WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Fitch8ฟิทช์ ให้แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นบวกแก่ ธ.ทหารไทย และคงอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศที่ ‘BBB-’

    ฟิทช์ เรทติ้งส์ – กรุงเทพฯ – 3 กันยายน 2562: ฟิทช์ เรทติ้งส์ ปรับแนวโน้มอันดับเครดิตของอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว (Long-Term Foreign Currency Issuer Default Rating) และอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว ของ ธนาคารทหารไทยจำกัด (มหาชน) หรือ TMB เป็นแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นบวก จากเดิมแนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพและคงอับดับเครดิตดังกล่าวที่ ‘BBB-’ และ ‘AA-(tha)’ ตามลำดับ พร้อมกันนี้ ฟิทช์ยังให้เครดิตพินิจเป็นบวก (Rating Watch Positive) แก่อันดับเครดิตสนับสนุน (Support Rating) และ อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ (Support Rating Floor) ของ TMB สำหรับรายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดแสดงไว้ในส่วนท้าย

        การประกาศอันดับเครดิตเป็นผลสืบเนื่องมาจากการประกาศยืนยันการควบรวมกิจการ (merger) ระหว่าง TMB กับธนาคารธนชาต จำกัด (มหาชน) หรือ TBANK   เมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2562 และธุรกรรมดังกล่าวน่าจะเสร็จสิ้นภายในเดือนธันวาคม 2562

               ตามแผนการควบรวมกิจการ TMB จะเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของ TBANK จากผู้ถือหุ้นปัจจุบันของธนาคาร ซึ่งคาดว่าจะคิดเป็นมูลค่าเงินสดของธุรกรรมที่ประมาณ 130 พันล้านบาท โดย TMB คาดว่าเม็ดเงินประมาณ 106.5 พันล้านบาท (หรือประมาณ 80% มูลค่าธุรกรรม) จะเป็นการระดมทุนโดยการออกหุ้นเพิ่มทุนใหม่ ซึ่งส่วนหนึ่งหรือประมาณ 42.5 พันล้านบาทจะเป็นการเพิ่มทุนจากผู้ถือหุ้นปัจจุบันของธนาคาร นอกจากนี้สัญญาดังกล่าวยังระบุให้ผู้ถือหุ้นใหญ่ของ TBANK จะต้องนำเงินที่ได้รับจากการขายหุ้นใน TBANK ส่วนหนึ่งกลับมาซื้อหุ้นเพิ่มทุนของ TMB ในมูลค่าประมาณ 57.6 พันล้านบาท และส่วนที่เหลืออีกประมาณ 20% ของมูลค่าธุรกรรม TMB จะทำการระดมทุนโดยการออกตราสารหนี้ (หุ้นกู้ด้อยสิทธิและตราสารทางการเงินที่นับเป็นกองทุนชั้นที่ 1 (Additional Tier 1))

       ผู้ถือหุ้นของ TMB 3 รายใหญ่หลังจากการควบรวมกิจการจะประกอบด้วย ING Bank N.V. (‘AA-’/ แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) ซึ่งจะถือหุ้นในสัดส่วน 21.3% ในขณะที่ บริษัท ทุนธนชาต จำกัด (มหาชน) จะถือหุ้นในสัดส่วน 20.4% และ กระทรวงการคลังจะถือหุ้นในสัดส่วน 18.4% ทั้งนี้กระบวนการรวมธุรกิจและการดำเนินงาน (integration) จะเริ่มขึ้นหลังจากการควบรวมกิจการเสร็จสิ้นในเดือนธันวาคม 2562 และการโอนและรับโอนกิจการทั้งหมด (entire business transfer) น่าจะเสร็จสิ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2564

     TMB เป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 7 ของประเทศไทยในด้านเงินฝาก โดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ประมาณ 5% ณ สิ้นปี 2561 ในขณะที่ TBANK เป็นธนาคารที่มีขนาดใหญ่เป็นอับดับที่ 6 ในด้านเงินฝากโดยมีส่วนแบ่งทางการตลาดที่ประมาณ 6% แม้ว่าหลังจากการควบรวมกิจการ TMB จะมีสถานะเป็นธนาคารขนาดใหญ่ลำดับที่ 6 แต่ฟิทช์คาดว่าทางการน่าจะพิจารณาว่า TMB เป็นหนึ่งในธนาคารที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินในประเทศ (systemic importance)

 

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสากล อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ

     อันดับเครดิตสากล อันเครดิตภายในประเทศและอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิของ TMB มีปัจจัยสนับสนุนมาจากความแข็งแกร่งทางการเงินของตัวธนาคารเอง ซึ่งสะท้อนได้จากอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร (หรือ Viability Rating) ทั้งนี้แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นบวก สอดคล้องกับมุมมองของฟิทช์ว่าการควบรวมกิจการน่าจะส่งผลให้โครงสร้างทางเครดิตของ TMB ปรับตัวดีขึ้นในช่วง 18-24 เดือนข้างหน้า เนื่องจากธนาคารสามารถใช้ประโยชน์จากโครงสร้างธุรกิจของธนาคาร (company profile) ที่น่าจะปรับตัวดีขึ้นอย่างมีสาระสำคัญ

        อันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิอยู่ในระดับเดียวกันกับอันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของธนาคาร เนื่องจากหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิมีสถานะเป็นภาระผูกพันที่ไม่ด้อยสิทธิและไม่มีหลักประกันของธนาคาร

 

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต - อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

      แม้ว่าธนาคารจะมีความเสี่ยงจากการดำเนิน (execution risk) การควบรวมกิจการ แต่ฟิทช์คาดความเสี่ยงดังกล่าวน่าจะอยู่ในระดับค่อนข้างจำกัด เนื่องจากฟิทช์เชื่อว่าทั้ง TMB และ TBANK มีความแข็งแกร่งทางการเงินในระดับที่ใกล้เคียงกัน และมีลักษณะธุรกิจที่ค่อนข้างส่งเสริมซึ่งกันและกัน ซึ่งรวมถึงกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธนาคาร  

       การปรับแนวโน้มอันดับเครดิตเป็นบวกมีปัจจัยพิจาณาจากการคาดการณ์ของฟิทช์ว่าแนวโน้มของโครงสร้างเครดิต (credit profile) ของ TMB ที่จะมีการพัฒนาการไปในทิศทางที่ดีขึ้นหลังจากการควบรวมกิจการ โดยเฉพาะในด้านโครงสร้างธุรกิจของธนาคาร (company profile) และการระดมทุน (funding) โดยTMB จะมีเครือข่ายธุรกิจในประเทศที่แข็งแกร่งขึ้นและมีรูปแบบธุรกิจที่มีการกระจายตัวมากขึ้น (diversification) หลังจากการควบรวมกิจการ อีกทั้ง TBANK มีความแข็งแกร่งในธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมฐานลูกค้าปัจจุบันของ TMB นอกจากนี้ด้วยขนาดเงินฝากที่ใหญ่ขึ้นและฐานลูกค้าเงินฝากที่มีการกระจายตัวมากขึ้น น่าจะช่วยให้ TMB มีโครงสร้างการระดมทุนที่มั่นคงมากขึ้นในระยะปานกลาง และอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทยที่มีอันดับเครดิตสูงกว่าและเป็นธนาคารที่มีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินของประเทศ

      ฟิทช์ ยังคาดว่าการควบรวมกิจการน่าจะส่งผลกระทบในเชิงบวกแก่ปัจจัยเครดิตด้านอื่นของ TMB ด้วย เช่นด้านระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ (risk appetite) ด้านคุณภาพสินทรัพย์ รวมทั้งด้านรายได้และอัตรากำไร แต่อย่างไรก็ตามอาจจะต้องใช้เวลาอีกระยะหนึ่งเพื่อจะให้มีความแน่นอนมากขึ้นว่าผลกระทบต่อปัจจัยดังกล่าวจะมีนัยสำคัญเพียงใด

      ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตสนับสนุน (Support Rating) และ อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ (Support Rating Floor) เครดิตพินิจเป็นบวกสำหรับอันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ TMB สะท้อนถึงโอกาสที่อันดับเครดิตดังกล่าวอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับ เนื่องจาก TMB จะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินในประเทศไทยหลังจากการควบรวมกิจการ โดยธนาคารจะมีสินทรัพย์และเงินฝากที่มีขนาดใหญ่ขึ้นและขยับเข้ามาใกล้เคียงกับธนาคารพาณิชย์อื่นในประเทศที่ฟิทช์เชื่อว่ามีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจและการเงินในประเทศ ทั้งนี้ฟิทช์มองว่าปัจจัยดังกล่าวอาจส่งผลให้ทางการบังคับใช้เกณฑ์เงินกองทุนขั้นต่ำที่สูงขึ้นและมีความระมัดระวังมากขึ้นกับธนาคาร เพื่อลดความเสี่ยงที่ธนาคารจะไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ (failure) แต่ในขณะเดียวกันฟิทช์ก็มองว่าปัจจัยดังกล่าวจะช่วยให้โอกาสที่รัฐบาลจะให้การช่วยเหลือสนับสนุนแก่ TMB ปรับตัวเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน ในกรณีที่มีความจำเป็น

              

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต – อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ

     หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 ของ TMB ได้รับการจัดอันดับเครดิตให้อยู่ในระดับที่ต่ำกว่าอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคารอยู่หนึ่งอันดับ เพื่อสะท้อนถึงความเสี่ยงของการขาดทุนจากการชำระคืนเงินกู้ (loss-severity risks) ที่มากกว่าเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ที่ไม่ด้อยสิทธิเนื่องจากหุ้นกู้ดังกล่าวมีสถานะด้อยสิทธิ และไม่ได้มีการบังคับตัดหนี้สูญทั้งจำนวน (mandatory full write-down)  

        ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสากล อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ

       อันดับเครดิตสากล อันดับเครดิตภายในประเทศ และอันดับเครดิตของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ของ TMB จะได้รับผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงของอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน

      อันดับความเข็งแกร่งทางการเงินอาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับ หากฟิทช์เห็นสัญญาณที่ชัดเจนมากขึ้นซึ่งแสดงว่า TMB มีเครือข่ายธุรกิจที่แข็งแกร่งขึ้นและมีรูปแบบธุรกิจ (business model) ที่ปรับตัวดีขึ้น รวมทั้งการที่ปัจจัยดังกล่าวจะช่วยให้ฐานะทางการเงินโดยรวมของธนาคารปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องในระยะปานกลางถึงระยะยาว ทั้งนี้กรณีดังกล่าวอาจจะเกิดขึ้นได้ด้วยการสนับสนุนจากการรวมธุรกิจและระบบงานที่ประสบผลสำเร็จอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งการที่ธนาคารไม่ผ่อนปรนมาตรฐานความเสี่ยงสินเชื่อเพื่อช่วยให้มีผลกำไรดีขึ้น ภายใต้ภาวะที่สินเชื่อในตลาดมีอัตราการเติบโตต่ำแต่ยังคงมีการแข่งขันสูง ในมุมมองของฟิทช์เชื่อว่าการปรับตัวดีขึ้นของโครงสร้างธุรกิจของธนาคารน่าจะสะท้อนในความสามารถในการแข่งขันที่ดีขึ้น และจะส่งผลให้ปัจจัยเชิงโครงสร้างที่เป็นรากฐานสำคัญต่อผลประกอบการและฐานะทางการเงินของธนาคารปรับตัวดีขึ้น เช่นในด้านรายได้และด้านการระดมทุน

     แต่อย่างไรก็ตาม แนวโน้มอันดับเครดิตอาจถูกปรับกลับมาเป็น “แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ” ได้ หากฟิทช์เชื่อว่าการปรับตัวดีขึ้นอย่างมีนัยสำคัญและอย่างต่อเนื่องของอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญของ TMB ไม่น่าจะเกิดขึ้นได้ในระยะปานกลาง โดยตัวอย่างของกรณีดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้หากธนาคารไม่สามารถบริหารจัดการการรวมธุรกิจและระบบงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเพียงพอ เนื่องจากความซับซ้อนและความท้าทายในด้านการดำเนินงานและวัฒนธรรมองค์กรที่แตกต่างกันของทั้ง 2 ธนาคาร ทั้งนี้รวมถึงการที่ธนาคารไม่สามารถมีฐานะทางการเงินและผลการดำเนินงานที่ดีพอแม้จะได้รับประโยชน์จากการควบรวมกิจการและเครือข่ายธุรกิจที่แข็งแกร่งขึ้น

 

 

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำ

      ฟิทช์อาจปรับเพิ่มอันดับเครดิตสนับสนุนและอันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำของ TMB หลังจากการควบรวมกิจการได้ดำเนินการเสร็จสิ้นตามแผน และได้รับการเห็นชอบในด้านเกณฑ์ กฎหมาย และกฎระเบียบของการดำเนินงานในด้านต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

 

ปัจจัยที่อาจมีผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต – อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิ

     อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิของ TMB จะได้รับผลกระทบในทิศทางเดียวกันจากปัจจัยที่มีผลกระทบต่ออันดับเครดิตภายในประเทศของธนาคาร

 

การพิจารณาปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG)

     หากไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมในส่วนนี้ แสดงว่าธนาคารมีระดับคะแนนความสัมพันธ์ของ ESG ต่ออันดับเครดิต ไม่เกินระดับ 3 ซึ่งหมายความว่าปัจจัยด้าน ESG จะไม่ส่งผลกระทบหรืออาจมีผลกระทบในระดับที่น้อยมากต่ออันดับเครดิตของธนาคาร ไม่ว่าจะด้วยปัจจัยจากลักษณะของธุรกิจหรือจากการบริหารจัดการของธนาคารก็ตาม

    ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถหาได้จาก ESG Relevance Scores, visit www.fitchratings.com/esg

รายละเอียดของอันดับเครดิตทั้งหมดมีดังต่อไปนี้:

 

TMB:

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาว คงอันดับเครดิต ที่ ‘BBB-’; ปรับ “แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นบวก” จาก “แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ”

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้น คงอันดับเครดิต ที่ ‘F3’

- อันดับความแข็งแกร่งทางการเงิน คงอันดับเครดิต ที่ ‘bbb-’

- อันดับเครดิตสนับสนุนที่ ‘3’; เครดิตพินิจเป็นบวก

- อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำที่ ‘BB+’; เครดิตพินิจเป็นบวก

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว คงอันดับเครดิต ที่ ‘AA-(tha)’; “แนวโน้มอันดับเครดิตเป็นบวก” จาก “แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ”

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้น คงอันดับเครดิต ที่ ‘F1+(tha)’

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน ของโครงการหุ้นกู้ Euro Medium-Term Note มูลค่า 3 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ คงอันดับเครดิต ที่ ‘BBB-’

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน คงอันดับเครดิต ที่ ‘BBB-’

- อันดับเครดิตภายในประเทศของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 (ตามเกณฑ์บาเซล 3) คงอันดับเครดิต ที่ ‘A+(tha)’

 

Fitch Revises Outlook on TMB Bank to Positive; Affirms at 'BBB-'

Fitch Ratings - Singapore/Bangkok - 03 September 2019:

      Fitch Ratings has revised the Outlook on TMB Bank Public Company Limited's (TMB) Long-Term Issuer Default Rating (IDR) and National Long-Term Rating to Positive from Stable and affirmed the ratings at 'BBB-' and 'AA-(tha)', respectively. At the same time, Fitch has placed TMB's Support Rating (SR) and Support Rating Floor (SRF) on Rating Watch Positive (RWP). A full list of rating actions is at end of this rating action commentary.

       The rating actions follow TMB's announcement on 8 August 2019 that it plans to merge with Thanachart Bank Public Company Limited (TBANK). The bank expects the transaction to be completed in December 2019.

       According to the plan, TMB will purchase all of TBANK's shares from its current shareholders at an estimated cash value of THB130 billion. TMB expects up to THB106.5 billion (or about 80% of the estimated value) to be financed by capital raising through newly issued shares, which will include capital injections of THB42.5 billion from TMB's current shareholders. The merger agreement will also include TBANK's major shareholders using part of the proceeds from the sale of the bank's shares to purchase up to THB57.6 billion of TMB's newly issued shares. The remaining funding requirement of about 20% would be financed by market issuance (subordinated debt and additional Tier 1 instruments).

        TMB's three major shareholders after the merger would be ING Bank N.V. (AA-/Stable) with 21.3%, Thanachart Capital with 20.4% and Thailand's Ministry of Finance with 18.4%. The integration process will start after the transaction is completed in December 2019 and the entire business transfer is intended to be completed by 2H21.

        TMB is Thailand's seventh-largest bank by deposits, with a market share of about 5% at end-2018, while TBANK is the sixth-largest bank with deposit market share of about 6%. The combined bank should still rank sixth, but we believe the authorities are more likely to regard the bank as systemically important among domestic institutions.

KEY RATING DRIVERS

 

IDRS, NATIONAL RATINGS AND SENIOR DEBT

      TMB's IDRs, National Ratings, and senior debts ratings are driven by the bank's standalone profile, which Fitch captures in its Viability Rating (VR). The Positive Outlook on the ratings is consistent with Fitch's view that a merger could lead to a stronger standalone credit profile over the next 18-24 months through a meaningful improvement in the company profile.

      The senior debt ratings are equalised with the Long-Term IDR as they represent unsecured and unsubordinated obligations of the bank.

 

VIABILITY RATING

        There are some execution risks to completing the merger, but Fitch believes there is limited downside to the merger as TMB and TBANK have similar financial strengths and somewhat complementary business operations, including target markets.

         The revision of the Outlook is driven by our expectations of positive developments in TMB's credit profile after the merger, particularly the bank's company profile and funding. TMB would have a stronger domestic franchise and greater business-model diversification after the merger. TBANK's strengths in auto hire purchase complement TMB's existing client segments. A much larger and more diversified deposit base should also provide greater stability to TMB's funding profile over the medium term, similar to higher-rated and systemically important banks in Thailand.

      We also expect the merger to have a positive impact on TMB's other rating factors such as risk appetite, asset quality, and earnings and profitability. However, it may take more time to ascertain the materiality of the impact on these factors.

 

SUPPORT RATING AND SUPPORT RATING FLOOR

     The RWP on TMB's SR and SRF reflect potential rating upside from TMB's increase in systemic importance to Thailand's financial system after the merger. TMB's size and deposit market share would approach those of other banks in the system that Fitch believes are systemically important. In our view, this could lead to the authorities imposing higher minimum prudential standards on the bank to reduce the risk of failure, but we also believe this is likely to increase the Thai government's propensity to support TMB, if needed.

 

SUBORDINATED DEBT

    TMB's Basel III Tier 2 subordinated notes are rated one notch below the bank's National Long-Term Rating, reflecting higher loss severity risks relative to senior debt instruments and a lack of mandatory full write-down features.

RATING SENSITIVITIES

 

IDRS, NATIONAL RATINGS AND SENIOR DEBT

     TMB's IDRs, National Ratings and senior-debt ratings are sensitive to changes in the bank's Viability Rating.

VIABILITY RATING

      The VR could be upgraded if Fitch sees greater evidence that TMB's domestic franchise has strengthened, its business model has improved and that these factors are likely to lead to sustained improvement in its overall financial strength over the medium-to-longer term. The prospects would be enhanced by a well-executed post-merger integration without any loosening of the bank's risk underwriting standards to support profitability in a lower-growth yet competitive market. In Fitch's view, an improved company profile should also manifest in a more competitive position, which would enhance structural improvements in its financial performance, such as earnings and funding.

               However, the Outlook could be revised to Stable if Fitch believes that a material and sustained improvement in TMB's key financial metrics is unlikely to occur over the medium term. For example, this could arise from failure to properly address the complexities and challenges of integrating the two banks' operations and cultures, including the bank failing to obtain material financial and operational benefits from the merger despite its larger franchise.

        SUPPORT RATING AND SUPPORT RATING FLOOR

        The SR and SRF could be upgraded if the merger is completed as planned with all regulatory, legal, and operational hurdles passed.

 

SUBORDINATED DEBT

       The subordinated debt ratings of TMB are broadly sensitive to the same factors affecting their National Long-Term Ratings.

 

ESG CONSIDERATIONS

      Unless otherwise disclosed in this section, the highest level of ESG credit relevance is a score of 3 - ESG issues are credit neutral or have only a minimal credit impact on the entity, either due to their nature or the way in which they are being managed by the entity.

     For more information on our ESG Relevance Scores, visit www.fitchratings.com/esg.

Additional information is available on www.fitchratings.com

FITCH RATINGS ANALYSTS

Primary Rating Analyst

Elaine Koh

Director

+65 6796 7239

Fitch Ratings Singapore Pte Ltd.

One Raffles Quay #22-11, South Tower

Singapore 048583

Primary Rating Analyst

Patchara Sarayudh

Director

+66 2 108 0152

Fitch Ratings (Thailand) Limited

Park Ventures, Level 17 57 Wireless Road, Lumpini

Bangkok 10330

Secondary Rating Analyst

Patchara Sarayudh

Director

+66 2 108 0152

Secondary Rating Analyst

Jackerin Jeeradit

Associate Director

+66 2 108 0163

Committee Chairperson

Jonathan Cornish

Managing Director

+852 2263 9901

APPLICABLE CRITERIA

National Scale Ratings Criteria (pub. 18 Jul 2018)

Bank Rating Criteria (pub. 12 Oct 2018)

Short-Term Ratings Criteria (pub. 02 May 2019)

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!