- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 14 December 2017 17:29
- Hits: 1842
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดน่าจะรับรู้การขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐ ทำให้เกิดแรงขายหุ้นและ Dollar ขณะที่ราคาน้ำมันโลกอ่อนตัวหลังสต็อกน้ำมันสูงกว่าคาด แต่ยังยืน 60 เหรียญฯ คาดจะมีแรงซื้อเก็งกำไร หุ้นที่เข้าคำนวณ SET50-100 (สอดคล้องกับ ASPS คาด เช่น SAWAD, CENTEL, WHA, BEAUTY) และยังมีแรงหนุน LTF หนุน SET ยืนเหนือ 1,700 จุด ยังให้สะสมหุ้น Laggard + ปันผล (PTTEP, BANPU, INTUCH) Top picks ยังชอบ CPF ([email protected]) ราคาลงลึกจนมี P/E ต่ำ/ปันผลสูง และ upside สูง และเพิ่ม WHA([email protected]) นอกจากเข้าคำนวณ SET50 ยังได้ประโยชน์จาก EEC ชัดเจน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดน่าจะรับรู้การขึ้นดอกเบี้ยสหรัฐ ทำให้เกิดแรงขายหุ้นและ Dollar ขณะที่ราคาน้ำมันโลกอ่อนตัวหลังสต็อกน้ำมันสูงกว่าคาด แต่ยังยืน 60 เหรียญฯ คาดจะมีแรงซื้อเก็งกำไร หุ้นที่เข้าคำนวณ SET50-100 (สอดคล้องกับ ASPS คาด เช่น SAWAD, CENTEL, WHA, BEAUTY) และยังมีแรงหนุน LTF หนุน SET ยืนเหนือ 1,700 จุด ยังให้สะสมหุ้น Laggard + ปันผล (PTTEP, BANPU, INTUCH) Top picks ยังชอบ CPF ([email protected]) ราคาลงลึกจนมี P/E ต่ำ/ปันผลสูง และ upside สูง และเพิ่ม WHA([email protected]) นอกจากเข้าคำนวณ SET50 ยังได้ประโยชน์จาก EEC ชัดเจน
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … หุ้นกลุ่ม ICT นำตลาดปิดบวก
วานนี้ แม้ทิศทางตลาดจะแกว่งในกรอบแคบๆ แต่ดัชนีก็สามารถประคองตัวในแดนบวกได้ตลอด ก่อนจะปิดตลาดที่ 1706.93 จุด เพิ่มขึ้น 4.76 จุด หรือ 0.28% แต่มูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 4.37 หมื่นล้านบาท โดยได้แรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นกลุ่ม ICT นำโดย ADVANC ปรับตัวขึ้นโดดเด่นกว่า 3.35% หลังจากราคาหุ้นปรับฐานมาตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน ตามมาด้วย INTUCH (ถือหุ้น ADVANC 40.45% และถือหุ้น THCOM 41.14%) และ THCOM เพิ่มขึ้น 1.83% และ 0.80% ตามลำดับ โดยฝ่ายวิจัยยังคงแนะนำสะสมหุ้นปันผลโดดเด่นอย่าง INTUCH ที่คาดหวังปันผลได้เกือบ 5% ต่อปี ตรงข้ามกับ DTAC ปรับตัวลดลงกว่า 1.65%
อีกกลุ่มที่ปรับตัวขึ้นคือ กลุ่มพลังงงาน โดย IRPC เพิ่มขึ้น 2.33% ตามด้วย TOP เพิ่มขึ้น 1.3% ESSO เพิ่มขึ้น 2.47% และ SPRC เพิ่มขึ้น 1.20% ส่วนหุ้นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่อย่าง GULF เพิ่มขึ้น 2.37% ส่วนหุ้นรายตัวอย่าง CPN เพิ่มขึ้นกว่า 2.9% ตามด้วย MAKRO เพิ่มขึ้น 1.4% และ BEAUTY ฟื้นตัวขึ้นมา 2.8%
ขณะที่กลุ่ม ธ.พ. วันนี้มีการปรับตัวลดลง โดยเฉพาะ ธ.พ. ขนาดใหญ่ ทั้ง BBL, SCB, KBANK และ BAY ลดลง 1.46%, 0.98%, 0.88% และ 0.65% ตามลำดับ ยกเว้น ธ.พ. ขนาดกลาง อย่าง TMB, KKP และ TCAP เพิ่มขึ้น 1.35%, 1.30% และ 0.91% ตามลำดับ
แนวโน้มตลาดวันนี้ คาดตลาดฯ มีโอกาสฟื้นตัวได้ต่อ แต่ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่เบาบาง ทำให้การปรับขึ้นยังเป็นไปได้ไม่มากนัก ประเมินแนวต้านวันนี้ที่ 1720 จุด แนวรับ 1700 จุด
วานนี้ แม้ทิศทางตลาดจะแกว่งในกรอบแคบๆ แต่ดัชนีก็สามารถประคองตัวในแดนบวกได้ตลอด ก่อนจะปิดตลาดที่ 1706.93 จุด เพิ่มขึ้น 4.76 จุด หรือ 0.28% แต่มูลค่าการซื้อขายเบาบางเพียง 4.37 หมื่นล้านบาท โดยได้แรงซื้อกลับเข้ามาในหุ้นกลุ่ม ICT นำโดย ADVANC ปรับตัวขึ้นโดดเด่นกว่า 3.35% หลังจากราคาหุ้นปรับฐานมาตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน ตามมาด้วย INTUCH (ถือหุ้น ADVANC 40.45% และถือหุ้น THCOM 41.14%) และ THCOM เพิ่มขึ้น 1.83% และ 0.80% ตามลำดับ โดยฝ่ายวิจัยยังคงแนะนำสะสมหุ้นปันผลโดดเด่นอย่าง INTUCH ที่คาดหวังปันผลได้เกือบ 5% ต่อปี ตรงข้ามกับ DTAC ปรับตัวลดลงกว่า 1.65%
อีกกลุ่มที่ปรับตัวขึ้นคือ กลุ่มพลังงงาน โดย IRPC เพิ่มขึ้น 2.33% ตามด้วย TOP เพิ่มขึ้น 1.3% ESSO เพิ่มขึ้น 2.47% และ SPRC เพิ่มขึ้น 1.20% ส่วนหุ้นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่อย่าง GULF เพิ่มขึ้น 2.37% ส่วนหุ้นรายตัวอย่าง CPN เพิ่มขึ้นกว่า 2.9% ตามด้วย MAKRO เพิ่มขึ้น 1.4% และ BEAUTY ฟื้นตัวขึ้นมา 2.8%
ขณะที่กลุ่ม ธ.พ. วันนี้มีการปรับตัวลดลง โดยเฉพาะ ธ.พ. ขนาดใหญ่ ทั้ง BBL, SCB, KBANK และ BAY ลดลง 1.46%, 0.98%, 0.88% และ 0.65% ตามลำดับ ยกเว้น ธ.พ. ขนาดกลาง อย่าง TMB, KKP และ TCAP เพิ่มขึ้น 1.35%, 1.30% และ 0.91% ตามลำดับ
แนวโน้มตลาดวันนี้ คาดตลาดฯ มีโอกาสฟื้นตัวได้ต่อ แต่ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่เบาบาง ทำให้การปรับขึ้นยังเป็นไปได้ไม่มากนัก ประเมินแนวต้านวันนี้ที่ 1720 จุด แนวรับ 1700 จุด
Fed ขึ้นดอกเบี้ยตามตลาดคาด จึงเกิดแรงขายดอลลาร์/หุ้นระยะสั้น
สรุปว่าการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ใน 13-14 ธ.ค. เป็นไปตามตลาดคาด คือ ขึ้นดอกเบี้ยฯ 0.25% เป็นครั้งที่ 3 ปีนี้ มาที่ 1.25 -1.50% พร้อมกับ การลดขนาดงบดุล (Balance Sheet) ซึ่งเริ่มตั้งแต่ ต.ค 2560 ผ่านการหยุดซื้อพันธบัตรเพื่อทดแทนพันธบัตรเดิมที่หมดอายุลง (reinvest) ราว 1 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือน และจะทยอยเพิ่มปริมาณการหยุดซื้อพันธบัตรจนเป็น 5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน หรือตั้งเป้าลดลง 50% จากยอดสินทรัพย์รวม 4.25 ล้านล้านเหรียญ
นอกจากนี้ Fed ยังปรับการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาวขึ้น โดยปรับเพิ่ม GDP Growth ปี 2560-2563 เป็น 2.5% 2.5% , 2.1% และ 2% (จากเดิม 2.4% 2.1%, 2.0% และ 1.8% ตามลำดับ) และปรับลดอัตราการว่างงานในปี 2560 -2563 เหลือ 4.1% 3.9%, 3.9% และ 4% (จากเดิม 4.3% 4.1%, 4.1% และ 4.2% ตามลำดับ) พร้อมส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยในระยะยาว 3 ปีข้างหน้า ดังนี้ ปี 2561-2562 ขึ้นปีละ 3 ครั้งละๆ 0.25% ทำให้ดอกเบี้ยสิ้นปี 2561 อยู่ที่ 2.25% และปี 2562 และ 3% ส่วนปี 2563 ขึ้น 1ครั้ง ดอกเบี้ยฯ จะอยู่ที่ 3.25% การประกาศขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวจะเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและตลาดหุ้นหรือไม่ ต้องติดตามตอนต่อไป
และในวันนี้ 14 ธ.ค. มีการประชุม 2 ธนาคารกลาง คือ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) เชื่อว่ายังไม่มีเปลี่ยนแปลง คือ ECB น่าจะคงดอกเบี้ยฯ ที่ 0% (ตั้งแต่ มี.ค. 2559) และคง QE เดือนละ 3 หมื่นล้านยูโร จนถึงเดือน ก.ย. ปี 2561 เพราะเศรษฐกิจในยุโรปบางประเทศยังฟื้นตัวล่าช้า โดยเฉพาะประเทศที่มีปัญหาทางการเงินกลุ่ม PIIGC
ตามด้วย BOE ในรอบนี้ ตลาดคาดยังคงดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% ตามเดิม หลังจากขึ้นไปแล้ว 1 ครั้ง 0.25%ในเดือน พ.ย. แต่น่าจะไปขึ้นปี 2561 แทน เนื่องจากเงินเฟ้อ ล่าสุด พุ่งสูงอยู่ที่ 3.1% ผลจากค่าเงินปอนด์ที่อ่อนค่าราว 10% นับตั้งแต่ Brexit และยังมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องในระยะกลาง-ยาว หลังจากการเจรจา Brexit ทำให้อังกฤษต้องเดินหน้าใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวในระยะกลาง-ยาว
อย่างไรก็ตามพบว่าดอลลาร์กลับอ่อนค่า ซึ่งน่าจะเกิดจากการขายทำกำไรช่วงสั้น ๆ หลังจากที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นไปรอแล้วล่วงหน้า เช่นเดียวกับตลาดหุ้นสหรัฐ ที่การปรับตัวขึ้นจำกัด (Dowjones) หรือมีการขายทำกำไรในบางตลาด (NASDAX, S&P500) หลังจากนี้คงต้องการติดตามเรื่องของการร่าง กฎหมาย โครงสร้างภาษีใหม่ หลังจากที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาสหรัฐมาแล้ว ซึ่งคาดว่าน่าจะราวคริสต์มาสนี้
สรุปว่าการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ใน 13-14 ธ.ค. เป็นไปตามตลาดคาด คือ ขึ้นดอกเบี้ยฯ 0.25% เป็นครั้งที่ 3 ปีนี้ มาที่ 1.25 -1.50% พร้อมกับ การลดขนาดงบดุล (Balance Sheet) ซึ่งเริ่มตั้งแต่ ต.ค 2560 ผ่านการหยุดซื้อพันธบัตรเพื่อทดแทนพันธบัตรเดิมที่หมดอายุลง (reinvest) ราว 1 หมื่นล้านเหรียญต่อเดือน และจะทยอยเพิ่มปริมาณการหยุดซื้อพันธบัตรจนเป็น 5 หมื่นล้านดอลลาร์ต่อเดือน หรือตั้งเป้าลดลง 50% จากยอดสินทรัพย์รวม 4.25 ล้านล้านเหรียญ
นอกจากนี้ Fed ยังปรับการเติบโตของเศรษฐกิจในระยะยาวขึ้น โดยปรับเพิ่ม GDP Growth ปี 2560-2563 เป็น 2.5% 2.5% , 2.1% และ 2% (จากเดิม 2.4% 2.1%, 2.0% และ 1.8% ตามลำดับ) และปรับลดอัตราการว่างงานในปี 2560 -2563 เหลือ 4.1% 3.9%, 3.9% และ 4% (จากเดิม 4.3% 4.1%, 4.1% และ 4.2% ตามลำดับ) พร้อมส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยในระยะยาว 3 ปีข้างหน้า ดังนี้ ปี 2561-2562 ขึ้นปีละ 3 ครั้งละๆ 0.25% ทำให้ดอกเบี้ยสิ้นปี 2561 อยู่ที่ 2.25% และปี 2562 และ 3% ส่วนปี 2563 ขึ้น 1ครั้ง ดอกเบี้ยฯ จะอยู่ที่ 3.25% การประกาศขึ้นดอกเบี้ยดังกล่าวจะเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจและตลาดหุ้นหรือไม่ ต้องติดตามตอนต่อไป
และในวันนี้ 14 ธ.ค. มีการประชุม 2 ธนาคารกลาง คือ ธนาคารกลางยุโรป (ECB) และธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) เชื่อว่ายังไม่มีเปลี่ยนแปลง คือ ECB น่าจะคงดอกเบี้ยฯ ที่ 0% (ตั้งแต่ มี.ค. 2559) และคง QE เดือนละ 3 หมื่นล้านยูโร จนถึงเดือน ก.ย. ปี 2561 เพราะเศรษฐกิจในยุโรปบางประเทศยังฟื้นตัวล่าช้า โดยเฉพาะประเทศที่มีปัญหาทางการเงินกลุ่ม PIIGC
ตามด้วย BOE ในรอบนี้ ตลาดคาดยังคงดอกเบี้ยนโยบาย 0.5% ตามเดิม หลังจากขึ้นไปแล้ว 1 ครั้ง 0.25%ในเดือน พ.ย. แต่น่าจะไปขึ้นปี 2561 แทน เนื่องจากเงินเฟ้อ ล่าสุด พุ่งสูงอยู่ที่ 3.1% ผลจากค่าเงินปอนด์ที่อ่อนค่าราว 10% นับตั้งแต่ Brexit และยังมีแนวโน้มอ่อนค่าต่อเนื่องในระยะกลาง-ยาว หลังจากการเจรจา Brexit ทำให้อังกฤษต้องเดินหน้าใช้นโยบายการเงินแบบตึงตัวในระยะกลาง-ยาว
อย่างไรก็ตามพบว่าดอลลาร์กลับอ่อนค่า ซึ่งน่าจะเกิดจากการขายทำกำไรช่วงสั้น ๆ หลังจากที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นไปรอแล้วล่วงหน้า เช่นเดียวกับตลาดหุ้นสหรัฐ ที่การปรับตัวขึ้นจำกัด (Dowjones) หรือมีการขายทำกำไรในบางตลาด (NASDAX, S&P500) หลังจากนี้คงต้องการติดตามเรื่องของการร่าง กฎหมาย โครงสร้างภาษีใหม่ หลังจากที่ผ่านการพิจารณาของรัฐสภาสหรัฐมาแล้ว ซึ่งคาดว่าน่าจะราวคริสต์มาสนี้
ราคาน้ำมัมดิบอ่อนระยะสั้น..สต็อกน้ำมันเบนซิน และการผลิตสหรัฐฯ เพิ่มขึ้น
วานนี้ราคาน้ำมันดิบ WTI ปรับตัวลดลงกว่า 0.95% มาอยู่ที่ 56.60 เหรียญ/บาร์เรล เนื่องจาก ทางสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันเบนซินในสัปดาห์ล่าสุดปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด โดยเพิ่มขึ้น 5.7 ล้านบาร์เรล ขณะที่ตลาดฯคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเพียง 2.5 ล้านบาร์เรล รวมถึงการผลิตน้ำมันดิบของสหรัฐฯพุ่งขึ้นอีก 73,000 บาร์เรล/วัน สู่ระดับสูงสุดใหม่ที่ 9.78 ล้านบาร์เรล/วัน อย่างไรก็ตามยังได้ปัจจัยหนุนด้านการผลิตที่จำกัด คือ
ปริมาณกำลังการผลิตน้ำมันดิบประจำเดือน พ.ย.2560 ของกลุ่มโอเปกปรับตัวลดลงราว 0.4% มาที่ระดับ 32.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยกลุ่มโอเปกยังคงร่วมมือกันขยายระยะเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน 1.8 ล้านบาร์เรล/วันออกไปจนถึงปลายปี 2561
และอังกฤษยังคงปิดท่อส่งน้ำมัน “Forties” ที่ใช้ลำเลียงน้ำมันกว่า 4.5 แสนบาร์เรลจากทะเลเหนือสู่โรงกลั่นน้ำมัน Kinneil ในสก็อตแลนด์ หลังมีการแตกชำรุดเสียหายทำให้ต้องปิดซ่อมแซมนานกว่าสัปดาห์
ดังนั้นกลยุทธ์แนะนำให้สะสมหุ้นน้ำมัน อย่าง PTTEP(FV’61@B118) ยามราคาอ่อนตัวลง และราคาหุ้นยังถือว่า Laggard ราคาน้ำมันดิบอยู่มาก รวมถึง BCP(FV’61@B44) มีประเด็นให้เก็งกำไรระยะสั้น เนื่องจากได้ปัจจัยหนุนจากการเข้าคำนวณใน SET50 รอบถัดไปเหนือความคาดหมาย
ปริมาณกำลังการผลิตน้ำมันดิบประจำเดือน พ.ย.2560 ของกลุ่มโอเปกปรับตัวลดลงราว 0.4% มาที่ระดับ 32.5 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยกลุ่มโอเปกยังคงร่วมมือกันขยายระยะเวลาปรับลดกำลังการผลิตน้ำมัน 1.8 ล้านบาร์เรล/วันออกไปจนถึงปลายปี 2561
และอังกฤษยังคงปิดท่อส่งน้ำมัน “Forties” ที่ใช้ลำเลียงน้ำมันกว่า 4.5 แสนบาร์เรลจากทะเลเหนือสู่โรงกลั่นน้ำมัน Kinneil ในสก็อตแลนด์ หลังมีการแตกชำรุดเสียหายทำให้ต้องปิดซ่อมแซมนานกว่าสัปดาห์
ดังนั้นกลยุทธ์แนะนำให้สะสมหุ้นน้ำมัน อย่าง PTTEP(FV’61@B118) ยามราคาอ่อนตัวลง และราคาหุ้นยังถือว่า Laggard ราคาน้ำมันดิบอยู่มาก รวมถึง BCP(FV’61@B44) มีประเด็นให้เก็งกำไรระยะสั้น เนื่องจากได้ปัจจัยหนุนจากการเข้าคำนวณใน SET50 รอบถัดไปเหนือความคาดหมาย
ต่างชาติขายสุทธิต่อเนื่องทั้งภูมิภาค รวมถึงไทย
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 14 มูลค่ารวมสูงกว่า 246 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศนำโดย เกาหลีใต้ มูลค่าราว 106 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7) ไต้หวันถูกขายสุทธิต่อเนื่องอีก 61 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 14) เช่นเดียวกับตลาดหุ้นอินโดนิเซีย ถูกขายสุทธิต่อเนื่อง มูลค่า 34 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10) และตลาดหุ้นไทยถูกขายต่อเนื่องอีก 40 ล้านเหรียญ หรือ 1.3 พันล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 9 มูลค่ารวมกว่า 1.12 หมื่นล้านบาท) ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศที่ยังซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 3 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7 กว่า 1.4 หมื่นล้านบาท) สำหรับตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ข้อมูลการซื้อขายล่าสุดของนักลงทุนต่างชาติยังไม่มีการอัพเดท
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 8.88 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 2.8 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ลงทุนระยะสั้น หุ้นเข้าคำนวณ SET50-100: WHA, SAWAD, BEAUTY
เย็นวานนี้ตลาดหลักทรัพย์ประกาศรายชื้อหุ้นที่ถูกเข้าคำนวณใน SET50 และ SET100 รอบ 1H61 ได้หุ้นที่เข้า/ออก SET50 6 คู่ และหุ้นที่เข้า/ออก SET100 อีก 13 คู่ (ดังตารางด้านล่าง) ที่จะเริ่มใช้ช่วง 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. 2561
หุ้นที่จะถูกคัดเลือกเข้า/ออก SET50 และ SET100 รอบ 1H61
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 14 มูลค่ารวมสูงกว่า 246 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศนำโดย เกาหลีใต้ มูลค่าราว 106 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7) ไต้หวันถูกขายสุทธิต่อเนื่องอีก 61 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 14) เช่นเดียวกับตลาดหุ้นอินโดนิเซีย ถูกขายสุทธิต่อเนื่อง มูลค่า 34 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10) และตลาดหุ้นไทยถูกขายต่อเนื่องอีก 40 ล้านเหรียญ หรือ 1.3 พันล้านบาท (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 9 มูลค่ารวมกว่า 1.12 หมื่นล้านบาท) ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศที่ยังซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 3 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7 กว่า 1.4 หมื่นล้านบาท) สำหรับตลาดหุ้นฟิลิปปินส์ ข้อมูลการซื้อขายล่าสุดของนักลงทุนต่างชาติยังไม่มีการอัพเดท
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 8.88 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 2.8 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
ลงทุนระยะสั้น หุ้นเข้าคำนวณ SET50-100: WHA, SAWAD, BEAUTY
เย็นวานนี้ตลาดหลักทรัพย์ประกาศรายชื้อหุ้นที่ถูกเข้าคำนวณใน SET50 และ SET100 รอบ 1H61 ได้หุ้นที่เข้า/ออก SET50 6 คู่ และหุ้นที่เข้า/ออก SET100 อีก 13 คู่ (ดังตารางด้านล่าง) ที่จะเริ่มใช้ช่วง 1 ม.ค. – 30 มิ.ย. 2561
หุ้นที่จะถูกคัดเลือกเข้า/ออก SET50 และ SET100 รอบ 1H61
ที่มา : SET
ผลประกาศน่าจะสอดคล้องกับที่ฝ่ายวิจัยได้ประเมินไว้ก่อนหน้า ดังที่ได้เสนอในรายงาน Quantitative Analysis เมื่อ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งสรุปว่า หุ้นที่เข้าคำนวณ SET50 3 บริษัท คือ CENTEL, SAWAD และ TPIPP ซึ่งจำนวนที่ถูกคัดเข้าคำนวณ SET50 นอ้ยกว่าที่ตลาดประกาศ นั่นเป็นเพราะตลาดฯให้น้ำหนักกับเรื่องสภาพคล่องมากกว่าที่คาด ทำให้มีหุ้นที่มีขนาดใหญ่ถูกคัดออกทั้งใน SET50 และ SET100 สุทธิแล้วมีถึง 5 บริษัท คือ BLA, DELTA, GLOW, RATCH, SCCC จึงทำให้หุ้นสำรองที่ฝ่ายวิจัยเคยประเมินไว้ เลื่อนขึ้นมาแทน คือ BCP, BEAUTY, WHA และ KCE, PSH (ไม่หลุดจาก SET50)
และจากการศึกษาข้อมูลในอดีต พบว่าหุ้นที่คาดการณ์ว่าจะถูกคัดเลือกเข้าคำนวณดัชนี SET50 ราคาหุ้นมักจะปรับตัวขึ้นตอบรับในเชิงบวกล่วงหน้าก่อนวันนำเข้าไปคำนวณจริงเสมอ คือ หลังจากนี้ยังมีเวลาที่หุ้นมีโอกาสปรับขึ้นอีก 2 สัปดาห์ ตรงข้ามกับหุ้นที่คาดว่าจะถูกคัดออกที่ราคาหุ้นมักจะปรับตัวลดลง ส่วนหุ้นที่คาดว่าจะเข้า SET100 ไม่ค่อยมีนัยฯสำคัญกับราคาหุ้นมากนัก
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนแนะนำลงทุนในหุ้นที่ถูกคัดเข้าใน SET50 และยังมี Upside สูง อย่าง WHA, BCP, BEAUTY SAWAD และ TPIPP (รายละเอียด Valuation ตามตารางทางด้านล่าง) Top Picks เลือก WHA(FV’[email protected]), SAWAD(FV’61@B80)
ผลประกาศน่าจะสอดคล้องกับที่ฝ่ายวิจัยได้ประเมินไว้ก่อนหน้า ดังที่ได้เสนอในรายงาน Quantitative Analysis เมื่อ 1 ธ.ค. ที่ผ่านมา ซึ่งสรุปว่า หุ้นที่เข้าคำนวณ SET50 3 บริษัท คือ CENTEL, SAWAD และ TPIPP ซึ่งจำนวนที่ถูกคัดเข้าคำนวณ SET50 นอ้ยกว่าที่ตลาดประกาศ นั่นเป็นเพราะตลาดฯให้น้ำหนักกับเรื่องสภาพคล่องมากกว่าที่คาด ทำให้มีหุ้นที่มีขนาดใหญ่ถูกคัดออกทั้งใน SET50 และ SET100 สุทธิแล้วมีถึง 5 บริษัท คือ BLA, DELTA, GLOW, RATCH, SCCC จึงทำให้หุ้นสำรองที่ฝ่ายวิจัยเคยประเมินไว้ เลื่อนขึ้นมาแทน คือ BCP, BEAUTY, WHA และ KCE, PSH (ไม่หลุดจาก SET50)
และจากการศึกษาข้อมูลในอดีต พบว่าหุ้นที่คาดการณ์ว่าจะถูกคัดเลือกเข้าคำนวณดัชนี SET50 ราคาหุ้นมักจะปรับตัวขึ้นตอบรับในเชิงบวกล่วงหน้าก่อนวันนำเข้าไปคำนวณจริงเสมอ คือ หลังจากนี้ยังมีเวลาที่หุ้นมีโอกาสปรับขึ้นอีก 2 สัปดาห์ ตรงข้ามกับหุ้นที่คาดว่าจะถูกคัดออกที่ราคาหุ้นมักจะปรับตัวลดลง ส่วนหุ้นที่คาดว่าจะเข้า SET100 ไม่ค่อยมีนัยฯสำคัญกับราคาหุ้นมากนัก
ดังนั้นกลยุทธ์การลงทุนแนะนำลงทุนในหุ้นที่ถูกคัดเข้าใน SET50 และยังมี Upside สูง อย่าง WHA, BCP, BEAUTY SAWAD และ TPIPP (รายละเอียด Valuation ตามตารางทางด้านล่าง) Top Picks เลือก WHA(FV’[email protected]), SAWAD(FV’61@B80)
Valuation หุ้นเด่น SET50 และ SET100 รอบ 1H61
ที่มา : ฝ่ายวิจัย ASPS
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO3568