WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
  คาด SET แกว่งตัวในกรอบ 1747-1760 จุด โดยมีแรงขายทำกำไรระยะสั้น เนื่องจากดัชนีปรับขึ้นเร็วเกินไป และ volume เบาบาง ให้ลดน้ำหนักการลงทุนจาก 60% เหลือ 50% โดยให้ขายหุ้นแพง BJC, CPALL, ROBINS, CENTEL, TOP, LANNA) สลับมาหุ้นที่ขึ้นน้อยกว่าตลาดฯ (BANPU, INTUCH, CPF, SCC, SCB) Top picks STEC(FV@B30) และ CPF([email protected]) เป็นหุ้น laggards

ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … กลุ่มค้าปลีกช่วยประคองตลาดฯ ปิดบวกเล็กน้อย
  วานนี้ดัชนีฯ แกว่งผันผวนโดยช่วงเช้าดัชนีบวกกว่า 11 จุด ก่อนจะมีแรงขายช่วงท้ายกดดันดัชนีปิดที่ 1752.89 จุด เพิ่มขึ้นเพียง 0.41 จุด หรือ 0.02% มูลค่าการซื้อขายกว่า 6.15 หมื่นล้านบาท ซึ่งมีรายการ Big Lot หุ้น AAV จำนวนกว่า 1.76 พันล้านหุ้น มูลค่ากว่า 8.28 พันล้านบาท ราคาเฉลี่ยหุ้นละ 4.70 บาท และหุ้น BJC จำนวน 23 ล้านหุ้น มูลค่ากว่า 1.46 พันล้านบาท ราคาเฉลี่ยหุ้นละ 63.50 บาท โดยกลุ่มค้าปลีก ปรับขึ้นจาก CPALL 1.63% ตามด้วย BJC 2.00% BEAUTY 1.46% ตามด้วยกลุ่มพลังงาน PTTEP ปรับขึ้น 1.50% ส่วนหุ้นในกลุ่มโรงไฟฟ้า GULF เพิ่มขึ้น 5.46% EA เพิ่มขึ้น 1.44%
  ตรงข้ามกับหุ้นปิโตรเคมีทั้ง IVL, PTTGC และ GGC ลดลง 0.93%, 0.6% และ 3.8% ตามลำดับ ส่วนหุ้น ธ.พ. ยังคงปรับตัวลดลงต่อเนื่อง โดย SCB ลดลง 0.33% TMB ลดลง 0.66% KTB ลดลง 0.52% และ BBL ลดลง 0.5%


  สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ จากแรงขายในช่วงท้ายวานนี้ น่าจะยังมี momentum เชิงลบเหลืออยู่ ทำให้ดัชนีมีโอกาสแกว่งพักตัวลงมาทดสอบแนวรับ 1747 จุด ขณะที่แนวต้านของวันจะอยู่ที่ 1760 จุด

แผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานฯ ของสหรัฐน่าจะเริ่มปีหน้า หนุนเศรษฐกิจโตต่อ
  ประเด็นต่างประเทศปี 2561 ในสหรัฐหลังจากผ่านร่างกฎหมายปฎิรูปภาษี คือ ปรับลดภาษีนิติบุคคล และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และมีผลบังคับใช้ในปี 2561 ทันทีซึ่งจะเป็นปัจจัยที่หนุนเศรษฐกิจและกำไรของตลาดหุ้นสหรัฐในปีหน้า นอกจากนี้ตลาดคาดหวังประเด็นรัฐบาลของทรัมป์ เตรียมนำแผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ระยะยาว อาทิ ทางหลวง สะพาน, ระบบไฟฟ้าวงเงิน 1 ล้านล้านเหรียญฯ (คิดราว 5.7% ของ GDP สหรัฐ) กลับมาปัดฝุ่นอีกครั้งหนึ่ง ประกอบกับ Fed คาดการณ์จะขึ้นดอกเบี้ยระยะยาวปี 2561- 2562 ปีละ 3 ครั้ง และปี 2563 อีก 1 ครั้งโดยจะขึ้นได้เร็วหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับตัวแปรหลักๆ คือ อัตราเงินเฟ้อ ล่าสุดอยู่ที่ 1.9%yoy และน้ำมันดิบ ล่าสุด ยืนเหนือ 60 เหรียญ


  โดยภาพรวมเชื่อว่าตลาดหุ้นสหรัฐได้ปรับขึ้นมามาก สะท้อนจากผลตอบแทนตลาดหุ้นสหรัฐในปีนี้ที่ปรับขึ้น คือ Dow Jones ราว 25.3% และ S&P500 ราว 19.8% นับตั้งแต่ต้นปี และหากพิจารณาย้อนหลังไป 2 ปี พบว่า ตลาดหุ้นสหรัฐให้ผลตอบสะสมรวมสูงถึงกว่า 39% นับว่าเป็นตลาดหุ้นที่ให้ผลตอบแทนสูงมากแห่งหนึ่งของโลกทำให้ปี 2561 การปรับขึ้นของตลาดหุ้นสหรัฐอาจจะไม่ได้มาก


  ขณะที่ไทย เศรษฐกิจปี 2561 คาดว่าจะเติบโต 4.2%yoy เร่งจากปี 2560 ที่เติบโต 3.8%yoy (9M2560 โต 3.8%) ซึ่งเป็นผลจากเครื่องจักรทุกตัวทำงาน โดยเฉพาะการลงทุนภาคเอกชนที่เริ่มกระเตื้องขึ้นและเห็นเป็นรูปธรรมจากนโยบายส่งเสริมการลงทุนผ่าน EEC ตามหลังการลงทุนภาครัฐ ที่มีโครงการพร้อมจะนำมาประมูลในปี 2561 สูงราว 9.2 แสนล้านบาท และนโยบายกระตุ้นการบริโภคภาคครัวเรือนจากภาครัฐที่ยังหนุนตลอดปี อาทิ บัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย และลดหย่อนภาษีท่องเที่ยว 1.5 หมื่นบาท และถือว่ามีส่วนสำคัญช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยรวมและตลาดหุ้นไทยปี 2561

 

ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาค แต่ยังขายไทย
  วานนี้ตลาดหุ้นในภูมิภาคทั้ง 5 ประเทศ กลับมาเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิราว 110 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิในวันก่อนหน้า) และเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 3 ประเทศ คือ ไต้หวันถูกซื้อสุทธิ 117 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว), อินโดนีเซีย 15 ล้านเหรียญ และฟิลิปปินส์ 7 ล้านเหรียญ ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 2 ประเทศ ต่างชาติขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 14 ล้านเหรียญ และไทย 16 ล้านเหรียญ หรือ 515 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ต่างกับกับสถาบันในประเทศที่ยังซื้อสุทธิอีก 2.24 พันล้านบาท และเป็นการซื้อสุทธิทุกวันในเดือน ธ.ค. นี้ โดยมีมูลค่าซื้อสุทธิรวมสูงถึง 2.85 หมื่นล้านบาท
  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 4.54 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิ 1.16 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน)

 

กลยุทธ์การลงทุน ปรับลดพอร์ตลงทุนหุ้นไทยจาก 60% เหลือ 50%
  ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนทั้งปี 2560 ราว 13.5% แม้ว่าจะไม่สูงนักเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน แต่หากพิจารณาผลตอบแทนในรอบ 2 ปี พบว่าตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนสูงราว 36% นับว่าสูงสุดแห่งหนึ่งในเอเชีย ใกล้เคียงกับอินโดนีเซีย ที่ผลตอบแทน 2 ปีรวมกันที่ 35.5% แต่น้อยกว่าตลาดหุ้นสหรัฐ โดย Dow Jones ให้ผลตอบแทน 2 ปี สูงถึง 42% รายละเอียดดังภาพ

ทั้งนี้ หากพิจารณาผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยในรอบ 2 ปี พบว่ากลุ่มที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด คือ
  กลุ่มปิโตรเคมี ปรับขึ้นกว่า 96% นำโดย IVL ขึ้นมา 152%, VNT 123% และ PTTGC 72.5%
  รองลงมาคือ กลุ่มค้าปลีก ปรับขึ้น 70% นำโดย BEAUTY 256%, COM7 216%, MEGA 156%, IT 105%, BIG 101%, CPALL 95%, HMPRO 94%, BJC 81%, GLOBAL 77% และ ROBINS 67%
  กลุ่มพลังงาน ปรับขึ้น 65% นำโดยหุ้นโรงกลั่น ESSO ปรับขึ้นถึง 254% ตามด้วย SPRC 89%, IRPC ปรับขึ้น 64% และ TOP 57%
  ส่วนหุ้นน้ำมัน PTT ปรับขึ้น 82%, PTTEP 76% เป็นการขึ้นตามราคาน้ำมันจากที่ต่ำกว่า 30 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล เป็น 60 เหรียญฯ ในปัจจุบัน และหุ้นถ่านหิน นำโดย LANNA ปรับขึ้นถึง 92% และ BANPU 56% จากราคาถ่านหินโลกที่ขยับขึ้นต่อเนื่อง
  ในส่วนของหุ้นโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนที่ปรับขึ้นได้โดดเด่นมาก คือ GPSC 225%,BCPG 144%, CKP 105%, EA 69% ส่วนหุ้นน้องใหม่ BGRIM แม้จะเพิ่งเข้าซื้อขายเมื่อ 19 ก.ค. 60 แต่ก็ปรับขึ้นถึง 81% แต่มีหุ้น Laggards คือ GUNKUL ปรับขึ้นเพียง 2.7% ส่วนหุ้นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่เช่น RATCH, GLOW, EGCO ขึ้นในอัตราน้อยกว่าคือราว 16%, 10%, 48% ตามลำดับ


  กลุ่มขนส่ง ปรับขึ้น 60% นำโดย AOT ปรับขึ้นถึง 98%, THAI 90% ขณะที่หุ้นเดินเรือ-โลจิสติกส์ ปรับขึ้นได้มากเช่นกัน คือ PSL 89%, WICE 81% และ RCL 68%
  กลุ่มธุรกิจการเงิน ปรับขึ้น 44% แต่ส่วนใหญ่จะเป็นหุ้นเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง นำโดย BFIT ปรับขึ้นถึง 543%, THANI 230%, AMANAH 164%, JMT 154%, ECL 132%, KTC 89%, MTLS 84%, KCAR 69%, TK 55%, IFS 49%, และ SAWAD 46%
  กลุ่มธนาคารพาณิชย์ ปรับขึ้น 36% ส่วนใหญ่เป็น ธ.พ. ขนาดกลาง คือ KKP ปรับขึ้น 118%, TISCO 113%, TCAP 56% ส่วน ธ.พ. ขนาดใหญ่ที่ปรับขึ้นมากกว่าตลาดฯ คือ KBANK 56%
  กลุ่มยานยนต์ ปรับขึ้น 36% ที่โดดเด่นสุด คือ AH 226% ตามผลประกอบการที่เติบโต และ BAT-3K 223% เนื่องจากมีการขายหุ้นของผู้ถือหุ้นใหญ่ หุ้นอื่นๆ คือ CWT 53%, PCSGH 47% และ IHL 67%

ตรงข้ามหุ้นที่ underperform หรือขึ้นน้อยกว่าตลาดฯ อย่างมีนัยฯ ในช่วง 2 ปี คือ
  กลุ่ม ICT ปรับขึ้นเพียง 15% แต่หุ้นที่สามารถปรับขึ้นได้สวนทางกลุ่มฯ คือ SYNEX 231%, JMART 228%, JAS 118% ขณะที่ THCOM ลดลงถึง 57% ผลกระทบจากการเสียลูกค้าดาวเทียม และความกังวลในเรื่องความไม่ชัดเจนของสัมปทานฯ ดาวเทียม


กลุ่มบันเทิง ปรับขึ้นเพียง 6.6% แต่ถ้าพิจารณารายตัวให้ผลตอบแทนที่ดีมาก คือ RS, MACO, MONO, WORK, VGI ปรับขึ้น 172%, 121%, 102%, 93%, 73% ตามลำดับ ตรงข้ามกับ AMARIN, BEC, NMG ปรับลดลง 18%, 58% และ 67% ตามลำดับ เนื่องจากเป็นผู้ที่ได้รับผลกระทบจากธุรกิจดิจิตอลทีวี
  กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ติดลบ 15% ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา น่าจะเป็นผลจากที่ดัชนีกลุ่มได้ขึ้นไปทำสถิติสูงสุดในกลางปี 2559 ซึ่งเป็นช่วงที่มีความคืบหน้าของการประมูลรถไฟฟ้าสายใหม่ ๆ เช่น สายสีเหลือง ส้ม ชมพู แต่ในปี 2560 การประมูลกลับล่าช้าจากปัญหาของการประกาศใช้ พ.ร.บ. จัดซื้อ จัดข้างฉบับใหม่ที่กำหนดบทลงโทษที่รุนแรงทั้งทางแพ่งและอาญา ส่งผลให้งานประมูลใหม่ๆ ชะงักไปตั้งแต่เดือน ก.ย. ที่ผ่านมา โดยราคาหุ้นรับเหมาฯ รายใหญ่ ทั้ง STEC, CK, UNIQ และ ITD ในรอบ 2 ปี ปรับลดลง 8%, 10%, 28% และ 47% ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ยังมีหุ้นที่ปรับขึ้นได้สวนทางกลุ่มฯ คือ SEAFCO 103%, SYNTEC 92%, PYLON 47%


  ด้วยเหตุที่ SET Index ปรับขึ้นมาแรง ทำให้มีความเสี่ยงที่จะปรับฐาน ฝ่ายวิจัยจึงปรับลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้น จาก 60% เหลือ 50% โดยแนะนำขายหุ้นใหญ่ที่ราคาหุ้นปรับขึ้นมามากและฝ่ายวิจัยยังแนะนำ switch หรือ ขาย เช่น IHL, PCSGH, GPSC, EA, JAS, TOP, CKP, AH, LANNA รวมทั้งหุ้นที่ upside เหลือน้อย หรือราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้ว เช่น THANI, BJC, HMPRO และสลับมาลงทุนในหุ้นที่ยัง laggard กว่าตลาดฯ เช่น SCC (FV@B620) SCB (FV@B174) UNIQ (FV@B24) IRPC ([email protected]) BANPU (FV@B26) BCH ([email protected]) SPALI ([email protected])

 

SUN ซื้อขายวันแรกใน MAI บน PER สูงกว่า APURE และ CM
  บริษัท ซันสวีท จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายข้าวโพดหวานแปรรูปและผลิตภัณฑ์แปรรูปสินค้าเกษตรอื่นๆภายใต้ตราสินค้าของบริษัท “KC” (20% ของรายได้รวม) และผลิตสินค้าภายใต้แบรนด์ของลูกค้า (Original Equipment Manufacturer: OEM 80% ของรายได้รวม) โดยมีสัดส่วนรายได้ถึง 88% มาจากต่างประเทศ นอกจากนี้ ยังทำธุรกิจซื้อมาขายไปสินค้าเกษตรอีกด้วย
กำไรสุทธิงวด 9M60 ของ SUN เท่ากับ 111 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23.4% yoy มีปัจจัยสนับสนุนจาก gross margin เฉลี่ยงวด 9M60 ปรับเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 21.1% ผลจากประสิทธิภาพการดำเนินการผลิตในโรงงานดีขึ้น จากการติดตั้งเครื่องจักรใหม่เสร็จไปตั้งแต่งวด 2Q60 หักล้างรายได้รวมงวด 9M60 ที่อ่อนตัวลง 5.5% yoy ไปได้ทั้งหมด
  SUN กำหนดราคา IPO ไว้ที่ 5.85 บาท/หุ้น เทียบเท่า Trailing PER ที่ 18.9 เท่า สูงกว่าผู้ประกอบการที่ทำธุรกิจในลักษณะเดียวกันและมูลค่ากิจการใกล้เคียงกันอย่าง APURE และ CM ที่ซื้อขายกันที่ Trailing PER เพียง 11-12 เท่า นอกจากนี้ ประสิทธิภาพการทำกำไรและสัดส่วนหนี้สินต่อทุนของ APURE และ CM ก็อยู่ในสถานะที่ดีกว่า SUN เช่นเดียวกัน ฝ่ายวิจัยจึงประเมินว่า SUN มี valuation แพงกว่าคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกันมาก

ประเด็นความเสี่ยงที่มีน้ำหนักต่อผลการดำเนินงานของ SUN
  1. SUN มีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกสินค้าในงวด 9M60 ถึง 83% ส่วนใหญ่เป็นดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่ง SUN ได้ป้องกันความเสี่ยงด้วยการทำ Forward Contract กับธนาคาร ในสัดส่วนราว 70% ของมูลค่าการซื้อขายของลูกค้า
  2. ข้าวโพดหวานซึ่งเป็นวัตถุดิบหลักในการผลิตสินค้า เป็นผลผลิตทางการเกษตรที่มีความผันผวนทั้งในด้านปริมาณและราคา ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อผลผลิตและคุณภาพของข้าวโพดหวาน นอกจากนี้ หากผลผลิตข้าวโพดหวานออกสู่ตลาดน้อยลง จะส่งผลให้ราคาวัตถุดิบข้าวโพดหวานสูงขึ้น นอกจากนี้อาจทำให้ มีวัตถุดิบข้าวโพดหวานในการผลิตสินค้าให้ลูกค้าไม่เพียงพอ ดังนั้น SUN จึงได้ทำสัญญาทางการเกษตรแบบพันธสัญญา (Contact Farming) กับผู้รวบรวมวัตถุดิบ และกำหนดราคารับซื้อล่วงหน้าจากผู้รวบรวมวัตถุดิบหรือเกษตกรไว้แล้ว

 

ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!