- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 20 December 2017 16:45
- Hits: 2028
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ดัชนีทำ New High ในรอบ 24 ปี เป็นการขับเคลื่อนด้วยหุ้นใหญ่ตามแรงซื้อของสถาบันในประเทศ ผ่าน LTF และการทำ Window Dressing แม้สถานการณ์นี้ยังอยู่ แต่โอกาสถูกขายทำไรในช่วงปลายสัปดาห์น่าจะเกิดขึ้น เพราะดูจากองค์ประกอบทั้งเงินบาทที่เริ่มอ่อนค่า กดดันการกลับมาซื้อของต่างชาติ และตลาดเพื่อนบ้านที่มีปรับฐาน กลยุทธ์ยังแนะนำหุ้น Laggards + ปันผลสูง (PTTEP, BANPU, INTUCH, CPF, SCC, SCB) Top picks เลือก INTUCH(FV@79) และ SCC(FV@B620) เข้าข่าย Laggard เงินปันผลสูงแล้ว ยังมีโอกาสทำ Window Dressing
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET Index ทำ New High ในรอบกว่า 24 ปี
วานนี้ ตลาดหุ้นไทยขึ้นไปทำจุดสูงสุดในรอบกว่า 24 ปีที่ 1,736 จุด ก่อนจะปิดตลาดที่ 1732.31 จุด เพิ่มขึ้น 8.60 จุด หรือ 0.50% มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 6.58 หมื่นล้านบาท แรงซื้อกลับเข้ามาหนุนในหุ้นขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะหุ้นกลุ่มค้าปลีก อย่าง BJC ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นกว่า 3.78% ทำ New high อีกครั้งตั้งแต่ต้นปี 2560 ตามด้วย MAKRO เพิ่มขึ้นอีก 4.11% หลังกระแสตอบรับการเปิด MAKRO สาขาแรกที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาดีเกินคาด ส่วนหุ้นอื่นๆ ในกลุ่มอย่าง BEAUTY และ COM7 เพิ่มขึ้นแรงกว่า 4.28% และ 3.90% ตามลำดับ เช่นเดียวกันกับหุ้นในกลุ่มธนาคารพาณิชย์ที่ปรับตัวขึ้นแทบทั้งกลุ่ม นำโดย SCB KBANK และ BBL เพิ่มขึ้น 1.00% 0.43% และ 1.50% ส่วนหุ้นกลุ่มพลังงาน อย่าง PTTEP เพิ่มขึ้นอีก 1.54% และ BANPU เพิ่มขึ้นแรงกว่า 5.65% หลังนักลงทุนเริ่มผ่อนคลายประเด็นคดีหงสา ซึ่งปัจจุบันยังอยู่ในขั้นตอนของศาลฏีกา ส่วนหุ้นรายตัวที่ปรับตัวขึ้นคือ KSL เพิ่มขึ้นแรงกว่า 9.05%, WHA เพิ่มขึ้น 4.79% และ STPI ฟื้นตัวแรงกว่า 8.61%
ขณะที่หุ้นในกลุ่ม ICT เผชิญกับแรงขายกดดัน ทั้ง ADVANC, DTAC ลดลง 1.87% และ 1.16% ตามด้วย THCOM ลดลง 1.60% และ INTUCH ลดลง 0.45% แม้ราคาหุ้นในกลุ่มฯ จะปรับตัวลดลง แต่ยังมี Sentiment บวกของกลุ่มฯ หลัง กสทช. เปิดเผยว่าได้รับหนังสือจาก คสช. ขอความเห็นประกอบการพิจารณาขยายระยะเวลาชำระค่าประมูลคลื่น 900 MHz ที่ทาง ADVANC และ TRUE มีกำหนดจ่ายงวดสุดท้ายในปี 2563 ราว 6.0 หมื่นล้านบาท โดยจะขอแบ่งชำระออกเป็น 5 งวดย่อย พร้อมกับดอกเบี้ยบางส่วน ซึ่ง กสทช.จะนำเรื่องการขยายระยะเวลาชำระค่าประมูลคลื่น เสนอที่ประชุมวันที่ 27 ธ.ค. ซึ่งเป็นผลบวกต่อ ADVANC และ TRUE เพราะจะช่วยบรรเทาภาระที่ต้องจ่ายครั้งเดียวในปี 2563
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดดัชนีน่าจะลดความร้อนแรงลง และมีโอกาสแกว่งในกรอบแคบ ประเมินแนวรับที่ 1726 จุด แนวต้าน 1740 จุด
ค่าเงินบาทอ่อนตัวช่วงสั้นๆ ลดแรงกดดันต่อภาคส่งออก
ค่าเงินบาทเทียบดอลลาร์สหรัฐเริ่มชะลอการแข็งค่าอีกครั้ง หลังจากที่เงินเงินบาทแข็งค่านับจากปลายปี 2559 แต่หากพิจารณาจากต้นปี 2560 ถึงปัจจุบัน แข็งค่าราว 8.76%ytd โดยเมื่อวานนี้เงินบาทขึ้นไปแตะ 32.88 บาท (ซึ่งเป็นระดับสูงสุดในรอบ 1 เดือน) แม้เช้านี้จะอ่อนตัวลงมาที่ 32.7 บาท ทั้งนี้เงินบาทที่อ่อนค่า น่าจะเป็นผลมาจากความคาดหวังต่อ เงินตราต่างประเทศที่ไหลเข้ามีแนวโน้มชะลอตัว หรือมีโอกาสไหลออกนับจากนี้ จากเหตุผลดังต่อไปนี้
ยอดส่งออก(X) ในช่วงไตรมาส 4 ของทุกปี มักจะชะลอตัวเพราะนอกฤดูกาลส่งออก เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ซึ่งเป็น High Season สะท้อนจากปี 2559 ยอดส่งออกเฉลี่ย 4Q59 อยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านเหรียญชะลอตัวเทียบกับ 1.84 หมื่นล้านเหรียญในงวด 3Q59
ตราสารหนี้ แม้เม็ดเงินที่เข้าซื้อในตลาดตราสารหนี้ยังคงสูงต่อเนื่อง โดยมียอดซื้อสะสมสูงถึง 3.4 แสนล้านบาท จากต้นปีจนถึงปัจจุบัน และ หากพิจารณาเฉพาะไตรมาสสุดท้ายของปีนี้เฉลี่ยที่ราว 5.26 หมื่นล้านบาท เป็นการซื้อสุทธิสะสมที่ลดลง กล่าวคือจากที่มียอดซื้อสุทธิสะสมสูงสุด 1.37 แสนล้านบาทในงวด 3Q60 ขณะที่งวด 2Q60 อยู่ที่ 6.62 หมื่นล้านบาท และ ราว 8.9 หมื่นล้านบาทในงวด 1Q60 และ เป็นที่สังเกตว่าในไตรมาส 4 ไตรมาสเดียว ยอดซื้อสุทธิสะสมดังกล่าวเป็นการซื้อตราสารหนี้ระยะสั้นทั้งหมด และขายสุทธิตราสารหนี้ระยะยาว
ภาพยิ่งชัดเจนขึ้นที่สะท้อนว่าเงินในตราสารหนี้เริ่มไหลออก โดยเฉพาะเดือน ธ.ค. เดือนเดียว แม้มียอดซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทยกว่า 2.67 หมื่นล้านบาท (mtd) แต่ส่วนใหญ่ เป็นการซื้อสุทธิในตราสารหนี้ระยะระยะสั้น สัดส่วนที่สูง 91.6% ของยอดซื้อตราสารหนี้ทั้งหมด ที่เหลือส่วนน้อยเป็นการตราสารหนี้ระยะยาว ซึ่งเป็นไปได้ที่เม็ดเงินส่วนนี้เตรียมพร้อมกับการไหลออก ตามทิศทางการใช้นโยบายการเงินตึงตามหลังสหรัฐที่เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ และปี 2561 คาดยังขึ้นอีก 3 ครั้ง
และปัจจัยอื่น ๆ ที่ไม่มีตัวเลขยืนยันแต่เป็นช่องทางในการนำเงินออก เช่น การชำระหนี้ต่างประเทศโดยตรงลูกค้าทีมีธุรกรรมการกู้ยืม BIBF หรือการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ เป็นต้น
โดยภาพเงินบาทเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีอยู่ที่ 33.97 บาทยังใกล้เคียงกับสมมติฐานที่ ASPS คาดปี 2560 ที่ 34 บาทและปี 2561 คาดที่ 33 บาท ขณะที่วันนี้การประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในช่วงบ่าย 2 ของวันนี้ ตลาดยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5%(ตั้งแต่ เม.ย.58) เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อไทยยังต่ำ ล่าสุดอยู่ที่ 0.99%yoy ในเดือน พ.ย. หรือ 0.66%ytd หากนับตั้งแต่ต้นปี ในสถานการณ์นี้จึงน่าจะลดผลกระทบต่อธุรกิจส่งออก แนะนำให้ซื้อสะสมหุ้นที่ laggards เช่น CPF เป็นต้น
สถาบันฯ ยังซื้อหุ้นไทยอีกกว่า 3.88 พันล้านบาท ตรงข้ามกับต่างชาติสลับขายสุทธิ
วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่า 124 ล้านเหรียญ แต่มีอยู่ 2 ประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 121 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) และอินโดนีเซีย 12 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิติดต่อกัน 13 วัน) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 ประเทศต่างชาติยังขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิอีก 169 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 4 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิกว่า 84 ล้านเหรียญ หรือ 2.75 พันล้านบาท
ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศที่เดินหน้าซื้อสุทธิอีก 3.88 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิสูงสุดในรอบเกือบ 4 เดือนที่ผ่านมา) และยังเป็นการซื้อสุทธิทุกวันตลอดทั้งเดือนนี้ โดยมีมูลค่ารวมสูงถึง 2.21 หมื่นล้านบาท สาเหตุหลักๆ น่าจะมาจากเม็ดเงิน LTF มักจะเข้ามาหนาแน่นในช่วงท้ายของปี
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.84 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 4.93 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6)
ทยอย Take profit รายตัว และสลับมายังหุ้น Laggard
ด้วยสภาวะแวดล้อมเชิงบวกในช่วงที่ผ่านมา ทั้งราคาน้ำมันที่ยังคงแกว่งทรงตัวได้ในระดับสูง เนื่องจากตลาดฯ ยังคงให้น้ำหนักไปที่ supply น้ำมันที่สะดุดลงช่วงสั้น ทั้งจากท่อส่งน้ำมันทะเลเหนือที่ยังต้องปิดซ่อมแซม รวมทั้งปริมาณผลิตน้ำมันที่ถูกจำกัดจากความร่วมมือของกลุ่มประเทศ OPEC และ Non-OPEC ทำให้ภาพรวมราคาน้ำมันโลกยังคงเป็นไปในทิศทางขาขึ้น และแผนปฏิรูปภาษีสหรัฐ และการขยายเพดานหนี้ น่าจะลุล่วงไปได้ด้วยดี หนุนให้ตลาดหุ้นสหรัฐขึ้นทำ new high ต่อเนื่อง แต่อย่างไรก็ตาม เริ่มเห็นแรง take profit ในตลาดหุ้นสหรัฐวานนี้
ส่วน SET Index แม้จะสามารถขึ้นทำ new high ได้ใหม่ในรอบ 24 ปี แต่ก็เชื่อว่าน่าจะมีแรง take profit ออกมาเมื่อเข้าใกล้แนวต้านบริเวณ 1740 จุด โดยเฉพาะหุ้น Market Cap ขนาดใหญ่ที่เป็นตัวขับเคลื่อน SET Index มาในช่วง 2-3 เดือนล่าสุด สะท้อนจาก SET50 ตั้งแต่เดือน ต.ค. จนถึงปัจจุบันปรับขึ้นมาถึง 5% แต่ SET Index ปรับขึ้นเพียง 3.5% ดังนั้น ในระยะสั้นจึงอาจต้องระวังการ take profit ในหุ้น Market Cap ใหญ่ ที่ราคาหุ้นปรับขึ้นมามากในช่วง ต.ค. - ปัจจุบัน หรือมี upside เหลือน้อย เช่น
กลุ่มค้าปลีก ปรับขึ้นถึง 12.2% โดย ROBINS ปรับขึ้น 14.3% ราคาปัจจุบันเหลือ upside ราว 8.5%
กลุ่มท่องเที่ยว ปรับขึ้นถึง 12.1% นำโดย CENTEL ปรับขึ้นมากถึง 21% upside เหลือเพียง 3.7%, ERW ปรับขึ้น 20.3% upside เหลือ 10%
กลุ่มพลังงาน ปรับขึ้น 8.3% โดย GPSC ปรับขึ้นแรงมาก 44.3% ราคาหุ้นปัจจุบันเกิน Fair Value ถึง 25%, LANNA ราคาปรับขึ้น 41.4% ราคาหุ้นปัจจุบันเกิน Fair Value 1.6%, EA ราคาปรับขึ้น 30% ราคาหุ้นปัจจุบันเกิน Fair Value 19.6%, และ BCPG ราคาปรับขึ้น 21.8% ราคาหุ้นปัจจุบันเกิน Fair Value 6.38% เป็นต้น
รวมทั้งหุ้นอื่นๆ ที่ราคาปรับขึ้นมากกว่ากลุ่มฯ ก็มีโอกาสถูก take profit อาทิ PCSGH ราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้วถึง 40%, M ราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้ว 10.7%
กลยุทธ์การลงทุน จึงแนะนำให้สลับมาลงทุนในหุ้นที่ยัง laggard กว่าตลาดฯ เช่น SCC (FV@B620) SCB (FV@B174) UNIQ (FV@B24) IRPC ([email protected]) BANPU (FV@B26) BCH ([email protected]) SPALI ([email protected])
นอกจากนี้ ยังแนะนำลงทุนใน 3 theme หลักของกลยุทธ์การลงทุน 1Q61 ตามที่แนะนำไปวานนี้ คือ
หุ้นที่คาดหวังเงินปันผลได้สูง มีระดับ P/E ไม่สูงมาก และแนวโน้มผลการดำเนินงานเติบโต คือ INTUCH (FV@B79) ส่วน PTTEP (FV@B118) แนะนำลงทุนสะสมเมื่อราคาอ่อนตัว เนื่องจากยังมีแนวโน้มเชิงบวกต่อราคาน้ำมันโลก
หุ้นทีได้ประโยชน์จากกระแสการลงทุนรอบใหม่ ทั้งกลุ่มรับเหมาฯ และกลุ่มนิคมฯ รวมทั้งเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง คือ STEC (FV@B30), SEAFCO (FV@B12), WHA ([email protected]), TK (FV@B20)
หุ้นที่เกาะกระแส Life Style สังคมเมืองที่นิยมใช้เวลาอยู่นอกบ้านมากขึ้น และกระแสความงาม-รักษ์สุขภาพ คือ PLANB ([email protected]) และ RS ([email protected])
นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO3797