- Details
- Category: แบงก์พาณิชย์
- Published: Saturday, 05 October 2019 20:07
- Hits: 2528
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดชูไทยและอาเซียนเป็นตลาดที่มีศักยภาพในการเติบโตด้านการค้า
- ไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ติดอันดับ Trade20 ดัชนีล่าสุดจากธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดซึ่งจัดอันดับ 20 เศรษฐกิจที่มีศักยภาพในการเติบโตด้านการค้ามากที่สุด
ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด เปิดตัวรายงาน Trade20 เผยประเทศไทยติดอันดับที่ 8 ใน 20 ประเทศที่มีศักยภาพในการเติบโตด้านการค้ามากที่สุด โดยมีปัจจัยหนุนจากความพร้อมในด้านการค้า และการเติบโตอย่างแข็งแกร่งในด้านอีคอมเมิร์ซ
รายงาน Trade20 เป็นการสำรวจ 66 ประเทศทั่วโลก ซึ่งมุ่งวิเคราะห์ศักยภาพการเติบโตด้านการค้าของแต่ละตลาด โดยมีตัววัด 12 ด้านภายใต้แกนหลัก 3 ด้านคือ พลวัตทางเศรษฐกิจ ความพร้อมด้านการค้า และความหลากหลายของการส่งออก
ตัวขับเคลื่อนของอาเซียน
ดัชนีของธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ดมุ่งวิเคราะห์ศักยภาพการเติบโตของภูมิภาคอาเซียนที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทย อินโดนีเซีย และเวียดนาม ซึ่งมีความโดดเด่นในด้านความพร้อมทางการค้า ซึ่งสะท้อนถึงพื้นฐานของตลาดในการเติบโตทางการค้าในอนาคต
เศรษฐกิจของทั้งสามประเทศมีศักยภาพในการขับเคลื่อนไปข้างหน้า ด้วยการเป็นฐานหลักด้านการผลิตเพื่อส่งออก การค้าระหว่างประเทศในภูมิภาคอเซียนที่กำลังเติบโต การบริโภคภายในประเทศที่เข้มแข็ง ประกอบกับความเชื่อมโยงทางการค้าที่ใกล้ชิดกับประเทศจีน และการเป็นตลาดแรงงานที่เติบโตด้วยดี
แม้ว่าจะเผชิญกับความท้าทายจากความไม่แน่นอนของโลกที่เพิ่มสูงขึ้น แต่ทั้งสามประเทศนี้อยู่ในสถานะที่ได้ประโยชน์หากสงครามการค้าเข้มข้นขึ้นจนส่งผลให้บริษัทข้ามชาติทั้งหลายพิจารณาย้ายฐานระบบห่วงโซ่อุปทานของตนไปยังประเทศอื่น นอกจากนี้ การทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างภูมิภาค การปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐาน และการปฏิรูปกฎระเบียบต่างๆ ล้วนช่วยส่งเสริมให้การค้าขายในตลาดเหล่านี้เติบโตยิ่งขึ้น
จากข้อมูลของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุน 758 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 7 และมีมูลค่าเงินลงทุน 232,610 ล้านบาท ในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2562 มูลค่าเงินลงทุนตรงจากต่างประเทศใน 5 อุตหกรรมเป้าหมายของบีโอไอ (ซึ่งรวมถึงอุตสาหกรรมเทคโนโลยีชีวภาพ และอุตสาหกรรมเครื่องจักรอัตโนมัติและหุ่นยนต์) เพิ่มขึ้นร้อยละ 58 มาอยู่ที่ 23,840 ล้านบาทในช่วงเดือนมกราคมถึงมิถุนายน เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่แล้ว
ประเทศไทยโดดเด่นในเรื่องความพร้อมด้านการค้า ติดอันดับ 9 จาก 20 อันดับ
ประเทศไทยให้ความสำคัญกับการปรับระบบต่างๆ ให้เป็นระบบดิจิทัลและเพิ่มประสิทธิภาพในทุกอุตสาหกรรมและธุรกรรมต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการค้าระหว่างประเทศและการส่งออก ประเทศไทยน่าจะสามารถนำระบบดิจิทัลมาปรับใช้กับการค้าได้อย่างรวดเร็วร่วมกับการทำงานกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะเป็นการช่วยเร่งการเติบโตด้านการค้าให้กับภูมิภาคเอเชีย
โอกาสเติบโตเพิ่มขึ้นสำหรับประเทศไทย : ด้านความหลากหลายของการส่งออก
ประเทศไทยไม่ติดใน 20 อันดับแรกในด้านความหลากหลายของการส่งออก เนื่องจากดัชนีให้น้ำหนักกับพัฒนาการของตลาดในแง่ความหลากหลายของการส่งออก ซึ่งวัดจากความหลากหลายของสินค้าส่งออกและรายได้จากการส่งออกที่มาจากความหลากหลายของสินค้าเหล่านั้น ตลาดที่ทำคะแนนได้ดีในด้านนี้ คือตลาดที่มีพัฒนาการอย่างมากในแง่การกระจายการส่งออก ซึ่งน่าจะช่วยสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้การเติบโตทางการค้าและลดความผันผวนต่อแรงกดดันของตลาด
นายพลากร หวั่งหลี กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) กล่าวว่า "รายงานดัชนี Trade20 เป็นการประมวลดาวรุ่งในด้านการค้า โดยวิเคราะห์ตลาดที่มีภาวะการค้าและศักยภาพการเติบโตทางการค้า ที่มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา"
"ประเทศไทยไม่เพียงแต่เป็นเป้าหมายการค้าการลงทุนของต่างประเทศเท่านั้น แต่บริษัทไทยจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ มีการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศอย่างเข้มแข็งเช่นกัน" นายพลากรกล่าวเสริม
จากข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ในปี 2561 บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการลงทุนไปยังต่างประเทศสูงที่สุดในรอบ 8 ปี ที่ 199,000 ล้านบาท ไม่รวมเงินลงทุนในประเทศ ซึ่งเติบโตขึ้นร้อยละ 15 จากปี 2560 มาอยู่ที่ 818,000 ล้านบาท
"ยังมีโอกาสในด้านการค้าระหว่างประเทศอยู่อีกมาก ธนาคารสแตนดาร์ดชาร์เตอร์ด (ไทย) มีเครือข่ายทั่วโลกและนวัตกรรม การเพิ่มการใช้ระบบอัตโนมัติ เพื่อให้บริการลูกค้าได้ดียิ่งขึ้นไป" นายพลากร กล่าว "นอกจากความร่วมมือกับธนาคารแห่งประเทศไทยในโครงการอินทนนท์แล้ว เรายังให้บริการออกหนังสือค้ำประกันบนระบบบล็อกเชน (eGuarantee) โดยเมื่อไม่นานมานี้ ธนาคารประสบความสำเร็จในการทดสอบธุรกรรม Letter of Credit ผ่านระบบ Blockchain เป็นครั้งแรกในอุตสาหกรรมน้ำมัน"
"ท่ามกลางกระแสการกีดกันทางการค้าและการเติบโตของโลกที่ชะลอตัวลง ตลาดที่แสดงพัฒนาการที่น่าสนใจเหล่านี้ นับเป็นโอกาสที่ดีสำหรับองค์กรที่กำลังมองหาทางเลือกในการลงทุน ช่องทางการนำเข้า และคู่ค้าในระบบห่วงโซ่อุปทานใหม่ๆ"
ศึกษาข้อมูลรายงาน Trade20 ได้ที่นี่: www.sc.com/trade20
เกี่ยวกับดัชนี Trade20
รายงาน Trade20 สำรวจด้วยตัวชี้วัด 12 ด้านใน 66 ตลาดทั่วโลก ซึ่งประกอบไปด้วยตลาดของเศรษฐกิจระดับโลกขนาดใหญ่และตลาดของเศรษฐกิจหลักในแต่ละภูมิภาค เพื่อจัดอันดับ 20 ประเทศที่มีพัฒนาการอย่างรวดเร็วที่สุดในการพัฒนาศักยภาพขับเคลื่อนการค้าให้เติบโต
ดัชนี Trade20
- โกตดิวัวร์
- อินเดีย
- เคนย่า
- จีน
- ไอร์แลนด์
- เวียดนาม
- อินโดนีเซีย
- ไทย
- โอมาน
- สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
- ฮ่องกง
- รัสเซีย
- กาน่า
- ศรีลังกา
- บาห์เรน
- สิงคโปร์
- สวิสเซอร์แลนด์
- ชิลี
- ตุรกี
- ฟิลิปปินส์
หลักการวัดการเปลี่ยนแปลง 12 ด้านภายใต้แกนหลัก 3 ด้าน ได้แก่:
พลวัตทางเศรษฐกิจ –
ศักยภาพการเติบโตทางการค้าในปัจจุบัน โดยวัดจาก: ความพร้อมด้านการค้า – ครอบคลุมถึงการที่ตลาดมีพื้นฐานรองรับการเติบโตทางการค้าในอนาคต โดยวัดจาก: ความหลากหลายของการส่งออก – พัฒนาการของตลาดในแง่ความหลากหลายของการส่งออก โดยวัดจาก:
- การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในตลาดหลักทรัพย์
การเติบโต
- การเติบโตของปริมาณการส่งออก
- การเติบโตทางเศรษฐกิจ
- คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานด้านการค้าและการขนส่ง
คุณภาพของโครงสร้างพื้นฐานทางดิจิทัล
- สัดส่วนของประชากรที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตบรอดแบนด์
- สัดส่วนการเข้าถึงการใช้อินเตอร์เน็ตต่อประชากรหนึ่งล้านคน
อี-คอมเมิร์ซ
- สัดส่วนของประชากรที่ชำระเงินผ่านระบบดิจิทัลในปีที่ผ่านมา
- พัฒนาการด้านการไปรษณีย์
- สัดส่วนประชากรที่ใช้อินเตอร์เน็ต
- คะแนนด้านความสะดวกในการทำธุรกิจ
- มูลค่าการส่งออก
- ความหลากหลายของการส่งออก
- ดัชนี ชี้วัดด้านการค้าที่มีอยู่ส่วนใหญ่วิเคราะห์จากสถานการณ์ในปัจจุบัน แต่ดัชนีของธนาคารสแตนดาร์ด ชาร์เตอร์ดวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลง ณ ช่วงเวลาเพื่อประมวลตลาดที่มีพัฒนาการสูงที่สุดในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เราสามารถได้ข้อสรุปเป็นเศรษฐกิจต่างๆ ที่พัฒนาการเชิงบวกที่เกิดขึ้นนำไปสู่การมีศักยภาพการเติบโตด้านการค้า การส่งออกที่เพิ่มขึ้นมีส่วนสัมพันธ์มากกับการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นทั้งในแง่เงินทุนและสินค้าอุปโภคบริโภค ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้กับบริษัทต่างๆ ทั่วโลก ลำดับของแต่ละตลาดในดัชนียังบ่งบอกว่าตลาดนั้นๆ มีพัฒนาการที่มีโอกาสจะเป็นแหล่งจัดหาทรัพยากร
- มีประเด็นที่น่าสนใจคือ บางประเทศมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วแม้จะเริ่มต้นช้า ในขณะที่บางประเทศมีพัฒนาการอย่างรวดเร็วจากฐานเดิมที่สูงอยู่แล้ว รายงานฉบับนี้ไม่ได้มองที่ศักยภาพการเติบโตทางการค้าของแต่ละตลาดในรูปของค่าสัมบูรณ์ ที่ว่าเศรษฐกิจขนาดใหญ่จะต้องมีศักยภาพและโอกาสโดยรวมที่มากกว่าเศรษฐกิจที่ขนาดเล็กกว่า แต่รายงานฉบับนี้มองที่ศักยภาพของแต่ละตลาดในด้านการเติบโตทางการค้าที่สัมพันธ์กับขนาดของประเทศ
******************************************
กด Like - Share เพจ Corehoon-Power Time เพื่อติดตามเคล็ดลับ ข่าวสาร เทรนด์ และบทวิเคราะห์ดีๆ อัพเดตทุกวัน คัดสรรมาเพื่อท่านนักลงทุนโดยเฉพาะ
Click Donate Support Web