- Details
- Category: แบงก์พาณิชย์
- Published: Monday, 17 February 2020 15:52
- Hits: 2574
EXIM BANK เร่งขยายบริการสนับสนุนผู้ประกอบการไทยปรับตัว รับมือความเสี่ยงการค้าการลงทุนระหว่างประเทศ ดันภาคการส่งออกไทยโตเป็นบวกปี 63
EXIM BANK ชูนโยบายโอกาสครบรอบ 26 ปี ยังคงเคียงข้างธุรกิจส่งออกและลงทุนระหว่างประเทศเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยอย่างยั่งยืน โดยร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตรภาครัฐและเอกชนหาโอกาสใหม่ๆ ทางธุรกิจ ควบคู่กับขยายบริการทางการเงิน ข้อมูลข่าวสาร และอบรมบ่มเพาะให้ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยปรับตัวรับความไม่สมดุลทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และสิ่งแวดล้อมได้ โดยเยียวยาผลกระทบระยะสั้น ควบคู่กับการส่งเสริมการนำเข้าเครื่องจักร เทคโนโลยี เพื่อปรับปรุงสินค้าให้มีมูลค่าเพิ่ม บรรเทาการแข็งค่าของเงินบาท ผลักดันให้ภาคการส่งออกของไทยไม่หดตัวในปี 2563
นายพิศิษฐ์ เสรีวิวัฒนา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) แถลงข่าวแก่สื่อมวลชนในโอกาส EXIM BANK เปิดดำเนินการครบรอบ 26 ปี ณ EXIM BANK สำนักงานใหญ่ เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 ว่า ปี 2563 เป็นปีแห่งการปรับสมดุลของโลก เพื่อลด’ความเสี่ยง’ ในหลายมิติที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย ประกอบด้วย 1. มิติเศรษฐกิจ โดยเฉพาะสงครามการค้าที่มีต้นตอมาจากความไม่สมดุลของการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนมาอย่างยาวนาน จนทำให้สหรัฐฯ ปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากจีน ขณะที่จีนก็ตอบโต้โดยการปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐฯ ยังคงส่งผลกดดันบรรยากาศการค้าของโลกและของไทยในปีนี้ ความผันผวนของค่าเงินที่เกิดขึ้นทั่วโลกซึ่งเกิดจากสภาพคล่องล้นโลกและนโยบายการเงินกลับทิศทาง
และราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมัน อยู่ในระดับต่ำเกิดจากความไม่สมดุลระหว่างอุปสงค์และอุปทานน้ำมัน ทำให้ราคาสินค้าหลายชนิดที่เคลื่อนไหวในทิศทางเดียวกับราคาน้ำมันทรงตัวอยู่ในระดับต่ำ 2. มิติการเมืองและสังคม ความขัดแย้งในหลายประเทศล้วนส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจ กำลังซื้อของประชาชน และเศรษฐกิจโลกโดยรวม 3. มิติสิ่งแวดล้อม ทั้งภัยธรรมชาติและโรคระบาด ส่งผลกระทบต่อกิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งการค้าและการลงทุนที่เชื่อมโยงถึงกันทั่วโลก
ขณะที่ประเทศไทยซึ่งเศรษฐกิจเป็นระบบเปิด ขนาดเล็ก พึ่งพาตลาดต่างประเทศในสัดส่วนสูง มีอำนาจต่อรองไม่สูงนัก เผชิญกับภาวะเกินดุลบัญชีเดินสะพัดที่แฝงด้วยความไม่ยั่งยืนจากปัญหาความไม่สมดุลเชิงโครงสร้างภาคการค้าระหว่างประเทศ โดยมูลค่าการส่งออกของไทยถูกขับเคลื่อนด้วยปริมาณมากกว่าราคา เนื่องจากสินค้าไทยมีมูลค่าเพิ่มไม่สูง ขณะที่ไทยนำเข้าสินค้าเพื่ออุปโภคบริโภคในอัตราขยายตัวสูงกว่าการนำเข้าสินค้าเครื่องจักรและเทคโนโลยีเพื่อการลงทุนอยู่มาก กดดันให้เงินบาทแข็งค่า ผู้ส่งออกไทยจึงมีรายรับในเทอมเงินบาทลดลงและสูญเสียความได้เปรียบในการแข่งขัน เมื่อเทียบกับคู่แข่งชาติอื่น
จากความเสี่ยงของโลกในมิติเศรษฐกิจ การเมืองและสังคม และสิ่งแวดล้อม ประกอบกับปัญหาเชิงโครงสร้างภาคการค้าระหว่างประเทศของไทย ทำให้ผู้ประกอบการไทยเผชิญความเสี่ยงทางการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ และความยากลำบากในปี 2563
- • ระยะสั้น EXIM BANK สนับสนุนผู้ประกอบการด้วยเครื่องมือทางการเงิน ทั้งสินเชื่อและประกันความเสี่ยงด้านการค้าและการลงทุน และคุ้มครองความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งโปรแกรมสินเชื่อพิเศษและมาตรการต่าง ๆ ที่จะช่วยบรรเทาผลกระทบในระยะสั้นให้แก่ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทย
- • ระยะยาว EXIM BANK มีบริการทางการเงินที่จะช่วยผู้ประกอบการไทยปรับสมดุลโครงสร้างการส่งออกและนำเข้าของไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน โดยสนับสนุนการปรับเปลี่ยนเครื่องจักรและพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทย ตลอดจนสนองนโยบายรัฐบาลในการสนับสนุนการลงทุนใน EEC และพัฒนาภาคอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรม S-curve เพื่อสร้างฐานการผลิตด้านนวัตกรรมของประเทศ ควบคู่กับการให้ข้อมูลข่าวสารและจัดโครงการอบรมบ่มเพาะผู้ประกอบการผ่านศูนย์ความเป็นเลิศด้านการค้า (EXAC)
ทั้งนี้ เพื่อร่วมผลักดันให้ภาคการส่งออกของไทยในปี 2563 พลิกกลับมาโตเป็นบวกได้ ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจและการค้าโลกที่เต็มไปด้วยความท้าทาย
ด้านผลการดำเนินงานปี 2562 EXIM BANK มีสินเชื่อคงค้าง 121,868 ล้านบาท สูงสุดเป็นประวัติการณ์นับตั้งแต่เปิดดำเนินการ โดยเพิ่มขึ้น 13,279 ล้านบาทหรือ 12.23% เมื่อเทียบกับปีก่อน แบ่งเป็นสินเชื่อเพื่อการค้า 38,900 ล้านบาทและสินเชื่อเพื่อการลงทุน 82,968 ล้านบาท ทำให้เกิดปริมาณธุรกิจ (Business Turnover) 197,106 ล้านบาท ซึ่งในจำนวนนี้เป็นปริมาณธุรกิจของ SMEs เท่ากับ 106,749 ล้านบาท คิดเป็น 54.16% โดยสินเชื่อคงค้าง SMEs เท่ากับ 43,123 ล้านบาท ส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2562 EXIM BANK มีกำไรสุทธิ 507 ล้านบาท มีอัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ (NPLs Ratio) อยู่ที่ 4.60% โดยมีสินเชื่อด้อยคุณภาพจำนวน 5,606 ล้านบาท และมีเงินสำรองหนี้สงสัยจะสูญจำนวน 11,171 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,787 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปีก่อน เป็นสำรองหนี้พึงกันตามเกณฑ์ธนาคารแห่งประเทศไทยจำนวน 7,804 ล้านบาท คิดเป็นอัตราส่วนเงินสำรองที่กันไว้แล้วต่อสำรองพึงกัน 143.15% ทำให้ EXIM BANK ยังคงดำรงฐานะการเงินที่มั่นคง
สำหรับผลการดำเนินงานด้านประกันการส่งออกและการลงทุนของ EXIM BANK ในปี 2562 มีปริมาณธุรกิจสะสมเท่ากับ 121,372 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28,924 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปีก่อน โดยเป็นปริมาณธุรกิจของ SMEs จำนวน 22,592 ล้านบาท หรือ 18.61% ของปริมาณธุรกิจสะสมรวม
ขณะเดียวกัน การสนับสนุนผู้ประกอบการไทยขยายฐานการค้าและการลงทุนไปยังต่างประเทศในปี 2562 EXIM BANK มีวงเงินที่ให้การสนับสนุนแก่สินเชื่อโครงการระหว่างประเทศรวมทั้งสิ้น 92,367 ล้านบาท โดยเป็นสินเชื่อคงค้างจำนวน 47,454 ล้านบาท รวมทั้งสนับสนุนผู้ประกอบการไทยขยายฐานการค้าและการลงทุนไปยังกลุ่มประเทศ CLMV ซึ่งมีการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง และยังคงเป็นประเทศเป้าหมายหลักของการขยายธุรกิจของผู้ประกอบการไทย ณ ปี 2562 มีสินเชื่อคงค้างจำนวน 30,774 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1,333 ล้านบาทเมื่อเทียบกับปีก่อน ทั้งนี้ สำนักงานผู้แทนในย่างกุ้ง เวียงจันทน์ และพนมเปญได้เปิดดำเนินงานและทำงานร่วมกับทีมไทยแลนด์นำโดยเอกอัครราชทูตไทยในต่างประเทศแล้ว และอยู่ระหว่างเตรียมการเปิดสำนักงานผู้แทน EXIM BANK ในเวียดนามต่อไป
“ท่ามกลางความไม่สมดุลและความเสี่ยงในมิติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นและส่งผลกระทบทั่วโลกอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ สิ่งที่ผู้ประกอบการไทยต้องทำคือ รับมือให้ทันและไม่หยุดรุกตลาดการค้าและการลงทุนระหว่างประเทศ โดยมี EXIM BANK อยู่เคียงข้างและคอยสนับสนุนให้ผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยดำเนินธุรกิจต่อไปได้อย่างมั่นคงและไม่สะดุด ขณะเดียวกันผู้ส่งออกและนักลงทุนไทยต้องวางแผนระยะยาวที่จะแข่งขันให้ได้ในเชิงคุณภาพ โดยใช้โอกาสในภาวะเงินบาทแข็งค่านี้ลงทุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม S-curve และพื้นที่ EEC ที่รัฐบาลให้การส่งเสริมเป็นพิเศษ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทยอย่างยั่งยืนในตลาดโลกยุคดิจิทัลนี้” นายพิศิษฐ์กล่าว
EXIM Thailand Accelerates Expansion of Financial Facilities to Support Thai Entrepreneurs’ Adaptation to Cope with International Trade and Investment Risks and Drive Positive Export Growth in 2020
EXIM Thailand has highlighted its 26th Anniversary celebration with the continued commitment to working alongside Thai exporters and investors in international markets to boost Thailand’s competitiveness in a sustainable manner. It will collaborate with business partners from both public and private sectors in exploring new business opportunities in parallel to expansion of financial facilities and provision of news and information as well as training and incubation courses so that Thai exporters and investors can adjust themselves amid the prevailing imbalances in economic, political, social and environmental circumstances. Measures are put in place to alleviate short-term impacts on the entrepreneurs in combination with promotion of import of machinery and technology for upgrading Thai goods toward higher value added and relieving impact of the Thai baht appreciation in order to prevent contraction of Thai export in 2020.
Mr. Pisit Serewiwattana, President of Export-Import Bank of Thailand (EXIM Thailand), revealed at a press conference on the occasion of EXIM Thailand’s 26th Anniversary at EXIM Thailand’s Head Office on February 17, 2020 that the year 2020 will be a Year of Global Rebalancing to mitigate “risks” in multiple dimensions that have affected economies of various countries around the world including Thailand. These include 1. Economic dimension, particularly the trade wars that originated from the prolonged imbalance of the U.S.-China trade which prompted the U.S. to raise import tariffs on Chinese goods and China retaliated by doing the same on imports from the U.S., hence likely pressure on Thai and international trade atmosphere in this year; currency volatility across the world as a result of ample liquidity and volatile interest rate directions; and commodity prices, oil prices in particular, which stay at low levels caused by the excess supply of oil that has brought prices of several goods that normally move in the same direction as oil prices to stay at low levels as well; 2. Political and social dimensions where persistent conflicts among several countries have dampened business operations, people’s purchasing power and global economy; and 3. Environmental dimension, such as natural disasters and epidemics, which could hinder economic activities especially trade and investment that are interconnected around the world.
Thai economy is a small open economy which heavily depends on foreign markets as well as having low bargaining power. This is coupled with the prevailing current account surplus and unsustainability as a result of structural imbalance of international trade. Thai export is mainly volume-driven rather than price-driven due to its low added-value. Meanwhile, import of consumer goods is in a much higher proportion than that of import of machinery and technology for investment purpose. This has pushed Thai baht to strengthen and thus Thai exporters have recorded lower revenues in Thai baht term and lost competitive advantage to foreign competitors.
In the face of the above-mentioned global risks in economic, political and social as well as environmental dimensions along with Thailand’s structural problems in international trade, Thai entrepreneurs have to deal with international trade and investment risks and difficulties in 2020.
- • As a short-term measure, EXIM Thailand has a policy to help and support Thai exporters and investors with financial tools like credit and export credit and investment insurance facilities, foreign exchange hedging tools as well as special programs and packages.
- • As a long-term measure, EXIM Thailand has made available financial facilities and services that will assist Thai entrepreneurs in rebalancing and restructuring Thai export and import to uplift competitiveness through support for their modification or replacement of machinery and product development to increase value added to Thai products. This will be carried out alongside responding to the government policy in supporting investment in the EEC and development of Thai industries, particularly S-curve industries, to build up innovation industry base and provision of news and information together with holding of training and incubation courses through EXIM Excellence Academy (EXAC).
All the above efforts are aimed at driving Thai export in 2020 to turnaround to a positive growth amid the current global trade and economic challenges.
In view of EXIM Thailand’s operating results in 2019, the Bank’s total outstanding loans reached a record high since its establishment amounting to 121,868 million baht, a 13,279 million baht or 12.23% growth year-on-year, comprising 38,900 million baht in trade finance and 82,968 million baht in investment finance. Provision of credit facilities contributed to a business turnover of 197,106 million baht, of which 106,749 million baht or 54.16% came from SMEs. Outstanding SME loans amounted to 43,123 million baht. This contributed to the Bank’s net profit of 507 million baht as of the end of December 2019. NPLs ratio stood at 4.60%, with NPLs amounting to 5,606 million baht. Allowance for doubtful accounts was 11,171 million baht, a 1,787 million baht increase from the corresponding period of the previous year. Of the total allowance, 7,804 million baht was minimum provisioning requirement by the Bank of Thailand, which represented a ratio of loan loss provision against the regulatory requirement of 143.15%, hence enabling the Bank to maintain a strong financial status.
In respect of export credit and investment insurance business, in 2019 EXIM Thailand recorded 121,372 million baht in accumulated insurance business turnover, up by 28,924 million baht year-on-year, of which 22,592 million baht came from SMEs, representing 18.61% of the Bank’s accumulated insurance business turnover.
As regards support for Thai entrepreneurs’ expansion of international trade and investment in 2019, EXIM Thailand had a total accumulated loan approval amount of 92,367 million baht for international projects, with outstanding loans accounting for 47,454 million baht as of the end of December 2019. The Bank has also continued its support for Thai trade and investment in the CLMV which recorded consistent economic growth and remain a major destination of Thai entrepreneurs’ business expansion. As of the end of 2019, outstanding CLMV loans amounted to 30,774 million baht, a 1,333 million baht growth from the end of 2018. EXIM Thailand’s representative offices in Yangon, Vientiane and Phnom Penh have now been in operation and worked closely with Thailand Teams led by Thai Ambassadors in the respective countries. The Bank is also in the process of preparing for the opening of a representative office in Vietnam.
“In the backdrop of the current global imbalances and risks in various dimensions that have inevitably weighed on businesses around the world, Thai entrepreneurs have to keep up with the situation and continue to penetrate markets for international trade and investment. EXIM Thailand is fully equipped to partner Thai entrepreneurs and support their export and investment endeavors to ensure that they can carry on their businesses stably and uninterruptedly. At the same time, Thai exporters and investors should have long-term plan to achieve higher competitiveness, especially in terms of quality improvement. They should also leverage on the current situation where Thai baht appreciation allows for greater investment in innovation and technology, particularly in the government-promoted S-curve industries and EEC areas. This will help enhance Thailand’s sustainable competitiveness in the digital world of today,” added Mr. Pisit.
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web