WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

FITCH12 9ฟิทช์ ปรับลดอันดับเครดิตสากลของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็น ‘BBB’ จากผลกระทบไวรัสโคโรน่า

    ฟิทช์ เรทติ้งส์-สิงคโปร์- 2 เมษายน 2563: ฟิทช์ เรทติ้งส์ ประกาศลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign Currency IDR) ของธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็น ‘BBB’ จาก ‘BBB+’  และคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ ‘F2’ และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ ‘AA+(tha)’ โดยแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

      ในขณะเดียวกันฟิทช์ปรับลดอันดับเครดิตสากลของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ เป็น ‘BBB’ จาก ‘BBB+’ และปรับลดอันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ  เป็น ‘BB+ ‘ จาก ‘BBB’ และยกเลิกสถานะ “อยู่ระหว่างสังเกตการณ์ผลกระทบจากการปรับเกณฑ์การจัดอันดับเครดิต” (Under Criteria Observation)

       ฟิทช์ ปรับลดอันดับเครดิตของ BBL สะท้อนถึงความท้าทายของสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจและผลกระทบที่รุนแรงต่อเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโคโรน่าไวรัสที่กระจายไปในวงกว้าง โดยผลกระทบดังกล่าวได้เพิ่มแรงกดดันต่อสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานของธนาคารที่อ่อนแอมาอย่างต่อเนื่องในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและทั่วโลกที่ซบเซา แม้ว่าธนาคารแห่งประเทศไทยจะมีมาตรการผ่อนปรนเพื่อช่วยสนับสนุนการปรับโครงสร้างหนี้ แต่มาตรการเหล่านี้ไม่น่าจะหักล้างความเสี่ยงที่เกิดจากผลกระทบจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำต่อลูกหนี้ที่มีฐานะทางการงินที่อ่อนแอหรือเป็นกลุ่มที่มีความเปราะบางได้ สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานของธาคารไทยสามารถดูได้จาก “Coronavirus Outbreak Increases Challenges for Thai Banks’ Operating Environment” ลงวันที่ 2 เมษายน 2563

     เนื่องจากระยะเวลาและแนวโน้มความรุนแรงของสถานการณ์การระบาดของโคโรน่าไวรัส ยังมีความไม่แน่นอน ซึ่งตามสมมติฐานกรณีฐานของฟิทช์นั้นคุณภาพของสินทรัพย์รวมถึงผลการดำเนินงานของ BBL อาจได้รับผลกระทบอย่างมากในช่วงระยะเวลา 2 ปีข้างหน้าเมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานในปี 2562 โดยนอกจากระดับค่าใช้จ่ายการสำรองหนี้สูญ (credit cost) ที่อาจเพิ่มขึ้นแล้ว รายได้ของธนาคารก็อาจจะปรับตัวลดลงจากภาวะอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำรวมถึงรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่ชะลอตัว อีกทั้งฐานะเงินกองทุนที่จะอ่อนแอลงจากการเข้าซื้อกิจการธนาคาร PT Bank Permata Tbk (Permata: AAA(idn)/เครดิจพินิจเป็นลบ) ในประเทศอินโดนีเซีย

       ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ

     อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ BBL พิจารณาจากโครงสร้างเครดิตของตัวธนาคารเอง ซึ่งสะท้อนในอันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน (Viability Rating  หรือ VR)  หุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิมีสถานะเป็นภาระผูกพันที่ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีหลักประกันของธนาคารซึ่งมีอันดับเครดิตอยู่ในระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของธนาคาร อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตและรวมการพิจารณาโครงสร้างด้านการระดมทุนและสภาพคล่องของธนาคารที่ระดับ ‘bbb+’ การคงอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารสะท้อนถึงมุมมองของฟิทช์ต่อโครงสร้างเครดิตของ BBL ที่ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปมากเมื่อเปรียบเทียบกับธนาคารอื่นที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตภายในประเทศแม้ว่าอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของธนาคารจะถูกปรับลดอันดับลง

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

     อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ BBL สะท้อนถึงเครือข่ายธุรกิจที่แข็งแกร่งในประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านธุรกิจรายใหญ่และกิจการธนาคารต่างประเทศ นอกจากนี้อันดับเครดิตยังสะท้อนมุมมองของฟิทช์ต่อสภาพแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจที่จะอ่อนแอลงอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากการชะลอตัวอย่างรุนแรงของเศรษฐกิจไทย อันดับเครดิตยังรวมถึงความเชื่อของฟิทช์ว่ากำไรของธนาคารจะอ่อนตัวลงจากอุปสรรคต่างๆ ดังที่กล่าวมา รวมทั้งการด้อยคุณภาพของสินทรัพย์น่าจะส่งผลให้ค่าใช้จ่ายในการตั้งสำรองสินเชื่อด้อยคุณภาพของธนาคารยังคงอยู่ในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้การซื้อกิจการ Permata อาจทำให้ BBL ต้องเผชิญความเสี่ยงจากความผันผวนของกำไรที่มากขึ้นในระยะกลางจากการเพิ่มสัดส่วนความเสี่ยงของธนาคารจากธุรกิจที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมการดำเนินงานที่ด้อยกว่า

การซื้อกิจการ Permata น่าจะแล้วเสร็จในปี 2563 โดยอัตราส่วนเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่เป็นส่วนของเจ้าของ (Common Equity Tier 1: CET1) น่าจะปรับตัวลดลงประมาณ 3% หลังจากธุรกรรมเสร็จสิ้น โดยธนาคารคาดว่าจะทยอยเพิ่มเงินกองทุนให้กลับขึ้นมาจากกำไรสะสมของธนาคารแต่อย่างไรก็ตามภายใต้สภาวะแวดล้อมการดำเนินงานที่ท้าทายน่าจะกดดันความสามารถในการสะสมเงินกองทุนของธนาคารอย่างน้อยในช่วงระยะสั้น ดังนั้นฟิทช์จึงเชื่อว่ามีความเป็นไปได้สูงที่การปรับตัวเพิ่มขึ้นของฐานะเงินกองทุนจะเป็นไปได้ช้ากว่าที่คาด

BBL ยังคงมีโครงสร้างเครดิตที่ดีกว่าและมีความสามารถในการรองรับผลกระทบเชิงลบที่มากกว่าเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นที่มีอันดับเครดิตที่ต่ำกว่าและอยู่ในสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานในระดับเดียวกัน ซึ่งปัจจัยดังกล่าวจะช่วยลดแรงกดดันเชิงลบต่ออันดับเครดิตของธนาคารในช่วงระยะเวลา 12-18 เดือนข้างหน้า โดยสภาพคล่องของธนาคารและอัตราส่วนการสำรองหนี้สูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ (Loan Loss Coverage Ratio) ที่สูงกว่าธนาคารอื่นน่าจะสนับสนุนความสามารถในการรองรับความเสี่ยงที่อาจเพิ่มขึ้นจากสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงาน

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสนับสนุน (Support Rating) และ อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ

     อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ BBL สะท้อนถึงความสำคัญของธนาคารต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศไทย ในฐานะที่ธนาคารมีส่วนแบ่งทางการตลาดลูกค้าเงินฝาก 17% ณ สิ้นปี 2562 ฟิทช์เชื่อว่ามีโอกาสสูงที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารหากจำเป็น เนื่องจากธนาคารมีบทบาทในฐานะสถาบันการเงินที่มีความสำคัญเชิงระบบของประเทศไทย

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – หุ้นกู้ด้อยสิทธิ

            การปรับลดอันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิ (ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่2 ภายใต้หลักเกณฑ์บาเซล 3 และที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่2 ซึ่งไม่สอดคล้องตามเกณฑ์บาเซล 3) ของ BBL เป็น ‘BB+’ จาก ‘BBB’ เนื่องจากการปรับลดอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศของธนาคารซึ่งเป็นอันดับเครดิตอ้างอิง (anchor rating) และการเปลี่ยนแปลงของเกณฑ์การจัดอันดับเครดิตสำหรับตราสารหนี้ด้อยสิทธิ (ที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2) เป็น 2 อันดับต่ำกว่าอันดับเครดิตอ้างอิง (anchor rating)  ซึ่งจากเดิมคือที่ 1 หรือ 2 อันดับต่ำกว่าอันดับเครดิตอ้างอิง ทั้งนี้เพื่อสะท้อนถึงความเสี่ยงที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ไม่ด้อยสิทธิ ทั้งนี้หุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวไม่มีคุณสมบัติรองรับผลขาดทุนระหว่างการดำเนินกิจการ (going-concern loss absorption) จึงไม่ได้ถูกปรับลดอันดับเพิ่มเติมเพื่อสะท้อนถึงความเสี่ยงที่ผู้ถือหุ้นกู้จะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่ดาดการณ์ (non-performance risk)

            ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

            อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ BBL จะได้รับผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงของอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร การปรับเพิ่มอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินน่าจะส่งผลให้อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิได้รับการปรับเพิ่มอันดับ

การเปลี่ยนแปลงมุมมองของฟิทช์ที่มีต่อโครงสร้างเครดิตของ BBL เมื่อเทียบกับอันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคารหรือบริษัทอื่นอาจส่งผลกระทบต่ออันดับเครดิตภายในประเทศของ BBL อย่างไรก็ตามฟิทช์มองว่าการปรับเพิ่มอันดับเครดิตภายในประเทศของ BBL ไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะสั้นเมื่อพิจารณาจากโครงสร้างอันดับเครดิตของธนาคารเมื่อเทียบกับธนาคารขนาดใหญ่รายอื่นในประเทศ

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

               การปรับลดอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินจะส่งผลในทิศทางเดียวกันกับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศ และอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของธนาคารแม้ว่าความเสี่ยงในเชิงลบต่ออันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ มีค่อนข้างจำกัด โดยอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำอยู่ที่ ‘BBB-’ อันดับเครดิตภายในประเทศอาจได้รับการปรับลดอันดับหากฟิทช์มองว่าโครงสร้างเครดิตของธนาคารอ่อนแอลงเมื่อเทียบกับธนาคารหรือบริษัทอื่นในประเทศ

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

            อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับเป็น ‘bbb+’ หากแนวโน้มคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคารจัดอยู่ในระดับสอดคล้องกับธนาคารอื่นที่มีอันดับเครดิตสูงกว่าและอยู่ในสภาวะแวดล้อมการดำเนินงานที่ระดับเดียวกัน (ที่ bbb) เช่นอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อต่ำกว่า 3% อีกทั้งยังมีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงที่แข็งแกร่งในด้านของสำรองหนี้สูญต่อสินเชื้อด้อยคุณภาพและเงินกองทุน (เช่น CET1 อยู่ที่ระดับ 16% อย่างต่อเนื่อง) ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับความสามารถในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้นอย่างยั่งยืนโดยที่ไม่ได้ยอมรับความเสี่ยงเพิ่มขึ้นเนื่องจากความสามารถดังกล่าวจะช่วยเพิ่มความสามารถในการสะสมเงินกองทุนของธนาคาร

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

อันดับความแข็งแกร่งของธนาคารอาจได้รับการปรับลดอันดับเป็น ‘bbb-‘ หากฐานะเงินกองทุนของธนาคารปรับตัวด้อยลงอย่างต่อเนื่องจนไม่เพียงพอที่จะรองรับคุณภาพสินทรัพย์ที่ด้อยลง เช่น การที่อัตราส่วน CET1 ของธนาคารปรับตัวลดลงต่ำกว่า 13% ในช่วงสองปีข้างหน้า โดยอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมเพิ่มขึ้นสูงกว่า 6% และอัตราส่วนสำรองหนี้เสียต่อสินเชื้อด้อยคุณภาพต่ำกว่า 120% ในความเห็นของฟิทช์เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้หากผลประกอบการ และกำไรของธนาคารยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่องจากการลดลงของอัตรากำไรและคุณภาพสินทรัพย์ที่ด้อยลง ซึ่งสะท้อนถึงสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานที่ท้าทายและการยอมรับความเสี่ยงของธนาคารที่เพิ่มขึ้น

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

            อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากฟิทช์เชื่อว่ามีโอกาสมากขึ้นที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารที่มีนัยต่อระบบ (D-SIB) ซึ่งรวมถึง BBL อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะปานกลาง การปรับเพิ่มอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทยที่ ‘BBB+’/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ ก็อาจบ่งชี้ได้ว่ารัฐบาลมีความสามารถเพิ่มขึ้นในการสนับสนุนธนาคาร (รวมถึง BBL) แต่การพิจารณาอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำต้องคำนึงถึงการที่โอกาสในการให้การสนับสนุนธนาคารไม่มีการปรับตัวลดลง

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

            อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำอาจถูกปรับลดอันดับหากฟิทช์เชื่อว่าความสามารถที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารนั้นลดลง เหตุการณ์ดังกล่าวอาจเกิดขึ้นหากอันอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของประเทศไทยถูกปรับลดอันดับ นอกจากนี้การปรับลดอันดับเครดิตยังอาจเกิดได้หากฟิทช์เชื่อว่ามีโอกาสลดลงที่รัฐบาลจะให้การสนับสนุนแก่ธนาคารที่มีนัยต่อระบบ (รวมถึง BBL) อย่างไรก็ตามเหตุการณ์ดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้นในระยะปานกลาง

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต –อันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิ

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงบวกหรือส่งผลให้กิดการปรับเพิ่มอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

            อันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ BBL จะได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของธนาคารได้รับการปรับเพิ่มอันดับ

ปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบหรือส่งผลให้กิดการปรับลดอันดับเครดิต (ปัจจัยเดียวหรือหลายปัจจัยรวมกัน)

            อันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ BBL จะได้รับการปรับลดอันดับหากอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของธนาคารได้รับการปรับลดอันดับ

การพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)

               หากไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนนี้ แสดงว่าธนาคารมีระดับคะแนนความสัมพันธ์ของ ESG ต่ออันดับเครดิต ไม่เกินระดับ 3 ซึ่งหมายความว่าปัจจัยด้าน ESG จะไม่ส่งผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบในระดับที่น้อยมากต่ออันดับเครดิตของธนาคาร ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยจากลักษณะของธุรกิจหรือจากการบริหารจัดการของธนาคารก็ตาม

รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดมีดังนี้

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว ปรับลดอันดับเป็น ‘BBB’ จาก ‘BBB+’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F2’

- อันดับความเข็งแกร่งทางการเงิน ปรับลดอันดับเป็น ‘bbb’ จาก ‘bbb+’

- อันดับเครดิตสนับสนุน คงอันดับที่ ‘2’

- อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ คงอันดับที่ ‘BBB-’

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับที่ ‘AA+(tha)’; แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ

อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับที่ ‘F1+(tha)’

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ปรับลดอันดับเป็น ‘BBB’ จาก ‘BBB+’

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิปรับลดอันดับเป็น ‘BB+’ จาก ‘BBB’

Fitch Downgrades Bangkok Bank to 'BBB' on Coronavirus

Outbreak

            Fitch Ratings - Singapore - 02 Apr 2020: Fitch Ratings has downgraded Bangkok Bank Public Company Limited's (BBL) Long-Term Issuer Default Rating (IDR) to 'BBB' from 'BBB+', and affirmed the Short-Term IDR at 'F2' and the National Long-Term Rating at 'AA+(tha)'. The Outlooks are Stable.

            At the same time, Fitch downgraded BBL's senior unsecured debt rating to 'BBB' from 'BBB+', downgraded the subordinated notes to 'BB+' from 'BBB' and removed the ratings from Under Criteria Observation.

               The downgrade reflects BBL's challenging operating environment and large-scale economic disruptions from the coronavirus pandemic. These follow Thailand's weak operating environment in the past several years on slower domestic and global economic growth. The Bank of Thailand's relief measures to assist in debt restructuring cannot eliminate the risks for weaker and more vulnerable debtors. For details on Thailand's operating environment, please see "Coronavirus Increases Challenges for Thai Banks' Operating Environment", dated 2 April 2020 at https://www.fitchratings.com/research/banks/coronavirus-increases-challenges-for-thai-banks-operating-environment-02-04-2020.

               The duration and trajectory of the coronavirus outbreak remains uncertain. As such, Fitch expects BBL's asset quality and performance to be significantly affected over the next two years in a base-case scenario, with core ratios weakening significantly compared with 2019. BBL will be affected by rising credit costs and its top-line revenue will continue to soften because of the low interest-rate environment and a moderation in non-interest income, while its capital position will also weaken as a result of its pending acquisition of Indonesia-based PT Bank Permata Tbk (Permata; AAA(idn)/Rating Watch Negative).

KEY RATING DRIVERS

IDRS, NATIONAL RATINGS AND SENIOR DEBT

               The IDRs, National Ratings and ratings on the senior debt of BBL are driven by its standalone credit profile, which is denoted by its VR. The senior debt represents unsecured and unsubordinated obligations of the bank and is equalised with the bank's Long-Term IDR. The Short-Term IDR corresponds to criteria and takes into consideration Fitch's assessment of the bank's funding and liquidity profile, which is assessed at 'bbb+'.The affirmation of the National Ratings reflects Fitch's view of BBL's credit profile relative to Thailand's national-rating universe, which remains little changed despite the bank's weakening trends, as indicated by the downgrade of the IDRs.

VR

            The VR of BBL reflects the bank's leading domestic franchise with a particular strength in corporate and international banking. That said, the rating also reflects our assessment that the operating environment will weaken significantly with a sharp contraction in the Thai economy. The rating incorporates our belief that BBL's earnings will decline because of those operating and economic challenges, with deterioration in asset quality already contributing to persistently high provision costs. Furthermore, the pending acquisition of Permata may expose BBL to more earnings volatility in the medium-term through a greater exposure to a weaker operating environment.

               The Permata acquisition is scheduled for completion by year-end. BBL's common equity Tier 1 (CET1) ratio is likely to decrease by up to 3%, after the transaction is finalised. BBL expects to increase core capital levels gradually through profit retention; however, the operating environment challenges will significantly hurt capital-generating capacity at least in the near-term. Fitch therefore sees greater potential for a delay in improving capitalisation.

               BBL's credit profile and loss-absorption buffers are superior relative to most other lower-rated banks operating in similar environments. This should limit downward pressure on the bank's ratings in the next 12-18 months. BBL's above-peer liquidity position and loan loss coverage ratio should support the bank's capability to withstand the increasingly challenging environment.

SUPPORT RATING AND SUPPORT RATING FLOOR (SRF)

            The Support Rating and SRF of BBL are based on BBL's systemic importance to the Thai financial system, as reflected by its significant deposit market share of 17% as of end-2019. We believe that there is a high probability the government would provide extraordinary support to the bank, if needed, given its role as one of Thailand's domestic systemically important banks (D-SIBs).

SUBORDINATED DEBT

               The downgrade of BBL's subordinated notes (Basel III-compliant Tier 2 and non-Basel III-compliant Tier2) reflects the lower Long-Term IDR, which is an anchor rating of BBL's subordinated debt, and the changes in Fitch's updated criteria on the baseline notching for banks' subordinated (Tier 2) debt to two notches below the anchor rating, from the previous approach of one or two notches. This is because we believe there is a heightened risk of significant losses for this debt class, with the two notches reflecting our view of the notes' loss severity risk in comparison with senior debt. The notes have no going-concern loss-absorption feature, and hence there is no additional notching for non-performance risk.

RATING SENSITIVITIES

******************************************

 

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

SAM720x100px bgGC 790x90

SME720 x 100banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!