WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

iBank vithaiiBank พลิกกำไรในรอบ 5 ปี คาดทั้งปีถึง 500 ล้านบาท ปล่อยสินเชื่อใหม่หนุนเต็บสูบ สรุปพันธมิตร มี.ค.2561 นี้

     iBank ม.ค.2561 โกยกำไร 70 ล้านบาท ครั้งแรกในรอบ 5 ปี ลุ้นตลอดปีกำไรแตะ 500 ล้านบาท อานิสงส์แก้หนี้เสีย ลดต้นทุนดำเนินงาน ปล่อยสินเชื่อใหม่หนุนเต็บสูบ สรุปเรื่องรายชื่อพันธมิตรได้ภายในเดือน มี.ค.2561 นี้

      นายวิทัย รัตนากร กรรม การและรักษาการกรรมการผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย iBank เผยว่า ผลการดำเนินงานในเดือน ม.ค.2561 มีกำไรจากการดำ เนินงานแล้วราว 70 ล้านบาท ถือเป็นกำไรในครั้งแรกในรอบ 5 ปี คาดว่าทั้งปีจะมีกำไรถึง 500 ล้านบาท ซึ่งเกิดจากการแก้หนี้เสีย (เอ็นพีเอฟ) การลดต้นทุนการดำเนินงาน และการเร่งปล่อยสินเชื่อรายใหม่

     อย่างไรก็ดี ธนาคารมั่นใจว่า ผลการดำเนินการจะสามารถพลิกกลับมามีกำไร หลังจากขาดทุนสะสม โดยส่วนหนึ่งเป็นผลจากการที่ธนาคารแยกหนี้เสียระหว่างมุสลิม และไม่ใช่มุสลิม ซึ่งที่ผ่านมา ธนาคารได้โอนหนี้สินไปยังไอแอมแล้ว 50,000 ล้านบาท ขณะที่ความคืบหน้าในการแก้ไขกฎหมายของธนาคารนั้น ขณะนี้อยู่ระหว่างสภานิติบัญญัติแห่งชาติ หรือ สนช. พิจารณาวาระ 2 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในเร็วๆนี้ โดยภายหลังจากแก้กฎหมายแล้วเสร็จ กระทรวงการคลังจะใส่เงินเพื่อเพิ่มทุนให้กับธนาคารได้ในช่วงต้นเดือนเมษายน วงเงิน 18,100 ล้านบาท ประกอบด้วย 2,000 ล้านบาทจากงบประมาณแผ่นดินที่ขอไว้ตั้งแต่ปี 2557 และจากกองทุนสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐ หรือ กองทุน SFI รวม 16,000 ล้านบาท

      “ในปีนี้ธนาคารตั้งเป้าปล่อยสินเชื่อใหม่ 10,000 ล้านบาท หรือเติบโต 23% จากปัจจุบันมียอดสินเชื่อรวม 44,000 ล้านบาท ขณะที่เงินฝากปัจจุบันอยู่ที่ 85,000 ล้านบาท ส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) จากการปล่อยสินเชื่อในปี 2559-2560 อยู่ในระดับต่ำไม่เกิน 1% ซึ่งถือว่าไม่น่าเป็นห่วง”

    ทั้งนี้ ภายหลังจากที่กระทรวงการคลังเข้าเพิ่มทุนแล้ว จะทำให้กระทรวงการคลัง สามารถถือหุ้นเกิน 49% ได้ชั่วคราว และหลังจากนั้นจะเป็นการประเมินเรื่องการหาพันธมิตร ซึ่งที่ผ่านมาธนาคารได้ส่งหนังสือเชิญชวนพันธมิตร 68 รายทั่วโลก และได้คัดเลือกมาแล้ว 1 ราย ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างตรวจสอบกิจการ และเงื่อนไข โดยหากตรวจสอบเรียบร้อยแล้ว ธนาคารจะตัดสินใจทำสัญญาในช่วงปลายเดือนเมษายนนี้ สำหรับพันมิตรที่ธนาคารพิจารณานั้น ยังไม่สามารถบอกรายละเอียดได้ว่าเป็นบริษัทในหรือต่างประเทศ เนื่องจากเป็นสัญญารักษาความลับที่ต้องทำไว้”นายวิทัย กล่าว

      สำหรับ แผนธุรกิจปี 2561 จะเน้น 5 เรื่อง ได้แก่ 1.การ แก้ไขปัญหาหนี้รายย่อย ซึ่งปัจจุบันธนาคารมีเอ็นเอฟกว่า 8,000 ล้านบาท คิดเป็น 8-9% ของสินเชื่อรวม ในจำนวนนี้เป็นรายย่อยและลูกหนี้มุสลิมประมาณ 3,266 ล้านบาท ซึ่งมีลูกหนี้บางกลุ่มที่เป็นหนี้ที่เกิดตั้งแต่สมัยน้ำท่วมปี 2554 ตั้งเป้าหมายติดตามทวงหนี้ลูกหนี้กลุ่มนี้ได้ 10% ภายในปีนี้ จะส่งผลให้ธนาคารมีกำไรอย่างน้อย 300-400 ล้านบาท เนื่องจากลูกหนี้กลุ่มนี้ได้มีการตั้งสำรองไว้ครบแล้ว

      ส่วนลูกหนี้รายใหญ่ 16 ราย ที่มีมูลหนี้กว่า 1.2 หมื่นล้านบาท ได้เข้ามาเจรจาปรับโครงสร้างธุรกิจ และได้เรียกหลักประกันเพิ่ม 2,270 ล้านบาทให้คุ้มมูลหนี้แล้ว

       2.การเพิ่มทุนจดทะเบียน คาดในส่วนของการแก้ พ.ร.บ. ธนาคารอิสลามเพื่อให้กระ ทรวงการคลังถือหุ้น 99% เป็นการชั่วคราว จากปัจจุบันถืออยู่ 49% น่าจะแล้วเสร็จในเดือน มี.ค.นี้ และเงินเพิ่มทุน 1.8 หมื่น ล้านบาท จะเข้ามาในช่วงเดือน มี.ค.-เม.ย.นี้ ซึ่งเงินเพิ่มทุนที่จะเข้ามาในครั้งนี้ จะทำให้เงินกองทุนจากที่ติดลบจะเหลือที่ระดับ 0% ซึ่งยังสามารถปล่อยสินเชื่อได้

        3.เร่งขยายฐานสินเชื่อ โดยในปี 2560 ธนาคารมีสินเชื่อคงค้างที่ 4.4 หมื่นล้านบาท ซึ่งในปีนี้ตั้งเป้าหมายให้สินเชื่อเพิ่มขึ้นสุทธิอีก 1 หมื่นล้านบาท 4.ลดต้นทุนการดำเนินงานและ ต้นทุนทางการเงิน และ 5.การ ใช้ทรัพยากรและร่วมกับสถาบันการเงินรัฐอื่นๆ สำหรับการสรรหาพันธมิตรใหม่ ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาราว 1 เดือน ที่จะสามารถหาข้อสรุปเรื่องรายชื่อพันธมิตรได้ภายในเดือน มี.ค.2561 นี้

1aaa7iBank Gsb

 

ออมสิน พร้อมสนับสนุน ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ร่วมมือ ยกระดับ สร้างความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ

     ได้มีพิธีบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการให้ความช่วยเหลือทางด้านการกำกับการปฏิบัติงาน การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ระหว่าง ธนาคารออมสิน กับ ธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย โดยมี นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน และนายวิทัย รัตนากร กรรมการและรักษาการผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง ณ ธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่

      นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ข้อตกลงฉบับนี้จัดทำขึ้นภายใต้กรอบความร่วมมือเพื่อบูรณาการการทำงานระหว่างสถาบันการเงินรัฐ โดยธนาคารออมสินจะส่งเสริมและสนับสนุนธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย ในการพัฒนาการดำเนินงานด้านการกำกับการปฏิบัติงาน การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย และการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งทั้งสองฝ่ายจะได้ตกลงร่วมกันในการกำหนดรายละเอียดและแนวทางปฏิบัติของการให้ความร่วมมือในครั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวข้างต้นบรรลุวัตถุประสงค์การทำบันทึกข้อตกลงต่อไป

     ทั้งนี้ ธนาคารออมสินได้ให้ความสำคัญกับระบบการควบคุมภายในและการกำกับดูแลการปฏิบัติงานของธนาคารฯ ให้เป็นไปตามกฎเกณฑ์ทางการ และกฎเกณฑ์ของธนาคารฯ สำหรับการกำกับการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย ธนาคารฯได้กำหนดให้มีส่วนกำกับการฟอกเงินโดยเฉพาะ มีการปฏิบัติงานเป็นไปตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง สอดคล้องกับมาตรฐานสากลด้าน AML/CFT/CPF โดยมีนโยบายการปฏิบัติงานเพื่อป้องกัน ยับยั้ง มิให้ธนาคารฯถูกใช้เป็นเครื่องมือในการฟอกเงิน หรือการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย หรือเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งมีกรอบการดำเนินงานในด้านดังกล่าวไว้อย่างชัดเจน และถือเป็นส่วนหนึ่งของระเบียบธนาคารออมสิน ซึ่งกรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของธนาคารออมสินทุกคนต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด

      สำหรับ การปฏิบัติงานเพื่อสร้างความโปร่งใสของธนาคารออมสิน เกิดจากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ เรื่อง การขับเคลื่อนการป้องกันและปราบปรามการทุจริต ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริต สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ และหน่วยงานรัฐวิสาหกิจจำนวน 55 แห่ง นับตั้งแต่ปี 2557 เพื่อแสดงเจตนารมณ์ร่วมกันในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติ ว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริตและมาตรการป้องกันและปราบปรามการทุจริต โดยสนับสนุนและดำเนินการให้รัฐวิสาหกิจ มีการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงาน (Integrity & Transparency Assessment : ITA) ซึ่งเป็นเครื่องมือในการพัฒนาหน่วยงานภาครัฐให้เป็นไปตามหลักธรรมาภิบาล โดยธนาคารออมสินได้เข้าร่วมประเมินผลตั้งแต่ปี 2557 ถึงปัจจุบัน โดยในปี 2560 ที่ผ่านมา ธนาคารออมสินมีคะแนน ITA อยู่ที่ 95.79 จาก 87.24 เมื่อปี 2557 เป็นอันดับที่ 3 จากรัฐวิสาหกิจ 54 แห่ง และเป็นอันดับที่ 6 จากหน่วยงานทั่วประเทศ 442 แห่ง

       “ความร่วมมือกันในครั้งนี้ จะเป็นนิมิตหมายที่ดีในการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ เพื่อยกระดับการปฏิบัติงานด้านการสร้างความโปร่งใสในการดำเนินงาน และมีการกำกับดูแลการปฏิบัติงานด้านการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินฯ ที่ได้มาตรฐาน ซึ่งจะเป็นส่วนหนึ่งที่ส่งผลให้ภาพลักษณ์ของประเทศไทยมีความน่าเชื่อถือในสายตาของนานาชาติ” ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน กล่าว

      ด้านนายวิทัย รัตนากร กรรมการและรักษาการผู้จัดการธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย หรือ ไอแบงก์ กล่าวว่า ไอแบงก์ ตระหนักดีว่า ธนาคารออมสิน เป็นสถาบันการเงินของรัฐขนาดใหญ่ เป็นผู้นำด้านการกำกับการปฏิบัติงานที่ดี ซึ่งถือว่าเป็นเกียรติอย่างยิ่ง ในวันนี้ที่ได้มีการจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับธนาคารออมสิน โดยเป็นการให้ความช่วยเหลือทางด้านการพัฒนาการดำเนินงานในด้านการกำกับการปฏิบัติงาน ในเรื่องการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินและการต่อต้านการสนับสนุนทางการเงินแก่การก่อการร้าย (AML/CFT) และการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (ITA)

      ทั้งนี้ การดำเนินการทั้ง 3 ด้าน ได้แก่ การกำกับการปฏิบัติงาน การป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน และการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ล้วนแต่เป็นมาตรฐานการปฏิบัติงานที่สถาบันการเงินพึงต้องมีการพัฒนาและยกระดับอย่างสม่ำเสมอเพื่อให้เท่าทันต่อสภาพแวดล้อมในอุตสาหกรรมการเงินที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา รวมถึงให้เป็นไปตามมาตรฐานการปฎิบัติในระดับนานาชาติอันเป็นการสร้างความมั่นใจต่อประชาชนผู้ใช้บริการ รวมตลอดถึงหน่วยงานทางการว่าไอแบงก์เป็นสถาบันการเงินที่ให้ความสำคัญต่อความโปร่งใส ภายใต้นโยบายที่คำนึงถึงความรับผิดชอบสูงสุดต่อทุกภาคส่วน

      “ความร่วมมือในครั้งนี้ ระหว่าง ธนาคารออมสินและไอแบงก์ เป็นการบูรณาการการทำงานระหว่างสถาบันการเงินภาครัฐ เพื่อยกระดับการทำงานให้มีประสิทธิภาพและความโปร่งใสสูงสุดต่อการให้บริการแก่พี่น้องประชาชน ตามนโยบายของกระทรวงการคลัง” นายวิทัย กล่าวทิ้งท้าย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!