WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คลัง เตรียมเพิ่มทุน'ไอแบงก์' 2.5 พันลบ. ส่วน'เอสเอ็มอีแบงก์'ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน

      แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ขณะนี้กระทรวงการคลังได้กันงบประมาณเหลื่อมปี 2558 ไว้สำหรับเพิ่มทุนธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ไอแบงก์)ไว้แล้ว 2.5 พันล้านบาท ประเมินว่างบประมาณในส่วนนี้จะเพียงพอสำหรับการดำเนินงานของธนาคาร เพราะนอกจากกระทรวงคลังแล้ว ยังมีผู้ถือหุ้นอื่นๆ ที่ต้องใส่เงินเพิ่มทุนเข้ามาด้วย หากใส่เงินเพิ่มทุนมากกว่านี้จะเกินสัดส่วนการถือหุ้นของกระทรวงการคลัง ในส่วนของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (เอสเอ็มอีแบงก์) ทางคณะกรรมการ (บอร์ด) ระบุว่าสามารถฟื้นฟูกิจการได้โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุน

       นายธีรศักดิ์ สุวรรณยศ อดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ และหนึ่งในทีมผู้ก่อตั้งธนาคาร เปิดเผยว่า อยากให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องร่วมกันสร้างความเชื่อมั่นในการฟื้นฟูกิจการไอแบงก์ หยุดสร้างกระแสการยุบรวม หรือ ปิดกิจการ เพราะธนาคารยังดำเนินกิจการต่อได้ และมีพันธกิจสำคัญในการดูแล ให้บริการทางด้านการเงินแก่ชาวมุสลิม

       สำหรับ การฟื้นฟูกิจการของธนาคารนั้น มองว่าไม่ใช่เรื่องยาก การแก้ไขปัญหาไอแบงก์ ควรจะกลับมาสู่พื้นฐานการแก้ปัญหาของแบงก์โดยทั่วไป คือการแก้หนี้ และมี 3 ส่วนที่เกี่ยวข้องคือ ทุนสำรอง ลดต้นทุน และหารายได้เข้ามา

       "สถานการณ์ไอแบงก์ขณะนี้ ไม่ได้เลวร้ายกว่าที่คิด แม้จะไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุน แต่การเพิ่มทุนจะทำให้การแก้ไขปัญหาได้เร็วขึ้น ส่วนเรื่องที่พูดถึงการทุจริต ในยุคที่ผมเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ และยังพูดกันตลอด หากพบการทุจริตจริง ให้ดำเนินการฟ้องร้องดำเนินคดีกับผมได้ ตอนนี้ไม่ควรจะพูดเรื่องเดิมๆ ว่าการทุจริตและมีปัญหาแต่ไม่แก้อะไรเลย ต้องควบรวมหรือยุบ"

ไอแบงก์เบรกปล่อยกู้รายใหญ่ หวั่นNPLทะลักอึ้งหนี้ตกชั้นเพิ่ม1หมื่นล.

       ไทยโพสต์ * บอร์ดไอแบงก์สั่งเบรกปล่อยสินเชื่อรายกลาง-ใหญ่ เหตุปล่อยไม่มีประสิทธิภาพ ทำหนี้ท่วมแบงก์ อึ้ง!! เจอหนี้ตกชั้นเพิ่ม 1 หมื่นล้านบาท เตรียมเรียกปรับโครงสร้างหนี้ หวั่นหนี้เสียทะลักแตะ 5 หมื่นล้านบาท

    รายงานข่าวจากธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) ระบุว่า ที่ประชุมคณะกรรมการไอแบงก์ เมื่อวันที่ 29 ก.ย.ที่ผ่าน มา ได้มีมติชะลอการอนุมัติปล่อยสินเชื่อชั่วคราวให้กับลูกค้าใหม่ที่มีขนาดใหญ่และขนาดกลาง และสั่งเข้มงวดปล่อยสินเชื่อลูกหนี้รายเก่าให้มากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากที่ผ่านมาการปล่อยสินเชื่อเป็นไปอย่างไม่ระมัดระวัง จน ส่งผลถึงความสามารถการชำระหนี้จนเกิดหนี้เสีย (เอ็นพีแอล) กลับมายังธนาคารเป็นจำนวนมาก คาดว่าจะชะลอออกไปจนกว่าแผนฟื้นฟูกิจการของธนาคารจะเสร็จสมบูรณ์ในปลายปีนี้

    สำหรับ แผนฟื้นฟูกิจการที่จะนำผลของการตรวจสอบฐานะทางการเงิน (ดิวดิลิเจนต์) ที่ได้จ้างบริษัทตรวจสอบบัญชีเอกชนเข้ามาประเมินด้วย เพื่อนำส่งให้กระทรวงการคลังพิจารณาการขอเพิ่มทุนของธนาคารจำนวน 5 พันล้านบาท ซึ่งจะเข้ามาเติมสภาพคล่องในการดำเนินกิจการจากในปัจจุบัน ธนาคารมีหนี้เอ็นพีแอลอยู่ 4.2 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 38% ของสินเชื่อคงค้างที่ 1.1 แสนล้านบาท

     นอกจากนี้ ในเดือน ก.ย.ที่ผ่านมา ได้พบลูกหนี้ใกล้จะตกชั้นเพิ่มอีกจำนวน 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นลูกหนี้ที่ค้างชำระ 60 วัน แต่ไม่เกิน 90 วัน โดยธนาคารจะเรียกกลุ่มลูกค้าดังกล่าวเข้ามาเจรจาประนอมหนี้เพื่อปรับโครงสร้างหนี้ไม่ให้เป็นเอ็นพีแอล ซึ่งหากยังไม่มาชำระหนี้จะทำให้สิ้นเดือน ต.ค.และเดือน พ.ย.นี้ เอ็นพีแอลอาจสูงขึ้นเกือบ 5 หมื่นล้านบาท

    "การที่มีมติจากบอร์ดสั่งเบรกปล่อยกู้ให้กับรายใหญ่ที่เป็นลูกค้ารายใหม่ อาจจะทำให้กระทบกับรายได้ของธนาคารบ้าง แต่ก็ยังดีกว่าปล่อยกู้ไปแล้วเกิดส่งผลกระทบกลับมายังแบงก์มากไปกว่าเดิม โดยหลังจากนี้จะต้องเข้มงวดในการปล่อยกู้ให้มากขึ้นกว่าเดิมจนกว่าแผนฟื้นฟูจะเสร็จ" รายงานข่าวระบุ

     รายงานข่าวระบุว่า ในวันที่ 7 ต.ค.นี้ ไอแบงก์เตรียมแถลงข่าวเกี่ยวกับกรณีกระแสข่าวที่เกี่ยวข้องกับธนาคารในช่วงที่ผ่านมา และความคืบหน้าการทำงานอีก 2-3 เดือนข้างหน้า รวมถึงแผนฟื้นฟูที่กำลังดำเนินงานอยู่ในขณะนี้ ซึ่งในเบื้องต้นภาพรวมแผนฟื้นฟูกิจการจะมีอยู่ 5-6 ด้าน เช่น 1.การควบคุมคุณภาพสินเชื่อ 2.โครงสร้างต้นทุนเงินฝาก 3.ปิด สาขาบางพื้นที่ที่ไม่จำเป็น จากทั้ง หมดทั่วประเทศ 130 สาขา 4.พัฒนา บุคลากรระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไป 5.ปรับกระบวนการทำงานในการอนุมัติสินเชื่อให้เร็วขึ้น 6. พัฒนาด้านเทคโนโลยีให้มีการเข้า ถึงข้อมูลลูกค้าคล้ายกับเครดิตบูโร

      อย่างไรก็ตาม ในแผนฟื้นฟูกิจการจะรวมถึงการขายหนี้ด้วยหรือไม่นั้น ต้องอยู่ที่ผลของดิวดิลิเจนต์ถึงจำนวนหนี้เอ็นพีแอลทั้งหมด และศักยภาพของลูกหนี้ในแต่ละราย จึงจะทราบว่าต้องขายเป็นจำนวนเท่าไรถึงจะไม่กระทบกับธนาคาร หรือให้กระทบกับธนาคารน้อยที่สุด

      โดยหลังจากนี้ นายสมหมาย ภาษี รัฐมนตรีว่าการกระ ทรวงการคลัง จะต้องทำหน้าที่ตัดสินใจว่าจะจัดการอย่างกับไอ แบงก์ เพราะทั้ง 2 แบงก์ต้องส่ง แผนฟื้นฟูให้คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ (คนร.) หรือซูเปอร์บอร์ด พิจารณาใหม่ภายในเดือน พ.ย.นี้.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!