WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

SCBอาทิตย์2ธนาคารไทยพาณิชย์ประกาศผลกำไรสุทธิไตรมาส 3 ปี 2562 จำนวน 14,798 ล้านบาท
ภายหลังจากการบันทึกกำไรจากการขายหุ้นบริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต

          ธนาคารไทยพาณิชย์และบริษัทย่อยรายงานกำไรสุทธิของไตรมาส 3 ปี 2562 จำนวน 14,798 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นผลจากกำไรสุทธิจากการดำเนินธุรกิจปกติจำนวน 10,484 ล้านบาทและกำไรพิเศษจากการขายหุ้นในบริษัทไทยพาณิชย์ประกันชีวิตจำนวน 11,644 ล้านบาท ซึ่งในไตรมาสนี้ ธนาคารได้ตั้งสำรองเพิ่มเติมอีก 9,100 ล้านบาทจากสำรองปกติที่จำนวน 6,173 ล้านบาท รวมเป็นเงินสำรองทั้งสิ้น 15,273 ล้านบาท สำหรับเก้าเดือนแรกของปี 2562 ธนาคารมีกำไรสุทธิจำนวน 34,930 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน

          ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2562 สินเชื่อโดยรวมมีการขยายตัวในระดับปานกลางที่ 2.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ซึ่งสะท้อนสภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว อย่างไรก็ตามรายได้ดอกเบี้ยสุทธิในไตรมาส 3 ปี 2562 เพิ่มขึ้น 7.4% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนเป็นจำนวน 26,191 ล้านบาท จากกลยุทธ์ของธนาคารในการบริหารความเสี่ยงและการปรับพอร์ตสินเชื่อด้วยการเพิ่มสัดส่วนของสินเชื่อที่ให้ผลตอบแทนสูง

          รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยในไตรมาส 3 ปี 2562 (ที่ไม่รวมรายการพิเศษ) ค่อนข้างทรงตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยรายได้หลักจากค่าธรรมเนียมสุทธิ (recurring fee) ยังคงเติบโต โดยเฉพาะค่าธรรมเนียมจากการให้สินเชื่อและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับความมั่งคั่ง (wealth products)

          รายได้จากการดำเนินงาน (ซึ่งรวมกำไรพิเศษ) เพิ่มขึ้น 74.1% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เป็นจำนวน 60,452 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่าการเติบโตของค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ส่งผลให้อัตราส่วนค่าใช้จ่ายต่อรายได้ลดลงเป็น 29.1% ในไตรมาสที่ 3 ปี 2562

          ณ สิ้นเดือนกันยายน 2562 อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพ เพิ่มขึ้นเป็น 3.01% จาก 2.77% ณ เดือนมิถุนายน 2562 การเพิ่มขึ้นของสินเชื่อด้อยคุณภาพเป็นผลมาจากความผันผวนของเศรษฐกิจในปัจจุบัน อัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ ณ สิ้นไตรมาส 3 ปี 2562 อยู่ที่ 144% สำหรับเงินกองทุนตามกฎหมายของธนาคารอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 18.0%

          นายอาทิตย์ นันทวิทยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า 
“ในไตรมาสที่ 3 นี้ ธนาคารมีการบันทึกกำไรที่เกิดจากการขายบริษัท ไทยพาณิชย์ประกันชีวิต แต่เนื่องจากธนาคารเล็งเห็นถึงความจำเป็นที่จะต้องเตรียมความแข็งแกร่งเพื่อรองรับกับความไม่แน่นอนของภาวะเศรษฐกิจ จากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกประเทศ ธนาคารจึงได้เพิ่มระดับการตั้งสำรองเพื่อรองรับหนี้ด้อยคุณภาพที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ในขณะเดียวกัน ธนาคารเล็งเห็นศักยภาพในการขยายธุรกิจเพื่อที่จะเพิ่มรายได้ โดยเฉพาะจากธุรกิจความมั่งคั่ง และธุรกิจประกันชีวิตที่ธนาคารจะเริ่มต้นการทำงานร่วมกับพันธมิตร FWD Group ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 นี้เป็นต้นไป รวมถึงธนาคารยังคงแสวงหาโอกาสในการลงทุนเพื่อสร้างการเติบโตในระยะยาวให้แก่ธนาคาร”

 

 

SCB ANNOUNCED THIRD-QUARTER PROFIT OF BAHT 14.8 BILLION
WITH A GAIN ON SALE OF SHARES IN SCB LIFE

          Siam Commercial Bank and its subsidiaries announced a third-quarter net profit of Baht 14.8 billion which was 40.8% higher than the same period last year. This was a result of net profit of Baht 10.5 billion from normal operations and a one-time capital gain from the sale of SCB Life of Baht 11.6 billion. In this quarter, the Bank has set aside additional provisions of Baht 9.1 billion on top of its normalized quarterly requirement of Baht 6.2 billion. For the first nine months of 2019, net profit stood at Baht 34.9 billion, up 5.9% yoy.

          Despite moderate loan growth of 2.2% yoy due to the slower economy, net interest income (NII) increased 7.4% yoy to Baht 26.2 billion in the third quarter. The Bank’s proactive risk management and strategy to rebalance its loan portfolio towards higher margin products was the main reason for this NII growth.

          Non-NII in the third quarter, excluding the one-time gain, was stable yoy because of resilient recurring fee income especially from lending-related activities and wealth products.
          The Bank’s total operating income, including the one-time gain, rose significantly by 74.1% to Baht 60.5 billion which far exceeded expense growth. Consequently, the Bank’s cost-to-income ratio declined to 29.1% in the third quarter.

          Non-performing loan (NPL) ratio rose to 3.01% at the end of September 2019 from 2.77% at the end of June 2019, reflecting the current state of the economy and prevailing economic headwinds. NPL coverage ratio stood at 144% in the current quarter while the Bank’s capital adequacy ratio remained strong at a record high of 18.0%.

          Arthid Nanthawithaya, Chairman of the Executive Committee and CEO, stated: “In this quarter, the Bank recorded a gain from the sale of SCB Life. In light of domestic economic uncertainty and global economic volatility, we foresee the need to strengthen ourselves. Thus, the Bank set aside additional provisions against potential problem loans. At the same time, we also continue to pursue long-term growth opportunities particularly from wealth management and life insurance businesses where we will start the partnership with FWD Group in the fourth quarter of this year. We will also explore new investment opportunities for long-term future growth of the Bank.”

 


AO10353

******************************************

line logotwitterLike1 Share3Like1 Share1กด Like - Share  เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ

 Click Donate Support Web

ais 790x90GC 950x120

sme 720x90banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!