- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 21 December 2017 18:40
- Hits: 1343
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีเดินหน้าต่อตามแรงซื้อกองทุนไทยผ่าน LTF และการทำ Window Dressing และราคาน้ำมันที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง ขณะที่เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่า ในอัตราที่เร็วกว่าค่าเงินอื่นในเอเชีย ลดแรงกดดันต่อภาคส่งออก แต่อาจหนุนให้ Fund Flow ชะลอตัว ทำให้ดัชนียังมีความผันผวน 1727-1744 จุด กลยุทธ์ทยอยขายหุ้นแพง BJC, CPALL, ROBINS, CENTEL, TOP, LANNA แต่ให้เลือกหุ้นปันผล (PTTEP, BANPU, INTUCH, CPF, SCC, SCB) Top picks เลือก INTUCH(FV@79) และ SCC(FV@B620) นอกจาก Laggard เงินปันผลสูง ยังมีโอกาสทำ Window Dressing
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีเดินหน้าต่อตามแรงซื้อกองทุนไทยผ่าน LTF และการทำ Window Dressing และราคาน้ำมันที่ฟื้นตัวแข็งแกร่ง ขณะที่เงินบาทมีทิศทางอ่อนค่า ในอัตราที่เร็วกว่าค่าเงินอื่นในเอเชีย ลดแรงกดดันต่อภาคส่งออก แต่อาจหนุนให้ Fund Flow ชะลอตัว ทำให้ดัชนียังมีความผันผวน 1727-1744 จุด กลยุทธ์ทยอยขายหุ้นแพง BJC, CPALL, ROBINS, CENTEL, TOP, LANNA แต่ให้เลือกหุ้นปันผล (PTTEP, BANPU, INTUCH, CPF, SCC, SCB) Top picks เลือก INTUCH(FV@79) และ SCC(FV@B620) นอกจาก Laggard เงินปันผลสูง ยังมีโอกาสทำ Window Dressing
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … หุ้นขนาดใหญ่ดันตลาดปิดบวก
วานนี้ SET Index แกว่งสลับบวก-ลบ ในช่วงเช้า ก่อนจะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงบ่ายและปิดตลาดที่ 1738.16 จุด เพิ่มขึ้น 5.85 จุด หรือ 0.34% มูลค่าการซื้อขาย 4.84 หมื่นล้านบาท หุ้นขนาดใหญ่อย่าง SCC ปรับตัวขึ้นโดดเด่นกว่า 2.07% ซึ่งวานนี้ SCC ได้มีมติอนุมัติการปรับโครงสร้างของบริษัทย่อยโดยจะดําเนินการด้วยวิธีการควบบริษัทของ SCC ที่ถือผ่านบริษัทเซรามิคซิเมนต์ไทย จํากัด (CCCL) จํานวน 5 บริษัท ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจและศักยภาพในการแข่งขัน ฝ่ายวิจัยให้ Fair value ปี 2561 อยู่ที่ 620 บาท มี upside สูงกว่า 26% ตามด้วย MAKRO เพิ่มขึ้น 5.92% ตั้งแต่ต้นสัปดาห์ราคาหุ้นปรับขึ้นมาแล้วกว่า 13.4% ขณะที่หุ้นในกลุ่มพลังงานอย่าง PTT เพิ่มขึ้น 0.5% และ IRPC เพิ่มขึ้นอีก 2.21% กลุ่ม ICT อย่าง TRUE และ ADVANC เพิ่มขึ้น 2.50% และ 0.54% ส่วนหุ้นรายตัวที่ปรับขึ้นโดดเด่นคือ CPF เพิ่มขึ้น 1.7% ส่วนหุ้นนิคมฯ WHA และ AMATA เพิ่มขึ้นอีก 1.02% และ 3.00% ตามลำดับ
ส่วนหุ้นที่ปรับตัวลดลงคือ หุ้นธนาคารพาณิชย์อย่าง KTB, TMB และ BAY ลดลง 0.52%, 0.67% และ 0.62% เช่นเดียวกับกลุ่ม ร.พ. อย่าง BDMS ลดลง 0.92% LPH ลดลง 3.29% RPH ลดลง 0.42% ส่วน BCH ปรับตัวขึ้นสวนทางกลุ่มฯ 1.92%
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสแกว่งพักตัวหลังจากปรับขึ้นมา 6 วันติด อีกทั้งเข้าใกล้แนวต้าน 1744 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1727 จุด
ธปท. คงดอกเบี้ย และคาด เศรษฐกิจเติบโตราว 3.9% ปี 2561 และเงินเฟ้อต่ำ 1.1%
ประเด็นการปฎิรูปภาษีสหรัฐ ในที่สุดผ่านการพิจารณาในขั้นตอนสุดท้ายจากรัฐสภาสหรัฐเป็นที่เรียบร้อย คือ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 21% จากเดิม 35% และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะลดขั้นบนสุดเหลือ 37% จากเดิม 39.6% ทั้งหมด 7 ขั้น ตามฐานรายได้ ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายคือ ส่งให้ประธานาธิบดี ทรัมป์ เซ็นอนุมัติเป็นกฎหมาย ก่อนวันคริสต์มาส 25 ธ.ค. และจะบังคับใช้ปี 2561 ทันที ซึ่งน่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐ และอัตราเงินเฟ้อในปี 2561 ขยายตัวต่อเนื่อง หนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2561 อีก 3 ครั้ง ตามที่ประกาศไว้ โดยตลาดหุ้นสหรัฐได้ตอบรับประเด็นปฎิรูปภาษีดังกล่าวไปมากแล้วสะท้อนจากผลตอบแทนตลาดหุ้นสหรัฐที่ปรับขึ้น Dow Jones ราว 25% และ S&P500 ราว 19.8%
ขณะที่ไทย ผลการประชุม กนง.เป็นไปตามคาด คือ ยังคงอัตราดอกเบี้ยฯที่ 1.5% ตามเดิม (ตั้งแต่ เม.ย. 2558) แต่มีมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยดีขึ้น โดยการปรับเพิ่ม GDP Growth ปี 2560-61 เป็นปีละ 3.9%yoy(ใกล้เคียงกับ Consensus) จากเดิม 3.8% โดยมาจากภาคส่งออกที่ขยายตัวตามประเทศคู่ค้า และการลงทุนรัฐควบคู่กับเอกชนที่ขยายตัวในปีหน้า ขณะที่ปรับเพิ่มสมมติฐานเงินเฟ้อ ปีนี้เป็น 0.7%yoy จากเดิม 0.6% แต่ปรับลดปีหน้าเหลือ 1.1% จากเดิม 1.2% เพราะเงินเฟ้อล่าสุดอยู่ที่ 0.9% (เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 0.66%) ทำให้ กนง. น่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายต่อไปจนถึง 1H61
SCC ปรับโครงสร้าง บ.ย่อยผลิตกระเบื้อง เพื่อเข้ามา Listed ในตลาดฯ
SCC มีแผนปรับโครงสร้างธุรกิจกระเบื้องเซรามิกในประเทศไทย โดยจะควบรวมกิจการของบริษัทย่อย 5 แห่ง ที่ถือผ่านบริษัทเซรามิคซีเมนต์ไทย จำกัด (CCCL) เข้าด้วยกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และความสามารถในการแข่งขัน จาก Synergy ระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลดความซ้ำซ้อนของหน่วยงานที่ใกล้เคียงกัน การเพิ่มอำนาจการต่อรองกับผู้จำหน่ายวัตถุดิบและผู้จัดจำหน่าย เป็นต้น ทั้งนี้ ภายหลังการควบรวมแล้วเสร็จ จะนำบริษัทใหม่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2561
การควบรวมบริษัทย่อยทั้ง 5 แห่ง ประกอบไปด้วย TGCI ซึ่งจดทะเบียนในตลาดเพียงแห่งเดียว ปัจจุบัน SCC ถือหุ้น TGCI 74.71% และอีก 4 แห่งนอกตลาด ซึ่ง SCC ถือหุ้น 100% คือ TCC, GMG, SGI,SSG หลังรวมจะมีกำลังการผลิตรวมกัน 84 ล้าน ตรม./ปี ภายใต้เครื่องหมายการคือ Cotto โสสุโก้ และ คัมพานา และมีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันประมาณ 40% โดย 9M60 มียอดขาย 5 บริษัทรวมกัน 10,294 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 412 ล้านบาท คิดเป็น Net Profit Margin เฉลี่ย 4% ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าคู่แข่งในตลาดอย่าง DCC ที่มี Net Profit margin สูงถึง 16.3%
ASPS เชื่อว่าการควบรวมของ SCC ในครั้งนี้ แม้จะส่งผลบวกให้เกิด Synergy หลายด้านดังกล่าวข้างต้น แต่จะไม่กระทบต่อภาพรวมผลประกอบการของ SCC มากนัก เนื่องจากกำไรจาก 5 บริษัทดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.97% ของกำไรทั้งหมดของ SCC หลังควบรวมบริษัทใหม่ จะมีทุนเรียกชำระ 5962.62 ล้านบาท แบ่งเป็น 5962.62 ล้านหุ้น (พาร์ 1 บาท) โดยจะมีการจัดสรรหุ้นของบริษัทใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทย่อยทั้งห้าตามสัดส่วนการแลกหุ้น ซึ่ง 1 หุ้นเดิมใน TGCI จะแลกได้ 1.25904909 หุ้นในบริษัทใหม่
ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทของ SCC มีมติให้ควบรวมแล้ว และจะนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2561 ของ TGCI แม้ SCC เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้ง 5 บริษัท และการควบรวมไม่ได้ทำให้การบริหารงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม SCC จึงเข้าข่ายได้รับการผ่อนผันหน้าที่ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด แต่ในกรณีที่มีคัดค้านการควบรวมครั้งนี้ จะให้บริษัทเซรามิคซีเมนต์ไทย จำกัด (CCCL) บริษัทย่อย 1 ใน 5 ที่ควบรวม เป็นผู้รับซื้อหุ้น TGCI จากผู้ถือหุ้นของ TGCI ที่คัดค้านมติดังกล่าว ในราคาที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ครั้งสุดท้ายก่อนวันที่ประชุมผู้ถือหุ้นจนหมด ซึ่งประเด็นนี้อาจนำไปสู่การเก็งกำไรของหุ้น TGCI ล่าสุด ซึ่งถือว่าค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับ DCC
วานนี้ SET Index แกว่งสลับบวก-ลบ ในช่วงเช้า ก่อนจะปรับเพิ่มขึ้นในช่วงบ่ายและปิดตลาดที่ 1738.16 จุด เพิ่มขึ้น 5.85 จุด หรือ 0.34% มูลค่าการซื้อขาย 4.84 หมื่นล้านบาท หุ้นขนาดใหญ่อย่าง SCC ปรับตัวขึ้นโดดเด่นกว่า 2.07% ซึ่งวานนี้ SCC ได้มีมติอนุมัติการปรับโครงสร้างของบริษัทย่อยโดยจะดําเนินการด้วยวิธีการควบบริษัทของ SCC ที่ถือผ่านบริษัทเซรามิคซิเมนต์ไทย จํากัด (CCCL) จํานวน 5 บริษัท ซึ่งประเด็นดังกล่าวจะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจและศักยภาพในการแข่งขัน ฝ่ายวิจัยให้ Fair value ปี 2561 อยู่ที่ 620 บาท มี upside สูงกว่า 26% ตามด้วย MAKRO เพิ่มขึ้น 5.92% ตั้งแต่ต้นสัปดาห์ราคาหุ้นปรับขึ้นมาแล้วกว่า 13.4% ขณะที่หุ้นในกลุ่มพลังงานอย่าง PTT เพิ่มขึ้น 0.5% และ IRPC เพิ่มขึ้นอีก 2.21% กลุ่ม ICT อย่าง TRUE และ ADVANC เพิ่มขึ้น 2.50% และ 0.54% ส่วนหุ้นรายตัวที่ปรับขึ้นโดดเด่นคือ CPF เพิ่มขึ้น 1.7% ส่วนหุ้นนิคมฯ WHA และ AMATA เพิ่มขึ้นอีก 1.02% และ 3.00% ตามลำดับ
ส่วนหุ้นที่ปรับตัวลดลงคือ หุ้นธนาคารพาณิชย์อย่าง KTB, TMB และ BAY ลดลง 0.52%, 0.67% และ 0.62% เช่นเดียวกับกลุ่ม ร.พ. อย่าง BDMS ลดลง 0.92% LPH ลดลง 3.29% RPH ลดลง 0.42% ส่วน BCH ปรับตัวขึ้นสวนทางกลุ่มฯ 1.92%
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสแกว่งพักตัวหลังจากปรับขึ้นมา 6 วันติด อีกทั้งเข้าใกล้แนวต้าน 1744 จุด ส่วนแนวรับอยู่ที่ 1727 จุด
ธปท. คงดอกเบี้ย และคาด เศรษฐกิจเติบโตราว 3.9% ปี 2561 และเงินเฟ้อต่ำ 1.1%
ประเด็นการปฎิรูปภาษีสหรัฐ ในที่สุดผ่านการพิจารณาในขั้นตอนสุดท้ายจากรัฐสภาสหรัฐเป็นที่เรียบร้อย คือ ร่างกฎหมายดังกล่าวจะลดภาษีเงินได้นิติบุคคลเหลือ 21% จากเดิม 35% และภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจะลดขั้นบนสุดเหลือ 37% จากเดิม 39.6% ทั้งหมด 7 ขั้น ตามฐานรายได้ ซึ่งขั้นตอนสุดท้ายคือ ส่งให้ประธานาธิบดี ทรัมป์ เซ็นอนุมัติเป็นกฎหมาย ก่อนวันคริสต์มาส 25 ธ.ค. และจะบังคับใช้ปี 2561 ทันที ซึ่งน่าจะส่งผลให้เศรษฐกิจสหรัฐ และอัตราเงินเฟ้อในปี 2561 ขยายตัวต่อเนื่อง หนุนให้ธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) เดินหน้าขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปี 2561 อีก 3 ครั้ง ตามที่ประกาศไว้ โดยตลาดหุ้นสหรัฐได้ตอบรับประเด็นปฎิรูปภาษีดังกล่าวไปมากแล้วสะท้อนจากผลตอบแทนตลาดหุ้นสหรัฐที่ปรับขึ้น Dow Jones ราว 25% และ S&P500 ราว 19.8%
ขณะที่ไทย ผลการประชุม กนง.เป็นไปตามคาด คือ ยังคงอัตราดอกเบี้ยฯที่ 1.5% ตามเดิม (ตั้งแต่ เม.ย. 2558) แต่มีมุมมองต่อเศรษฐกิจไทยดีขึ้น โดยการปรับเพิ่ม GDP Growth ปี 2560-61 เป็นปีละ 3.9%yoy(ใกล้เคียงกับ Consensus) จากเดิม 3.8% โดยมาจากภาคส่งออกที่ขยายตัวตามประเทศคู่ค้า และการลงทุนรัฐควบคู่กับเอกชนที่ขยายตัวในปีหน้า ขณะที่ปรับเพิ่มสมมติฐานเงินเฟ้อ ปีนี้เป็น 0.7%yoy จากเดิม 0.6% แต่ปรับลดปีหน้าเหลือ 1.1% จากเดิม 1.2% เพราะเงินเฟ้อล่าสุดอยู่ที่ 0.9% (เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 0.66%) ทำให้ กนง. น่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายต่อไปจนถึง 1H61
SCC ปรับโครงสร้าง บ.ย่อยผลิตกระเบื้อง เพื่อเข้ามา Listed ในตลาดฯ
SCC มีแผนปรับโครงสร้างธุรกิจกระเบื้องเซรามิกในประเทศไทย โดยจะควบรวมกิจการของบริษัทย่อย 5 แห่ง ที่ถือผ่านบริษัทเซรามิคซีเมนต์ไทย จำกัด (CCCL) เข้าด้วยกัน มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินธุรกิจ และความสามารถในการแข่งขัน จาก Synergy ระหว่างกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการลดความซ้ำซ้อนของหน่วยงานที่ใกล้เคียงกัน การเพิ่มอำนาจการต่อรองกับผู้จำหน่ายวัตถุดิบและผู้จัดจำหน่าย เป็นต้น ทั้งนี้ ภายหลังการควบรวมแล้วเสร็จ จะนำบริษัทใหม่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนสิงหาคม 2561
การควบรวมบริษัทย่อยทั้ง 5 แห่ง ประกอบไปด้วย TGCI ซึ่งจดทะเบียนในตลาดเพียงแห่งเดียว ปัจจุบัน SCC ถือหุ้น TGCI 74.71% และอีก 4 แห่งนอกตลาด ซึ่ง SCC ถือหุ้น 100% คือ TCC, GMG, SGI,SSG หลังรวมจะมีกำลังการผลิตรวมกัน 84 ล้าน ตรม./ปี ภายใต้เครื่องหมายการคือ Cotto โสสุโก้ และ คัมพานา และมีส่วนแบ่งการตลาดรวมกันประมาณ 40% โดย 9M60 มียอดขาย 5 บริษัทรวมกัน 10,294 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 412 ล้านบาท คิดเป็น Net Profit Margin เฉลี่ย 4% ซึ่งอยู่ในระดับต่ำกว่าคู่แข่งในตลาดอย่าง DCC ที่มี Net Profit margin สูงถึง 16.3%
ASPS เชื่อว่าการควบรวมของ SCC ในครั้งนี้ แม้จะส่งผลบวกให้เกิด Synergy หลายด้านดังกล่าวข้างต้น แต่จะไม่กระทบต่อภาพรวมผลประกอบการของ SCC มากนัก เนื่องจากกำไรจาก 5 บริษัทดังกล่าว คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.97% ของกำไรทั้งหมดของ SCC หลังควบรวมบริษัทใหม่ จะมีทุนเรียกชำระ 5962.62 ล้านบาท แบ่งเป็น 5962.62 ล้านหุ้น (พาร์ 1 บาท) โดยจะมีการจัดสรรหุ้นของบริษัทใหม่ให้แก่ผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทย่อยทั้งห้าตามสัดส่วนการแลกหุ้น ซึ่ง 1 หุ้นเดิมใน TGCI จะแลกได้ 1.25904909 หุ้นในบริษัทใหม่
ล่าสุดที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทของ SCC มีมติให้ควบรวมแล้ว และจะนำเสนอต่อที่ประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี 2561 ของ TGCI แม้ SCC เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ทั้ง 5 บริษัท และการควบรวมไม่ได้ทำให้การบริหารงานเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม SCC จึงเข้าข่ายได้รับการผ่อนผันหน้าที่ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด แต่ในกรณีที่มีคัดค้านการควบรวมครั้งนี้ จะให้บริษัทเซรามิคซีเมนต์ไทย จำกัด (CCCL) บริษัทย่อย 1 ใน 5 ที่ควบรวม เป็นผู้รับซื้อหุ้น TGCI จากผู้ถือหุ้นของ TGCI ที่คัดค้านมติดังกล่าว ในราคาที่ซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ ครั้งสุดท้ายก่อนวันที่ประชุมผู้ถือหุ้นจนหมด ซึ่งประเด็นนี้อาจนำไปสู่การเก็งกำไรของหุ้น TGCI ล่าสุด ซึ่งถือว่าค่อนข้างแพงเมื่อเทียบกับ DCC
ราคาน้ำมันเพิ่ม...สต็อกสหรัฐฯลดมากกว่าคาด และท่อส่งน้ำมันทะเลเหนือยังปิดซ่อมบำรุง
วานนี้ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 0.92% มาอยู่ที่ 58.09 เหรียญ/บาร์เรล เนื่องจากทางสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุดปรับตัวลดลงถึง 6.5 ล้านบาร์เรล (ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5) ขณะที่ตลาดฯคาดว่าจะลดลง 3.8 ล้านบาร์เรลเท่านั้น รวมถึงสต็อกน้ำมันดิบเบนซิน แม้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล แต่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ตลาดฯคาดไว้ 1.9 ล้านบาร์เรล
นอกจากนี้ยังได้แรงสนับสนุนจาก ท่อขนส่งน้ำมันดิบในทะเลเหนือยังปิดซ่อมบำรุง หลังสัปดาห์ที่ผ่านมา พบรอยร้าวที่ท่อขนส่งน้ำมันดิบ Forties ที่ใช้ลำเลียงน้ำมันกว่า 4.5 แสนบาร์เรล ส่งผลให้ต้องมีการหยุดดำเนินการทันที โดยล่าสุดบริษัท INEOS ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการท่อขนส่งน้ำมันดิบดังกล่าว คาดจะใช้ระยะเวลาหลายสัปดาห์ในการซ่อมบำรุง ประเด็นนี้น่าจะช่วยหนุนราคาน้ำมันต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี
อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบยังคงถูกจำกัด จากความกังวลต่อการผลิตน้ำมันสหรัฐฯ ที่ล่าสุดยังคงเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง 9.789 ล้านบาร์เรล/วัน โดยเพิ่มขึ้นมาแล้วกว่า 11.7% จากการผลิตช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 8.766 ล้านบาร์เรล/วัน
ดังนั้นกลยุทธ์แนะนำลงทุนในหุ้นน้ำมันขนาดใหญ่ ที่มีปัจจัยเสริม อย่าง PTT(FV@B500) ซึ่งมีโอกาสเกิด Window Dressing ของนักลงทุนสถาบันฯ ในช่วงปลายปีสูง และ PTTEP(FV@B118) ราคาหุ้นยังถือว่า Laggard ราคาน้ำมันดิบอยู่มาก โดยตั้งแต่ต้นปีราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาเพียง 2.86% ขณะที่น้ำมันดิบ Dubai เพิ่มขึ้นมาแล้วกว่า 14.06%
วานนี้ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 0.92% มาอยู่ที่ 58.09 เหรียญ/บาร์เรล เนื่องจากทางสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุดปรับตัวลดลงถึง 6.5 ล้านบาร์เรล (ลดลงติดต่อกันเป็นสัปดาห์ที่ 5) ขณะที่ตลาดฯคาดว่าจะลดลง 3.8 ล้านบาร์เรลเท่านั้น รวมถึงสต็อกน้ำมันดิบเบนซิน แม้ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านบาร์เรล แต่เพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ตลาดฯคาดไว้ 1.9 ล้านบาร์เรล
นอกจากนี้ยังได้แรงสนับสนุนจาก ท่อขนส่งน้ำมันดิบในทะเลเหนือยังปิดซ่อมบำรุง หลังสัปดาห์ที่ผ่านมา พบรอยร้าวที่ท่อขนส่งน้ำมันดิบ Forties ที่ใช้ลำเลียงน้ำมันกว่า 4.5 แสนบาร์เรล ส่งผลให้ต้องมีการหยุดดำเนินการทันที โดยล่าสุดบริษัท INEOS ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการท่อขนส่งน้ำมันดิบดังกล่าว คาดจะใช้ระยะเวลาหลายสัปดาห์ในการซ่อมบำรุง ประเด็นนี้น่าจะช่วยหนุนราคาน้ำมันต่อเนื่องจนถึงสิ้นปี
อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบยังคงถูกจำกัด จากความกังวลต่อการผลิตน้ำมันสหรัฐฯ ที่ล่าสุดยังคงเพิ่มขึ้นสู่ระดับสูงสุดใหม่ต่อเนื่อง 9.789 ล้านบาร์เรล/วัน โดยเพิ่มขึ้นมาแล้วกว่า 11.7% จากการผลิตช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อนหน้าที่ 8.766 ล้านบาร์เรล/วัน
ดังนั้นกลยุทธ์แนะนำลงทุนในหุ้นน้ำมันขนาดใหญ่ ที่มีปัจจัยเสริม อย่าง PTT(FV@B500) ซึ่งมีโอกาสเกิด Window Dressing ของนักลงทุนสถาบันฯ ในช่วงปลายปีสูง และ PTTEP(FV@B118) ราคาหุ้นยังถือว่า Laggard ราคาน้ำมันดิบอยู่มาก โดยตั้งแต่ต้นปีราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาเพียง 2.86% ขณะที่น้ำมันดิบ Dubai เพิ่มขึ้นมาแล้วกว่า 14.06%
ต่างชาติยังขายหุ้นในภูมิภาค รวมถึงไทย
วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่า 349 ล้านเหรียญ แต่มีเพียง 2 ประเทศที่ต่างชาติซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันมูลค่าราว 11 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน) และอินโดนีเซียมูลค่าเล็กน้อยเพียง 2 หมื่นเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติยังขายสุทธิ นำโดย เกาหลีใต้มูลค่า 348 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิวันก่อนหน้าเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 4.5 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิเล็กน้อยอีก 8 ล้านเหรียญ หรือ 257 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 308 ล้านบาท และเป็นการซื้อสุทธิทุกวันตลอดทั้งเดือนนี้ โดยมีมูลค่ารวมสูงถึง 2.24 หมื่นล้านบาท
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 444 ล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 3.8 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7)
ก่อนสิ้นปี 2560 แนะขายทำกำไรหุ้นรายตัวที่เกินมูลค่าหุ้น สลับมายังหุ้น Laggard
ด้วยสภาวะแวดล้อมเชิงบวก ทั้งราคาน้ำมันดูไบที่ฟื้นตัวเหนือ 60 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลจากปัจจัยข้างต้น และแรงหนุนจากกองทุนในประเทศ ทั้ง LTF และการทำ window dressing หนุนดัชนีเดินหน้าแต่โอกาสถูกขายทำกำไรน่าจะเกิดขึ้นตลอดทาง โดยเฉพาะหุ้น Market Cap ขนาดใหญ่ที่ให้ผลตอบแทนสูง (สะท้อนจาก SET50 ตั้งแต่เดือน ต.ค. จนถึงปัจจุบันพบว่าหุ้น market cap ปรับขึ้นมาถึง 5.4% แต่ SET Index ปรับขึ้นเพียง 3.8%) จึงแนะนำขายหุ้นใหญ่ที่ราคาหุ้นปรับขึ้นมามากในช่วง ต.ค. – ปัจจุบัน หรือมี upside เหลือน้อย เช่น
กลุ่มค้าปลีก ปรับขึ้นถึง 12.8% โดย BJC ปรับขึ้นถึง 15.6% ราคาปัจจุบันเกิน Fair Value 1.6%, CPALL ปรับขึ้น 14.6% upside เหลือ 3.3%, ROBINS ปรับขึ้น 14.3% upside เหลือ 8.5%
กลุ่มท่องเที่ยว ปรับขึ้นถึง 11% นำโดย CENTEL ปรับขึ้นมากถึง 20.2% upside เหลือเพียง 4.7%, ERW ปรับขึ้น 19.5% upside เหลือ 10.7%
กลุ่มพลังงาน ปรับขึ้น 8.4% โดย LANNA ราคาปรับขึ้นแรงมากถึง 45.1% ราคาหุ้นปัจจุบันเกิน Fair Value 4.2%, GPSC ปรับขึ้นแรง 42.7% ราคาหุ้นปัจจุบันเกิน Fair Value ถึง 24.2%, EA ราคาปรับขึ้น 30% ราคาหุ้นปัจจุบันเกิน Fair Value 19.6%, และ BCPG ราคาปรับขึ้น 20.7% ราคาหุ้นปัจจุบันเกิน Fair Value 7.3% CKP ราคาปรับขึ้น 15.7% upside เหลือ 2.05%, TOP ราคาปรับขึ้น 14.1% ราคาปัจจุบันเกิน Fair Value ไปแล้ว 2.09%
ส่วนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เช่น TCAP และ TISCO แม้จะมี upside เหลือ 2.2% และ 6% ตามลำดับ แต่ Div. Yield ยังสูงกว่า 4% จึงแนะนำสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว
รวมทั้งหุ้นอื่นๆ ที่ราคาปรับขึ้นมากกว่ากลุ่มฯ ก็มีโอกาสถูก take profit อาทิ PCSGH ราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้วถึง 38.3%, M ราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้ว 10.7% ICHI ราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้ว 1.6%, THANI ราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้ว 7%, AMATA ราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้ว 6.5%
กลยุทธ์การลงทุน จึงแนะนำให้สลับมาลงทุนในหุ้นที่ยัง laggard กว่าตลาดฯ เช่น SCC (FV@B620) SCB (FV@B174) UNIQ (FV@B24) IRPC ([email protected]) BANPU (FV@B26) BCH ([email protected]) SPALI ([email protected])
นอกจากนี้ ยังแนะนำลงทุนใน 3 theme หลักของกลยุทธ์การลงทุน 1Q61 ตามที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ
หุ้นที่คาดหวังเงินปันผลได้สูง มีระดับ P/E ไม่สูงมาก และแนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโต คือ INTUCH (FV@B79) ส่วน PTTEP (FV@B118) แนะนำลงทุนสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว เนื่องจากยังมีแนวโน้มเชิงบวกต่อราคาน้ำมันโลก
หุ้นทีได้ประโยชน์จากกระแสการลงทุนรอบใหม่ ทั้งกลุ่มรับเหมาฯ และกลุ่มนิคมฯ รวมทั้งเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง คือ STEC (FV@B30), SEAFCO (FV@B12), WHA ([email protected]), TK (FV@B20)
หุ้นที่เกาะกระแส Life Style สังคมเมืองที่นิยมใช้เวลาอยู่นอกบ้านมากขึ้น และกระแสความงาม-รักษ์สุขภาพ คือ PLANB ([email protected]) และ RS ([email protected])
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO3875
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 444 ล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 3.8 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7)
ก่อนสิ้นปี 2560 แนะขายทำกำไรหุ้นรายตัวที่เกินมูลค่าหุ้น สลับมายังหุ้น Laggard
ด้วยสภาวะแวดล้อมเชิงบวก ทั้งราคาน้ำมันดูไบที่ฟื้นตัวเหนือ 60 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลจากปัจจัยข้างต้น และแรงหนุนจากกองทุนในประเทศ ทั้ง LTF และการทำ window dressing หนุนดัชนีเดินหน้าแต่โอกาสถูกขายทำกำไรน่าจะเกิดขึ้นตลอดทาง โดยเฉพาะหุ้น Market Cap ขนาดใหญ่ที่ให้ผลตอบแทนสูง (สะท้อนจาก SET50 ตั้งแต่เดือน ต.ค. จนถึงปัจจุบันพบว่าหุ้น market cap ปรับขึ้นมาถึง 5.4% แต่ SET Index ปรับขึ้นเพียง 3.8%) จึงแนะนำขายหุ้นใหญ่ที่ราคาหุ้นปรับขึ้นมามากในช่วง ต.ค. – ปัจจุบัน หรือมี upside เหลือน้อย เช่น
กลุ่มค้าปลีก ปรับขึ้นถึง 12.8% โดย BJC ปรับขึ้นถึง 15.6% ราคาปัจจุบันเกิน Fair Value 1.6%, CPALL ปรับขึ้น 14.6% upside เหลือ 3.3%, ROBINS ปรับขึ้น 14.3% upside เหลือ 8.5%
กลุ่มท่องเที่ยว ปรับขึ้นถึง 11% นำโดย CENTEL ปรับขึ้นมากถึง 20.2% upside เหลือเพียง 4.7%, ERW ปรับขึ้น 19.5% upside เหลือ 10.7%
กลุ่มพลังงาน ปรับขึ้น 8.4% โดย LANNA ราคาปรับขึ้นแรงมากถึง 45.1% ราคาหุ้นปัจจุบันเกิน Fair Value 4.2%, GPSC ปรับขึ้นแรง 42.7% ราคาหุ้นปัจจุบันเกิน Fair Value ถึง 24.2%, EA ราคาปรับขึ้น 30% ราคาหุ้นปัจจุบันเกิน Fair Value 19.6%, และ BCPG ราคาปรับขึ้น 20.7% ราคาหุ้นปัจจุบันเกิน Fair Value 7.3% CKP ราคาปรับขึ้น 15.7% upside เหลือ 2.05%, TOP ราคาปรับขึ้น 14.1% ราคาปัจจุบันเกิน Fair Value ไปแล้ว 2.09%
ส่วนกลุ่มธนาคารพาณิชย์ เช่น TCAP และ TISCO แม้จะมี upside เหลือ 2.2% และ 6% ตามลำดับ แต่ Div. Yield ยังสูงกว่า 4% จึงแนะนำสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว
รวมทั้งหุ้นอื่นๆ ที่ราคาปรับขึ้นมากกว่ากลุ่มฯ ก็มีโอกาสถูก take profit อาทิ PCSGH ราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้วถึง 38.3%, M ราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้ว 10.7% ICHI ราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้ว 1.6%, THANI ราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้ว 7%, AMATA ราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้ว 6.5%
กลยุทธ์การลงทุน จึงแนะนำให้สลับมาลงทุนในหุ้นที่ยัง laggard กว่าตลาดฯ เช่น SCC (FV@B620) SCB (FV@B174) UNIQ (FV@B24) IRPC ([email protected]) BANPU (FV@B26) BCH ([email protected]) SPALI ([email protected])
นอกจากนี้ ยังแนะนำลงทุนใน 3 theme หลักของกลยุทธ์การลงทุน 1Q61 ตามที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ
หุ้นที่คาดหวังเงินปันผลได้สูง มีระดับ P/E ไม่สูงมาก และแนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโต คือ INTUCH (FV@B79) ส่วน PTTEP (FV@B118) แนะนำลงทุนสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว เนื่องจากยังมีแนวโน้มเชิงบวกต่อราคาน้ำมันโลก
หุ้นทีได้ประโยชน์จากกระแสการลงทุนรอบใหม่ ทั้งกลุ่มรับเหมาฯ และกลุ่มนิคมฯ รวมทั้งเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง คือ STEC (FV@B30), SEAFCO (FV@B12), WHA ([email protected]), TK (FV@B20)
หุ้นที่เกาะกระแส Life Style สังคมเมืองที่นิยมใช้เวลาอยู่นอกบ้านมากขึ้น และกระแสความงาม-รักษ์สุขภาพ คือ PLANB ([email protected]) และ RS ([email protected])
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO3875