- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 27 December 2017 17:39
- Hits: 2741
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ในช่วงสัปดาห์สุดท้ายของปี 2560 ตลาดหุ้นไทยยังสดใส จากแรงหนุนของ LTF และ Window Dressing รวมทั้งราคาน้ำมันดิบดูไบแตะ 64 เหรียญฯ สูงสุดในรอบ 2 ปีครึ่ง คาด SET แกว่งตัวขึ้น 1743-1757 จุด แต่เชื่อว่ามีโอกาสถูกขายทำกำไรระหว่างทาง และต่อเนื่องในงวด 1Q61 กลยุทธ์ยังแนะนำทยอยขายหุ้นแพง BJC, CPALL, ROBINS, CENTEL, TOP, LANNA แต่เลือกหุ้นปันผล (PTTEP, BANPU, INTUCH, CPF, SCC, SCB) Top picks คือ PTTEP (FV@118) ได้แรงหนุนราคาน้ำมันขึ้นอย่างรวดเร็ว และ SCC(FV@B620) หุ้น Laggard ปันผลสูง
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … ดัชนีปรับขึ้นท่ามกลางมูลค่าซื้อขายที่เบาบาง
วานนี้ SET Index แกว่งตัวสลับบวก-ลบ ตลอดวันก่อนจะปิดตลาดที่ 1752.48 จุด เพิ่มขึ้น 2.26 จุด หรือ 0.13% มูลค่าการซื้อขาย 4.9 หมื่นล้านบาท แรงหนุนจากหุ้นขนาดใหญ่รายตัวอย่าง AOT ขึ้นทำ New high ต่อเนื่อง ปิดที่ 68.50 บาท เพิ่มขึ้น 3.01% ผลตอบแทนตั้งแต่ต้นปีสูงกว่า 72% ทำให้มีโอกาสถูกแรงขายทำกำไรหลังจากนี้ จึงแนะนำให้ลงทุนหุ้นขนาดใหญ่ที่ราคา Laggard อย่าง SCC และยังคาดหวังปันผลสูงกว่า 3.8% ต่อปี ส่วนหุ้นในกลุ่มค้าปลีกอย่าง MAKRO เพิ่มขึ้นแรงกว่า 3.90% ตามด้วย BJC เพิ่มขึ้นอีก 2.83% ส่วน BEAUTY, HMPRO เพิ่มขึ้น 1.5% และ 1.5% ตามลำดับ อีกกลุ่มคือ กลุ่มท่องเที่ยวและโรงแรมที่ปรับตัวเด่นรับ ครม. เห็นชอบมาตรการลดหย่อนภาษีท่องเที่ยวเมืองรอง ทั้ง ERW เพิ่มขึ้น 4.9% และ CENTEL เพิ่มขึ้น 4.61% ส่วน MINT ราคายังทรงตัวจากวันก่อนและ underperform ที่สุดในกลุ่มฯ จึงเลือกเป็น Top pick พร้อมกับ upside อีก 15% ส่วนหุ้นใหม่อย่าง DDD ปิดที่ 85 บาท เพิ่มขึ้น 60.8% จากราคา IPO ที่ 53 บาท
อย่างไรก็ตาม ยังมีหุ้นใหญ่หลายกลุ่มอุตสาหกรรมปรับตัวลดลง อาทิ PTT ลดลงกว่า 1.80% IVL ลดลง 1.4% กลุ่ม ธ.พ. นำโดย SCB ลดลง 1.64%, BBL ลดลง 1.00% และ KTB ลดลง 0.52% ส่วนกลุ่ม ICT โดยผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือทั้ง TRUE DTAC และ ADVANC ลดลง 1.61%, 1.15% และ 0.3% ตามลำดับ
สำหรับ แนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดดัชนีน่าจะแกว่งขึ้นตามแรงซื้อของกองทุนในประเทศ แต่มีความผันผวนสูง จากแรงขายทำกำไรระยะสั้นเช่นกัน คาดดัชนีจะอยู่ในกรอบ 1743-1757 จุด
รัฐ กระตุ้น 'C'ผ่านการลดหย่อนภาษีท่องเที่ยวเมืองรองปี 2561
รัฐบาลยังคงออกมาตรการกระตุ้นการบริโภคในปี 2561 อย่างต่อเนื่อง นอกจากมาตรการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแล้ว ล่าสุด ออกมาตรการลดหย่อนภาษีกระตุ้นการท่องเที่ยวเมืองรอง 55 จังหวัด อาทิ นครศรีธรรมราช ตรัง เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง พิษณุโลก อุบลราชธานี หนองคาย เลย เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ ราชบุรี จันทบุรี นราธิวาส ยะลา และปัตตานี เป็นต้น โดยนำค่าใช้จ่าย เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าทัวร์ ค่าแพ็คเกจท่องเที่ยว มาหักลดหย่อนภาษีได้ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาท ระยะเวลาตั้งแต่ 1 ม.ค. – 31 ธ.ค. 61 และรัฐบาลยังออกมาตรการในด้านอื่นๆเพิ่มเติม เพื่อเป็นของขวัญปีใหม่ในปี 2561 อาทิ ยกเว้นค่าธรรมเนียมสถานที่ท่องเที่ยวช่วงปีใหม่ เช่น อุทยานแห่งชาติ, พิพิธภัณฑ์ ทางหลวงมอเตอร์เวย์ เป็นต้น, และโครงการให้เงินอุดหนุนแก่เด็กแรกเกิด ผู้สูงอายุ และผู้พิการ เป็นต้น
คาดว่า มาตรการดังกล่าวจะเป็นปัจจัยสนับสนุนการบริโภคใน 2561 ตามหลังการลงทุนเอกชนที่ได้อานิสงค์จากนโยบาย EEC และการลงทุนภาครัฐที่ยังเหลือโครงการประมูลงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน (Action plan) อีกราว 2.0 ล้านล้านบาท หรือ 83% ของแผนระยะยาว
มาตรการภาษีกระตุ้นการท่องเที่ยว ถือเป็นโอกาสต่อธุรกิจโรงแรมไทย โดยปัจจุบัน ERW, CENTEL และ MINT มีสัดส่วนรายได้ค่าห้องพักจากคนไทยเพิ่มขึ้น โดย ERW ได้อานิสงค์มากสุด เนื่องจากมีรายได้ค่าห้องพักมาจากนักท่องเที่ยวชาวไทยมากสุดเป็นอันดับ 1 คิดเป็นสัดส่วน 16% ตามด้วย CENTEL และ MINT มีสัดส่วน 13% และ 6% ตามลำดับ
เลือก MINT ([email protected]) เนื่องจากราคาหุ้น underperform สุดในกลุ่มฯ มี upside 15% ขณะที่ ERW ([email protected]) และ CENTEL ([email protected]) เหลือ upside จำกัด จึงอาจหาจังหวะลงทุน เมื่อราคาอ่อนตัวลงมา
สถาบันฯ ยังเป็นกำลังหลักที่ช่วยหนุนดัชนีหุ้นไทย
วานนี้ตลาดหุ้นอินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ หยุดทำการต่อเนื่องในเทศกาลคริสต์มาส ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆ ในภูมิภาคกลับมาเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 79 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) แม้มีตลาดหุ้นเกาหลีใต้เพียงแห่งเดียวที่ถูกซื้อสุทธิ 38 ล้านเหรียญ แต่ตลาดหุ้นไต้หวันที่ถูกขายสุทธิ 108 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 38 ล้านเหรียญ หรือ 1.23 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน) ต่างกับกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิอีก 1.15 พันล้านบาท และยังเป็นการซื้อสุทธิทุกวันในเดือน ธ.ค. นี้ โดยมีมูลค่าซื้อสุทธิรวมสูงถึง 2.63 หมื่นล้านบาท
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.36 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 2.17 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
ยังแนะนำให้ขายทำกำไรหุ้นที่ขึ้นมาสูง สลับไปหุ้น Laggard
ด้วยดัชนีที่ฟื้นตัวเร็วในช่วงใกล้สิ้นปี ทำให้ดัชนีตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนปี 2560 ราว 13.5% แม้ว่าจะไม่สูงนักเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน แต่หากพิจารณาผลตอบแทนในรอบ 2 ปี พบว่าตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทนสูงถึง 36% นับว่าสูงสุดแห่งหนึ่งในเอเชีย ใกล้เคียงกับอินโดนีเซีย ที่ผลตอบแทน 2 ปีรวมกันราว 35.5% แต่น้อยกว่าตลาดหุ้นสหรัฐ โดย Dow Jones ให้ผลตอบแทน 2 ปี สูงถึง 42%
จึงประเมินว่า ดัชนีที่ขึ้นแรงในช่วงปลายปี 2560 มีโอกาสจะถูกขายในช่วงไตรมาสแรกของปี 2561 จากการขาย LTF ที่ครบ 5 ปีปฏิทิน ซึ่งน่าจะทำให้ดัชนีในงวดไตรมาสแรกของปี 2561 แกว่งตัวในกรอบ 1693-1744 จุด ซึ่งกำหนดกรอบดัชนีที่อิง P/E 16.5-17 เท่าในปี 2561 จึงแนะนำให้ให้ขายทำกำไรหุ้นรายตัวที่เกินพื้นฐานหรือมี upside จำกัด BJC, CPALL, ROBINS, CENTEL, TOP, LANNAแต่เลือกหุ้นปันผล (PTTEP, BANPU, INTUCH, CPF, SCC, SCB) Top picks คือ PTTEP (FV@118) ได้แรงหนุนราคาน้ำมันขึ้นแตะ 64 เหรียญฯ สูงสุดในรอบกว่า 2 ปีครึ่ง และ SCC (FV@B620) ราคาหุ้นยัง Laggard ขณะที่ให้เงินปันผลสูง
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์