- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 10 January 2018 16:48
- Hits: 2559
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET แกว่งตัวต่ำกว่า 1800 จุด ตามที่แรงขายระยะสั้น หลัง SET ให้ผลตอบแทนบวกต่อเนื่องเป็นปีที่ 3 และแรงซื้อส่วนใหญ่มาจากนักลงทุนไทย และหุ้นใหญ่ราคาตลาดเกิน/ใกล้เคียงมูลค่าหุ้นปี 2561 (AOT, BJC, TOP, BBL, KBANK, IRPC) กลยุทธ์ฯ ขายหุ้นแพง สลับมายังหุ้น Laggards/ปันผลสูง/โภคภัณฑ์ (STEC, CK, UNIQ, INTUCH, BANPU, PTTEP, SCC, SCB, CPF, TMT, TCAP) Top picks TCAP(FV@B65) P/E ต่ำ 9 เท่า เงินปันผล 4.4%, PTTEP(FV@B118) และ TASCO([email protected]) P/E ต่ำ 10.8 เท่า กำไรงวด 4Q60 โดดเด่นและต่อเนื่องปี 2561
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … กลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ หนุนตลาดปิดบวก
วานนี้ดัชนีแกว่งตัวในกรอบแคบก่อนจะปิดที่ 1795.21 จุด ลดลง 2.40 จุด หรือ 0.13% มูลค่าการซื้อขาย 7.54 หมื่นล้านบาท แรงหนุนมาจากหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมี นำโดย IVL เพิ่มขึ้น 2.23% และ PTTGC เพิ่มขึ้น 4.20% เช่นเดียวกับกลุ่มพลังงาน PTTEP เพิ่มขึ้น 1.40% ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบโลกที่ขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับ BANPU ปรับเพิ่มขึ้นแรงกว่า 4.88% ตามราคาถ่านหินที่ทรงตัวระดับเหนือระดับ 100 เหรียญฯต่อตัน อีกกลุ่มที่ปรับตัวขึ้นโดดเด่นคือ อสังหาฯ นำโดย ANAN เพิ่มขึ้น 2.73%, SIRI และ LH เพิ่มขึ้น 0.91% และ 0.94%
ตรงกันข้ามกับหุ้นกลุ่มค้าปลีกที่ยังเผชิญกับแรงขายอย่างต่อเนื่อง นำโดย BJC ลดลงอีก 2.46% เช่นเดียวกับ ROBINS, COM7, BEAUTY ลดลง 1.01%, 0.65% และ 1.52% ส่วน HMPRO ปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางกลุ่มฯ กว่า 5.26% ขณะที่หุ้นขนาดใหญ่กลุ่ม ธ.พ. ทั้ง SCB, KBANK และ BAY ลดลง 0.33%, 2.49% และ 2.13% ตามลำดับ ส่วนหุ้นขนาดเล็กในกลุ่มฯ อย่าง TCAP ลดลง 0.44% ทำให้กลับมามี upside กว่า 14.54% พร้อมกับปันผลเด่นกว่า 4% ต่อปี
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสแกว่งตัวในกรอบ 1784 – 1800 จุด ในลักษณะของการพักตัวเพื่อรอเลือกทาง
World Bank เพิ่ม GDP Growth โลก vs รัฐยังเดินหน้ากระตุ้นการบริโภคในประเทศ
ธนาคารโลก (World Bank) ปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP Growth โลกในปี 2561-2562 กล่าวคือ ปรับเพิ่ม 0.2%และ 0.1% เป็น 3.1%yoy และ 3%yoy หลักๆมากจากฝั่งประเทศพัฒนาแล้วทุกประเทศ นำโดย ยุโรปปรับเพิ่ม 0.6% และ 0.2% เป็น 2.1%yoy และ 1.7%yoy สหรัฐปรับเพิ่มปีละ 0.3% เป็น 2.5%yoy และ 2.2%yoy และญี่ปุ่น ปรับเพิ่ม 0.3% และ 0.2% เป็น 1.3%yoy และ 0.8%yoy ขณะที่ประเทศในฝั่งเอเซีย หลักๆ ปรับเพิ่ม จีนปรับเพิ่ม 0.1% เป็น 6.4%yoy แต่ยังคงปี 2562 ที่ 6.3% และ ไทยปรับเพิ่ม 0.3% และ 0.1% เป็น 3.6%yoy และ 3.5%yoy(ยังต่ำกว่า Conesensus ที่ตลาดคาด) และ การปรับเพิ่มคาดการณ์ World bank แม้จะปรับขึ้น แต่อัตราการเติบโตถือว่ายังต่ำกว่าที่ IMF คาด ปี 2561 จะขยายตัว 3.7%yoy แต่ถือว่าเป็น Sentiment บวกต่อตลาดหุ้นโลก
ขณะที่ในประเทศ รัฐยังเดินหน้าออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการบริโภคอย่างต่อเนื่อง ล่าสุด วานนี้ ออกมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 หลักๆ เน้นไปที่ขยายวงเงินบัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อยที่ลงทะเบียนราว 4.7 ล้านคนทั้งประเทศ วงเงิน 1.4 หมื่นล้านบาท คือ ผู้ที่มีรายได้ไม่เกิน 3 หมื่นบาทต่อปี เดิมได้วงเงินเดือนละ 300 บาท จะได้เพิ่มอีก 200 บาทรวมเป็น 500 บาท/เดือน และผู้ที่มีรายได้ 3 หมื่นบาท - 1 แสนบาทต่อปี เดิมได้วงเงินเดือนละ 200 บาท จะได้เพิ่มอีก 100 บาทรวมเป็น 300 บาท/เดือน ระยะเวลาโครงการทั้งหมดสิ้นสุด ธ.ค. 2561 และยังมีมาตรการอื่นๆ อาทิ สินเชื่อผู้มีบัตรสวัสดิการ สินเชื่อพัฒนาอาชีพ โครงการลดภาระหนี้ทั้งในระบบและนอกระบบ ผ่านธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) วงเงิน 1.2 หมื่นล้านบาท และประเด็นการเตรียมปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 2-15 บาท (จากค่าแรงปัจจุบัน 300 บาทตั้งแต่ปี 2557) จะเริ่มหารือระหว่างรัฐและเอกชน ในวันนี้
โดยรวมการออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคของรัฐ คาดว่าน่าจะชดเชยราคาสินค้าเกษตรที่ปรับตัวลดลง ซึ่งถือเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีกตัวหนึ่ง ควบคู่กับกระตุ้นการลงทุนผ่าน EEC และการลงทุนภาครัฐจากงานประมูลโครงการขนาดใหญ่ราว 9.2 แสนล้านบาทแล้ว ทั้งนี้ ASPS ยังคงประมาณการเศรษฐกิจไทยที่ 4.2%yoy ในปี 2561
ตราบที่ราคาน้ำมันดิบเดินหน้าเหนือสมมติฐาน สะสม PTTEP/BANPU
ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงเดินหน้าต่อเนื่อง โดยเฉพาะดูไบยังคงเดินหน้าขึ้นต่อเนื่อง เช้านี้อยู่ที่ 66.5 เหรียญฯต่อบาร์เรล นับว่าสูงกว่าสมมติฐานที่นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ประเมินไว้ที่ 60 เหรียญฯ ในปี 2561 เทียบกับราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปี 2560 ที่ 53 เหรียญฯ (โดยให้ราคาน้ำมันดิบคงที่ที่ 65 เหรียญฯ ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป) อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบดูไบที่สูงกว่าสมมติฐานทุก 5 เหรียญฯ คือเป็น 65 เหรียญฯ และ 70 เหรียญฯ คาดว่าจะช่วยเพิ่ม Fair Value ปี 2561 จากปัจจุบันที่ 118 บาท เป็น 126.81 บาท และ 135.45 บาท หรือเพิ่มขึ้นจากกรณีฐาน 7.47% และ 14.8% ตามลำดับ ณ ราคาตลาดวานนี้ถือว่าหุ้น PTTEP ยังมี upside 10.3%
ขณะที่การปรับเพิ่ม GDP Growth โลก ของ World Bank แม้จะอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า IMF (ประเมินไว้ 3.6% ในปี 2560 เป็น 3.7% ในปี 2561) แต่ก็มีแนวโน้มที่ดีขึ้น ซึ่งเป็นการหนุนให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกยังคงฟื้นตัวเฉลี่ย 1.5%YoY (เพิ่มราว 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน) มาที่ 99.1 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2561 เทียบกับการผลิตที่มีอยู่ และทำให้ปัญหา oversupply ยังมีอยู่ก็ตาม แต่คาดว่า Oversupply น่าจะค่อย ๆ ลดลงเร็วขึ้น จากปัญหาในแหล่งผลิตที่สำคัญ ๆ โดยเฉพาะล่าสุดปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศอิหร่านที่ยังยืดเยื้อ (แหล่งผลิตน้ำมันอันดับที่ 3 ของ OPEC ผลิตน้ำมันราว 3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับกลุ่ม OPEC วันละ 32.47 ล้านบาร์เรล)
หุ้นถ่านหินยังแนะนำ BANPU ถือว่ายัง laggard และน่าจะได้ประโยชน์จากราคาถ่านหินที่ยังคงยืนเหนือ 100 เหรียญฯ มาที่ 104 เหรียญฯ แม้ราคาหุ้น BANPU(FV@B26) ขยับขึ้นมาบ้าง แต่ยังมี upside มากกว่า 30% และเชื่อว่าราคานี้ได้สะท้อนความกังวลในกรณีที่ BANPU มีคดีความหงสา ที่ปัจจุบันอยู่ในชั้นศาลฎีกา ซึ่งเป็นศาลสุดท้าย คาดว่าน่าจะทราบผลเร็ว ๆ นี้
ต่างชาติยังขายหุ้นไทย vs สถาบันฯไทย สลับมาขายครั้งแรกในรอบ 23 วันทำการ
วานนี้แรงซื้อหุ้นจากต่างชาติเริ่มเบาลง แต่ภาพรวมต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค 138 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 9) และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ เริ่มจากเกาหลีใต้ซื้อสุทธิ 76 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 43 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7), ฟิลิปปินส์ 28 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และไต้หวัน 2 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 9) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ต่างชาติยังขายสุทธิ 11 ล้านเหรียญ หรือ 364 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4 มีมูลค่าขายรวม 6.8 พันล้านบาท)
และ เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิเป็นครั้งแรกราว 826 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกันนานถึง 23 วันทำการ โดยมีมูลค่าซื้อสุทธิรวม 3.83 หมื่นล้านบาท)
ทั้งนี้ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.23 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 1.33 หมื่นล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6 มีมูลค่ารวม 5.99 หมื่นล้านบาท)
ตลาดหุ้นจีน/มาเลเซีย จะทดสอบ high เดิม vs SET ยังแนวโน้มแกว่งตัว
หลังจากตลาดหุ้นโลกต่างทำ new high ในปี 2560 เช่นสหรัฐที่ทำ new high ต่อเนื่อง ขณะที่มีบางตลาดเพิ่งมาทำ new high ในปีนี้ คือตลาดหุ้นไทย และยังมีบางตลาดที่กำลังจะทดสอบ high เดิม คือ ตลาดหุ้นมาเลเซีย และตลาดหุ้นจีน หลังจากทั้ง 2 ตลาดให้ผลตอบแทนน้อยรวมกันมากใน 2 ปีที่ผ่านมาคือ เพียง 6.45% และ -5.7% ตามลำดับ (เช่นเดียวกับตลาดยุโรปบางแห่งที่มาเร่งตัวในช่วงปี 2561 เช่น ฝรั่งเศส, เยอรมัน) และให้ผลตอบแทนเหนือตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน
ขณะที่ SET Index หลังจากทำ All-time-high โดยทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 1813.17 จุด เมื่อ 8 ม.ค. ที่ผ่านมา ก็เริ่มเห็นการปรับฐาน เพราะหากพิจารณาหุ้นรายตัวพบว่าได้ปรับตัวขึ้นเร็วและแรง จนทำให้เกินมูลค่าพื้นฐาน เช่น GPSC, EA, TICON, AMATA, TKN, ICHI, BJC, BCPG, CKP, TOP, LANNA เป็นต้น
และยังมีหุ้นที่เข้าข่ายราคาหุ้นเกินมูลค่าพื้นฐานแต่ยังไม่ได้ปรับฐาน จึงต้องระมัดระวัง และควรหลีกเลี่ยง อาทิ AOT รวมทั้ง TVO, ASAP, JAS, STA, HMPRO, TRUE, DELTA, ROBINS รวมถึงหุ้นเดินเรือที่ฟื้นตัวตามดัชนี BDI แต่ผลประกอบการยังฟื้นตัวไม่ทัน คือ RCL, PSL เป็นต้น
เช่นเดียวกับหุ้น หุ้นอีกกลุ่มหนึ่งที่ราคาหุ้นเข้าใกล้มูลค่าหุ้นปี 2561 ทำให้มี upside จำกัด จึงควรชะลอการเข้าซื้อได้แก่ IRPC, IVL, PTTGC รวมถึงหุ้นธนาคารพาณิชย์ BAY, BBL, KBANK, KTB, TISCO เป็นต้น
ในสถานการณ์นี้จึงทำให้คาดว่าโอกาสที่ดัชนีจะมีการปรับฐาน หรือแกว่งตัวออกด้านข้างยังมีโอกาสเกิดขึ้น ภายใต้ปัจจัยแวดล้อมเดิม ๆ ทั้งเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวแบบค่อยเป็นค่อยไปตามเศรษฐกิจโลกและการเมืองที่คาดหวังว่าจะมีการเลือกตั้งในช่วงปลายปีนี้ และสุดท้ายคือเรื่องราคาน้ำมันดิบที่น่าจะเป็นปัจจัยเดียวที่จะขับเคลื่อนดัชนีได้หากราคาน้ำมันยังคงฟื้นตัวเหนือ 65 เหรียญฯ ดังกล่าวข้างต้น ดังนั้นจึงคาดว่าน่าจะเห็นดัชนีหมุนเวียนจากหุ้นที่แพงมายังหุ้น underperform หรือ Laggards จึงแนะนำกลยุทธ์การลงทุนดังนี้
1. หุ้นก่อสร้าง STEC, CK, UNIQ ซึ่งคาดว่าปีนี้รัฐน่าจะเดินหน้าประมูลงานที่ค้างท่อ มา 2 ปี ทำให้งานประมูลปี 2561 น่าจะสูงกว่า 9 แสนล้านบาท
2. หุ้นสินค้าโภคภัณฑ์ SCC, PTTEP, BANPU, TASCO
3. หุ้นปันผล EGCO, RATCH, GLOW, INTUCH, TMT, TCAP เป็นต้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4347