- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 04 January 2018 16:48
- Hits: 3903
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
หุ้นไทยมีโอกาสแตะ High เดิมที่ 1789 จุดเร็วกว่าคาด จากแรงหนุน Fund flow แต่มีความเสี่ยงที่จะปรับฐานจากแรงขาย LTF กลยุทธ์การลงทุนยังให้ถือหุ้น 50% และเลือกขายเป็นรายหุ้นที่มี P/E สูง และ upside จำกัด (BJC, CPALL, ROBINS, CENTEL, TOP, LANNA) โดยเลือกหุ้น upside สูง (BANPU, INTUCH, PTTEP, SCC, SCB) Top picks ยังชอบ STEC(FV@B30), INTUCH(FV@B79) หุ้น Dividend Play และเพิ่ม PTTEP(FV@B118) ราคาน้ำมันดิบมีโอกาสทะลุ 65 เหรียญฯ จากปัญหาแหล่งผลิตน้ำมัน มีโอกาสเพิ่ม FV เป็น 126.81 บาทหรือเพิ่มขึ้น 7.5%
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … ประเดิมศักราชใหม่ SET Index บวกสวยหรู 24 จุด
วานนี้เป็นวันเปิดทำการวันแรกของตลาดหุ้นไทยในปี 2561 ดัชนีแกว่งตัวในทิศทางขาขึ้นตลอดวันก่อนจะปิดที่ 1778.53 จุด เพิ่มขึ้นแรงกว่า 24.82 จุด หรือ 1.42% ด้วยมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 8.89 หมื่นล้านบาท หุ้น Market Cap ขนาดใหญ่ล้วนปรับขึ้นอย่างพร้อมเพรียง นำโดยหุ้นปิโตรเคมี และ พลังงาน นำโดย IVL เพิ่มขึ้นมากถึง 4.69% หุ้นน้ำมัน PTT เพิ่มขึ้น 2.27% PTTEP 1.50%, TOP 3.38%, IRPC 2.13% และ หุ้นโรงไฟฟ้าขนาดกลาง-เล็ก คือ GULF เพิ่มขึ้นกว่า 5.77% พร้อมมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ทำให้ GULF มีโอกาสติด Cash balance ในสัปดาห์นี้
เช่นเดียวกับหุ้นกลุ่ม ICT ฟื้นตัวแรงทั้งกลุ่มนำโดย THCOM เพิ่มขึ้นกว่า 5.60% ADVANC 2.88% INTUCH 2.67% DTAC 3.06%, TRUE 2.42% และ AIT เพิ่มขึ้นแรงกว่า 5.8% ฝ่ายวิจัยฯ ยังคงแนะนำหุ้นปันผลเด่นของกลุ่มฯ อย่าง INTUCH ซึ่งคาดหวังปันผลได้กว่า 4.54% ต่อปี มี upside กว่า 37% และธนาคารพาณิชย์ นำโดย KBANK BBL KTB TMB และ BAY เพิ่มขึ้น 2.16%, 1.49%, 1.04%, 2.00% และ 0.63% ตามลำดบ
ส่วนหุ้นขนาดใหญ่รายตัวอย่าง AOT เดินหน้าทำ new high ต่อเนื่อง โดยปิดที่ 70.50 บาท เพิ่มขึ้นอีก 3.68% ส่วนกลุ่มค้าปลีก หุ้นขนาดใหญ่อย่าง CPALL เพิ่มขึ้นแรงกว่า 2% ส่วน HMPRO เพิ่มขึ้น 2.34% ตรงข้ามกับ MAKRO ลดลง 1.3% ส่วนหุ้นขนาดกลาง-เล็กในกลุ่มค้าปลีก อย่าง BEAUTY ลดลง 2.40%, COM7 ลดลง 1.84% และ BJC ลดลง 1.14%
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีจะค่อยๆ แกว่งตัวขึ้นได้ต่อ อย่างไรก็ตามแม้ sentiment เชิงบวกจะยังมีต่อแต่ SET Index ที่ขึ้นแรงเกินไปตั้งแต่วันแรกของปีน่าจะทำให้แรงขับของตลาดฯ เริ่มเบาลง ประเมินแนวรับที่ 1765 จุด แนวต้าน 1789 จุด
เงินเฟ้อไทยต่ำกว่าคาด หนุนดอกเบี้ยต่ำตลอด 1H61
กระทรวงพาณิชย์รายงานเงินเฟ้อไทย เดือน ธ.ค. 0.78%yoy ต่ำกว่าที่ตลาดคาดทรงตัว 0.99% ทั้งนี้เป็นผลมาจากราคาสินค้าหมวดอาหารสด ปรับลดลงจากปริมาณผลผลิตที่ออกมามากกว่าเพราะฤดูฝน คือ ไข่และนมลดลง 2.96%yoy, เนื้อสัตว์ลดลง 1.2%, ผลไม้ลดลง 1.1% ข้าวและแป้งลดลง 1.04% ทำให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2560 ที่ 0.67% ต่ำกว่าที่ ASPS คาดไว้ทั้งปี 1.07% ขณะที่ปี 2561 ASPS คาดเงินเฟ้อที่ 1.26%yoy ผ่านสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบ 60 เหรียญฯ และอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยคาด 33 บาท/ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม หากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นทุกๆ 1 เหรียญฯ จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นราว 0.06% และถ้าราคาน้ำมันยืนเหนือ 65 เหรียญฯ จะทำให้เงินเฟ้อปี 2561 จะเพิ่มเป็น 1.55% ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ซึ่งน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยฯ ซึ่งน่าจะตกในช่วง 2H61
ขณะที่ประเด็นต่างประเทศ สหรัฐรายงาน Fed Minute ในการประชุมรอบ ธ.ค. 2560 มีใจความสำคัญ คือ คณะกรรมการส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อมั่นต่อการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยฯ ในปีนี้อีก 3 ครั้งๆ ละ 0.25% ดอกเบี้ยสิ้นปีจะอยู่ที่ 2.25% และเป็นที่สังเกตรายงานในการประชุมรอบนี้มีความแตกต่างเทียบกับรอบที่แล้ว คือ Fed เน้นให้น้ำหนักต่อมาตรการปฎิรูปภาษีสหรัฐ คือลดภาษีนิติบุคคลลดเหลือ 21% จากเดิม 35% และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะลดขั้นบนสุดเหลือ 37% จากเดิม 39.6% ทั้งหมด 7 ขั้น ตามฐานรายได้ ซึ่งถือว่ามีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐได้ แต่อยู่ระหว่างการประเมิน แต่เป็นที่สังเกตว่า เงินดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าต่อเนื่องนับจากกลาง ธ.ค. 2.2% ซึ่งน่าจะเป็นเพราะตลาดเห็นภาพการขึ้นดอกเบี้ยที่ชัดเจน
กลยุทธ์การลงทุน
หุ้นไทยมีโอกาสแตะ High เดิมที่ 1789 จุดเร็วกว่าคาด จากแรงหนุน Fund flow แต่มีความเสี่ยงที่จะปรับฐานจากแรงขาย LTF กลยุทธ์การลงทุนยังให้ถือหุ้น 50% และเลือกขายเป็นรายหุ้นที่มี P/E สูง และ upside จำกัด (BJC, CPALL, ROBINS, CENTEL, TOP, LANNA) โดยเลือกหุ้น upside สูง (BANPU, INTUCH, PTTEP, SCC, SCB) Top picks ยังชอบ STEC(FV@B30), INTUCH(FV@B79) หุ้น Dividend Play และเพิ่ม PTTEP(FV@B118) ราคาน้ำมันดิบมีโอกาสทะลุ 65 เหรียญฯ จากปัญหาแหล่งผลิตน้ำมัน มีโอกาสเพิ่ม FV เป็น 126.81 บาทหรือเพิ่มขึ้น 7.5%
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … ประเดิมศักราชใหม่ SET Index บวกสวยหรู 24 จุด
วานนี้เป็นวันเปิดทำการวันแรกของตลาดหุ้นไทยในปี 2561 ดัชนีแกว่งตัวในทิศทางขาขึ้นตลอดวันก่อนจะปิดที่ 1778.53 จุด เพิ่มขึ้นแรงกว่า 24.82 จุด หรือ 1.42% ด้วยมูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 8.89 หมื่นล้านบาท หุ้น Market Cap ขนาดใหญ่ล้วนปรับขึ้นอย่างพร้อมเพรียง นำโดยหุ้นปิโตรเคมี และ พลังงาน นำโดย IVL เพิ่มขึ้นมากถึง 4.69% หุ้นน้ำมัน PTT เพิ่มขึ้น 2.27% PTTEP 1.50%, TOP 3.38%, IRPC 2.13% และ หุ้นโรงไฟฟ้าขนาดกลาง-เล็ก คือ GULF เพิ่มขึ้นกว่า 5.77% พร้อมมูลค่าการซื้อขายที่หนาแน่น ทำให้ GULF มีโอกาสติด Cash balance ในสัปดาห์นี้
เช่นเดียวกับหุ้นกลุ่ม ICT ฟื้นตัวแรงทั้งกลุ่มนำโดย THCOM เพิ่มขึ้นกว่า 5.60% ADVANC 2.88% INTUCH 2.67% DTAC 3.06%, TRUE 2.42% และ AIT เพิ่มขึ้นแรงกว่า 5.8% ฝ่ายวิจัยฯ ยังคงแนะนำหุ้นปันผลเด่นของกลุ่มฯ อย่าง INTUCH ซึ่งคาดหวังปันผลได้กว่า 4.54% ต่อปี มี upside กว่า 37% และธนาคารพาณิชย์ นำโดย KBANK BBL KTB TMB และ BAY เพิ่มขึ้น 2.16%, 1.49%, 1.04%, 2.00% และ 0.63% ตามลำดบ
ส่วนหุ้นขนาดใหญ่รายตัวอย่าง AOT เดินหน้าทำ new high ต่อเนื่อง โดยปิดที่ 70.50 บาท เพิ่มขึ้นอีก 3.68% ส่วนกลุ่มค้าปลีก หุ้นขนาดใหญ่อย่าง CPALL เพิ่มขึ้นแรงกว่า 2% ส่วน HMPRO เพิ่มขึ้น 2.34% ตรงข้ามกับ MAKRO ลดลง 1.3% ส่วนหุ้นขนาดกลาง-เล็กในกลุ่มค้าปลีก อย่าง BEAUTY ลดลง 2.40%, COM7 ลดลง 1.84% และ BJC ลดลง 1.14%
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีจะค่อยๆ แกว่งตัวขึ้นได้ต่อ อย่างไรก็ตามแม้ sentiment เชิงบวกจะยังมีต่อแต่ SET Index ที่ขึ้นแรงเกินไปตั้งแต่วันแรกของปีน่าจะทำให้แรงขับของตลาดฯ เริ่มเบาลง ประเมินแนวรับที่ 1765 จุด แนวต้าน 1789 จุด
เงินเฟ้อไทยต่ำกว่าคาด หนุนดอกเบี้ยต่ำตลอด 1H61
กระทรวงพาณิชย์รายงานเงินเฟ้อไทย เดือน ธ.ค. 0.78%yoy ต่ำกว่าที่ตลาดคาดทรงตัว 0.99% ทั้งนี้เป็นผลมาจากราคาสินค้าหมวดอาหารสด ปรับลดลงจากปริมาณผลผลิตที่ออกมามากกว่าเพราะฤดูฝน คือ ไข่และนมลดลง 2.96%yoy, เนื้อสัตว์ลดลง 1.2%, ผลไม้ลดลง 1.1% ข้าวและแป้งลดลง 1.04% ทำให้อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยทั้งปี 2560 ที่ 0.67% ต่ำกว่าที่ ASPS คาดไว้ทั้งปี 1.07% ขณะที่ปี 2561 ASPS คาดเงินเฟ้อที่ 1.26%yoy ผ่านสมมุติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบ 60 เหรียญฯ และอัตราแลกเปลี่ยนเฉลี่ยคาด 33 บาท/ดอลลาร์ อย่างไรก็ตาม หากราคาน้ำมันเพิ่มขึ้นทุกๆ 1 เหรียญฯ จะทำให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นราว 0.06% และถ้าราคาน้ำมันยืนเหนือ 65 เหรียญฯ จะทำให้เงินเฟ้อปี 2561 จะเพิ่มเป็น 1.55% ซึ่งสูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ซึ่งน่าจะเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ กนง. ปรับขึ้นดอกเบี้ยฯ ซึ่งน่าจะตกในช่วง 2H61
ขณะที่ประเด็นต่างประเทศ สหรัฐรายงาน Fed Minute ในการประชุมรอบ ธ.ค. 2560 มีใจความสำคัญ คือ คณะกรรมการส่วนใหญ่ยังมีความเชื่อมั่นต่อการเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยฯ ในปีนี้อีก 3 ครั้งๆ ละ 0.25% ดอกเบี้ยสิ้นปีจะอยู่ที่ 2.25% และเป็นที่สังเกตรายงานในการประชุมรอบนี้มีความแตกต่างเทียบกับรอบที่แล้ว คือ Fed เน้นให้น้ำหนักต่อมาตรการปฎิรูปภาษีสหรัฐ คือลดภาษีนิติบุคคลลดเหลือ 21% จากเดิม 35% และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะลดขั้นบนสุดเหลือ 37% จากเดิม 39.6% ทั้งหมด 7 ขั้น ตามฐานรายได้ ซึ่งถือว่ามีส่วนช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐได้ แต่อยู่ระหว่างการประเมิน แต่เป็นที่สังเกตว่า เงินดอลลาร์กลับมาอ่อนค่าต่อเนื่องนับจากกลาง ธ.ค. 2.2% ซึ่งน่าจะเป็นเพราะตลาดเห็นภาพการขึ้นดอกเบี้ยที่ชัดเจน
ราคาน้ำมันดิบโลกทำแตะ 65 เหรียญฯ เร็วกกว่าคาด หนุน PTT, PTTEP
นอกจาก fund flow ไหลกลับเข้ามาเร็วกว่าที่คาดแล้ว ราคาน้ำมันดิบโลกที่ทะยานขึ้นแตะ 65 เหรียญต่อบาร์เรลเร็วกว่าคาด เนื่องจากปัญหาแหล่งผลิตน้ำมันสำคัญ ๆ ของโลก แม้ปัญหา Oversuppply ยังมีอยู่ แต่คาดกว่าจะเข้าสู่สมดุลใน 2H61
ล่าสุด ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศอิหร่านลุกลาม มีกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล ถึงแนวทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจผิดพลาด มีการทุจริต สินค้าราคาแพง จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 25 ราย และถูกจับกุม 450 ราย ปัจจุบันอิหร่าน เป็นแหล่งผลิตน้ำมันอันดับที่ 3 ของ OPEC (อิหร่าน ผลิตน้ำมันราว 3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับกลุ่ม OPEC วันละ 32.47 ล้านบาร์เรล) หลังจากที่เพิ่งผ่านพ้นการแก้ปัญหาท่อน้ำมันรั่วในทะเลเหนือ (Forties วันละ 4.5 แสนบาร์เรล) ซึ่งคาดว่าจะกลับมาดำเนินงานตามปกติในกลางเดือน ม.ค. นี้ หลังจากปิดซ่อมบำรุงเมื่อ 11 ธ.ค. 2560 และที่ลิเบีย เพิ่งเสร็จสิ้นการปิดซ่อมบำรุง ท่อส่งน้ำมันเชื่อมต่อกับท่าเรือ Es sider (7 หมื่น-1 แสนบาร์เรลต่อวัน)
ล่าสุดราคาน้ำมันดิบดูไบที่ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล ถือว่าสูงกว่าสมมติฐานที่นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ประเมินไว้ที่ 60 เหรียญฯ ในปี 2561 เทียบกับราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปี 2560 ที่ 53 เหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้น 13% (ให้คงที่ที่ 65 เหรียญฯ ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป) อย่างไรก็ตามหากราคาน้ำมันดิบดูไบสูงกว่าสมมติฐานทุก 5 เหรียญฯ คือเป็น 65 เหรียญฯ และ 70 เหรียญฯ คาดว่าจะเพิ่ม Fair Value ปี 2561 ของ PTTEP และ PTT ดังนี้
กรณีของ PTTEP มูลค่าหุ้นจะเพิ่มจาก 118 บาท ในกรณีฐาน เป็น 126.81 บาท และ 135.45 บาท หรือเพิ่มขึ้นจากกรณีฐาน 7.47% และ 14.8% ตามลำดับ
กรณีของ PTT มูลค่าหุ้นจะเพิ่มจาก 500 บาท ในกรณีฐาน เป็น 507.7 บาท และ 515.03 บาท หรือเพิ่มขึ้นจากกรณีฐาน 1.5% และ 3% ตามลำดับ ติดตามอ่านรายละเอียด Industry Update ของกลุ่มพลังงาน-ปิโตรเลี่ยม ใน Equity Talk วันนี้
ส่วนกรณีหุ้นถ่านหินซึ่งล่าสุดราคาขึ้นยืนเหนือ 100 เหรียญฯ มาที่ 104 เหรียญฯ แต่พบว่าราคาหุ้นของ BANPU ยังขึ้นน้อยมาก เชื่อว่ายังมาจากความกังวลของคดีที่อยู่ระหว่างการฟ้องร้องในศาลฯ แต่เชื่อว่าราคาตลาดได้สะท้อนปัจจัยลบ จนทำให้มี upside จากมูลค่าหุ้นปี 2561 ราว 33%
Fund Flow เข้ามาเร็วกว่าปกติ แต่ยังต้องระวังแรงขาย LTF
Fund Flow ได้ไหลกลับเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาคตั้งแต่ต้นปี 2561 และยังเป็นการซื้อสุทธิทุกประเทศ โดยวานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิรวมกันกว่า 700 ล้านเหรียญ และหากพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่า ซื้อทุกประเทศนำโดย เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 433 ล้านเหรียญ (วันที่ 2 ม.ค. 61 ซื้อสุทธิ 330 ล้านเหรียญ) ตามมาด้วยไต้หวัน 171 ล้านเหรียญ (วันที่ 2 ม.ค. 61 ซื้อสุทธิ 333 ล้านเหรียญ), อินโดนีเซีย 5 ล้านเหรียญ (วันที่ 2 ม.ค. 61 ซื้อสุทธิ 33 ล้านเหรียญ), ฟิลิปปินส์ 7 ล้านเหรียญ และไทย 83 ล้านเหรียญ หรือ 2.69 พันล้านบาท เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ยังซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 2.10 พันล้านบาท หลังจากซื้อสุทธิทุกวันในเดือน ธ.ค. 60 โดยมีมูลค่าซื้อสุทธิรวมสูงถึง 3.24 หมื่นล้านบาท
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
ในปีนี้แรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติมีโอกาสเข้ามาเร็วกว่าปกติ (จากอดีตแรงซื้อ นักลงทุนต่างชาติมักจะเริ่มเข้ามาใน ม.ค. แต่จะเพิ่มมากขึ้นเดือน ก.พ. และซื้อสูงสุดในเดือน มี.ค.) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสัดส่วนการถือครองหุ้นของต่างชาติ ณ พ.ย. 60 อยู่ในระดับต่ำเพียง 31.24% เท่านั้น (เก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา จากที่เคยทำสถิติสูงสุด 36.8% มี.ค. 2555) นับว่าสอดคล้องกับสถิติในอดีตอยู่ที่ต่างชาติมักจะขายปลายปี และกลับมาซื้อต้นปีเสมอ โดยจากสถิติย้อนหลัง 10 ปี พบว่าต่างชาติมักจะซื้อสุทธิหุ้นไทยในไตรมาสแรกสูงสุด เมื่อเทียบกับไตรมาสอื่นๆ ที่เหลือ กว่า 1.05 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ดีในช่วงต้นปี ตลาดหุ้นไทยอาจมีอุปสรรคบ้างในการปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีโอกาสถูกแรงเทขายจากนักลงทุนสถาบันฯ ด้วยเหตุผลดังนี้
แรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันฯ ที่เข้ามาหนาแน่นกว่าปกติ โดยซื้อสุทธิติดต่อกันมากว่า 20 วันทำการ ด้วยมูลค่ารวมสูงถึง 3.24 หมื่นล้านบาท ดังนั้นแรงซื้อที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว อาจมีแรงขายทำกำไรระยะสั้น
จากสถิติย้อนหลัง 12 ปี พบว่า นักลงทุนมักจะขายคืน LTF ในเดือน ม.ค. มากที่สุด ราว 22% ของการขายคืนทั้งปี
พิจารณาเม็ดเงินที่ซื้อ LTF ในปี 2557 จะครบกำหนดการถือครอง และสามารถขายคืนได้ในปีนี้ มีมูลค่าสูงถึง 5.63 หมื่นล้านบาท โดยฝ่ายวิจัยฯได้ทำการคำนวณต้นทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเทียบกับ SET Index เท่ากับ 1530.64 จุด ซึ่งต่ำกว่า SET Index ณ ปัจจุบันมาก ทำให้นักลงทุนที่ซื้อ LTF ในปี 2557 ส่วนใหญ่มีกำไร และโอกาสขายคืนในช่วงต้นปี
SET มีโอกาสทำ New High ตามเพื่อนบ้าน
การปรับขึ้นแรงของตลาดหุ้นไทยวานนี้ ส่วนหนึ่งได้อานิสงส์มาจากตลาดหุ้นภูมิภาคเอเซียที่เปิดทำการซื้อขายในปีใหม่นี้ได้อย่างโดดเด่นเช่นกัน นำโดยตลาดหุ้นฮ่องกง (ฮั่งเส็ง) 2 วันทำการปรับขึ้น 2.15% ตามด้วยตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ 2 วันทำการปรับขึ้น 1.94%, ตลาดหุ้นจีน (เซี่ยงไฮ้) 2 วันทำการปรับขึ้น 1.87%, สิงคโปร์ 3 วันทำการขึ้น 1.8%, ไต้หวัน 2 วันทำการปรับขึ้น 1.49% ตามด้วย SET Index เปิดวันเดียวปรับขึ้นถึง 1.42% ตรงข้ามกับตลาดหุ้นอินโดนีเซียเปิดปีใหม่ 2 วันทำการปรับลดลง 1.64% (เนื่องจากปีที่แล้วให้ผลตอบแทนสูงถึง 20% รวม 2 ปี สูงถึง 35%), อินเดีย ลดลง 0.77% และมาเลเซีย ลดลง 0.22%
ในช่วงที่ผ่านมา เริ่มเห็นว่าหลายตลาดในภูมิภาคเอเซียหลายแห่งขึ้นทำสถิติสูงสุด เริ่มจาก ตลาดฮั่งเส็ง ของฮ่องกง ทำ New High ในรอบกว่า 10 ปี ตลาดนิกเกอิ ของญี่ปุ่น ทำสถิติสูงสุดในรอบเกือบ 27 ปี ส่วนตลาดหุ้นเกาหลีใต้ขึ้นทำ New High ไปตั้งแต่เดือน ธ.ค. ปีที่แล้วและกำลังปรับฐาน ขณะที่ตลาดหุ้นกลุ่ม TIP กำลังทำ New High เช่นกัน โดยฟิลิปปินส์วานนี้ขึ้นทำ All-time-high ไปเรียบร้อย ส่วนอินโดนีเซีย ทำ All-time-high ไปตั้งแต่ 2 ม.ค. ก่อนจะปรับฐานวานนี้
ในส่วนของตลาดหุ้นไทยนั้น พบว่า มีแรงซื้อเข้ามาในหุ้น Market Cap ขนาดใหญ่ (รายละเอียดหุ้นข้างต้น) ซึ่งเป็นแรงซื้อที่มาจากนักลงทุนต่างชาติ หลังจากปีที่ผ่านมาขายสุทธิไปราว 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งฝ่ายวิจัยประเมินกระแส Fund Flow ในปีนี้ว่านักลงทุนต่างชาติน่าจะกลับมาซื้อสุทธิบ้างหลังจากขายต่อเนื่องมาหลายปี (ปี 2559 สลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย) อีกทั้งสถานการณ์ถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติเหลือต่ำมากข้างต้น อีกทั้งจากสถิติย้อนหลัง 10 ปี
ขณะที่สถาบันในประเทศ วานนี้ยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่อง หลังจากปีที่ผ่านมาซื้อสุทธิไปถึง 1.04 แสนล้านบาท จึงอาจต้องระวังแรงขายได้หลังจากนี้ จากแรงขายของ LTF และผ่านพ้นช่วงของการทำ Window Dressing
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4149
นอกจาก fund flow ไหลกลับเข้ามาเร็วกว่าที่คาดแล้ว ราคาน้ำมันดิบโลกที่ทะยานขึ้นแตะ 65 เหรียญต่อบาร์เรลเร็วกว่าคาด เนื่องจากปัญหาแหล่งผลิตน้ำมันสำคัญ ๆ ของโลก แม้ปัญหา Oversuppply ยังมีอยู่ แต่คาดกว่าจะเข้าสู่สมดุลใน 2H61
ล่าสุด ปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองในประเทศอิหร่านลุกลาม มีกลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านรัฐบาล ถึงแนวทางการดำเนินนโยบายเศรษฐกิจผิดพลาด มีการทุจริต สินค้าราคาแพง จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 25 ราย และถูกจับกุม 450 ราย ปัจจุบันอิหร่าน เป็นแหล่งผลิตน้ำมันอันดับที่ 3 ของ OPEC (อิหร่าน ผลิตน้ำมันราว 3.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน เทียบกับกลุ่ม OPEC วันละ 32.47 ล้านบาร์เรล) หลังจากที่เพิ่งผ่านพ้นการแก้ปัญหาท่อน้ำมันรั่วในทะเลเหนือ (Forties วันละ 4.5 แสนบาร์เรล) ซึ่งคาดว่าจะกลับมาดำเนินงานตามปกติในกลางเดือน ม.ค. นี้ หลังจากปิดซ่อมบำรุงเมื่อ 11 ธ.ค. 2560 และที่ลิเบีย เพิ่งเสร็จสิ้นการปิดซ่อมบำรุง ท่อส่งน้ำมันเชื่อมต่อกับท่าเรือ Es sider (7 หมื่น-1 แสนบาร์เรลต่อวัน)
ล่าสุดราคาน้ำมันดิบดูไบที่ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล ถือว่าสูงกว่าสมมติฐานที่นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ประเมินไว้ที่ 60 เหรียญฯ ในปี 2561 เทียบกับราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยปี 2560 ที่ 53 เหรียญฯ หรือเพิ่มขึ้น 13% (ให้คงที่ที่ 65 เหรียญฯ ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป) อย่างไรก็ตามหากราคาน้ำมันดิบดูไบสูงกว่าสมมติฐานทุก 5 เหรียญฯ คือเป็น 65 เหรียญฯ และ 70 เหรียญฯ คาดว่าจะเพิ่ม Fair Value ปี 2561 ของ PTTEP และ PTT ดังนี้
กรณีของ PTTEP มูลค่าหุ้นจะเพิ่มจาก 118 บาท ในกรณีฐาน เป็น 126.81 บาท และ 135.45 บาท หรือเพิ่มขึ้นจากกรณีฐาน 7.47% และ 14.8% ตามลำดับ
กรณีของ PTT มูลค่าหุ้นจะเพิ่มจาก 500 บาท ในกรณีฐาน เป็น 507.7 บาท และ 515.03 บาท หรือเพิ่มขึ้นจากกรณีฐาน 1.5% และ 3% ตามลำดับ ติดตามอ่านรายละเอียด Industry Update ของกลุ่มพลังงาน-ปิโตรเลี่ยม ใน Equity Talk วันนี้
ส่วนกรณีหุ้นถ่านหินซึ่งล่าสุดราคาขึ้นยืนเหนือ 100 เหรียญฯ มาที่ 104 เหรียญฯ แต่พบว่าราคาหุ้นของ BANPU ยังขึ้นน้อยมาก เชื่อว่ายังมาจากความกังวลของคดีที่อยู่ระหว่างการฟ้องร้องในศาลฯ แต่เชื่อว่าราคาตลาดได้สะท้อนปัจจัยลบ จนทำให้มี upside จากมูลค่าหุ้นปี 2561 ราว 33%
Fund Flow เข้ามาเร็วกว่าปกติ แต่ยังต้องระวังแรงขาย LTF
Fund Flow ได้ไหลกลับเข้ามาในตลาดหุ้นภูมิภาคตั้งแต่ต้นปี 2561 และยังเป็นการซื้อสุทธิทุกประเทศ โดยวานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิรวมกันกว่า 700 ล้านเหรียญ และหากพิจารณาเป็นรายประเทศ พบว่า ซื้อทุกประเทศนำโดย เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 433 ล้านเหรียญ (วันที่ 2 ม.ค. 61 ซื้อสุทธิ 330 ล้านเหรียญ) ตามมาด้วยไต้หวัน 171 ล้านเหรียญ (วันที่ 2 ม.ค. 61 ซื้อสุทธิ 333 ล้านเหรียญ), อินโดนีเซีย 5 ล้านเหรียญ (วันที่ 2 ม.ค. 61 ซื้อสุทธิ 33 ล้านเหรียญ), ฟิลิปปินส์ 7 ล้านเหรียญ และไทย 83 ล้านเหรียญ หรือ 2.69 พันล้านบาท เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ยังซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 2.10 พันล้านบาท หลังจากซื้อสุทธิทุกวันในเดือน ธ.ค. 60 โดยมีมูลค่าซื้อสุทธิรวมสูงถึง 3.24 หมื่นล้านบาท
ข้อมูลแสดงเงินทุนต่างชาติไหลเข้าออกรายเดือนของแต่ละประเทศในภูมิภาค
ในปีนี้แรงซื้อจากนักลงทุนต่างชาติมีโอกาสเข้ามาเร็วกว่าปกติ (จากอดีตแรงซื้อ นักลงทุนต่างชาติมักจะเริ่มเข้ามาใน ม.ค. แต่จะเพิ่มมากขึ้นเดือน ก.พ. และซื้อสูงสุดในเดือน มี.ค.) ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสัดส่วนการถือครองหุ้นของต่างชาติ ณ พ.ย. 60 อยู่ในระดับต่ำเพียง 31.24% เท่านั้น (เก็บข้อมูลตั้งแต่ปี 2547 เป็นต้นมา จากที่เคยทำสถิติสูงสุด 36.8% มี.ค. 2555) นับว่าสอดคล้องกับสถิติในอดีตอยู่ที่ต่างชาติมักจะขายปลายปี และกลับมาซื้อต้นปีเสมอ โดยจากสถิติย้อนหลัง 10 ปี พบว่าต่างชาติมักจะซื้อสุทธิหุ้นไทยในไตรมาสแรกสูงสุด เมื่อเทียบกับไตรมาสอื่นๆ ที่เหลือ กว่า 1.05 หมื่นล้านบาท
อย่างไรก็ดีในช่วงต้นปี ตลาดหุ้นไทยอาจมีอุปสรรคบ้างในการปรับตัวเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีโอกาสถูกแรงเทขายจากนักลงทุนสถาบันฯ ด้วยเหตุผลดังนี้
แรงซื้อจากนักลงทุนสถาบันฯ ที่เข้ามาหนาแน่นกว่าปกติ โดยซื้อสุทธิติดต่อกันมากว่า 20 วันทำการ ด้วยมูลค่ารวมสูงถึง 3.24 หมื่นล้านบาท ดังนั้นแรงซื้อที่เข้ามาอย่างรวดเร็ว อาจมีแรงขายทำกำไรระยะสั้น
จากสถิติย้อนหลัง 12 ปี พบว่า นักลงทุนมักจะขายคืน LTF ในเดือน ม.ค. มากที่สุด ราว 22% ของการขายคืนทั้งปี
พิจารณาเม็ดเงินที่ซื้อ LTF ในปี 2557 จะครบกำหนดการถือครอง และสามารถขายคืนได้ในปีนี้ มีมูลค่าสูงถึง 5.63 หมื่นล้านบาท โดยฝ่ายวิจัยฯได้ทำการคำนวณต้นทุนเฉลี่ยถ่วงน้ำหนักเทียบกับ SET Index เท่ากับ 1530.64 จุด ซึ่งต่ำกว่า SET Index ณ ปัจจุบันมาก ทำให้นักลงทุนที่ซื้อ LTF ในปี 2557 ส่วนใหญ่มีกำไร และโอกาสขายคืนในช่วงต้นปี
SET มีโอกาสทำ New High ตามเพื่อนบ้าน
การปรับขึ้นแรงของตลาดหุ้นไทยวานนี้ ส่วนหนึ่งได้อานิสงส์มาจากตลาดหุ้นภูมิภาคเอเซียที่เปิดทำการซื้อขายในปีใหม่นี้ได้อย่างโดดเด่นเช่นกัน นำโดยตลาดหุ้นฮ่องกง (ฮั่งเส็ง) 2 วันทำการปรับขึ้น 2.15% ตามด้วยตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ 2 วันทำการปรับขึ้น 1.94%, ตลาดหุ้นจีน (เซี่ยงไฮ้) 2 วันทำการปรับขึ้น 1.87%, สิงคโปร์ 3 วันทำการขึ้น 1.8%, ไต้หวัน 2 วันทำการปรับขึ้น 1.49% ตามด้วย SET Index เปิดวันเดียวปรับขึ้นถึง 1.42% ตรงข้ามกับตลาดหุ้นอินโดนีเซียเปิดปีใหม่ 2 วันทำการปรับลดลง 1.64% (เนื่องจากปีที่แล้วให้ผลตอบแทนสูงถึง 20% รวม 2 ปี สูงถึง 35%), อินเดีย ลดลง 0.77% และมาเลเซีย ลดลง 0.22%
ในช่วงที่ผ่านมา เริ่มเห็นว่าหลายตลาดในภูมิภาคเอเซียหลายแห่งขึ้นทำสถิติสูงสุด เริ่มจาก ตลาดฮั่งเส็ง ของฮ่องกง ทำ New High ในรอบกว่า 10 ปี ตลาดนิกเกอิ ของญี่ปุ่น ทำสถิติสูงสุดในรอบเกือบ 27 ปี ส่วนตลาดหุ้นเกาหลีใต้ขึ้นทำ New High ไปตั้งแต่เดือน ธ.ค. ปีที่แล้วและกำลังปรับฐาน ขณะที่ตลาดหุ้นกลุ่ม TIP กำลังทำ New High เช่นกัน โดยฟิลิปปินส์วานนี้ขึ้นทำ All-time-high ไปเรียบร้อย ส่วนอินโดนีเซีย ทำ All-time-high ไปตั้งแต่ 2 ม.ค. ก่อนจะปรับฐานวานนี้
ในส่วนของตลาดหุ้นไทยนั้น พบว่า มีแรงซื้อเข้ามาในหุ้น Market Cap ขนาดใหญ่ (รายละเอียดหุ้นข้างต้น) ซึ่งเป็นแรงซื้อที่มาจากนักลงทุนต่างชาติ หลังจากปีที่ผ่านมาขายสุทธิไปราว 2.5 หมื่นล้านบาท ซึ่งฝ่ายวิจัยประเมินกระแส Fund Flow ในปีนี้ว่านักลงทุนต่างชาติน่าจะกลับมาซื้อสุทธิบ้างหลังจากขายต่อเนื่องมาหลายปี (ปี 2559 สลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อย) อีกทั้งสถานการณ์ถือครองหุ้นของนักลงทุนต่างชาติเหลือต่ำมากข้างต้น อีกทั้งจากสถิติย้อนหลัง 10 ปี
ขณะที่สถาบันในประเทศ วานนี้ยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่อง หลังจากปีที่ผ่านมาซื้อสุทธิไปถึง 1.04 แสนล้านบาท จึงอาจต้องระวังแรงขายได้หลังจากนี้ จากแรงขายของ LTF และผ่านพ้นช่วงของการทำ Window Dressing
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4149