WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน

กลยุทธ์การลงทุน
  การฟื้นตัวของ SET น่าจะยังไม่ผ่าน 1720 จุด โดยยังมีแรงขายต่างชาติ แต่ชดเชยได้จากแรงซื้อ  LTF เพื่อประหยัดภาษีถึงสิ้นปีนี้ และหุ้นรายตัว ทั้งหุ้นพลังงาน หลังราคาน้ำมันดิบยืนเหนือ 60 เหรียญฯ ได้ และหุ้นที่เข้าคำนวณ SET50-100 (SAWAD, CENTEL, WHA, BEAUTY)  กลยุทธ์ยังให้สะสมหุ้น Laggard + ปันผล (PTTEP, BANPU, INTUCH) Top picks CPF ([email protected]) ราคาลงลึกจนมี P/E ต่ำ/ปันผลสูง และ upside สูง และ WHA([email protected]) นอกจากเข้าคำนวณ SET50 ยังได้ประโยชน์จาก EEC ชัดเจน
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … หุ้นกลุ่มพลังงาน-ค้าปลีก กลับมาหนุนตลาดปิดบวก
  วานนี้ SET Index แกว่งตัวในแดนบวกตลอดวันก่อนจะปิดตลาดที่ 1714.99 จุด เพิ่มขึ้น 8.06 จุด หรือ 0.47%  มูลค่าการซื้อขาย 4.74 หมื่นล้านบาท หนุนด้วยหุ้นกลุ่มปิโตรเคมี PTTGC ปรับเพิ่มขึ้นโดดเด่นกว่า 1.52% เช่นเดียวกับ IVL เพิ่มขึ้น 2.43% และกลุ่มพลังงาน คือ PTT และ PTTEP เพิ่มขึ้น 0.94% และ 0.53% ตามลำดับ ตามด้วย BCP เพิ่มขึ้น 3.29% TPIPP เพิ่มขึ้น 1.27% ซึ่งทั้งคู่ถูกคัดเข้าคำนวณ SET50 ในรอบใหม่ อีกกลุ่มที่ปรับตัวขึ้นคือ ค้าปลีก HMPRO ปรับขึ้นแรงกว่า 4.92% ตามด้วย CPALL เพิ่มขึ้น 1.66% ส่วน COM7 และ BEAUTY ฟื้นตัวขึ้น 4.03% และ 2.14% ตามลำดับ ก่อนหน้านี้ COM7 เผชิญ sentiment เชิงลบหลัง Apple Inc. เปิดร้านค้าออนไลน์บนเว็บไซต์ Lazada อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยคาดว่ากระทบกำไรปี 61 เล็กน้อยเพียง 6% ราคาหุ้นที่ปรับตัวลงก่อนหน้านี้ทำให้ทั้ง COM7 และ BEAUTY กลับมามี upside กว่า 35.48% และ 30.89% ตามลำดับ
  ส่วนหุ้นรายตัวที่ปรับขึ้นโดดเด่นคือ WHA เพิ่มขึ้น 2.70% ตามด้วย MC  เพิ่มขึ้น 5.92% และ SAWAD เพิ่มขึ้น 3.61% ซึ่งหุ้นทั้ง 3 ถูกคัดเข้า SET50-SET100 ทั้งสิ้น ตรงข้ามกับหุ้นถูกคัดออกจาก SET50-SET100 อย่าง BLA ลดลง 2.61% และ DELTA ลดลง 4.27% ซึ่งฝ่ายวิจัยยังคงแนะนำขาย DELTA หลังจากธุรกิจในภูมิภาคชะลอตัวรวมถึงราคาหุ้นปรับตัวขึ้นมาจน upside เริ่มจำกัด จึงแนะนำลงทุนใน HANA แทนจากภาพรวมธุรกิจที่ดูสดใสกว่า
  แนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีฯ มีโอกาสฟื้นตัวได้ต่อจาก momentum เชิงบวกต่อเนื่อง ประเมินแนวต้านวันนี้ที่ 1720/1730 จุด แนวรับ 1705 จุด
จีน เม็กซิโก ขึ้นดอกเบี้ยตามสหรัฐ  จากแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ
  หลังจากผลการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ(FED) ให้ลดดอกเบี้ยนโยบายอีก  0.25% เป็นครั้งที่ 3 ของปีนี้ อยู่ที่ 1.25-1.50% พร้อมลดขนาดงบดุล (Balance Sheet)  โดยหยุดซื้อพันธบัตรเพื่อทดแทนพันธบัตรเดิมที่หมดอายุลง (reinvest) ราว 1 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือน และยังทยอยลดขนาดสินทรัพย์ที่มีอยู่จำนวน 4.25 ล้านล้านเหรียญ ให้เหลือเพียง 50% เนื่องจากเศรษฐกิจยังคงแข็งแกร่งจึงตั้งเป้าหมายจะขึ้นดอกเบี้ยระยะยาว  3  ปีข้างหน้า โดยในช่วง  2561-2562  จะขึ้นปีละ 3 ครั้งละๆ  0.25%   ทำให้ดอกเบี้ยสิ้นปี 2561 อยู่ที่  2.25%  และปี 2562 และ  3%  ส่วนปี 2563  จะขึ้น 1ครั้ง อยู่ที่ 3.25%  พร้อมกับกำหนดอัตราเงินเฟ้อระยะยาว อยู่ที่  1.9%yoy ในปี 2561  และทรงตัว  2%yoy ในปี 2562-2563
  เมื่อวานนี้ผลการประชุมของธนาคารกลางยุโรป (ECB)  และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE)  สรุปยังคงดอกเบี้ยฯ ตามตลาดคาด คือ ECB คงดอกเบี้ยฯ ที่ 0% (ตั้งแต่ มี.ค. 2559) และคง QE เดือนละ 3 หมื่นล้านยูโร จนถึงเดือน ก.ย. ปี 2561 เพราะเศรษฐกิจในยุโรปบางประเทศยังฟื้นตัวล่าช้า โดยเฉพาะประเทศที่มีปัญหาทางการเงินกลุ่ม PIIGS  แต่อย่างไรก็ตาม ECB ได้ปรับเพิ่ม  เศรษฐกิจยุโรปในระยะยาว โดยปรับเพิ่ม  GDP growth ปี 2560-2562 เป็น 2.4%,  2.3% และ 1.9% (จาก 2.2% 1.8% และ 1.7% ตามลำดับ
  และ BOE  ยังคงดอกเบี้ยนโยบาย 0.5%  ตามเดิม หลังจากขึ้นไปแล้ว 1 ครั้ง 0.25%ในเดือน พ.ย.   แต่น่าจะไปขึ้นปี 2561 แทน เนื่องจากเงินเฟ้อ ล่าสุด พุ่งสูงอยู่ที่  3.1%  ผลจากค่าเงินปอนด์ที่อ่อนค่าราว  10% นับตั้งแต่ Brexit  และยังมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องในระยะกลาง-ยาว หลังจากการเจรจา Brexit ทำให้อังกฤษต้องเดินหน้าใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวในระยะกลาง-ยาว 
  แต่เป็นที่น่าสังเกตว่าธนาคารกลางอื่นๆ ของโลกบางแห่ง เริ่มขยับขึ้นดอกเบี้ยตามหลังสหรัฐทันที    โดยมี 2 ธนาคาร คือ
ธนาคารกลางจีน (PBOC) และ ธนาคารกลางเม็กซิโก  โดย PBOC ปรับขึ้นดอกเบี้ยระยะสั้นและระยะกลาง เป็นครั้งที่ 3  โดยขึ้นดอกเบี้ยซื้อพันธบัตร(reverse repo) อายุ  7 วัน และ อายุ 28 วัน  และดอกเบี้ยเงินกู้ระยะกลาง (MLF) ประเภท 1 ปีขึ้นประเภทละ  0.05%  เป็น  2.5% , 2.8%  และ 3.25%   ตามลำดับ   (แต่คงดอกเบี้ยระยะยาว  4.45%)  เนื่องจากจีนต้องการดึงเงินทุนจากต่างประเทศไม่ให้ไหลออก  และ ต้องการรักษาเสถียรภาพของค่าเงินหยวนต่อดอลลาร์สหรัฐไม่ให้อ่อนค่าเกินไป    
  และ เม็กซิโกปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% เป็น 7.25%  (ขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 5 ครั้งในปีนี้)  เนื่องจากต้องการลดแรงกดดันจากเงินเฟ้อที่พุ่งขึ้นต่อเนื่องตั้งแต่ ม.ค. 2560 ที่ 3.36%   มาอยู่ที่  6.63% ในปัจจุบัน 
  โดยสรุปเศรษฐกิจโลกที่ค่อยๆฟื้นตัว  ประกอบกับราคาน้ำมันดิบเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปี 2560 อยู่ที่  53  เหรียญเพิ่มขึ้นจาก 42 เหรียญในช่วงเดียวกันของปี 2559  ถือเป็นแรงกดดันให้อัตราเงินเฟ้อโลกปรับตัวสูงขึ้น หนุนให้ธนาคารกลางทั่วโลกใช้นโยบายการเงินตึงตัว เพิ่มขึ้นตามลำดับ  โดยคาดว่าประเทศในกลุ่ม TIP น่าจะเริ่มขยังขึ้นในช่วง 1H61 เมื่อเงินเฟ้อขยับขึ้นใกล้เคียงหรือสูงกว่าดอกเบี้ยนโยบาย 
 
ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นในภูมิภาค แต่ยังขายกลุ่ม TIP
  วานนี้ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 322 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 14 วัน) แต่แรงซื้อยังคงอยู่เฉพาะในตลาดหุ้นแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 312 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 7 วัน) และไต้หวัน 38 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 14 วัน) ส่วนตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ยังคงถูกขายสุทธิ คือ อินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 10 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 11) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิ 18 ล้านเหรียญ หรือ 602 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10 มีมูลค่ารวม 1.19 หมื่นล้านบาท) ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิอีก 1.47 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 8 กว่า 1.54 หมื่นล้านบาท) สำหรับข้อมูลการซื้อขายตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ เช้านี้ยังไม่มีการอัพเดท แต่ล่าสุดต่างชาติขายหุ้นฟิลิปปินส์ตลอด 9 วันที่ผ่านมา จนถึงวันก่อนหน้านี้
  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 9.57 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิ 634 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
 ระยะสั้นยังได้แรงหนุนการฟื้นตัวราคาน้ำมันและ หุ้นเข้าคำนวณ SET50-100 
  หลังจากตลาดรับรู้เรื่องการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐ กดดันให้ดอลลาร์กลับมามีทิศทางอ่อนค่า จากการขายทำกำไรระยะสั้น ๆ และ หนุนให้ราคาสินค้าโภคภัณฑ์กลับมาฟื้นตัวได้ ทั้งน้ำมัน ถ่านหิน ทองคำ รวมทั้งราคาสินค้าเกษตรอื่นๆ โดยสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ส่งมอบเดือน ม.ค. วานนี้เพิ่มขึ้น 0.78% ปิดที่ 57.04 เหรียญ/บาร์เรล เช่นเดียวกับสัญญาน้ำมันดิบล่วงหน้า Brent ส่งมอบเดือน ม.ค. วานนี้เพิ่มขึ้น 1.39% ปิดที่ 63.31 เหรียญ/บาร์เรล ส่วนราคาน้ำมันดิบดูไบยังคงแกว่งตัวขึ้นเหนือ 60 เหรียญฯ (ล่าสุดอยู่ที่ 60.55 เหรียญ/บาร์เรล) แม้ผลการรายงานสต็อกน้ำมันเบนซินของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) วานนี้จะเพิ่มมากกว่าคาด อย่างไรก็ตามปัญหาด้าน แหล่งผลิตยังหนุนราคาน้ำมัน คือ  ปริมาณกำลังการผลิตน้ำมันดิบประจำเดือน พ.ย.2560 ของกลุ่มโอเปกปรับตัวลดลงราว 0.4% มาที่ระดับ 32.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน และ กลุ่มโอเปกยังคงร่วมมือกันขยายระยะเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน 1.8 ล้านบาร์เรล/วันออกไปจนถึงปลายปี 2561 และปัญหาท่อส่งน้ำมัน Forties ที่ใช้ลำเลียงน้ำมันกว่า 4.5 แสนบาร์เรลจากทะเลเหนือสู่โรงกลั่นน้ำมัน Kinneil ในสก็อตแลนด์มีการแตกชำรุดเสียหายต้องปิดซ่อมแซมนานกว่าสัปดาห์
  ดังนั้น กลยุทธ์การลงทุนยังคงแนะนำให้สะสมหุ้นน้ำมัน อย่าง PTTEP (FV@B118) เมื่อราคาหุ้นอ่อนตัวลง รวมทั้ง PTT (FV@B500) ที่ถือ PTTEP 65.29% อีกทั้งยังให้ Div. yield สูงเกือบ 4% เช่นเดียวกับราคาถ่านหินโลก ยังคงอยู่ในระดับสูงใกล้เคียง 100 เหรียญต่อตัน จึงแนะนำสะสม BANPU (FV@B26) ที่ราคาหุ้นปัจจุบันยัง Laggard เมื่อเทียบกับราคาถ่านหินอยู่มาก
  นอกจากนี้ ยังแนะนำสะสมหุ้นที่มีปัจจัยบวกหนุนระยะสั้น คือ หุ้นที่ได้เข้าคำนวณ SET50 รอบ 1H61 ซึ่งจากข้อมูลสถิติในอดีต พบว่า หุ้นถูกคัดเลือกเข้าคำนวณดัชนี SET50 ราคาหุ้นมักจะปรับตัวขึ้นตอบรับในเชิงบวกในช่วงกาอนวันนำเข้าไปคำนวณจริงเสมอ โดยหลังจากนี้ยังมีเวลาที่หุ้นมีโอกาสปรับขึ้นอีก 2 สัปดาห์ ฝ่ายวิจัยจึงแนะนำทยอยสะสม WHA ([email protected]) และ SAWAD (FV@B80)
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO3635

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!