WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

คลังหาช่องอุ้ม'เอสเอ็มอีแบงก์'ยังไม่ควบรวมกับธนาคารออมสิน

    แนวหน้า : รมว.คลัง หารือ'หม่อมอุ๋ย' เล็งฟื้นฟู 'เอสเอ็มอีแบงก์' เพื่อใช้เป็นกลไกทางเศรษฐกิจ ส่อลอยแพ 'ไอแบงก์'พบหนี้เน่าท่วม เตรียมขายหนี้เอ็นพีแอล จำนวน 4 หมื่นล้านบาท ภายในสิ้นปีนี้

    นายสมหมาย ภาษี รมว.คลัง เปิดเผยว่า ได้หารือกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ ถึงแนวทางการแก้ปัญหาของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็มอีแบงก์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ไอแบงก์) เนื่องจากการดำเนินกิจการที่ผ่านมาทั้ง 2 ธนาคาร พบการทุจริตส่งผลให้ธนาคารเสียหายรุนแรง จนหนี้เสียหรือเอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นสูงรวมถึงมีขาดทุนสะสมเป็นจำนวนมาก

   สำหรับ แนวทางแก้ปัญหาของทั้ง 2 ธนาคาร หลังหารือเบื้องต้นในส่วนของเอสเอ็มอีแบงก์จะยังไม่พิจารณาควบรวมกับธนาคารออมสิน เพราะขณะนี้ยังต้องใช้ช่องทางของเอสเอ็มอีแบงก์ในการพัฒนาเศรษฐกิจ ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีของประเทศเข้าถึงแหล่งเงินทุน จึงยังเห็นความสำคัญ ดังนั้นรัฐบาลต้องช่วยให้เอสเอ็มอีแบงก์เดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    ส่วนไอแบงก์ที่ในขณะนี้ประสบปัญหาอย่างมาก โดยกำลังพิจารณาอยู่ว่าจะมีการยุบหรือควบรวมไอแบงก์หรือไม่ เนื่องจากที่ผ่านมาการบริหารงานไอแบงก์เกิดการทุจริต จนธนาคารมีความเสียหายเกิดขึ้นจำนวนมาก แต่ตอนนี้ยังไม่สามารถบอกข้อมูลได้มาก

    "คลังจะไม่ยุบเอสเอ็มอีแบงก์ เพราะเป็นธนาคารที่มีความสำคัญ แต่เรื่องฐานะของไอแบงก์ยังไม่อยากพูดอะไรมากในตอนนี้ ซึ่งได้ให้นโยบายกับประธานบอร์ดเอสเอ็มอีแบงก์คนใหม่ไปแล้วว่า แบงก์จะดีไม่ดีอยู่ที่การหาคนมาเป็นซีอีโอ ต้องเป็นคนดี มีฝีมือ และซื่อสัตย์" นายสมหมาย กล่าว

    แหล่งข่าวกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ก่อนหน้านี้ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ต้องการให้นายสมหมาย เห็นชอบแผนการควบรวมเอสเอ็มอีแบงก์ และไอแบงก์เข้ากับธนาคารออมสิน เพราะผลการดำเนินงานที่ผ่านมามีการทุจริตจำนวนมาก ถึงแม้ว่าขณะนี้ทั้ง 2 ธนาคารจะมีประธานคณะกรรมการใหม่แล้ว ซึ่งเชื่อว่าเป็นคนดีมีความสามารถในการเข้ามาแก้ไขปัญหา แต่กลัวว่าหากรัฐบาลชุดใหม่เข้ามาในอนาคตก็จะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการและผู้บริหารธนาคารจนเกิดการทุจริตเสียหายรอบใหม่ได้

    ขณะที่รายงานข่าวจาก ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย(ไอแบงก์) เปิดเผยว่า ไอแบงก์เตรียมพิจารณาขายหนี้เอ็นพีแอล จำนวน 4 หมื่นล้านบาท ภายในเดือนธ.ค.นี้ หากการตรวจสอบฐานะทางการเงิน(ดิวดิลิเจ้นท์) ที่คาดว่าจะเสร็จสมบูรณ์กลางเดือนพ.ย. พบว่ามีหนี้เอ็นพีแอลเพิ่มขึ้นจนถึง 5 หมื่นล้านบาทในสิ้นปีนี้ จากปัจจุบัน ณ สิ้นเดือนส.ค.เอ็นพีแอลอยู่ที่ 4.2 หมื่นล้านบาท

   ในเบื้องต้นได้มีการหารือกับบริษัท บริหารสินทรัพย์สุขุมวิท จำกัด หรือแซม ถึงเรื่องการขายหนี้ โดยจะพิจารณาขายในส่วนของลูกหนี้ทั่วไปที่ไม่ใช่มุสลิมออกไปทั้งหมด และลูกหนี้ที่เป็นมุสลิมแต่ไม่มีศักยภาพ ขาดความสามารถในการชำระหนี้ หรือไม่ได้ประกอบธุรกิจแล้ว อย่างไรก็ตามการขายหนี้ครั้งนี้จะต้องดำเนินการตามพ.ร.บ.ไอแบงก์ ไม่ขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม

    “เมื่อทำดิวดิลิเจ้นท์เสร็จแล้ว คาดว่าพบลูกหนี้ไร้ศักยภาพจ่อตกชั้นมากขึ้น อาจส่งผลให้หนี้เสียเพิ่มแตะ 5 หมื่นล้านบาท ทำในปี 2558 ธนาคารจะต้องเร่งปล่อยสินเชื่อใหม่เพิ่มขึ้นอีกมาก เพื่อนำของใหม่ที่ดีเข้ามายังแบงก์ ซึ่งการปล่อยสินเชื่อใหม่จะต้องเข้มงวดและปล่อยยากกว่าเดิม จะได้ไม่เป็นเนื้อร้ายทำให้แบงก์เสียหายได้อีก” รายงานข่าว ระบุ

    นอกจากนี้ หากการตรวจสอบดิวดิลิเจ้นท์เสร็จสมบูรณ์ ก็จะนำข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาเป็นองค์ประกอบในการจัดทำแผนฟื้นฟูกิจการไอแบงก์ใหม่ เนื่องจากแผนเดิมที่ส่งให้กระทรวงการคลังพิจารณานั้น เป็นแผนฟื้นฟูตั้งแต่ปี 2556 ซึ่งขาดความเป็นปัจจุบัน ทำให้ถูกนำกลับมาแก้ไขให้เข้ากับสถานการณ์ปัจจุบันมากที่สุด

คลังอุ้มเอสเอ็มอีแบงก์เล็งยุบ'ธอท.'

    ไทยโพสต์ * 'สมหมาย' ถก'หม่อมอุ๋ย' เล็งอุ้มเอสเอ็มอีแบงก์เดินหน้าต่อ เหตุมีความสำคัญต่อระบบเศรษฐกิจ แทงกั๊กยุบไอแบงก์ แจงกำลังพิจารณาหลังที่ผ่านมาพบทุจริตอื้อ

     นายสมหมาย ภาษี รมว.การคลัง เปิดเผยว่า ได้หารือกับ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ถึงแนวทางการแก้ปัญหาฐานะทางการเงินของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) หรือเอสเอ็ม อีแบงก์ และธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย (ธอท.) หรือไอแบงก์ เนื่องจากการดำเนินงานในช่วงที่ผ่านมามีการทุจริตจนธนาคารเสียหายรุนแรง มีหนี้เสียจำนวนมาก และมีขาดทุนสะสมสูง

    สำหรับ แนวทางแก้ปัญ หาในส่วนของเอสเอ็มอีแบงก์ จะไม่มีการนำไปควบรวมกับธนา คารออมสินอย่างแน่นอน เพราะเอสเอ็มอีแบงก์มีความสำคัญในการพัฒนาระบบเศรษฐกิจ จะต้องช่วยให้ผู้ประกอบการเอสเอ็ม อีของประเทศเข้าถึงแหล่งทุน ซึ่งประเทศไหนๆ ก็มีธนาคารเพื่อช่วยเหลือเอสเอ็มอี ดังนั้นรัฐบาลจะต้องช่วยให้เอสเอ็มอีแบงก์เดินหน้าต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

   นายสมหมาย กล่าวอีกว่า ในส่วนของไอแบงก์จะยุบหรือไม่ยุบนั้น กำลังพิจารณาอยู่ เนื่องจากพบว่าที่ผ่านมามีการบริหารงานจนทำให้เกิดการทุจริต ธนาคารมีความเสียหายเกิดขึ้น จำนวนมาก ตอนนี้ยังไม่สามารถบอกข้อมูลที่จะดำเนินการในส่วนนี้ได้มากนัก

   "กระทรวงการคลังจะไม่ ยุบเอสเอ็มอีแบงก์ เพราะเป็นธนาคารที่มีความสำคัญ แต่เรื่องฐานะของไอแบงก์ยังไม่อยากพูดมากตอนนี้ ซึ่งได้ให้ นโยบายกับประธานเอสเอ็มอี แบงก์คนใหม่ไปแล้วว่า ธนาคารจะดีหรือไม่ดีอยู่ที่การหาคนมาเป็นซีอีโอ ต้องเป็นคนดีมีฝีมือและซื่อสัตย์" นายสมหมายกล่าว

   แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลังเปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ต้องการให้นายสมหมายเห็นชอบแผนการควบรวมเอสเอ็มอีแบงก์และไอแบงก์เข้ากับธนาคารออมสิน เพราะผลการดำเนินงานของทั้ง 2 ธนาคารในช่วงที่ผ่านมามีการทุจริตจำ นวนมาก ถึงตอนนี้จะมีการแต่งตั้งประธานใหม่ทั้ง 2 ธนาคาร โดยเป็นคนดีมีความสามารถเข้ามาแก้ไข แต่กลัวว่ารัฐบาลใหม่เข้ามาในอนาคตก็จะมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการและผู้บริหารธนาคารอีก จนทำให้เกิดการทุจริตและสร้างความเสียหายรอบใหม่

  รายงานข่าวจากไอแบงก์ระบุว่า ไอแบงก์เตรียมพิจารณาขายหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (เอ็นพีแอล) จำนวน 4 หมื่นล้านบาท ภายในเดือน ธ.ค.นี้ โดยเบื้องต้นจะพิจารณาขายในส่วนของลูกหนี้ทั่วไปที่ไม่ใช่มุสลิมออกไปทั้งหมด และลูกหนี้ที่เป็นมุสลิม แต่ไม่มีศักยภาพ อย่างไรก็ตาม การขายหนี้ครั้งนี้จะต้องดำเนินการตาม พ.ร.บ.ไอแบงก์ ไม่ขัดต่อหลักศาสนาอิสลาม.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!