WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

01 CFAKKP

KKP ผลประกอบการครึ่งปีแรก (สิ้นสุด 30 มิ.ย. 62) มีกำไรสุทธิ 1,471 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7

คำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน สิ้นสุด 30 มิถุนายน 2562 (ก่อนตรวจสอบ) ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน)

       ผลการดำเนินงานงวดหกเดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2562 ของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (ธนาคารเกียรตินาคิน และบริษัทย่อย) เปรียบเทียบกับงวดครึ่งปีแรกปี 2561 มีกำไรสุทธิ ไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 2,699 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 11.9 จากงวดเดียวกันของปี 2561 เป็นกำไรสุทธิของธุรกิจตลาดทุน ซึ่งดำเนินการโดยบริษัท ทุนภัทร จำกัด (มหาชน) (ทุนภัทร) และบริษัทย่อย ได้แก่ บล.ภัทร และ บลจ.ภัทร จำนวน 327 ล้านบาท

 

         อนึ่ง ในไตรมาส 2/2562 ธนาคารและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 1,471 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 19.7 เมื่อเปรียบเทียบกับกำไรสุทธิจานวน 1,228 ล้านบาท ในไตรมาส 1/2562 หากเปรียบเทียบกับไตรมาส 2/2561 กำไรสุทธิลดลงร้อยละ 5.2 จากจำนวน 1,551 ล้านบาทในไตรมาส 2/2561

        กลุ่มธุรกิจฯ มีรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ 5,971 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 จากงวดเดียวกันของปีก่อน ส่วนรายได้ค่าธรรมเนียมและบริการสุทธิ อยู่ที่ 2,146 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 2.7 จากงวดเดียวกันของปีก่อน และรายได้อื่น 1,059 ล้านบาท รวมเป็นรายได้จากการดำเนินงานทั้งสิ้น 9,176 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 จากงวดเดียวกันของปี 2561

       สินทรัพย์รวม ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 อยู่ที่ 315,050 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8,721 ล้านบาท หรือร้อยละ 2.8 จากสิ้นปี 2561

 

ธุรกิจธนาคารพาณิชย์

        สำหรับ ไตรมาส 2/2562 สินเชื่อโดยรวมของธนาคารมีการขยายตัวที่ร้อยละ 2.1 จากสิ้นปี 2561 โดยมีการขยายตัวในสินเชื่อเกือบทุกประเภทยกเว้นสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์และสินเชื่อธุรกิจเอสเอ็มอีที่มีการหดตัว ในส่วนของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์หดตัวร้อยละ 2.7 จากสิ้นปี 2561 ในด้านคุณภาพของสินเชื่อ อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม ณ สิ้นไตรมาส 2/2562 อยู่ที่ร้อยละ 4.2 ปรับเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 4.1 ณ สิ้นปี 2561 ทางด้านธุรกิจบริหารหนี้ ธนาคารขายอสังหาริมทรัพย์รอการขายได้ในไตรมาส 2/2562 จำนวน 472 ล้านบาทและมีกำไรจากการขายอสังหาริมทรัพย์รอการขาย 190 ล้านบาท ในส่วนของธุรกิจตลาดเงินสามารถทำรายได้จำนวน 110 ล้านบาทในไตรมาส 2/2562 ทางด้านธุรกิจตลาดทุน บริษัทหลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) (บล.ภัทร) มีส่วนแบ่งตลาด (SET และ mai ไม่รวมบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท) ร้อยละ 8.89 ซึ่งเป็นอันดับที่ 1 จากจำนวนบริษัทหลักทรัพย์ทั้งหมด 38 แห่ง โดยเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 7.32 ในไตรมาส 1/2562

       ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) คำนวณตามเกณฑ์ Basel III ซึ่งเงินกองทุนทั้งสิ้นได้รวมกำไรถึงปี 2561 ทั้งปีหลังหักเงินปันผลจ่าย อยู่ที่ร้อยละ 16.13 โดยเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับร้อยละ 12.37 แต่หากรวมกำไรถึงสิ้นไตรมาส 2/2562 จะส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเท่ากับร้อยละ 17.29 และเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับร้อยละ 13.53

 

 

ธุรกิจตลาดทุน

ประกอบด้วย ธุรกิจนายหน้า ธุรกิจวานิชธนกิจ ธุรกิจการลงทุน และธุรกิจจัดการกองทุน

ธุรกิจนายหน้า (Brokerage Business)

       บล.ภัทร ดำเนินธุรกิจให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์ และตราสารอนุพันธ์แก่ลูกค้าประเภทสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศ รวมถึงกลุ่มลูกค้าบุคคลรายใหญ่ภายใต้บริการ Private Wealth Management ซึ่งในกลุ่มนี้บริษัทให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนทั้งในประเทศและต่างประเทศ และหุ้นกู้อนุพันธ์อีกด้วย สำหรับไตรมาส 2/2562 บล.ภัทร มีส่วนแบ่งตลาด (รวม SET และ mai ไม่รวมบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัท (proprietary trading)) ร้อยละ 8.89 เป็นอันดับที่ 1 จากจำนวนบริษัทหลักทรัพย์ทั้งหมด 38 แห่ง และบล.ภัทร มีรายได้ค่านายหน้า 306 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายหลักทรัพย์จำนวน 269 ล้านบาท และรายได้ค่านายหน้าจากการซื้อขายตราสารอนุพันธ์ 37 ล้านบาท นอกจากนี้ บล.ภัทร ยังมีรายได้ค่านายหน้าจากการเป็นตัวแทนขายหน่วยลงทุน 128 ล้านบาท (รวมรายได้ค่านายหน้าจากการเป็นตัวแทนขายหน่วยลงทุนที่ได้รับจากบริษัทย่อย)

ธุรกิจวานิชธนกิจ (Investment Banking Business)

                บล.ภัทร ประกอบธุรกิจวานิชธนกิจ ให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและการจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ ในไตรมาส 2/2562 บล.ภัทร มีรายได้จากธุรกิจวานิชธนกิจรวมจำนวน 65 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้ที่ปรึกษาทางการเงิน 10 ล้านบาท รายได้การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ 11 ล้านบาท และรายได้จากการเป็นตัวแทนในการรับซื้อหลักทรัพย์ (Tender Offer Agent) 44 ล้านบาท

 

 

ธุรกิจการลงทุน (Investment Business)

       ธุรกิจการลงทุนของบริษัทอยู่ภายใต้การดำเนินงาน 2 หน่วยงานหลัก โดยทุนภัทรจะเป็นผู้ประกอบการลงทุนโดยตรงภายใต้การดูแลของ ฝ่ายลงทุน (Direct Investment) ซึ่งรับผิดชอบการลงทุนระยะปานกลางและระยะยาว ส่วนบล.ภัทรดูแลการลงทุนระยะสั้นโดยฝ่ายค้าหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Equity and Derivatives Trading) เน้นลงทุนในหลักทรัพย์ประเภททุน (Equity) และกึ่งทุน (Equity-Linked Securities) ในตลาดหลักทรัพย์ฯ และตลาดอนุพันธ์ เป็นการลงทุนระยะสั้นไม่เกิน 1 ปี โดยเน้นกลยุทธ์ด้านการหากำไรส่วนต่าง (Arbitrage) รวมถึงการเป็นผู้ออกและเสนอขายผลิตภัณฑ์ทางการเงิน (Financial Products) ตัวอย่างเช่นหุ้นกู้อนุพันธ์ ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ เป็นต้น

      สำหรับ ไตรมาส 2/2562 ฝ่ายลงทุน มีผลกำไรจากการลงทุนโดยรวมขาดทุนจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์จำนวน 13 ล้านบาท ส่วนฝ่ายค้าหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถทำรายได้จำนวน 63 ล้านบาท และเมื่อรวมกับรายได้จากการลงทุนอื่นในส่วนของการบริหารเงินทุนและสภาพคล่องของบริษัท ทำให้ในไตรมาส 2/2562 บริษัทและบริษัทย่อยมีรายได้รวมจากธุรกิจลงทุนจำนวน 93 ล้านบาท

 

 

ธุรกิจจัดการกองทุน (Asset Management Business)

        บลจ.ภัทร ประกอบธุรกิจจัดการกองทุน ภายใต้ใบอนุญาตประกอบกิจการจัดการกองทุนรวม และใบอนุญาตประกอบธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคล ให้บริการด้านการจัดการลงทุนแก่ลูกค้าบุคคลทั่วไปหรือลูกค้าองค์กร นิติบุคคลที่สนใจการลงทุนในกองทุนรวม หรือกองทุนส่วนบุคคล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 บลจ.ภัทร มีทรัพย์สินภายใต้การจัดการของกองทุนรวมเป็นจำนวน 69,891 ล้านบาทมีจำนวนกองทุนภายใต้การบริหารรวม 34 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนรวม (Mutual Fund) 31 กอง และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 3 กอง โดยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 1.30 สำหรับไตรมาส 2/2562 บลจ.ภัทร มีรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจจัดการกองทุนรวมจำนวน 135 ล้านบาท

สำหรับ กองทุนส่วนบุคคล ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2562 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารทั้งสิ้น 28,359 ล้านบาท ทั้งนี้ บลจ.ภัทร มีรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคลจำนวน 67 ล้านบาท                                                                                           

                                                                                               

ตัวเลขที่สำคัญทางการเงิน                                                                       

อัตราส่วนต่างๆ (ร้อยละ)ไตรมาส 2/2561  ครึ่งแรกปี 2561               ไตรมาส 1/2562  ไตรมาส 2/2562  ครึ่งแรกปี 2562

                                    ปี 2561                                 

อัตราการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ        4.3          10.2        18.5        1.9          0.2          2.1

สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม (ไม่รวมรายการระหว่างธนาคาร)              4.5          4.5          4.1          4.1          4.2          4.2

อัตราส่วนการตั้งสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ113.8      113.8      114.8      114.1      113.2      113.2

อัตราส่วนสำรองต่อสำรองตามเกณฑ์183         183         186.3      184.4      182.4      182.4

 

ภาวะเศรษฐกิจ ตลาดเงิน ตลาดทุน

       เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 2 ปี 2562 ชะลอลงจากอุปสงค์ทั้งในและต่างประเทศ การลงทุนภาคเอกชนโดยรวมหดตัวตามการลงทุนในหมวดก่อสร้างที่หดตัวต่อเนื่องตามพื้นที่ได้รับอนุญาตก่อสร้าง และการลงทุนในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่หดตัวตามยอดจำหน่ายเครื่องจักรในประเทศและยอดจดทะเบียนรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ ส่วนหนึ่งจากผลของฐานสูงในปีก่อน ขณะที่การใช้จ่ายภาครัฐไม่รวมเงินโอนหดตัวจากระยะเดียวกันของปีที่แล้วที่มีการเร่งเบิกจ่าย อย่างไรก็ดี การบริโภคภาคเอกชนซึ่งเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญยังขยายตัวได้ต่อเนื่องในทุกหมวดการใช้จ่าย ซึ่งได้รับปัจจัยสนับสนุนจากรายได้ครัวเรือนในภาคเกษตรกรรมที่ปรับตัวดีขึ้นจากทั้งผลผลิตและราคาเป็นสำคัญ ด้านการส่งออก การส่งออกสินค้าในช่วง 5 เดือนแรกของปีหดตัวร้อยละ 2.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากการหดตัวของอุปสงค์ในตลาดโลกที่ชะลอลงจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า ประกอบกับผลของมาตรการกีดกันการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน

      รวมถึงวัฏจักรสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ที่ชะลอลงต่อเนื่อง ภาคการท่องเที่ยว จำนวนนักท่องเที่ยวโดยรวมในช่วง 5 เดือนแรกของปีขยายตัวร้อยละ 1.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวจีนซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 29 ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดยังคงหดตัวต่อเนื่อง โดยหดตัวอยู่ที่ร้อยละ 4.3 การขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งหลังของปีมีทิศทางชะลอลงจากปัจจัยฉุดรั้งสำคัญ ได้แก่ หนึ่ง ความเสี่ยงจากนโยบายการค้าของสหรัฐฯ และประเทศอื่นๆ ที่อาจตอบโต้ทางการค้ากับสหรัฐฯ โดยเฉพาะจีน กระทบต่อภาคส่งออกของไทยทั้งการส่งออกสินค้าและบริการ สอง ความไม่แน่นอนของสถานการณ์การเมืองในประเทศ ซึ่งอาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุนและการบริโภคในประเทศในระยะต่อไป สาม ความเสี่ยงด้านภัยแล้งที่อาจกระทบต่อรายได้ครัวเรือนภาคเกษตรกรรม และสี่ ปัญหาหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงและเพิ่มสูงขึ้นที่จะกดดันการบริโภคของครัวเรือน

3

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

sme 720x90

banpu 720x90 new1 1

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!