- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 09 January 2018 16:54
- Hits: 1283
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ปรับฐานเมื่อแตะ 1813 จุด โดยเริ่มเห็นแรงขายหุ้นที่ขึ้นแรง และ P/E สูง สะท้อนความคาดหวังเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทย แต่ความเสี่ยงจากแรงขายของสถาบันฯ หลังซื้อสุทธิกว่า 3.83 หมื่น ลบ. นับจาก ธ.ค. ยังมีอยู่ กลยุทธ์ให้ถือหุ้น 50% และขายเป็นรายหุ้นที่แพง (P/E สูง, upside จำกัด: BJC, ROBINS, CENTEL, TOP, LANNA) และสะสมหุ้น Laggards/ปันผลสูง (BANPU, INTUCH, PTTEP, SCC, SCB, CPF) Top picks เลือก SCC(FV@B620) และ CPF([email protected]) กระทบ GSP น้อยมาก ส่วนการขึ้นค่าแรงจะกระทบ 2.7% แต่ชดเชยด้วยธุรกิจหมูที่ฟื้นตัว
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … แรงขายท้ายตลาดกดดัน SET Index ปิดลบ
วานนี้ SET Index เปิดตลาดฯ ด้วยความสดใส สามารถยืนเหนือ 1,800 จุดได้เกือบตลอดวัน แต่ช่วงท้ายตลาดฯ มีแรงขายกดดันให้ดัชนีหลุดลงมาปิดที่ 1792.81 จุด ลดลง 2.64 จุด หรือ 0.15% มูลค่าการซื้อขาย 7.83 หมื่นล้านบาท หุ้นขนาดใหญ่ที่เคยนำตลาดฯ วานนี้ถูกเทขาย นำโดย BJC ลดลงถึง 4.70% ทำให้ตั้งแต่ต้นปีราคาหุ้นปรับลดลงไปแล้วกว่า 7.6% เช่นเดียวกับหุ้นในกลุ่มค้าปลีกอื่นๆ ที่ถูกกระหน่ำขายเช่นกัน คือ CPALL ลดลง 1.61% ROBINS ลดลง 1.33% COM7 ลดลง 1.27% และ BEAUTY ลดลง 2.00% ตามด้วยกลุ่มปิโตรเคมี IVL ลดลง 3.03% และ PTTGC ลดลง 1.1% กลุ่มพลังงานก็หนักไม่แพ้กัน PTT และ PTTEP ลดลง 0.43% และ 1.40% ตามลำดับ
ส่วนหุ้นที่สามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางตลาดได้คือ หุ้นกลุ่ม ธ.พ. อย่าง SCB, KBANK และ BAY เพิ่มขึ้น 1.35%,0.41% และ 2.73% ตามด้วยหุ้นขนาดใหญ่ อย่าง SCC และ AOT เพิ่มขึ้นอีก 0.41% และ 3.13% ตามลำดับ
แม้หุ้นในหลายอุตสาหกรรมจะปรับตัวลดลง แต่หุ้นปันผลเด่นกลับได้รับความสนใจมากขึ้นสะท้อนจาก SETHD ปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 34.72 จุด หรือ 2.74% ตั้งแต่ต้นปี ฝ่ายวิจัยยังชอบหุ้นขนาดใหญ่ที่ราคายัง Laggard ตลาดฯ อย่าง SCC ปันผลยังโดดเด่นเกือบ 3.8% ต่อปี
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ SET Index น่าจะยังอยู่ในช่วงของการแกว่งผันผวนเชิงลบ ภายใต้กรอบ 1800 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1784 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
SET ปรับฐานเมื่อแตะ 1813 จุด โดยเริ่มเห็นแรงขายหุ้นที่ขึ้นแรง และ P/E สูง สะท้อนความคาดหวังเชิงบวกต่อเศรษฐกิจไทย แต่ความเสี่ยงจากแรงขายของสถาบันฯ หลังซื้อสุทธิกว่า 3.83 หมื่น ลบ. นับจาก ธ.ค. ยังมีอยู่ กลยุทธ์ให้ถือหุ้น 50% และขายเป็นรายหุ้นที่แพง (P/E สูง, upside จำกัด: BJC, ROBINS, CENTEL, TOP, LANNA) และสะสมหุ้น Laggards/ปันผลสูง (BANPU, INTUCH, PTTEP, SCC, SCB, CPF) Top picks เลือก SCC(FV@B620) และ CPF([email protected]) กระทบ GSP น้อยมาก ส่วนการขึ้นค่าแรงจะกระทบ 2.7% แต่ชดเชยด้วยธุรกิจหมูที่ฟื้นตัว
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … แรงขายท้ายตลาดกดดัน SET Index ปิดลบ
วานนี้ SET Index เปิดตลาดฯ ด้วยความสดใส สามารถยืนเหนือ 1,800 จุดได้เกือบตลอดวัน แต่ช่วงท้ายตลาดฯ มีแรงขายกดดันให้ดัชนีหลุดลงมาปิดที่ 1792.81 จุด ลดลง 2.64 จุด หรือ 0.15% มูลค่าการซื้อขาย 7.83 หมื่นล้านบาท หุ้นขนาดใหญ่ที่เคยนำตลาดฯ วานนี้ถูกเทขาย นำโดย BJC ลดลงถึง 4.70% ทำให้ตั้งแต่ต้นปีราคาหุ้นปรับลดลงไปแล้วกว่า 7.6% เช่นเดียวกับหุ้นในกลุ่มค้าปลีกอื่นๆ ที่ถูกกระหน่ำขายเช่นกัน คือ CPALL ลดลง 1.61% ROBINS ลดลง 1.33% COM7 ลดลง 1.27% และ BEAUTY ลดลง 2.00% ตามด้วยกลุ่มปิโตรเคมี IVL ลดลง 3.03% และ PTTGC ลดลง 1.1% กลุ่มพลังงานก็หนักไม่แพ้กัน PTT และ PTTEP ลดลง 0.43% และ 1.40% ตามลำดับ
ส่วนหุ้นที่สามารถปรับตัวเพิ่มขึ้นสวนทางตลาดได้คือ หุ้นกลุ่ม ธ.พ. อย่าง SCB, KBANK และ BAY เพิ่มขึ้น 1.35%,0.41% และ 2.73% ตามด้วยหุ้นขนาดใหญ่ อย่าง SCC และ AOT เพิ่มขึ้นอีก 0.41% และ 3.13% ตามลำดับ
แม้หุ้นในหลายอุตสาหกรรมจะปรับตัวลดลง แต่หุ้นปันผลเด่นกลับได้รับความสนใจมากขึ้นสะท้อนจาก SETHD ปรับตัวขึ้นมาแล้วกว่า 34.72 จุด หรือ 2.74% ตั้งแต่ต้นปี ฝ่ายวิจัยยังชอบหุ้นขนาดใหญ่ที่ราคายัง Laggard ตลาดฯ อย่าง SCC ปันผลยังโดดเด่นเกือบ 3.8% ต่อปี
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ SET Index น่าจะยังอยู่ในช่วงของการแกว่งผันผวนเชิงลบ ภายใต้กรอบ 1800 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1784 จุด
การปรับเพิ่ม GDP Growth สะท้อนตลาดเชิงบวกพอสมควร
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2561 ที่ดีขึ้น ผ่านการขับเคลื่อนของเครื่องจักรทุกตัว โดยเฉพาะการลงทุนเอกชน ซึ่งน่าจะได้แรงหนุน EEC ควบคู่ไปกับการลงทุนภาครัฐในปีนี้ที่คาดว่าจะมีงานประมูลโครงการขนาดใหญ่ราว 9.2 แสนล้านบาท ที่ค้างท่อมาหลายปี และปัญหาการประกาศใช้ พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างนับจากเดือน ส.ค. 2560 และการบริโภคภาคครัวเรือนที่ได้แรงหนุนจากมาตรการภาครัฐ อาทิ บัตรผู้มีรายได้น้อย 4.2 หมื่นล้านบาท สิ้นสุด ก.ย 2561 มาตรการนำค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวในประเทศมาลดภาษี 1.5 หมื่นบาท ตลอดทั้งปี 61 และการเตรียมปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 2-15 บาท(จากค่าแรงปัจจุบัน 300 บาทตั้งแต่ปี 2557) คาดจะอนุมัติภายใน 15 ม.ค. และวันนี้ คาด ครม. จะพิจารณามาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 คือ ให้สินเชื่อเพื่อสร้างอาชีพ ปลดหนี้นอกระบบ ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) วงเงิน 9.5 หมื่นล้านบาท
ทำให้เริ่มเห็นสำนักเศรษฐกิจหลายแห่งทยอยปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP Growth ปี 2561 อาทิ สำนักวิจัยเศรษฐกิจไทยพาณิชย์ (SCB) และธนาคารทหารไทย (TMB) คาดเฉลี่ยใกล้เคียง 4.2%yoy จากเดิมคาด 3.8% ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับ ASPS และ Consensus) นอกจากนี้บางแห่ง คือ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยคาดโอกาสไปแตะ 5%yoy โดยให้น้ำหนักต่อการลงทุนเอกชนมากกว่า
โดยรวมการทยอยปรับ GDP ถือเป็นมุมมองเชิงบวกและเป็นปัจจัยหนุนต่อตลาดหุ้นไทย แต่การที่ดัชนีได้ปรับขึ้นรวดเร็วจนปัจจุบันมี current P/E 18 เท่า นับว่าเป็นการปรับขึ้นที่ร้อนแรง จึงน่าเป็นช่วงของการปรับฐานระยะหนึ่งก่อนจะเดินหน้าต่อ
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2561 ที่ดีขึ้น ผ่านการขับเคลื่อนของเครื่องจักรทุกตัว โดยเฉพาะการลงทุนเอกชน ซึ่งน่าจะได้แรงหนุน EEC ควบคู่ไปกับการลงทุนภาครัฐในปีนี้ที่คาดว่าจะมีงานประมูลโครงการขนาดใหญ่ราว 9.2 แสนล้านบาท ที่ค้างท่อมาหลายปี และปัญหาการประกาศใช้ พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างนับจากเดือน ส.ค. 2560 และการบริโภคภาคครัวเรือนที่ได้แรงหนุนจากมาตรการภาครัฐ อาทิ บัตรผู้มีรายได้น้อย 4.2 หมื่นล้านบาท สิ้นสุด ก.ย 2561 มาตรการนำค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวในประเทศมาลดภาษี 1.5 หมื่นบาท ตลอดทั้งปี 61 และการเตรียมปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ 2-15 บาท(จากค่าแรงปัจจุบัน 300 บาทตั้งแต่ปี 2557) คาดจะอนุมัติภายใน 15 ม.ค. และวันนี้ คาด ครม. จะพิจารณามาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย เฟส 2 คือ ให้สินเชื่อเพื่อสร้างอาชีพ ปลดหนี้นอกระบบ ผ่านธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) วงเงิน 9.5 หมื่นล้านบาท
ทำให้เริ่มเห็นสำนักเศรษฐกิจหลายแห่งทยอยปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP Growth ปี 2561 อาทิ สำนักวิจัยเศรษฐกิจไทยพาณิชย์ (SCB) และธนาคารทหารไทย (TMB) คาดเฉลี่ยใกล้เคียง 4.2%yoy จากเดิมคาด 3.8% ซึ่งถือว่าใกล้เคียงกับ ASPS และ Consensus) นอกจากนี้บางแห่ง คือ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยคาดโอกาสไปแตะ 5%yoy โดยให้น้ำหนักต่อการลงทุนเอกชนมากกว่า
โดยรวมการทยอยปรับ GDP ถือเป็นมุมมองเชิงบวกและเป็นปัจจัยหนุนต่อตลาดหุ้นไทย แต่การที่ดัชนีได้ปรับขึ้นรวดเร็วจนปัจจุบันมี current P/E 18 เท่า นับว่าเป็นการปรับขึ้นที่ร้อนแรง จึงน่าเป็นช่วงของการปรับฐานระยะหนึ่งก่อนจะเดินหน้าต่อ
ราคาน้ำมันดิบยังแกว่งตัวขึ้นหนุนหุ้น Laggards : PTTEP, BANPU
แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่กระเตื้องขึ้นจาก 3.6% ในปี 2560 เป็น 3.7% ในปี 2561 แม้เป็นการฟื้นตัวของสหรัฐเป็นหลักในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว แต่ได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในฝั่งเอเชีย ซึ่ง GDP Growth มีแนวโน้มที่ดีขึ้นในปี 2561 เทียบกับปี 2560 ได้แก่ อินเดีย ฟิลิปปิน์ อินโดนีเซีย รวมถึงไทย แม้จีนจะชะลอตัวลงบ้างแต่ IMF ประเมินไว้ที่ 6.5% จาก 6.8% ในปี 2560 ซึ่งทำให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกยังคงฟื้นตัว 1.5%YoY หรือเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับการผลิตแล้วยังคงมีอยู่ในระดับสูง และทำให้ปัญหา oversupply ยังมีอยู่ก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามปัญหาในแหล่งผลิตที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ล่าสุด ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศอิหร่านยังคงมีอยู่ (แหล่งผลิตน้ำมันอันดับที่ 3 ของ OPEC ผลิตน้ำมันราว 3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับกลุ่ม OPEC วันละ 32.47 ล้านบาร์เรล) นอกจากนี้การแก้ปัญหาท่อน้ำมันรั่วในทะเลเหนือ (Forties วันละ 4.5 แสนบาร์เรล) ที่คาดว่าจะกลับมาดำเนินงานตามปกติกลางเดือน ม.ค. นี้ (ปิดซ่อมบำรุงเมื่อ 11 ธ.ค. 2560) และที่ลิเบีย เพิ่งเปิดให้บริการ ท่อส่งน้ำมันเชื่อมต่อกับท่าเรือ Es sider (7 หมื่น-1 แสนบาร์เรลต่อวัน) หลังเสร็จสิ้นการปิดซ่อมบำรุง จากที่ชำรุดในช่วงที่ผ่านมา
ด้วยปัจจัยดังกล่าว หนุนให้ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงเดินหน้าต่อเนื่อง โดยเฉพาะดูไบยังคงประคองตัวในระดับ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งถือว่าสูงกว่าสมมติฐานที่นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ประเมินไว้ที่ 60 เหรียญฯ ในปี 2561 เทียบกับราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปี 2560 ที่ 53 เหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้น 13% (ให้คงที่ที่ 65 เหรียญฯ ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป) อย่างไรก็ตามหากราคาน้ำมันดิบดูไบสูงกว่าสมมติฐานทุก 5 เหรียญฯ คือเป็น 65 เหรียญฯ และ 70 เหรียญฯ (และ คงที่ 70 เหรียญฯต่อบาร์เรลในระยะยาว หลังจากปี 2562 ในกรณีที่ 1 และเพิ่มขึ้นเป็น 75 เหรียญฯ ในกรณีที่ 2) คาดว่าจะเพิ่ม Fair Value ปี 2561 ของ PTTEP เพิ่มขึ้นจาก 118 บาท ในกรณีฐาน เป็น 126.81 บาท และ 135.45 บาท หรือเพิ่มขึ้นจากกรณีฐาน 7.47% และ 14.8% ตามลำดับ อย่างไรก็ตามพิจารณาราคาตลาดถือว่าหุ้น PTTEP ยังมี upside 11.8% เทียบกับ PTT ที่ปรับตัวขึ้นเร็วจนมี upside จำกัด กล่าวคือ
มูลค่าหุ้นปี 2561 อยู่ที่ 500 บาท หรือกรณีที่ราคาน้ำมันขยับขึ้นทุก 5 เหรียญฯ (65 เหรียญฯ และ 70 เหรียญฯ ในปี 2562) คาดว่าจะทำให้มูลค่าหุ้นขยับเป็น 507.7 บาท และ 515.03 บาท ซึ่งราคาตลาด PTT ทำให้มี upside น้อยลงเหลือเพียง 7% จึงเน้นให้ลงทุน PTTEP ซึ่งกำไรเปลี่ยนแปลงตามทิศทางน้ำมันมากกว่า
อีกหุ้น BANPU ซึ่งเป็นหุ้นถ่านหิน น่าจะได้ประโยชน์จากราคาถ่านหินที่ยังคงยืนเหนือ 100 เหรียญฯ มาที่ 104 เหรียญฯ แม้ราคาหุ้น BANPU(FV@B26) ขยับขึ้นมาบ้าง แต่ยังมี upside มากกว่า 30% และเชื่อว่าราคานี้ได้สะท้อนความกังวลในกรณีที่ BANPU มีคดีความหงสา ที่ปัจจุบันอยู่ในชั้นศาลฎีกา ซึ่งเป็นศาลสุดท้าย คาดว่าน่าจะทราบผลเร็ว ๆ นี้
แนวโน้มเศรษฐกิจโลกที่กระเตื้องขึ้นจาก 3.6% ในปี 2560 เป็น 3.7% ในปี 2561 แม้เป็นการฟื้นตัวของสหรัฐเป็นหลักในกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว แต่ได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในฝั่งเอเชีย ซึ่ง GDP Growth มีแนวโน้มที่ดีขึ้นในปี 2561 เทียบกับปี 2560 ได้แก่ อินเดีย ฟิลิปปิน์ อินโดนีเซีย รวมถึงไทย แม้จีนจะชะลอตัวลงบ้างแต่ IMF ประเมินไว้ที่ 6.5% จาก 6.8% ในปี 2560 ซึ่งทำให้ความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกยังคงฟื้นตัว 1.5%YoY หรือเพิ่มขึ้น 1.3 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับการผลิตแล้วยังคงมีอยู่ในระดับสูง และทำให้ปัญหา oversupply ยังมีอยู่ก็ตาม แต่อย่างไรก็ตามปัญหาในแหล่งผลิตที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ ล่าสุด ความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศอิหร่านยังคงมีอยู่ (แหล่งผลิตน้ำมันอันดับที่ 3 ของ OPEC ผลิตน้ำมันราว 3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับกลุ่ม OPEC วันละ 32.47 ล้านบาร์เรล) นอกจากนี้การแก้ปัญหาท่อน้ำมันรั่วในทะเลเหนือ (Forties วันละ 4.5 แสนบาร์เรล) ที่คาดว่าจะกลับมาดำเนินงานตามปกติกลางเดือน ม.ค. นี้ (ปิดซ่อมบำรุงเมื่อ 11 ธ.ค. 2560) และที่ลิเบีย เพิ่งเปิดให้บริการ ท่อส่งน้ำมันเชื่อมต่อกับท่าเรือ Es sider (7 หมื่น-1 แสนบาร์เรลต่อวัน) หลังเสร็จสิ้นการปิดซ่อมบำรุง จากที่ชำรุดในช่วงที่ผ่านมา
ด้วยปัจจัยดังกล่าว หนุนให้ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงเดินหน้าต่อเนื่อง โดยเฉพาะดูไบยังคงประคองตัวในระดับ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งถือว่าสูงกว่าสมมติฐานที่นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ประเมินไว้ที่ 60 เหรียญฯ ในปี 2561 เทียบกับราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปี 2560 ที่ 53 เหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้น 13% (ให้คงที่ที่ 65 เหรียญฯ ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป) อย่างไรก็ตามหากราคาน้ำมันดิบดูไบสูงกว่าสมมติฐานทุก 5 เหรียญฯ คือเป็น 65 เหรียญฯ และ 70 เหรียญฯ (และ คงที่ 70 เหรียญฯต่อบาร์เรลในระยะยาว หลังจากปี 2562 ในกรณีที่ 1 และเพิ่มขึ้นเป็น 75 เหรียญฯ ในกรณีที่ 2) คาดว่าจะเพิ่ม Fair Value ปี 2561 ของ PTTEP เพิ่มขึ้นจาก 118 บาท ในกรณีฐาน เป็น 126.81 บาท และ 135.45 บาท หรือเพิ่มขึ้นจากกรณีฐาน 7.47% และ 14.8% ตามลำดับ อย่างไรก็ตามพิจารณาราคาตลาดถือว่าหุ้น PTTEP ยังมี upside 11.8% เทียบกับ PTT ที่ปรับตัวขึ้นเร็วจนมี upside จำกัด กล่าวคือ
มูลค่าหุ้นปี 2561 อยู่ที่ 500 บาท หรือกรณีที่ราคาน้ำมันขยับขึ้นทุก 5 เหรียญฯ (65 เหรียญฯ และ 70 เหรียญฯ ในปี 2562) คาดว่าจะทำให้มูลค่าหุ้นขยับเป็น 507.7 บาท และ 515.03 บาท ซึ่งราคาตลาด PTT ทำให้มี upside น้อยลงเหลือเพียง 7% จึงเน้นให้ลงทุน PTTEP ซึ่งกำไรเปลี่ยนแปลงตามทิศทางน้ำมันมากกว่า
อีกหุ้น BANPU ซึ่งเป็นหุ้นถ่านหิน น่าจะได้ประโยชน์จากราคาถ่านหินที่ยังคงยืนเหนือ 100 เหรียญฯ มาที่ 104 เหรียญฯ แม้ราคาหุ้น BANPU(FV@B26) ขยับขึ้นมาบ้าง แต่ยังมี upside มากกว่า 30% และเชื่อว่าราคานี้ได้สะท้อนความกังวลในกรณีที่ BANPU มีคดีความหงสา ที่ปัจจุบันอยู่ในชั้นศาลฎีกา ซึ่งเป็นศาลสุดท้าย คาดว่าน่าจะทราบผลเร็ว ๆ นี้
ตั้งแต่ต้นปี ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวในภูมิภาค
วานนี้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคกว่า 594 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 8) และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ เริ่มจากเกาหลีใต้ซื้อสุทธิ 500 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7) ตามมาด้วยไต้หวัน 153 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8), อินโดนีเซีย 20 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6) และฟิลิปปินส์ 24 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ต่างชาติยังขายสุทธิอีก 106 ล้านเหรียญ หรือ 3.33 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3 มีมูลค่าขายรวม 6.4 พันล้านบาท) กดดันทำให้ยอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปีติดลบ 3.74 พันล้านบาท (ytd)
ทั้งนี้สวนทางกับสถาบันในประเทศที่ยังซื้อสุทธิเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 607 ล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกันนานถึง 23 วัน โดยมีมูลค่าซื้อสุทธิรวม 3.83 หมื่นล้านบาท)
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย พบว่า นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.08 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 6.44 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5 มีมูลค่ารวม 4.67 หมื่นล้านบาท)
แรงขายหลังดัชนี 1813 จุด แนะขายรายตัว/สะสมหุ้นขึ้นน้อย STEC, CK, TPIPL
หลังจากที่ SET Index สร้าง All-time-high ต่อเนื่อง โดยขึ้นไปทำจุดสูงสุดของปีที่ 1813.17 จุด อย่างไรก็ตาม ดัชนีไม่สามารถยืนเหนือระดับ 1800 จุดได้โดยตลอด และเห็นแรงขายทำกำไรที่บริเวณดังกล่าว จึงเชื่อว่าการที่ดัชนีขึ้นมาเร็วและแรงเกินไป ทำให้การปรับขึ้นจากนี้น่าจะชะลอตัวลง และยังจะมีแรงขายเป็นรายหุ้น ที่มีราคาแพง ทั้ง P/E สูง upside จำกัด ที่ฝ่ายวิจัยได้แคยแนะนำไป ขณะที่หุ้น Laggards ยังคงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการลงทุนเช่น หุ้นก่อสร้าง STEC, CK, UNIQ หุ้นอิงสินค้าโภคภัณฑ์ SCC, PTTEP, BANPU และหุ้นปันผล EGCO, RATCH, GLOW, INTUCH เป็นต้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4307
วานนี้ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคกว่า 594 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 8) และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ เริ่มจากเกาหลีใต้ซื้อสุทธิ 500 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7) ตามมาด้วยไต้หวัน 153 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8), อินโดนีเซีย 20 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6) และฟิลิปปินส์ 24 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ต่างชาติยังขายสุทธิอีก 106 ล้านเหรียญ หรือ 3.33 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3 มีมูลค่าขายรวม 6.4 พันล้านบาท) กดดันทำให้ยอดซื้อสุทธิตั้งแต่ต้นปีติดลบ 3.74 พันล้านบาท (ytd)
ทั้งนี้สวนทางกับสถาบันในประเทศที่ยังซื้อสุทธิเพิ่มขึ้นเล็กน้อย 607 ล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกันนานถึง 23 วัน โดยมีมูลค่าซื้อสุทธิรวม 3.83 หมื่นล้านบาท)
ขณะที่ตลาดตราสารหนี้ไทย พบว่า นักลงทุนสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.08 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 6.44 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5 มีมูลค่ารวม 4.67 หมื่นล้านบาท)
แรงขายหลังดัชนี 1813 จุด แนะขายรายตัว/สะสมหุ้นขึ้นน้อย STEC, CK, TPIPL
หลังจากที่ SET Index สร้าง All-time-high ต่อเนื่อง โดยขึ้นไปทำจุดสูงสุดของปีที่ 1813.17 จุด อย่างไรก็ตาม ดัชนีไม่สามารถยืนเหนือระดับ 1800 จุดได้โดยตลอด และเห็นแรงขายทำกำไรที่บริเวณดังกล่าว จึงเชื่อว่าการที่ดัชนีขึ้นมาเร็วและแรงเกินไป ทำให้การปรับขึ้นจากนี้น่าจะชะลอตัวลง และยังจะมีแรงขายเป็นรายหุ้น ที่มีราคาแพง ทั้ง P/E สูง upside จำกัด ที่ฝ่ายวิจัยได้แคยแนะนำไป ขณะที่หุ้น Laggards ยังคงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการลงทุนเช่น หุ้นก่อสร้าง STEC, CK, UNIQ หุ้นอิงสินค้าโภคภัณฑ์ SCC, PTTEP, BANPU และหุ้นปันผล EGCO, RATCH, GLOW, INTUCH เป็นต้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4307