- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 29 December 2017 15:33
- Hits: 12504
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ส่งท้ายปีเก่าและต้อนรับปีใหม่ 2561 ขอให้นักลงทุนทุกท่านพบแต่ความสุขและโชคดีกับการลงทุน วันสุดท้ายของปีนี้คาด SET ยังมีโอกาสแกว่งตัว 1734-1747 จุด จากแรงขายระยะสั้น กลยุทธ์ยังแนะนำให้ปรับลดน้ำหนักลงทุนเหลือ 50% จากเดิม 60% โดยเลือกขายเป็นรายหุ้น P/E สูง และ upside จำกัด (BJC, CPALL, ROBINS, CENTEL, TOP, LANNA) และลงทุนหุ้นที่ขึ้นมี upside (BANPU, INTUCH, CPF, SCC, SCB) Top picks เลือกหุ้น Laggards STEC(FV@B30) หรือ พักเงินเข้าในกองทุนฯ / REIT ที่ให้ Div Yield เกิน 5% เช่น SPF
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … กลุ่มพลังงาน – ธ.พ. กดดันตลาดปรับตัวลดลงแรง
วานนี้ SET Index เจอแรงขายช่วงท้ายตลาดฯ กดดันดัชนีติดลบไปกว่า 18 จุด ก่อนจะฟื้นขึ้นเล็กน้อยและปิดที่ 1743.29 จุด ลดลงแรง 9.60 จุด หรือ 0.55% มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นถึง 6.15 หมื่นล้านบาท โดยมีรายการ big lot หุ้น BJC จำนวน 23 ล้านหุ้น มูลค่ากว่า 1.48 พันล้านบาท ราคาเฉลี่ยหุ้นละ 64.50 บาท กลุ่มพลังงานวานนี้ปรับลดลงแรง โดยเฉพาะ PTTEP ลดลง 2.70% เช่นเดียวกับหุ้นโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ทั้ง GPSC และ EA ลดลง 3.07% และ 2.84% ตามลำดับ ตามด้วยกลุ่มปิโตรเคมี IVL ลดลง 2.35% PTTGC ลดลง 0.9% และ GGC 1.96% ส่วนกลุ่มรับเหมาฯ ยังคงปรับตัวลงต่อโดย UNIQ ลดลง 1.25%, STEC ลดลง 0.9% และ SEAFCO ลดลง 1.53% อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยยังคงแนะนำทั้ง STEC และ SEAFCO โดยเฉพาะ STEC มีอัตราการเติบโตของกำไรโดดเด่นที่สุดในช่วงเวลา 3 ปีข้างหน้า เฉลี่ย 30% ต่อปี ตามยอดรับรู้รายได้ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หลังการเซ็นสัญญารับงานใหม่ในปีนี้รวมกว่า 8 หมื่นล้านบาท ส่วน SEAFCO จะมีกำไรปี 2561 เติบโตก้าวกระโดดถึง 50%YoY จากการเซ็นสัญญารับงานในปีนี้มากกว่า 3.6 พันล้านบาท จึงยังคงแนะนำซื้อ
อย่างไรก็ตาม แม้ตลาดฯ จะปรับตัวลดลง แต่หุ้นในกลุ่ม ICT กลับสวนทางตลาดฯ นำโดย DTAC เพิ่มขึ้นแรงกว่า 14.20% ทำ New high ในรอบเกือบ 2 เดือน รับข่าวดีหลัง กสทช. มีมติเห็นชอบแผนธุรกิจที่ TOT จะนำคลื่น 2300 MHz ไปใช้ประกอบธุรกิจระหว่าง TOT และ DTAC แต่อย่างไรต้องติดตามข้อสรุปในขึ้นตอนถัดไปของอัยการสูงสุดและ สคร. ส่วนหุ้นในกลุ่มฯ อย่าง ADVANC เพิ่มขึ้น 1.34% THCOM 1.63% และ INTUCH เพิ่มขึ้น 1.36%
สำหรับ แนวโน้มตลาด วันทำการสุดท้ายของปี คาดว่าดัชนีน่าจะสามารถแกว่งประคองตัวได้หลังจากวานนี้ลงแรง โดยประเมินกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1734 – 1747 จุด
ราคาน้ำมันเพิ่ม...สต็อกและกำลังการผลิตสหรัฐฯ ลดลง
ราคาน้ำมันดิบยังอยู่ในจังหวะทดสอบจุดสูงสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง โดยวานนี้สัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ปรับตัวขึ้นอีก 0.34% มาอยู่ที่ 59.84 เหรียญ/บาร์เรล มีปัจจัยหนุนหลักๆ ดังนี้
ทางสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุดลดลงมากกว่าคาด โดยปรับตัวลดลง 4.60 ล้านบาร์เรล (ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 6) ขณะที่ตลาดฯคาดว่าจะลดลง 3.97 ล้านบาร์เรล
ปัจจัยหนุนระยะสั้น จากปริมาณการผลิตน้ำมันสหรัฐฯปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 9 สัปดาห์ที่ผ่านมา โดยลดลง 0.36% มาอยู่ที่ 9.754 ล้านบาร์เรล/วัน แต่ยังถือเป็นระดับที่สูง รองจากรัสเซีย และซาอุดิอาระเบียเท่านั้น
แรงหนุนจากอุปทานที่ตึงตัว จากเหตุการณ์วางระเบิดท่อขนส่งน้ำมันดิบในลิเบียที่มีกำลังการส่งน้ำมันดิบราว 70,000 ถึง 100,000 บาร์เรล/วัน ซึ่งขนส่งน้ำมันไปยังท่าเรือส่งออกน้ำมันดิบ “Es Sider” เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา
อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบยังคงถูกจำกัด จากท่อขนส่งน้ำมันดิบ Forties ที่ใช้ลำเลียงน้ำมันกว่า 4.5 แสนบาร์เรล ที่หยุดดำเนินการไปในวันที่ 11 ธ.ค. 60 โดยล่าสุดทางบริษัท INEOS ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการท่อขนส่งน้ำมันดิบดังกล่าว คาดว่าจะกลับมาดำเนินงานได้ตามปกติในช่วงต้นเดือน ม.ค. 61
วานนี้ ฝ่ายวิจัยฯปรับ PTTEP(FV@B118) ออกจากพอร์ตกระดาษชั่วคราวเท่านั้น เนื่องจากราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาแรงราว 10% ในช่วง 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ขณะที่ราคาน้ำมันดิบ Dubai เพิ่มขึ้น 5.9% อย่างไรก็ตามเชื่อว่าทิศทางราคาน้ำมันในระยะยาวยังปรับตัวเพิ่มขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป แนะนำสะสมหุ้นน้ำมัน PTT(FV@B500) และ PTTEP(FV@B118) ช่วงที่ราคาอ่อนตัวลง
เดือนธันวาคมต่างชาติขายหุ้นในภูมิภาคมากที่สุดรอบปี 2560
วานนี้ต่างชาติกลับมาซื้อสุทธิในเอเชียเป็นวันที่ 2 ราว 349 ล้านเหรียญ แต่เลือกซื้อเฉพาะตลาดหุ้นเอเชียตะวันออกคือ ตลาดหุ้นไต้หวันมูลค่า 246 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) และเกาหลีใต้มูลค่า 132 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิวันก่อนหน้า) ส่วนตลาดหุ้นกลุ่ม TIP มีเพียงตลาดหุ้นฟิลิปปินส์แห่งเดียวที่ต่างชาติซื้อสุทธิ 25 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4) ส่วน 2 ตลาด ยังกลับมาขายสุทธิคือ อินโดนิเซียราว 42 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิวันก่อนหน้าเพียงวันเดียว) เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยซึ่งยังถูกขายอีก 11 ล้านเหรียญ หรือ 356 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ทั้งนี้สวนทางต่างกับกับสถาบันในประเทศที่ยังเดินหน้าซื้อสุทธิอย่างต่อเนื่องอีก 1.1 พันล้านบาท และเป็นการซื้อสุทธิทุกวันในเดือน ธ.ค. โดยมีมูลค่าซื้อสุทธิรวมสูงถึง 2.96 หมื่นล้านบาท
สรุปโดยภาพรวมแล้วตลอดทั้งเดือน ธ.ค. ต่างชาติขายหุ้นในภูมิภาคมากที่สุดในรอบปีกว่า 3.2 พันล้านเหรียญ ซึ่งแรงขายหลักมากจากตลาดหุ้นไต้หวันและเกาหลีใต้เป็นหลักตามตารางด้านล่าง
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 3.08 หมื่นล้านบาท ขณะที่ต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิ 2.27 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)
กลยุทธ์ให้ปรับลดพอร์ตลงทุนเหลือ 50% และค่อยสะสมใหม่ที่ SET บริเวณ 1720 จุด
แม้วานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับฐาน แต่ผลตอบแทนนับจากต้นปีจนถึงวานนี้ (28 ธ.ค. 2560) SET Index ปรับเพิ่มขึ้นเกือบ 13% ซึ่งไม่สูงนักเมื่อเทียบกับตลาดเพื่อนบ้าน แต่หากพิจารณาผลตอบแทนในรอบ 2 ปี (2559-2560) พบว่าตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนสูงราว 33% นับว่าสูงสุดแห่งหนึ่งในเอเชีย ใกล้เคียงกับอินโดนีเซีย ที่ผลตอบแทน 2 ปีรวมกันที่ 34.5% แต่น้อยกว่าตลาดหุ้นสหรัฐ โดย Dow Jones ให้ผลตอบแทน 2 ปี สูงถึง 40% รายละเอียดดังภาพ
กลุ่มปิโตรเคมี ปรับขึ้นกว่า 92% นำโดย IVL ขึ้นมา 144%, VNT 123% และ PTTGC 70%
รองลงมาคือ กลุ่มค้าปลีก ปรับขึ้น 70% นำโดย BEAUTY 260%, COM7 216%, MEGA 154%, IT 103%, BIG 101%, CPALL 97%, HMPRO 92%, BJC 85%, GLOBAL 76% และ ROBINS 71%
และหากพิจารณาผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยในรอบ 2 ปี พบว่ากลุ่มที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด และ ชนะตลาดอย่างมากคือหุ้น ดังต่อไปนี้ :
1. กลุ่มพลังงาน ปรับขึ้น 64% โดยพบว่ากระจุกตัวในหุ้นโรงไฟฟ้าขนาดเล็ก หรือ พลังงานทดแทน คือ GPSC ปรับตัวเพิ่มขึ้น 220%, BCPG 134%, CKP 104%, EA 67% แม้แต่หุ้นน้องใหม่ BGRIM แม้จะเพิ่งเข้าซื้อขายเมื่อ 19 ก.ค. 60 แต่ก็ปรับขึ้นถึง 78% แต่มีหุ้น Laggards คือ GUNKUL ปรับขึ้นเพียง 2.2% ส่วนหุ้นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ (IPP) เช่น RATCH, GLOW, EGCO ขึ้นในอัตราน้อยกว่าคือราว 14%, 10%, 42% ตามลำดับ นั่นเป็นเพราะว่าการเติบโตจำกัดกว่าหุ้นขนาดเล็ก จากที่กำลังการผลิตในประเทศเกินความต้องการทำให้การประมูลโรงไฟฟ้า IPP ยังไม่เกิดขึ้นอย่างน้อยในระยะ 3-5 ปีข้างหน้า หากเศรษฐกิจไทยยังเติบโตแบบค่อยเป็นค่อยไป
อีกกลุ่มที่ให้ผลตอบแทนโดดเด่นคือ หุ้นโรงกลั่น ESSO ปรับขึ้นถึง 250% ตามด้วย SPRC 85%, IRPC ปรับขึ้น 62% และ TOP 55% หุ้นปิโตรเลี่ยม พบว่า PTT ปรับขึ้น 79%, PTTEP 73% และหุ้นถ่านหิน LANNA 96% และ BANPU 62% เป็นการปรับขึ้นตามราคาน้ำมัน ที่ฟื้นตัวจากต่ำกว่า 30 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลในช่วงปลายปี 2559 มายืนเหนือ 60 เหรียญฯ ปลายปี 2560 เช่นเดียวกับราคาถ่านหินที่ขึ้นมาแตะระดับ 100 เหรียญฯ จากปลายปี 2559 ที่ 88.5 เหรียญฯ
2. กลุ่มขนส่ง ปรับขึ้น 56% นำโดย AOT ผู้ให้บริการสนามที่สดใสตามนักท่องเที่ยวชาวจีนที่หลั่งไหลเข้ามาในประเทศไทยจนทำให้สนามบินหลัก ๆ ทั้งสุวรรณภูมิและดอนเมืองหนาแน่นอีกครั้ง โดยราคาหุ้นขึ้นถึง 93% หุ้นเดินเรือ ฟื้นตัวตามดัชนีค่าระวาง BDI ซึ่งปรับขึ้นตามราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งเหล็ก และ ถ่านหิน นำโดย PSL 87%, WICE 85% และ RCL 66% ตามด้วยหุ้นสายการบิน THAI 86% เพราะปี 2559 รับรู้ผลขาดทุนจากรายการพิเศษจำนวนมาก ขณะที่ปี 2560 เริ่มฟื้นตัวเล็กน้อย แต่ธุรกิจโดยรวมยังคงมีกำไรบางๆ
3. กลุ่มธุรกิจการเงิน ปรับขึ้น 43% ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง นำโดย BFIT ปรับขึ้นถึง 556%, THANI 235%, AMANAH 141%, JMT 152%, ECL 126%, KTC 89%, MTLS 82%, KCAR 69%, TK 60%, IFS 49%, และ SAWAD 46%
4. กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ปรับขึ้น 34% ส่วนใหญ่เป็น ธ.พ. ขนาดกลาง คือ KKP ปรับขึ้น 118%, TISCO 108%, TCAP 56% ส่วน ธ.พ. ขนาดใหญ่ที่ปรับขึ้นมากกว่าตลาดฯ คือ KBANK 56% ยกเว้นบางแห่งที่ขึ้นน้อยกว่ากลุ่มคือ BBK 33%, TMB 25.6%, SCB 25% และ KTB 15%
5. กลุ่มยานยนต์ ปรับขึ้น 37% ที่โดดเด่นสุด คือ AH 229% ตามผลประกอบการที่เติบโต และ BAT-3K 229% เนื่องจากมีการขายหุ้นของผู้ถือหุ้นใหญ่ หุ้นอื่นๆ คือ CWT 56%, PCSGH 49% และ IHL 67%
ตรงข้ามหุ้นที่ underperform หรือขึ้นน้อยกว่าตลาดฯ อย่างมีนัยฯ ในช่วง 2 ปี คือ
1. กลุ่ม ICT ปรับขึ้นเพียง 17% แต่หุ้นที่สามารถปรับขึ้นได้สวนทางกลุ่มฯ คือ SYNEX 247%, JMART 228%, JAS 118% ขณะที่ THCOM ลดลงถึง 57% ผลกระทบจากการเสียลูกค้าดาวเทียม และความกังวลในเรื่องความไม่ชัดเจนของสัมปทานฯ ดาวเทียม
2. กลุ่มบันเทิง ปรับขึ้นเพียง 6.3% แต่ถ้าพิจารณารายตัวให้ผลตอบแทนที่ดีมาก คือ RS, MACO, MONO, WORK, VGI ปรับขึ้น 172%, 124%, 102%, 93%, 77% ตามลำดับ ตรงข้ามกับ AMARIN, BEC, NMG ปรับลดลง 18%, 58% และ 67% ตามลำดับ เนื่องจากเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากธุรกิจดิจิตอลทีวี
3. กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ติดลบ 15% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา น่าจะเป็นผลจากที่ดัชนีกลุ่มได้ขึ้นไปทำสถิติสูงสุดในกลางปี 2559 ซึ่งเป็นช่วงที่มีความคืบหน้าของการประมูลรถไฟฟ้าสายใหม่ ๆ เช่น สายสีเหลือง ส้ม ชมพู แต่ในปี 2560 การประมูลกลับล่าช้าจากปัญหาของการประกาศใช้ พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างฉบับใหม่ที่กำหนดบทลงโทษที่รุนแรงทั้งทางแพ่งและอาญา ส่งผลให้งานประมูลใหม่ๆ ชะงักไปตั้งแต่เดือน ก.ย. ที่ผ่านมา โดยราคาหุ้นรับเหมาฯ รายใหญ่ ทั้ง STEC, CK, UNIQ และ ITD ในรอบ 2 ปี ปรับลดลง 8%, 10%, 28% และ 47% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ยังมีหุ้นที่ปรับขึ้นได้สวนทางกลุ่มฯ คือ SEAFCO 101%, SYNTEC 96%, PYLON 47%
ทั้งนี้ SET Index มี trailing P/E ที่ 17.7 เท่า (แต่สิ้นปี 2561 อยู่ที่ 15.4 เท่า) เข้าสู่ช่วงปรับฐานในช่วงปลายปี และน่าจะต่อเนื่องในช่วงต้นปี 2561 ซึ่งคาดว่าจะมีแรงขาย LTF ที่ครบกำหนด 5 ปีปฏิบัติน่าจะขายออกมา กลยุทธ์การลงทุนแนะนำให้ลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นจากเดิม 60% เหลือ 50% โดยแนะนำขายหุ้นใหญ่ที่ราคาหุ้นปรับขึ้นมามากและฝ่ายวิจัยยังแนะนำ switch หรือ ขาย เช่น IHL, PCSGH, GPSC, EA, JAS, TOP, CKP, AH, LANNA รวมทั้งหุ้นที่ upside เหลือน้อย หรือราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้ว เช่น THANI, BJC, HMPRO และสลับมาลงทุนในหุ้นที่ยัง laggard กว่าตลาดฯ เช่น SCC (FV@B620) SCB (FV@B174) UNIQ (FV@B24) IRPC ([email protected]) BANPU (FV@B26) BCH ([email protected]) SPALI ([email protected])
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์