- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 05 January 2018 19:41
- Hits: 6736
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ทำ New high หลังสุดในกลุ่ม TIP และมีโอกาสทดสอบ 1800 จุด ขณะที่ยังเชื่อว่าความเสี่ยงที่จะเห็นแรงขายของกอง LTF หลังจากที่ซื้อสุทธิกว่า 3.2 หมื่นล้านบาทใน ธ.ค.ที่ผ่านมา กลยุทธ์ยังคงถือหุ้น 50% และแนะขายเป็นรายหุ้นที่แพง (P/E สูง, upside จำกัด : BJC, ROBINS, CENTEL, TOP, LANNA) และสะสมหุ้น upside (BANPU, INTUCH, PTTEP, SCC, SCB, STEC) Top picks เลือก PTTEP(FV@B118) ที่ยังได้อานิสงค์ราคาน้ำมันทะลุ 65 เหรียญฯ มีโอกาสปรับเพิ่ม FV และชอบ BANPU(FV@B26), SCC(FV@B620) เป็นหุ้น Laggard
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET ทำสถิติใหม่แต่ยังมีแรงขายหุ้น ค้าปลีก และท่องเที่ยว
นับตั้งแต่ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้เปิดทำการซื้อขายวันแรกเมื่อ 30 เม.ย. 2518 เป็นต้นมา ดัชนีหุ้นไทยได้ทำสถิติปิดสูงสุดที่ 1753.73 จุด เมื่อวันที่ 4 ม.ค. 2537 และหลังจากนั้นได้ขึ้นไปทำจุดสูงสุดใหม่ เมื่อ 5 ม.ค. 2537 ที่ 1789.16 จุด ซึ่งสถิตินี้ได้ถูกทำลายลง หลังจากวานนี้ดัชนีปิดที่ 1791.02 จุด และขึ้นไปทำจุดสูงสุดที่ 1791.39 จุด พร้อมด้วยมูลค่าการซื้อขายกว่า 9.08 หมื่นล้านบาท นับว่าสูงสุดอีกครั้ง นับตั้งแต่ 29 ส.ค. 2560 ดัชนีทะลุ 1600 จุด พร้อมด้วยมูลค่าซื้อขายสูง 9.5 หมื่นล้านบาท
หุ้นนำตลาดยังกระจุกตัวในหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มปิโตรเลี่ยม นำโดย PTT ปรับเพิ่มขึ้นถึง 22 บาท หรือ 4.89% ปิดที่ 472 บาท (All-time-high เช่นกัน) หนุนดัชนี 6.26 จุด ตามด้วย PTTEP เพิ่มขึ้นถึง 4.43% หนุนดัชนี 1.78 จุด ซึ่งทั้ง 2 หุ้นนี้ ได้แรงหนุนจากราคาน้ำมันโลกที่ดีดตัวทำ new high ในรอบกว่า 2 ปี และ สูงกว่าสมมติฐานฯ ที่ ASPS ไว้ที่ 60 เหรียญฯ ต่อ บาร์เรลในปี 2561 ซึ่งทำให้มีโอกาสปรับเพิ่มประมารกาณกำไรและมูลค่าพื้นฐาน ตามมาด้วย BANPU บวกแรงถึง 5.64% PTTGC เพิ่มขึ้น 3.77% (ราคา All-time-high) และ KBANK ปรับขึ้น 2.11% SCC เพิ่มขึ้น 1.22%
ตรงข้ามกับหุ้นที่อิงเศรษฐกิจในประเทศที่ราคาได้ทำ new high ไปก่อนหน้านี้ และส่วนใหญ่เป็นหุ้นขนาดกลางและเล็ก จึงทำให้มีการขายทำกำไร เริ่มจากกลุ่มโรงแรมและอาหารอย่าง MINT และ CENTEL ลดลง 3.43% และ 5.13% ตามลำดับ ตามมาด้วยหุ้นค้าปลีก COM7 ลดลง 2.50%, BEAUTY ลดลง 2.46% และ BJC ลดลง 1.53% เป็นต้น
แนวโน้มดัชนีวันนี้ คาดว่าดัชนีจะผ่อนแรงลงหลังจาก 2 วันที่ผ่านมาขึ้นไปถึง 37 จุด โดยการเคลื่อนไหววันนี้น่าจะเป็นลักษณะค่อยเป็นค่อยไปมากกว่า และระหว่างวันอาจเห็นแรงขายทำกำไรออกมาบ้าง โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1769 -1800 จุด
ราคาน้ำมันดิบยังเดินหน้าทำ new high ในรอบ 2 ปีครึ่ง บวกต่อ PTTEP และ PTT
ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง โดยวานนี้สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ปรับตัวขึ้นอีก 0.62% มาอยู่ที่ 62.01 เหรียญ/บาร์เรล โดยมีหลากหลายปัจจัยหนุน ดังนี้
ทางสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุดลดลงมากกว่าคาด โดยปรับตัวลดลง 7.42 ล้านบาร์เรล (ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 7) ขณะที่ตลาดฯคาดว่าจะลดลง 5.15 ล้านบาร์เรล
ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศอิหร่านลุกลามมากว่า 1 สัปดาห์ โดยทางการได้ส่งหน่วยปราบปรามไปยังจังหวัดที่มีการชุมนุม ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต 25 ราย และถูกจับกุม 450 ราย และหากพิจารณาจากกำลังการผลิตของอิหร่าน ณ ปัจจุบันพบว่า เป็นผู้ผลิตน้ำมันใหญ่เป็นอันดับที่ 3 ของ OPEC (อิหร่านผลิตน้ำมันราว 3.82 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับกลุ่ม OPEC วันละ 32.47 ล้านบาร์เรล)
ดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าต่อเนื่องนับจากกลาง ธ.ค. 2.2% โดยล่าสุดอยู่ที่ 91.6 จุด เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ช่วยหนุนราคาน้ำมันดิบ
อย่างไรก็ตามยังมีประเด็นกดดันจากปริมาณการผลิตน้ำมันสหรัฐฯ ในสัปดาห์ล่าสุดเพิ่มขึ้น 0.28% มาอยู่ที่ 9.782 ล้านบาร์เรล/วัน รวมถึงปัญหาท่อน้ำมันรั่วในทะเลเหนือ Forties และท่อส่งน้ำมันเชื่อมต่อกับท่าเรือ Es sider ในลิเบีย กลับมาดำเนินงานตามปกติในกลางเดือน ม.ค. นี้
หากพิจารณาจากสมมติฐานราคาน้ำมันดิบที่นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ในปี 2561 ประเมินไว้ที่ 60 เหรียญฯ (ให้คงที่ที่ 65 เหรียญฯ ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป) ซึ่งต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบดูไบล่าสุดที่ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรลอยู่มาก หากราคาน้ำมันดิบดูไบสูงกว่าสมมติฐานทุก 5 เหรียญฯ คาดว่าจะเพิ่ม Fair Value ปี 2561 ให้ PTTEP(FV@ B118) และ PTT(FV@B500) ขึ้นราว ราว 9 และ 7 บาทต่อหุ้น ตามลำดับ ถือเป็นโอกาสในการลงทุนในหุ้นดังกล่าว และยังชื่นชอบหุ้นที่ยัง Laggard ราคาถ่านหินอย่าง BANPU(FV@B26) โดยยังมี upside สูงถึง 26.2%
ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้น หนุนตลาดหุ้น แต่ upside เริ่มจำกัด
วานนี้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย รายงาน ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค(CCI) เดือน ธ.ค. ยังเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 5 และทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 ปี ซึ่งเป็นผลจากผู้บริโภคมีความมั่นใจต่อเศรษฐกิจไทย จากการส่งออกและการท่องเที่ยวขยายตัว และรัฐออกมาตรการกระตุ้นการบริโภค อาทิ มาตรการช็อปช่วยชาติ, นำค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวลดหย่อนภาษี 1.5 หมื่นบาทตลอดทั้งปี 61 ซึ่งน่าจะหนุนการบริโภคภาคครัวเรือนในระยะถัดไป
นอกจากนี้น่าจะเป็นประเด็นบวกใหม่ คือ การพิจารณาขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศ ซึ่งคาดว่าจะมีการ พิจารณาร่วมกัน ระหว่างนายจ้าง ลูกจ้าง และรัฐบาล ภายใน 15 ม.ค. โดยคาดจะปรับขึ้นราว 1-5 % หรือราว 2 - 15 บาท (จากค่าแรงปัจจุบัน 300 บาทมาตั้งแต่ปี 2557) ซึ่งจะช่วยหนุนกำลังซื้อในระดับล่างเช่นกัน
โดยรวมทำให้เชื่อว่าการบริโภครัวเรือนจะเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยอีกตัวหนึ่งในปี 2561 ควบคู่ไปกับการลงทุนเอกชนที่เริ่มมีความชัดเจนขึ้นเรื่อยๆ หลังภาครัฐกระตุ้นผ่าน EEC ควบคู่กับการลงทุนภาครัฐที่ยังเหลือโครงการรอประมูลตามแผน Action plan อีก 2 ล้านล้านบาท (83% ของแผน) และปี 2561 คาดจะมีงานประมูลออกมาราว 9.2 แสนล้านบาท จึงยังคงคาดการณ์ว่า GDP Growth จะขยายตัวราว 4.2%yoy ในปี 2561 เร่งจาก 3.8%yoy ในปีนี้ ขณะที่เงินเฟ้อน่าจะมีโอกาสทะลุ 1% นอกเหนือค่าแรงที่ขยับขึ้น ยังมาจากราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเหนือ 60 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลในขณะนี้
ขณะที่ต่างประเทศ การรายงานดัชชีชี้นำเศรษฐกิจของประเทศหัวเรือใหญ่ของโลกออกมาสดใสและดีกว่าที่ตลาดคาด โดยเฉพาะสหรัฐ สะท้อนจากตลาดแรงงานคือ ยอดการจ้างงานภาคเอกชน(ADP Employment) เดือน ธ.ค. เพิ่มขึ้น 35%mom อยู่ที่ 2.5 แสนรายมากกว่าตลาดคาด 1.91 แสนราย เช่นเดียวกับ จีน , อังกฤษและยุโรป รายงานดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการในเดือนเดียวกันเพิ่มขึ้น 3.8% mom , 0.7%mom และ 0.2%mom มาอยู่ที่ 53.9 จุด , 56.5 จุด , 54.2 จุด ตามลำดับ ซึ่งล้วนสร้างความเชื่อมั่นและหนุนให้ตลาดหุ้นทั่วโลกได้ปรับขึ้น และ จุดสูงสุดใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะฝั่งประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ ตลาดหุ้นสหรัฐ (Dow jones , S&P500 , Nasdaq) และ อังกฤษ (FTSE) เป็นต้น ขณะที่ฝั่งเอเชีย ทำสถิติสูงสุดใหม่ทุกแห่ง ตลาดฮั่งเส็ง ของฮ่องกง ทำ New High ในรอบกว่า 10 ปี ตลาดนิกเกอิ ของญี่ปุ่น ทำสถิติสูงสุดในรอบเกือบ 27 ปี เช่นเดียวกับตลาดหุ้นกลุ่ม TIP ที่ล้วนทำจุดสูงสุดใหม่ปลายปี 2560 แต่ของไทยเพิ่งเกิดขึ้นวานนี้ แต่คาดว่าการปรับขึ้นจากนี้น่าจะชะลอตัวลง และน่าจะมีแรงขายเป็นรายหุ้น ที่มีราคาแพง ทั้ง P/E สูง upside จำกัด แต่ให้สลับมาลงทุนหุ้นที่ Laggards เช่น หุ้นก่อสร้าง STEC, CK, UNIQ, หุ้นอิงสินค้าโภคภัณฑ์ SCC, PTTEP, BANPU และ หุ้น ปันผล EGCO, RATCH, GLOW, INTUCH เป็นต้น
ต่างชาติซื้อสุทธิตลาดหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องในปี 2561
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิรวมกว่า 504 ล้านเหรียญ และหากพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่า ตลาดหุ้นแถบเอเชียตะวันออกทั้งเกาหลีใต้และไต้หวันต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่อง ราว 311 ล้านเหรียญ และ 217 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นการซื้อสุทธิทุกวันตั้งแต่เข้าสู่ปี 2561 ทั้ง 2 ตลาด ตามลำดับ ส่วนตลาดหุ้นกลุ่ม TIP คงเลือกซื้อเฉพาะ อินโดนีเซียซื้อสุทธิอีก 20 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิทุกวันตั้งแต่เข้าสู่ปี 2561) ยกเว้น ตลาดหุ้นที่เหลืออีก 2 แห่งถูกขายสุทธิ คือ ฟิลิปปินส์ขายสุทธิ 10 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิวันก่อนหน้า) และตลาดหุ้นไทยถูกสลับมาขายสุทธิราว 33 ล้านเหรียญ หรือ 1.07 พันล้านบาท
ส่วนสถาบันในประเทศที่ยังคงเดินหน้าซื้อสุทธิต่อเนื่องอีกกว่า 3.48 พันล้านบาท และเป็นการซื้อสุทธิทุกวันตั้งแต่ ธ.ค. 60 จนถึงปัจจุบัน โดยมีมูลค่าซื้อสุทธิรวมสูงถึง 3.59 หมื่นล้านบาท
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.46 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิสูงกว่า 1.25 หมื่นล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิ 2 วันติดต่อกันตั้งแต่เข้าสู่ปี 2561 มูลค่ารวมกันสูงกว่า 1.66 หมื่นล้านบาท
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
4206