- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 11 January 2018 16:18
- Hits: 2149
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
การปรับฐานของดัชนีหุ้นไทยยังมีอยู่ และน่าจะต่ำกว่า 1800 จุด ไปอีกระยะ โดยยังเห็นแรงขายหุ้นใหญ่ราคาเกิน/ใกล้เคียงมูลค่าหุ้นปี 2อ61 (AOT, BJC, TOP, BBL, KBANK, IRPC) กลยุทธ์ฯ ขายหุ้นแพง สลับมายังหุ้น Laggards/ปันผลสูง/โภคภัณฑ์ (STEC, CK, UNIQ, INTUCH, BANPU, PTTEP, SCC, SCB, CPF, TMT, TCAP) หรือหุ้นน้ำมันที่ปรับตัวขึ้นตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ทำ new high รอบ 3 ปี Top picks PTTEP(FV@B118) และ TASCO([email protected]) P/E ต่ำ 10.8 เท่า กำไรงวด 4Q60 โดดเด่นและต่อเนื่องปี 2561
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย หุ้นใหญ่ปรับฐาน ขณะที่กลุ่มค้าปลีกยังถูกขาย
วานนี้ดัชนีแกว่งผันผวนตลอดวัน ก่อนจะปิดตลาดที่ 1794.92 จุด ลดลงเล็กน้อย 0.29 จุด หรือเพียง 0.02% มูลค่าการซื้อขาย 8.95 หมื่นล้านบาท ดัชนีโดนแรงกดดันจากการปรับฐานของหุ้นขนาดใหญ่อย่าง AOT ลดลงต่อเนื่องอีก 2.73% หลังจากปรับตัวขึ้นทำ New High เมื่อต้นสัปดาห์ และ DELTA ลดลง 2.9% ตามด้วยหุ้นกลุ่มค้าปลีกทั้ง HMPRO ปรับตัวลง 2.86% และ BJC ลดลงอีก 1.26% อีกกลุ่มที่ปรับลดลงคือหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ นำโดย KBANK ลดลง 0.9%, KTB ลดลง 1.0%, BBL และ TMB ลดลง 1.00% และ 0.66% ตามลำดับ สวนทางกับ TCAP ปรับตัวขึ้นโดดเด่นกว่า 2.64% ฝ่ายวิจัยแนะนำเป็นหนึ่งในหุ้นปันผลโดดเด่นที่คาดหวังกับ YieId ได้กว่า 4% ต่อปี ฝ่ายวิจัยคาดว่ากำไร 4Q60 เท่ากับ 1.91 พันล้านบาท เติบ 6.9% qoq และ 12.9% yoy หนุนจากรายได้ค่าธรรมเนียม ธุรกิจ bancassurance และการขายกองทุนรวม นอกจากนี้ยังคาดว่าบันทึกกำไรจากการขายเงินลงทุนใน MBK ราว 300-400 ล้านบาท
ส่วนกลุ่มที่ปรับขึ้นได้สวนทางตลาดฯ คือ กลุ่ม ICT โดยผู้ให้บริการเครือข่ายมือถืออย่าง DTAC และ TRUE ปรับตัวขึ้นแรงกว่า 3.09% และ 4.72% ตามลำดับ ตามด้วยกลุ่มพลังงาน โดยเฉพาะหุ้นถ่านหินอย่าง BANPU ยังคงปรับขึ้นต่อเนื่องอีก 0.93% และหุ้นโรงไฟฟ้า BGRIM, CKP, GULF, DEMCO และ GPSC ปรับขึ้น 3.28%, 2.82%, 2.57%, 1.65% และ 1.40% ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนียังแกว่งพักตัว โดยระหว่างวันหากดัชนีปรับขึ้น ต้องระวังแรงขายที่อาจเกิดขึ้นในช่วงท้ายตลาดฯ ประเมินแนวรับที่ 1784 จุด และแนวต้านที่ 1800 จุด
ราคาน้ำมันดิบยังเดินหน้าทำ New High ในรอบ 3 ปี บวกต่อ PTTEP
ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง และแตะระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี โดยวานนี้สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ยังปรับตัวขึ้นอีก 0.97% มาอยู่ที่ 63.57 เหรียญ/บาร์เรล ได้รับปัจจัยหนุนดังนี้
ทางสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุดลดลงมากกว่าคาด โดยปรับตัวลดลง 4.95 ล้านบาร์เรล (ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 8) ขณะที่ตลาดฯคาดว่าจะลดลง 3.89 ล้านบาร์เรล
พายุฤดูหนาวที่รุนแรงเป็นประวัติการณ์ อย่าง "บอมบ์ ไซโคลน" ได้เคลื่อนตัวเข้ามาในประเทศสหรัฐฯ ส่งผลให้โรงกลั่นหลายแห่งต้องปิดดำเนินการชั่วคราว กดดันให้ปริมาณการผลิตน้ำมันสหรัฐฯในสัปดาห์ล่าสุดลดลงกว่า 2.96% มาอยู่ที่ 9.492 ล้านบาร์เรล/วัน นอกจากนี้ความหนาวเย็นที่ผิดปกติยังสร้างความกังวลต่อการขาดแคลนน้ำมันเพื่อทาความร้อนในสหรัฐฯ
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศอิหร่านที่ยังยืดเยื้อ (แหล่งผลิตน้ำมันอันดับที่ 3 ของ OPEC ผลิตน้ำมันราว 3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับกลุ่ม OPEC วันละ 32.47 ล้านบาร์เรลต่อวัน) เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยหนุนราคาน้ำมันดิบ
หากพิจารณาจากราคาน้ำมันดิบดูไบล่าสุดยังยืนเหนือ 66 เหรียญฯต่อบาร์เรล นับว่าสูงกว่าสมมติฐานที่นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ประเมินไว้ที่ 60 เหรียญฯ ในปี 2561 (ให้ราคาน้ำมันดิบคงที่ 65 เหรียญฯ ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป) หากราคาน้ำมันดิบดูไบที่สูงกว่าสมมติฐานทุก 5 เหรียญฯ คือ 65 เหรียญฯ และ 70 เหรียญฯ คาดว่าจะช่วยเพิ่ม Fair VaIue ปี 2561 ให้ PTTEP(FV@ B 118) ขึ้นเป็น 126.81 บาท และ 135.45 บาท ตามลำดับ จึงเป็นโอกาสในการลงทุนในหุ้นดังกล่าว และยังชื่นชอบหุ้น BANPU(FV@B26) ได้ประโยชน์จากราคาถ่านหินที่ยังคงยืนเหนือ 100 เหรียญฯ มาที่ 106 เหรียญฯ แม้จะปรับตัวขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ยังมี Upside เหลือกว่า 19.8%
การขึ้นค่าแรงงานยังไม่มีข้อสรุป แต่เชื่อว่ากระทบจำกัด...ยังชอบ CPF
กระทรวงแรงงานได้เลื่อนการพิจารณาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ ซึ่งเป็นการหารือร่วมกันระหว่างนายจ้าง ลูกจ้างและรัฐบาล จากวันที่ 15 ม.ค. ไปเป็น 17 ม.ค.เพื่อทำการสำรวจข้อมูล ค่าจ้างแรงงานในแต่ละจังหวัดให้สอดคล้องกับกับความเป็นจริง อย่างรอบคอบ ก่อนประกาศ เพื่อไม่ให้ผลกระทบต่อผู้ประกอบการมากเกินไป
ทั้งนี้ ค่าแรงที่จะมีการปรับขึ้นค่าแรงราว 2 - 15 บาท หรือปรับขึ้น 1-5 % จากค่าแรงปัจจุบันที่ 300 บาท (ตั้งแต่ปี 2557) ซึ่งหากคณะกรรมการทั้ง 3 ฝ่ายเห็นชอบ ก็จะนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป และคาดว่าจะสามารถอนุมัติได้ภายในเดือน ม.ค.นี้
ดังที่ได้นำเสนอแล้วว่า การปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำน่าจะกระทบต่อกลุ่มเกษตร-อาหาร และกลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ โดยกำหนดให้มีการขึ้นค่าแรงในอัตรา 15 บาทต่อวัน จะกระทบต่อกำไรในปี 2561 ดังนี้
กลุ่มเกษตรและ อาหาร กระทบ STA 7.5% รองลงมาคือ TU 3.3% BR 2.9% CPF 2.7%, TFG1.9%, GFPT 1.6% KSL และ 1.3%
กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ กระทบกำไรสุทธิมากสุดคือ SVI 3.7% ตามมาด้วย HANA 0.9% DELTA 0.8% KCE 0.4%
แต่อย่างก็ตาม ฝ่ายวิจัยยังคงประมาณการเดิมของทั้งสองกลุ่มไว้ก่อน เพื่อรอดูข้อสรุปที่ชัดเจนอีกครั้ง และคาดว่าราคาหุ้นได้สะท้อนปัจจัยดังกล่าวไปเรียบร้อยแล้ว และหากพิจารณารายหุ้นยังเลือก CPF เป็น Top pick ในกลุ่มส่งออก เนื่องจากปี 2561 จะเป็นปีที่กำไรเติบโตอย่างก้าวกระโดด จากฐานที่ต่ำมากในปี 2560 เพราะผลกระทบจากราคาหมูตกต่ำในเวียดนาม กระทบบริษัทย่อยของ CPF
ต่างชาติสลับมาขายหุ้นในภูมิภาค และยังขายไทยต่อเนื่อง
วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคครั้งแรกหลังจากที่ซื้อสุทธิติดต่อกันมา 9 วันทำการ โดยยอดขายสุทธิมูลค่ารวมกว่า 493 ล้านเหรียญฯ และแรงขายส่วนใหญ่กระจุกตัวอยู่ในตลาดหุ้นแถบเอเชียตะวันออก นำโดย เกาหลีใต้ถูกต่างชาติสลับมาขายสุทธิมูลค่า 252 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิต่อเนื่อง 8 วัน) ตามด้วยไต้หวันขายสุทธิอีก 126 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ยังมีแรงซื้อเข้ามาในตลาดหุ้นอินโดนีเซียอีก 7.5 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8) ตามด้วยฟิลิปปินส์ 12 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ต่างชาติยังขายสุทธิกว่า 135 ล้านเหรียญ หรือ 4.4 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5 มูลค่าขายสุทธิรวม 1.12 หมื่นล้านบาท)
และเช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิอีกเล็กน้อย มูลค่าราว 28 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2 หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกันนานถึง 23 วันทำการ มูลค่าซื้อสุทธิรวม 3.83 หมื่นล้านบาท)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.88 หมื่นล้านบาท ส่วนนักลงทุนต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิ 3.03 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 6 วัน มูลค่ารวม 6 หมื่นล้านบาท)ตลาดหุ้นโลกปรับฐาน หุ้นไทยน่าจะอยู่ต่ำกว่า 1,800 จุด
หลังจากตลาดหุ้นโลกต่างทำ new high ในปี 2560 เช่น ตลาดหุ้นสหรัฐ (และยังทำ new high ต่อเนื่องจนถึงปีนี้) อังกฤษ, ญี่ปุ่น, ฮ่องกงขณะที่มีบางตลาดเพิ่งมาทำ new high ในปีนี้ เช่น ตลาดหุ้นไทย, ไต้หวัน, สิงคโปร์, มาเลเซีย ยกเว้น จีน 2 ปีที่ผ่านมาให้ผลตอบแทนติดลบ 5.7%) เช่นเดียวกับตลาดยุโรปที่กำลังขึ้นทำ new high ในปีนี้ตามตลาดหุ้นอังกฤษ คือ ฝรั่งเศส, เยอรมัน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ด้วยความร้อนแรงของบางตลาดที่ปรับขึ้นมาตลอด 2 ปีที่ผ่านมา (และหลายตลาดก็มีการปรับขึ้นต่อเนื่องในปีนี้ เนื่องจากกระแส Fund FIow ไหลเข้า) ทำให้เริ่มที่จะเห็นการพักตัวและปรับฐาน เช่น ตลาดหุ้นเกาหลีใต้ เห็นสัญญาณของการอ่อนตัวนับตั้งแต่ต้นปีนี้ เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไต้หวัน และอินโดนีเซีย ก็เริ่มพักตัวเช่นกัน
ในส่วนของ SET Index หลังจากทำ AII-time-high โดยทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 1813.17 จุด เมื่อ 8 ม.ค. ที่ผ่านมา ก็เริ่มเห็นการปรับฐาน เพราะหากพิจารณาหุ้นรายตัวพบว่าได้ปรับตัวขึ้นเร็วและแรง จนทำให้เกินมูลค่าพื้นฐาน เช่น GPSC, EA, TICON, AMATA, TKN, ICHI, BJC, BCPG, CKP, TOP, LANNA เป็นต้น
และยังมีหุ้นที่เข้าข่ายราคาหุ้นเกินมูลค่าพื้นฐานแต่ยังไม่ได้ปรับฐาน จึงต้องระมัดระวัง และควรหลีกเลี่ยง อาทิ AOT รวมทั้ง TVO, ASAP, JAS, STA, HMPRO, TRUE, DELTA, ROBINS รวมถึงหุ้นเดินเรือที่ฟื้นตัวตามดัชนี BDI แต่ผลประกอบการยังฟื้นตัวไม่ทัน คือ RCL, PSL เป็นต้น
เช่นเดียวกับหุ้นอีกกลุ่มที่ราคาหุ้นเข้าใกล้มูลค่าหุ้นปี 2561 ทำให้มี upside จำกัด จึงควรชะลอการเข้าซื้อได้แก่ IRPC, IVL, PTTGC รวมถึงหุ้นธนาคารพาณิชย์ BAY, BBL, KBANK, KTB, TISCO เป็นต้น
ในสถานการณ์นี้จึงทำให้คาดว่าโอกาสที่ดัชนีจะมีการปรับฐาน หรือแกว่งตัวออกด้านข้างยังมีโอกาสเกิดขึ้น ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมเดิม ๆ ทั้งเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปตามเศรษฐกิจโลกและการเมืองที่คาดหวังว่าจะมีการเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้ และสุดท้ายคือเรื่องราคาน้ำมันดิบที่น่าจะเป็นปัจจัยเดียวที่จะขับเคลื่อนดัชนีได้หากราคาน้ำมันยังคงฟื้นตัวเหนือ 65 เหรียญฯ ดังนั้นจึงคาดว่าน่าจะเห็นดัชนีหมุนเวียนจากหุ้นที่แพงมายังหุ้น underperform หรือ Laggards แนะนำกลยุทธ์การลงทุนดังนี้
1.หุ้นก่อสร้าง STEC, CK, UNIQ ซึ่งคาดว่าปีนี้รัฐน่าจะเดินหน้าประมูลงานที่ค้างท่อ มา 2 ปี ทำให้งานประมูลปี 2561 น่าจะสูงกว่า 9 แสนล้านบาท
2.หุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ SCC, PTTEP, BANPU, TASCO
3.หุ้นปันผล ตามกระแส Dividend PIay: EGCO, RATCH, GLOW, INTUCH, TMT, TCAP เป็นต้น
นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4404