on the notes reflects Fitch's revised base-line notching for subordinated debt in our updated Bank Rating Criteria.
KEY RATING DRIVERS
IDRS, SUPPORT RATING, NATIONAL RATINGS AND SENIOR DEBT
BAY's IDRs are driven by institutional support considerations from its Japan-based parent as Fitch believes there is a high likelihood of support from MUFG to BAY, which plays a key role in the parent's regional strategy. There are also strong synergies with the group in terms of providing banking services in south-east Asia. MUFG owns 76.9% of BAY and exercises management control over the Thai subsidiary. BAY's National Rating is relative to other issuers that Fitch rates on the national rating scale and we have assessed that BAY's credit profile remains in line with the strongest credits in the country. The senior debt rating is equalised with BAY's National Rating, as it constitutes unsecured and unsubordinated obligations of the bank.
There is a significant level of linkages between BAY and MUFG, including marketing, operations and risk management. BAY services the group's Japanese clients in Thailand, and there is ongoing business co-operation with other parts of the MUFG group across the region. MUFG also provides expertise to BAY in terms of financial products and IT systems.
VIABILITY RATING
BAY's Viability Rating of 'bbb' denotes its standalone profile, which takes into account BAY's position as one of Thailand's five largest banks, with a deposit market share of 11% as of end-2019. It operates a diversified business model, supporting a range of client segments and providing a full range of financial services. Aside from its close ties to the Japanese corporate client base, BAY also has a strong market share in retail banking.
The VR also takes into account Fitch's expectations of a much more challenging operating environment and large-scale economic disruptions from the coronavirus pandemic. This scenario will exacerbate Thailand's already weakening landscape in the past several years on slower domestic and global economic growth. The Bank of Thailand has implemented regulatory relief measures to assist debt restructuring, but these measures cannot eliminate the economic risks to weaker and more vulnerable debtors. For details on Thailand's operating environment, please see "Coronavirus Increases Challenges for Thai Banks' Operating Environment", published 2 April 2020, at http://www.fitchratings.com/site/pr/10116671.
The duration and trajectory of the pandemic remains uncertain. Fitch therefore expects BAY's performance in a base case-scenario to be affected over the next two years with core ratios weakening from those in 2019, albeit not as much as those of most domestic peers. The bank's top-line revenue will continue to be hampered by rising credit costs, the low interest-rate environment and more moderate non-interest income. We expect the bank's profitability to remain weak relative to its perceived risk appetite for at least the next two years.
SUBORDINATED DEBT
BAY's Basel III Tier 2 subordinated Thai baht notes are rated two notches below the bank's National Long-Term Rating. This is in line with Fitch's base-line notching approach in our updated Bank Rating Criteria, and takes into account our expectations of a poorer recovery rate compared with senior unsecured instruments. There is no additional notching for non-performance risks, as the notes do not incorporate going-concern loss-absorption features.
RATING SENSITIVITIES
IDRS, SUPPORT RATING, NATIONAL RATINGS AND SENIOR DEBT
Factors that could, individually or collectively, lead to positive rating action/upgrade:
BAY's Long-Term IDR and Support Rating could be upgraded if the institutional support assumptions were strengthened. For example, an upgrade of MUFG's Long-Term IDR could reflect an improvement in support ability, and lead to rating upside.
There is no possibility of an upgrade to BAY's National Ratings or senior debt rating, which are at the top end of the scale.
Factors that could, individually or collectively, lead to negative rating action/downgrade:
Lower ability by MUFG to support BAY, indicated by a downgrade of its Long-Term IDR, may lead to a downgrade in the subsidiary's Long-Term IDR, senior debt rating, National Long-Term Rating and Support Rating.
A lower propensity by MUFG to support BAY would also be negative for the subsidiary's Long-Term IDR, National Long-Term Rating, senior debt rating, and Support Rating. For example, this may be indicated by a decline in shareholding to below 75%, combined with a decline in management control and business linkages. However, Fitch does not expect this to occur in the near term.
VIABILITY RATING
Factors that could, individually or collectively, lead to positive rating action/upgrade:
There may be upside to BAY's Viability Rating if the bank's franchise in the Thai market improves in line with other larger domestic systemically important banks, leading to a better competitive position and financial resilience. This may be seen from the operating profit/risk-weighted asset (RWA) ratio being sustained above 2.5%, combined with more stable and better-than-sector asset-quality ratios that are maintained below 2% without, in our view, a material increase in its risk appetite. However, the current challenging operating environment is likely to constrain the probability of upside in the next two years.
Factors that could, individually or collectively, lead to negative rating action/downgrade:
The Viability Rating could be downgraded if there is significant deterioration beyond Fitch's expectations in BAY's asset quality and earnings core metrics to levels weaker than peer and sector averages, which may lead to a reassessment of the bank's risk appetite and its ability to withstand the difficult industry conditions. Weakening asset quality may be indicated by a non-performing loan ratio of more than 4%, while that of earnings may be denoted by an operating profit/RWA ratio of less than 1.5%
SUBORDINATED DEBT
Factors that could, individually or collectively, lead to positive rating action/upgrade:
There is no upside to BAY's Basel III Tier 2 subordinated notes. The anchor rating is the bank's National Long-Term Rating, which is at the top end of the scale.
Factors that could, individually or collectively, lead to negative rating action/downgrade:
BAY's Basel III Tier 2 subordinated Thai baht notes would be similarly affected by a downgrade in the bank's National Long-Term Rating, which is the anchor rating.
BEST/WORST CASE RATING SCENARIO
International scale credit ratings of financial-institution issuers have a best-case rating upgrade scenario (defined as the 99th percentile of rating transitions, measured in a positive direction) of three notches over a three-year rating horizon; and a worst-case rating downgrade scenario (defined as the 99th percentile of rating transitions, measured in a negative direction) of four notches over three years. The complete span of best- and worst-case scenario credit ratings for all rating categories ranges from 'AAA' to 'D'. Best- and worst-case scenario credit ratings are based on historical performance. For more information about the methodology used to determine sector-specific best- and worst-case scenario credit ratings, visit https://www.fitchratings.com/site/re/10111579.
REFERENCES FOR SUBSTANTIALLY MATERIAL SOURCE CITED AS KEY DRIVER OF RATING
The principal sources of information used in the analysis are described in the Applicable Criteria.
ESG CONSIDERATIONS
ESG issues are credit neutral or have only a minimal credit impact on the entity(ies), either due to their nature or the way in which they are being managed by the entity(ies). For more information on Fitch's ESG Relevance Scores, visit www.fitchratings.com/esg.
Additional information is available on www.fitchratings.com