- Details
- Category: แบงก์พาณิชย์
- Published: Sunday, 14 October 2018 10:21
- Hits: 8468
ธนาคารกสิกรไทย เปิดตัว K PLUS ใหม่ ด้วยคอนเซปต์ 'เปลี่ยนเพื่อรู้ใจขึ้น'เปลี่ยนโลโก้และหน้าตาใหม่ เพิ่มฟังก์ชันไลฟ์สไตล์ที่เข้ากับความต้องการของผู้ใช้งานเป็นรายบุคคล ชูจุดแข็งนวัตกรรม'เกด'(KADE)
โดยมีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI (Artificial Intelligence) เป็นระบบหลังบ้าน สามารถเรียนรู้และประมวลผลพฤติกรรมของผู้ใช้งาน พร้อมด้วยโครงสร้างเทคโนโลยีรูปแบบ’โอเพ่น แพลทฟอร์ม’ (Open Platform) เชื่อมต่อกับแพลทฟอร์มพันธมิตรธุรกิจต่างๆ เชื่อมั่นว่า ภายใน 3 ปีศักยภาพของ K PLUS ใหม่ จะช่วยขยายฐานลูกค้าใหม่ของธนาคารให้เพิ่มเป็นปีละ 2 ล้านบัญชี และทำให้ธนาคารมีฐานลูกค้ารวมเป็น 20 ล้านราย
นายพัชร สมะลาภา กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย กล่าวว่า แพลทฟอร์มของ K PLUS ใช้งานมาแล้วกว่า 5 ปี ปัจจุบันมีลูกค้าใช้งาน K PLUS มากกว่า 61% ของลูกค้าธนาคารทั้งหมด 15 ล้านราย มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วทั้งจำนวนลูกค้าและปริมาณธุรกรรม ธนาคารจึงพัฒนาศักยภาพของ K PLUS ใหม่ พร้อมกับนำเสนอฟังก์ชันด้านไลฟ์สไตล์ที่เข้ากับความต้องการของผู้ใช้งานเป็นรายบุคคล (Personalization) ด้วยคอนเซปต์ ‘เปลี่ยนเพื่อรู้ใจขึ้น’ ทุกอย่างทำได้จบในแอปเดียว ทำให้เป็นแอปที่ลูกค้าใช้ในชีวิตประจำวัน ได้ใช้จ่ายและเพลิดเพลิน (Pay & Play) กับบริการหรือผลิตภัณฑ์ที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของตนเอง พร้อมได้รับสิทธิประโยชน์ต่างๆ จากแบรนด์ดังมากมายที่จะมารวมตัวอยู่บนแพลทฟอร์มของ K PLUS
K PLUS ใหม่ มีการเปลี่ยนรูปแบบการใช้งาน 3 เรื่อง คือ 1) เปลี่ยนโลโก้ K PLUS ใหม่ และหน้าตาและการจัดวางเมนูการใช้งานใหม่ เพื่อให้ทันสมัยเข้ากับยุคดิจิทัล 2) ปุ่มธุรกรรม รวมปุ่มโอนเติมจ่ายและอื่นๆ ให้อยู่ในปุ่มเดียว ทำให้ใช้งานง่ายขึ้น 3) พัฒนาฟังก์ชันการใช้งานที่เข้ากับไลฟ์สไตล์ของลูกค้าแต่ละบุคคล (Personalization) โดยการนำข้อมูล (Big Data) มาวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้งานของลูกค้า ทำให้นำเสนอบริการที่ตรงกับความต้องการลูกค้าได้มากขึ้น อีกทั้งลูกค้ายังสามารถเลือกปรับเปลี่ยนฟังก์ชันที่ใช้บ่อยได้ตามความต้องการของลูกค้าแต่ละคน
ข้อมูล 2559 2560 2561
จำนวนผู้ใช้บริการ K PLUS (ล้านราย) 4.6 7.3 9.4 (ณ ก.ย.)
ปริมาณธุรกรรมผ่าน K PLUS (ล้านรายการต่อปี) 1,646 3,052 3,634
(ม.ค.–ก.ย.2561)
นายพัชร กล่าวต่อว่า ธนาคารวางกลยุทธ์และเป้าหมายของ K PLUS 3 ด้าน ได้แก่
1) เพิ่มสัดส่วนการใช้งานฟังก์ชันไลฟ์สไตล์ของ K PLUS อีก 5-10% ภายใน 1 ปี
ปัจจุบันฟังก์ชันที่ลูกค้านิยมใช้มากที่สุดคือ รายการโอน-เติม-จ่าย คิดเป็น 125 ล้านรายการต่อเดือน ในขณะที่ฟังก์ชันไลฟ์สไตล์ที่มีอยู่ใน K PLUS แล้ว ยังมีปริมาณการทำธุรกรรมที่น้อยกว่าที่คาดหมาย ซึ่งมีจำนวนธุรกรรมรวม 500,000 รายการต่อเดือน หรือน้อยกว่า 1% ของรายการโอนเติมจ่าย โดยธนาคารวางแผนพัฒนาฟังก์ชันใหม่ที่ให้ลูกค้าสามารถใช้บริการได้มากกว่าการโอนเติมจ่าย และเข้ากับไลฟ์สไตล์ของลูกค้ามากยิ่งขึ้น ซึ่งจะกระตุ้นให้เกิดการใช้งานมากขึ้น และเพิ่มขึ้นจาก 1% เป็น 5-10% ภายใน 1 ปี
2)K PLUS เป็นช่องทางให้ลูกค้าเข้าถึงบริการผลิตภัณฑ์ด้านการเงินของธนาคาร ลูกค้าสามารถเข้าถึงบริการด้านการเงินต่างๆ ผ่าน K PLUS ได้ง่ายและสะดวกขึ้น เช่น ฟังก์ชันถอนเงินโดยไม่ใช่บัตร ซื้อกองทุน โดยเฉพาะบริการสินเชื่อส่วนบุคคลที่เปิดให้บริการมา 8 เดือน ช่วยเพิ่มโอกาสเข้าถึงแหล่งทุนขนาดเล็ก (Micro Finance) ให้กับลูกค้าทั่วไปและผู้ประกอบการรายย่อย มีส่วนผลักดันให้ภาพรวมยอดสินเชื่อคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลสะสมเติบโตกว่า 4% มียอดสินเชื่อใหม่จนถึงเดือนสิงหาคมประมาณ 16,300 ล้านบาท เทียบกับปลายปีก่อนที่มีมูลค่าสินเชื่อส่วนบุคคลคงค้างที่ 15,700 ล้านบาท ทั้งนี้ ตั้งเป้าภายในปีนี้ปล่อยสินเชื่อคงค้างสินเชื่อส่วนบุคคลเพิ่มอีก 7,000 ล้านบาท หรือคิดรวมเป็น 22,700 ล้านบาท
3) มุ่งเพิ่มฐานลูกค้ารวมของธนาคารให้ได้ 20 ล้านบัญชีภายใน 3 ปี ตลอด 10 ปีที่ผ่านมา ธนาคารมีฐานลูกค้าใหม่เฉลี่ยปีละกว่า 1 ล้านบัญชี ปัจจุบันธนาคารมีจำนวนบัญชีลูกค้ารวม 15 ล้านบัญชี และเชื่อมั่นว่า ภายใน 3 ปี ฐานลูกค้าใหม่ของธนาคารให้เพิ่มเป็นปีละ 2 ล้านบัญชี และทำให้ธนาคารมีฐานลูกค้ารวมเป็น 20 ล้านบัญชี โดยที่จำนวนลูกค้า K PLUS ส่วนหนึ่งจะมาจากการเติบโตของฐานลูกค้ารวมของธนาคาร และอีกส่วนที่สำคัญจะมาจากกลยุทธ์การขยายฐานลูกค้าที่ไม่ได้มีบัญชีของธนาคาร เช่น ลูกค้าที่ใช้ อี-วอลเล็ต รวมถึงการเปิดให้ธุรกรรมการเงินระหว่างประเทศ โดยเชื่อมโยงระบบการชำระเงินในภูมิภาค เพิ่มช่องทางการชำระเงินให้แก่ลูกค้าได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้น
นายสมคิด จิรานันตรัตน์ ประธาน กสิกร บิซิเนส-เทคโนโลยี กรุ๊ป (KBTG)กล่าวว่า แนวคิดการพัฒนา K PLUS ขยายจากการเป็นแอปมาสู่ 'K PLUS Intelligence Platform’ ที่นำเสนอประสบการณ์ที่ตรงใจกับลูกค้าเป็นรายบุคคล พร้อมทั้งรองรับการเติบโตในอนาคต ทั้งความเสถียร ความปลอดภัย และความง่ายในประสบการณ์การใช้งานของลูกค้า รวมถึงการขยายเครือข่ายพันธมิตรธุรกิจต่างๆ
'เกด' (KADE: K PLUS AI-Driven Experience) เป็นหัวใจสำคัญในพัฒนาศักยภาพของ K PLUS โดยมีเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ หรือ AI(Artificial Intelligence) เป็นระบบหลังบ้าน ด้วยการเรียนรู้พฤติกรรมของลูกค้าแต่ละคน รู้จัก รู้ใจคนใช้งานมากขึ้นเรื่อยๆ ทำให้นำเสนอประสบการณ์ที่ตรงใจกับลูกค้าเป็นรายคนได้ เช่น ฟังก์ชัน K PLUS Today สามารถแจ้งเตือนธุรกรรมการเงินที่สำคัญที่ลูกค้าใช้เป็นประจำ และแนะนำผลิตภัณฑ์หรือโปรโมชั่นที่ตรงกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า, เทคโนโลยีแมชชีน เลนดิ้ง (Machine Lending) ที่อยู่ใน K PLUS ทำให้ธนาคารนำข้อมูลมาวิเคราะห์และนำเสนอสินเชื่อส่วนบุคคล (K-Personal Loan)
และสินเชื่อธุรกิจ ที่เหมาะสมกับความสามารถในการกู้และตรงกับความต้องการของลูกค้าผ่านแอปฯ K PLUS และในอนาคตยังสามารถแนะนำการใช้จ่ายและการลงทุนที่จะเพิ่มศักยภาพทางการเงินและโอกาสทางธุรกิจให้กับลูกค้า นอกจากนี้ K PLUS ยังมีโครงสร้างเทคโนโลยี’โอเพ่น แพลทฟอร์ม’(Open Platform) พร้อมรองรับการเชื่อมต่อกับช่องทางบริการและพันธมิตรในธุรกิจต่างๆ สร้างประสบการณ์การใช้งานที่ต่อเนื่องและต่อยอดไปจนถึงการนำเสนอบริการใหม่ๆ
“เป้าหมายการพัฒนา K PLUS คือ ทำให้เทคโนโลยีเป็นเรื่องง่ายๆ เพื่อให้ทุกคนเข้าถึงได้ 'รู้จักจนรู้ใจ' ตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้าทุกคนมากที่สุด ศักยภาพของ K PLUS ในอนาคต จะทำให้คนที่ไม่มีบัญชีธนาคารสามารถทำธุรกรรมได้ เกิดธุรกรรมการเงินข้ามประเทศ ทำให้เราตั้งเป้าหมายว่า จะมีผู้ใช้ K PLUS ถึง 100 ล้านคนทั่วโลก ทุกคนสามารถเข้าถึงบริการทางการเงินได้อย่างเท่าเทียมกันและมีชีวิตที่ดีขึ้น” นายสมคิด กล่าวปิดท้าย
KBank announces a remarkable turnaround of K PLUS with fully integrated AI to cater to individual lifestyle
KASIKORNBANK (KBank) introduces a new version of K PLUS based on a ‘With change, we understand you better’concept, along with novel logo and look, plus a new ‘Lifestyle’function to match each user’s requirements. The new K PLUS will be served by the ‘KADE’innovation wherein Artificial Intelligence (AI) will assist in understanding the users’ behaviors. In addition, an ‘Open Platform’ technology structure will connect with the platforms of KBank’s business partners. It is expected that the enhanced potential of K PLUS will help expand KBank’s new customer base by 2 million accounts a year to a total of 20 million accounts within three years.
Mr.Patchara Samalapa, KBank President, said K PLUS platform has been in use for more than five years and now has total users of more than 61 percent of the 15 million bank customers. Rapid growth has been witnessed in both the number of customers and transaction volume. With this development, a new “Lifestyle” function with a personalization feature has been initiated by a “With change, we understand you better” concept. Because all transactions can be realized with K PLUS, this application will be an everyday kit for customers to “Pay & Play”. While customers can choose products and services that match their lifestyles, they will also enjoy a myriad of privileges offered by many leading brands.
Item 2016 2017 2018
K PLUS service users(million) 4.6 7.3 9.4 (September)
Transactions via K PLUS (million per year) 1,646 3,052 3,634 (Jan-Sep 2018)
The new version of K PLUS will see change in three areas: 1) the new logo and rearrangement of menus to be in sync with the digital age 2) a single transaction button which simplifies users in conducting money transfer, top up, payment and other transactions via this button 3) development of personalization functions to better match each customer lifestyle with the use of big data for analyzing customer behavior in order to offer services more responsive to their needs. Customers may change favorite functions at any time as desired.
Mr.Patchara added that KBank strategizes and plans for the future of K PLUS in three areas, i.e.,
1)To increase the use of lifestyle function of K PLUS by 5-10 percent within one year Currently, the most used function of K PLUS involves funds transfer, top up and payment transactions, totaling 125 million transactions per month. Meanwhile, lifestyle transactions now totaling around 500,000, or less than 1 percent of transfer-top up-payment transactions, which are still lower than expected. KBank therefore plans to develop a new function to enable customers to conduct other transactions to match their lifestyles, setting sights on raising lifestyle transactions from 1 percent to 5-10 percent within one year.
2) To promote K PLUS as a channel for the customers to use our financial products and services more conveniently. For instance, they can withdraw cash without the need to use any cards or purchase funds. Meanwhile, K-Personal Loan, which is available for eight months now, has offered general consumers and small business owners to have greater access to micro finance. As a result, the outstanding of K-Personal Loan grew over 4 percent and new loans reached 16.3 billion Baht during the first eight months of 2018, against the 15.7 billion Baht in outstanding K-Personal Loan reported for the end of 2017. This year, KBank has set a target to reach 22.7 billion Baht in K-Personal Loan, up from the last year 7 billion Baht.
3) To increase KBank’s customer base overall to 20 accounts within three years. Over the past 10 years, KBank acquired over one million new accounts p.a. on average. Currently, we have about 15 million accounts and are upbeat that new accounts will increase by two million p.a. within three years, bringing the total to 20 million accounts. The increase in our K PLUS customers is partly attributable to growth of our customer base overall. However, the most important factor is KBank’s strategy to tap into prospective customers, who have not opened accounts with us, such as those using e-wallet, while other factors include our cross-border funds transfer service that offers greater convenience for our customers because it links with other settlement systems in the region.
Mr.Somkid Jiranuntarat, Chairman of KASIKORN BUSINESS-TECHNOLOGY GROUP (KBTG), said that the K PLUS development concept is to transform K PLUS from an application into “K PLUS Intelligence Platform” to present the right experience for each customer and prepare for future growth. Equipped with stable, secure and user-friendly features, K PLUS Intelligence Platform is ready for further business network expansion.
K PLUS AI-Driven Experience (KADE) is an integral part of K PLUS capacity development, whereas Artificial Intelligence (AI) is incorporated into the back office system in order for KBank to learn and better understand each customer’s behavior and personalize the right experience for them. For example, K PLUS Today function will alert customers of important transactions and recommend products or promotions that match their lifestyles, while Machine Lending technology in K PLUS will enable KBank to leverage customer data and analytics to offer the right K-Personal Loan and business loans that match their demands and debt service capacity via K PLUS application. In the future, the platform will be able to give advice on spending and investment to maximize the customers’ financial potential and business opportunities. Moreover, K PLUS features “Open Platform” technology to be readily prepared for connectivity with other service channels and business partners to create a seamless experience, deliver superior value and present new services.
“K PLUS development is aimed at making technology easy, simple and accessible for everyone, enabling KBank to “know customers well in order to fulfill their wishes” and tailor to each customer’s needs. Equipped with tremendous potential, K PLUS will soon enable everyone including those without banking account to carry out financial transactions, promoting financial activities beyond boundaries. Thus, the number of K PLUS users is targeted to reach 100 million globally. Everyone can access to financial services equitably and enrich their life,” Mr. Somkid summed up.