WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

KKPอภนนทคำอธิบายและการวิเคราะห์งบการเงิน สิ้นสุด 30 กันยายน 2561 (ก่อนตรวจสอบ)

ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน

 

ภาพรวมผลการดำเนินงาน

       ผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2561ของกลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร (ธนาคารเกียรตินาคิน และบริษัทย่อย) มีกำไรสุทธิไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ1,551ล้านบาทโดยอยู่ในระดับคงที่เมื่อเทียบกับไตรมาส 2/2561 ที่มีจำนวน 1,551 ล้านบาท และหากเทียบกับไตรมาส 3/2560 ลดลงร้อยละ 10.0

      สำหรับผลกำรดำเนินงำนงวดเก้าเดือนปี 2561 เปรียบเทียบกับงวดเก้าเดือนปี 2560 มีกำไรสุทธิไม่รวมส่วนของผู้ถือหุ้นส่วนน้อยเท่ากับ 4,615 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 จากงวดเดียวกันของปี 2560

สินทรัพย์รวมณวันที่ 30 กันยายน 2561 มีจำนวน 295,877 ล้านบาทเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.1 จากสิ้นปี 2560

 

ตัวเลขที่สำคัญทางการเงิน

          อัตราส่วนต่างๆ (ร้อยละ) ไตรมาส3/2560

งวดเก้าเดือน

ปี 2560

ไตรมาส 1/2561 ไตรมาส 2/2561

ไตรมาส

3/2561

งวดเก้าเดือน

ปี 2561

อัตราการเติบโตของเงินให้สินเชื่อ 0.2 4.4 5.7 4.3 3.5 14.1

สินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวม

(ไม่รวมรายการระหว่างธนาคาร)

5.6 5.6 4.7 4.5 4.2 4.2
ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย 5.4 5.3 4.9 4.9 5.1 5.0
อัตราส่วนการตั้งสำรองต่อสินเชื่อด้อยคุณภาพ 105.6 105.6 110.9 113.8 115.6 115.6
อัตราส่วนสำรองต่อสำรองตามเกณฑ์ 185.4 185.4 186.1 183.0 184.9 184.9

 

ธุรกิจธนาคารพาณิชย์

     ไตรมาส 3/2561 สินเชื่อของธนาคารมียอดรวมอยู่ที่ 220,141 ล้านบาท ขยายตัวต่อเนื่องที่ร้อยละ 3.5 เมื่อเทียบกับสิ้นไตรมาส 2/2561 ส่งผลใหสินเชื่อโดยรวมของธนาคารมีการขยายตัวที่ร้อยละ 14.1 จากสิ้นปี 2560 โดยสินเชื่อมีการขยายตัวในทุกประเภท ด้านคุณภาพของสินเชื่อ อัตราส่วนสินเชื่อด้อยคุณภาพต่อสินเชื่อรวมยังคงปรับลดลงต่อเนื่องโดย ณ สิ้นไตรมาส 3/2561 อยู่ที่ร้อยละ 4.2

     ณวันที่ 30 กันยายน 2561 ธนาคารมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยง (BIS Ratio) คำนวณตามเกณฑ์ Basel III ซึ่งเงินกองทุนทั้งสิ้นได้รวมกำไรถึงงวดครึ่งแรกของปี 2561 หลังหักเงินปันผลจ่ายอยู่ที่ร้อยละ 16.36 โดยเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับร้อยละ 12.85 แต่หากรวมกำไรถึงสิ้นไตรมาส 3/2561 จะส่งผลให้อัตราส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเท่ากับร้อยละ 17.03 และเงินกองทุนชั้นที่ 1 เท่ากับร้อยละ 13.52

 

ธุรกิจตลาดทุน

ธุรกิจนายหน้ำ (Brokerage Business)

     บล.ภัทรดำเนินธุรกิจให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหลักทรัพย์และตราสารอนุพันธ์แก่ลูกค้าประเภทสถาบันทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมถึงกลุ่มลูกค้าบุคคลรายใหญ่ภายใต้บริการ Private Wealth Management ซึ่งในกลุ่มนี้บริษัทให้บริการเป็นนายหน้าซื้อขายหน่วยลงทุนและหุ้นกู้อนุพันธ์อีกด้วยสำหรับไตรมาส 3/2561 บล.ภัทรมีส่วนแบ่งตลาดร้อยละ 4.2 เป็นอันดับที่ 8 จากจำนวนบริษัทหลักทรัพย์ทั้งหมด 38 แห่งและบล.ภัทรมีรายได้ค่านายหน้า 312 ล้านบาท

 

ธุรกิจวานิชธนกิจ (Investment Banking Business)

     บล.ภัทร ประกอบธุรกิจวานิชธนกิจ ให้บริการเป็นที่ปรึกษาทางการเงินและการจัดจาหน่ายหลักทรัพย์ ในไตรมาส 3/2561 บล.ภัทร มีรายได้จากธุรกิจวานิชธนกิจรวม 86 ล้านบาท ประกอบด้วย รายได้ที่ปรึกษาทางการเงิน 40 ล้านบาท รายได้การจัดจำหน่ายหลักทรัพย์ 12 ล้านบาท และรายได้อื่น 34 ล้านบาท

 

ธุรกิจกำรลงทุน (Investment Business)

      ไตรมาส 3/2561 ฝ่ายลงทุนมีผลขาดทุนจากการลงทุนโดยรวมขาดทุนจากการวัดมูลค่าเงินลงทุนในหลักทรัพย์ 91 ล้านบาท ในส่วนของธุรกิจเฮดจ์ฟันด์มีผลขาดทุน 44 ล้านบาท สำหรับฝ่ายค้าหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าสามารถทำรายได้จานวน 76 ล้านบาท และเมื่อรวมกับรายได้จากการลงทุนอื่นในส่วนของการบริหารเงินทุนและสภาพคล่องของบริษัท ทำให้ในไตรมาส 3/2561 บริษัทและบริษัทย่อยมีผลขาดทุนรวมจากธุรกิจลงทุนจำนวน 28 ล้านบาท

 

ธุรกิจจัดกำรกองทุน (Asset Management Business)

     ณ วันที่ 30 กันยายน 2561 บลจ.ภัทร มีทรัพย์สินภายใต้การจัดการของกองทุน 66,407 ล้านบาท มีกองทุนภายใต้การบริหารรวม 26 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนรวม (Mutual Fund) 23 กองและกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ 3 กอง โดยมีส่วนแบ่งการตลาดร้อยละ 1.3 สำหรับไตรมาส 3/2561 บลจ.ภัทร มีรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจจัดการกองทุนรวมจานวน 125 ล้านบาท

สาหรับกองทุนส่วนบุคคลณวันที่ 30 กันยายน 2561 มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิภายใต้การบริหารทั้งสิ้น 27,841 ล้านบาททั้งนี้บลจ.ภัทรมีรายได้ค่าธรรมเนียมธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคลจำนวน 76 ล้านบาท

 

ภาวะเศรษฐกิจ ตลาดเงิน ตลาดทุน

      เศรษฐกิจไทยในไตรมาส 3/2561 ขยายตัวได้ดีต่อเนื่องจากไตรมาส 2/2561 โดยเป็นผลจากการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศเป็นสาคัญทั้งการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนโดยการบริโภคภาคเอกชนฟื้นตัวอย่างชัดเจนในสินค้าคงทน (โดยเฉพาะรถยนต์) สอดคล้องไปกับรายได้ของครัวเรือนที่ปรับตัวดีขึ้น

      ในส่วนของการลงทุนของภาครัฐปรับตัวดีขึ้นจากช่วงครึ่งแรกของปีตามการเบิกจ่ายค่าก่อสร้างและเครื่องจักรของกรมชลประทานและกรมทางหลวงชนบทเป็นสาคัญขณะที่ภาคต่างประเทศขยายตัวชะลอลงทั้งการส่งออกที่ขยายตัวชะลอลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 เนื่องจากการส่งออกเครื่องใช้ไฟฟ้าเครื่องซักผ้าและโซลาร์เซลล์ที่หดตัวจากการขึ้นภาษีนาเข้าของสหรัฐและฐานสูงจากการเร่งส่งออกปีก่อนรวมถึงการส่งออกสินค้าในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ก็เริ่มชะลอตัวลงด้วยเช่นกันในส่วนของการท่องเที่ยวในไตรมาส 3 มีทิศทางชะลอตัวลงมากจากผลกระทบจากเหตุการณ์เรือนักท่องเที่ยวจีนล่มที่จังหวัดภูเก็ตเป็นสำคัญสอดรับไปกับจำนวนนักท่องเที่ยวเดือนกรกฏาคมและสิงหาคมเมื่อปรับฤดูกาลแล้วลดลงต่อเนื่องจากเดือนก่อน

      แม้ว่าแนวโน้มของเศรษฐกิจจะมีทิศทางที่ทยอยดีขึ้นต่อเนื่อง โดยเฉพาะการใช้จ่ายของภาคเอกชนในประเทศ แต่ยังมีอุปสรรคสำคัญที่ฉุดรั้งการฟื้นตัวในระยะข้างหน้า ได้แก่ หนึ่ง ปัญหาเชิงโครงสร้างของเศรษฐกิจและสังคมไทย รวมถึงภาระหนี้ที่ยังอยู่ในระดับสูงทำให้การบริโภคของครัวเรือนยังขยายตัวได้ไม่ทั่วถึง สอง ความเสี่ยงจากนโยบายการค้าของสหรัฐและประเทศอื่นๆ ที่ตอบโต้สหรัฐ รวมถึงแนวโน้มความเสี่ยงของเศรษฐกิจจีนที่อาจอ่อนแอลง อาจส่งผลให้การขยายตัวของภาคส่งออก ต่อเนื่องมาถึงภาคการลงทุนชะลอตัวลง สาม ความผันผวนของราคาน้ำมันในทิศทางเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากความไม่แน่นอนด้านภูมิรัฐศาสตร์โดยฉพาะแถบตะวันออกกลาง ซึ่งกระทบต่อดุลบัญชีเดินสะพัดให้ปรับตัวลดลง รวมถึงเงินเฟ้อให้สูงขึ้น และสี่ ความตึงตัวทางการเงินที่เริ่มเพิ่มขึ้น อันเป็นผลจากสัญญาณของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่เริ่มพิจารณาความเป็นไปได้ในการปรับขึ้นดอกเบี้ยนโยบายในอนาคต และจากดอกเบี้ยในตลาดการเงินที่เริ่มปรับเพิ่มขึ้น โดยฝ่ายวิจัยฯ คาดว่าดอกเบี้ยนโยบายจะคงอยู่ที่ร้อยละ 1.5 จนถึงสิ้นปีนี้

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!