- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 10 November 2017 16:40
- Hits: 2026
บล.ยูโอบีเคย์เฮียน : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
นักลงทุนต่างชาติปรับพอร์ตทั้งภูมิภาค กดดันตลาดยังอยู่ในช่วงของการปรับฐาน
จิตวิทยาหุ้นโลกชะลอตัวหลังวุฒิสมาชิกบางส่วนมีความเห็นให้ชะลอการปฏิรูปภาษีออกไปเป็นปี 2562 ทั้งนี้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไทยไตรมาส 3/60 การรายงานกำไรบจ.ล่าสุด 165 จาก 543 แห่ง รายได้รวมดีกว่าคาด 1.5% ขณะที่กำไรรวมต่ำคาด 4.81% สัดส่วนของบริษัทที่รายงานกำไรดีและแย่กว่าคาดคือครึ่งต่อครึ่ง เทียบกับสหรัฐฯ ที่รายได้ดีกว่าคาด 0.76% ขณะที่กำไรรวมดีกว่าคาด 4.58% โดยสัดส่วนของบริษัทที่รายงานกำไรดีกว่าคาดอยู่ที่ราว 75% (ดูรายละเอียดได้ใน UTRADE Morning Call เช้า) แนวโน้มกำไรที่ยากต่อคาดการณ์ และต่ำคาดป็นไตรมาสที่ 2 ต่อเนื่อง ทำให้นักลงล็อคกำไรและชะลอการกลับเข้าลงทุน ขณะที่นักลงทุนสถาบันทำการปรับพอร์ต รวมทั้งนักลงทุนต่างชาติขายทั้งภูมิภาค (หน้า 2) ซึ่งจะทำให้ตลาดใช้เวลาแกว่งปรับฐานอีกระยะ การชะลอตัวลงของดัชนีเป็นโอกาสทยอยสะสมหุ้นใหญ่ในกลุ่มได้ประโยชน์บริโภค พลังงาน และธนาคาร / หุ้น SCC อาจต้องรอตั้งรับลึก 450 บาท ราคา Naptha ที่ขึ้นตามราคาน้ำมัน จะกดดันต่อผลประกอบการ
Investment Theme 1) หุ้นที่ยังมีการถือครองน้อย อาทิ PRM*, SSP* 2) หุ้นใหญ่พลังงาน-ปิโตร PTT, PTTEP, PTTGC, IVL, IRPC 3) หุ้นเก็งกำไรที่น่าสนใจ TMILL*, CHG*, CHOW*, MALEE, TIP*, AJ*, PTL*, VNT*, EASTW, MILL*
ภาพรวมกลยุทธ์: แกว่งตัว โดยกลับมามีความเสี่ยงลงทดสอบ 1686 และ 1670 อีกครั้ง เรายังคงแนะนำเก็งกำไรเป็นในเชิงตั้งรับ (ไม่ไล่ราคา/ซื้อแนวรับ/ตั้ง stop loss) และกลยุทธ์การลงทุนเน้นเลือกหุ้นรายตัว // หุ้นแนะนำ SCB, AMANAH, IRPC
แนวรับ : 1686-1697 / แนวต้าน : 1707-1710 จุด สัดส่วน : เงินสด 40% : พอร์ตหุ้น 60%
นักลงทุนต่างชาติปรับพอร์ตทั้งภูมิภาค กดดันตลาดยังอยู่ในช่วงของการปรับฐาน
จิตวิทยาหุ้นโลกชะลอตัวหลังวุฒิสมาชิกบางส่วนมีความเห็นให้ชะลอการปฏิรูปภาษีออกไปเป็นปี 2562 ทั้งนี้ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนไทยไตรมาส 3/60 การรายงานกำไรบจ.ล่าสุด 165 จาก 543 แห่ง รายได้รวมดีกว่าคาด 1.5% ขณะที่กำไรรวมต่ำคาด 4.81% สัดส่วนของบริษัทที่รายงานกำไรดีและแย่กว่าคาดคือครึ่งต่อครึ่ง เทียบกับสหรัฐฯ ที่รายได้ดีกว่าคาด 0.76% ขณะที่กำไรรวมดีกว่าคาด 4.58% โดยสัดส่วนของบริษัทที่รายงานกำไรดีกว่าคาดอยู่ที่ราว 75% (ดูรายละเอียดได้ใน UTRADE Morning Call เช้า) แนวโน้มกำไรที่ยากต่อคาดการณ์ และต่ำคาดป็นไตรมาสที่ 2 ต่อเนื่อง ทำให้นักลงล็อคกำไรและชะลอการกลับเข้าลงทุน ขณะที่นักลงทุนสถาบันทำการปรับพอร์ต รวมทั้งนักลงทุนต่างชาติขายทั้งภูมิภาค (หน้า 2) ซึ่งจะทำให้ตลาดใช้เวลาแกว่งปรับฐานอีกระยะ การชะลอตัวลงของดัชนีเป็นโอกาสทยอยสะสมหุ้นใหญ่ในกลุ่มได้ประโยชน์บริโภค พลังงาน และธนาคาร / หุ้น SCC อาจต้องรอตั้งรับลึก 450 บาท ราคา Naptha ที่ขึ้นตามราคาน้ำมัน จะกดดันต่อผลประกอบการ
Investment Theme 1) หุ้นที่ยังมีการถือครองน้อย อาทิ PRM*, SSP* 2) หุ้นใหญ่พลังงาน-ปิโตร PTT, PTTEP, PTTGC, IVL, IRPC 3) หุ้นเก็งกำไรที่น่าสนใจ TMILL*, CHG*, CHOW*, MALEE, TIP*, AJ*, PTL*, VNT*, EASTW, MILL*
ภาพรวมกลยุทธ์: แกว่งตัว โดยกลับมามีความเสี่ยงลงทดสอบ 1686 และ 1670 อีกครั้ง เรายังคงแนะนำเก็งกำไรเป็นในเชิงตั้งรับ (ไม่ไล่ราคา/ซื้อแนวรับ/ตั้ง stop loss) และกลยุทธ์การลงทุนเน้นเลือกหุ้นรายตัว // หุ้นแนะนำ SCB, AMANAH, IRPC
แนวรับ : 1686-1697 / แนวต้าน : 1707-1710 จุด สัดส่วน : เงินสด 40% : พอร์ตหุ้น 60%
ประเด็นการลงทุน
โภคภัณฑ์ – ราคาน้ำมันปรับขึ้นเล็กน้อยเหตุความตึงเครียดในตะวันออกกลางหนุนแรงซื้อ / ราคาโลหะทรงตัวอยู่ในกรอบบนใกล้ระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี จากแรงหนุนของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่คาดสร้างอุปสงค์เหล็กเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามตลาดมองว่าราคาปรับตัวขึ้นมามากเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการปรับฐานในปีหน้า / ราคาสินค้าเกษตรทรงตัว, ถัวเหลืองปรับขึ้นรับคาดการณ์ที่ว่าอาจมีการปรับลดการประมาณผลผลิตถั่วเหลืองในสหรัฐฯ / ค่าระวางเรือ (BDI) ปิดที่ 1,481 จุด (-0.34%) / ถ่านหิน Newcastle ปิดที่ 97.7 เหรียญต่อตัน (-0.31%)
มาตรการปรับลดภาษีอาจล่าช้ากว่าคาด – ค่าเงินเหรียญรวมถึงตลาดหุ้นสหรัฐฯถูกกดดันหลังสมาชิกพรรครีพับลิกันในวุฒิสภาเผยถึงร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีฉบับของวุฒิสภาที่เสนอให้มีการชะลอมาตรการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 35% สู่ระดับ 20% ออกไปอีก 1 ปี จนถึงปี 62 สวนทางกับความตั้งใจของทรัมป์ที่ต้องการให้มาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ทันทีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามแรงกดดันดังกล่าวบรรเทาลงหลังคณะกรรมาธิการพิจารณาวิธีการจัดหารายได้ของสภาผู้แทนราษฎรมีมติผ่านร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของพรรครีพับลิกันวานนี้
วุฒิสภาเตรียมประกาศรับรองพาวเวลขึ้นเป็นปธ.เฟดคนใหม่ – วุฒิสภาสหรัฐฯเตรียมประกาศรับรองนายเจอโรม พาวเวล ขึ้นเป็นประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) คนใหม่ในวันที่ 28 พ.ย.นี้ หลังได้รับการเสนอชื่อจากประธานาธิบดีทรัมป์เมื่อวันที่ 3 พ.ย. ที่ผ่านมา
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับดีขึ้นต่อเนื่อง – ม.หอการค้ารายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ต.ค. อยู่ที่ 76.7 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 หลังเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวตามการขยายตัวของภาคส่งออกและท่องเที่ยว, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐฯ รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่ดูมีเสถียรภาพมากขึ้น
ประเด็นติดตาม: 3-14 พ.ย. – ทรัมป์เดินทางเยือน 5 ประเทศเอเชีย / 20 พ.ย. – สภาพัฒน์ประกาศจีดีพี 3Q60 / 30 พ.ย. – ประชุมโอเปค
โภคภัณฑ์ – ราคาน้ำมันปรับขึ้นเล็กน้อยเหตุความตึงเครียดในตะวันออกกลางหนุนแรงซื้อ / ราคาโลหะทรงตัวอยู่ในกรอบบนใกล้ระดับสูงสุดในรอบกว่า 2 ปี จากแรงหนุนของอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้า (EV) ที่คาดสร้างอุปสงค์เหล็กเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามตลาดมองว่าราคาปรับตัวขึ้นมามากเกินกว่าปัจจัยพื้นฐานส่งผลให้มีความเสี่ยงต่อการปรับฐานในปีหน้า / ราคาสินค้าเกษตรทรงตัว, ถัวเหลืองปรับขึ้นรับคาดการณ์ที่ว่าอาจมีการปรับลดการประมาณผลผลิตถั่วเหลืองในสหรัฐฯ / ค่าระวางเรือ (BDI) ปิดที่ 1,481 จุด (-0.34%) / ถ่านหิน Newcastle ปิดที่ 97.7 เหรียญต่อตัน (-0.31%)
มาตรการปรับลดภาษีอาจล่าช้ากว่าคาด – ค่าเงินเหรียญรวมถึงตลาดหุ้นสหรัฐฯถูกกดดันหลังสมาชิกพรรครีพับลิกันในวุฒิสภาเผยถึงร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีฉบับของวุฒิสภาที่เสนอให้มีการชะลอมาตรการปรับลดภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 35% สู่ระดับ 20% ออกไปอีก 1 ปี จนถึงปี 62 สวนทางกับความตั้งใจของทรัมป์ที่ต้องการให้มาตรการดังกล่าวมีผลบังคับใช้ทันทีเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามแรงกดดันดังกล่าวบรรเทาลงหลังคณะกรรมาธิการพิจารณาวิธีการจัดหารายได้ของสภาผู้แทนราษฎรมีมติผ่านร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีของพรรครีพับลิกันวานนี้
วุฒิสภาเตรียมประกาศรับรองพาวเวลขึ้นเป็นปธ.เฟดคนใหม่ – วุฒิสภาสหรัฐฯเตรียมประกาศรับรองนายเจอโรม พาวเวล ขึ้นเป็นประธานธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) คนใหม่ในวันที่ 28 พ.ย.นี้ หลังได้รับการเสนอชื่อจากประธานาธิบดีทรัมป์เมื่อวันที่ 3 พ.ย. ที่ผ่านมา
ความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับดีขึ้นต่อเนื่อง – ม.หอการค้ารายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเดือน ต.ค. อยู่ที่ 76.7 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 หลังเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวตามการขยายตัวของภาคส่งออกและท่องเที่ยว, มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาครัฐฯ รวมถึงสถานการณ์ทางการเมืองที่ดูมีเสถียรภาพมากขึ้น
ประเด็นติดตาม: 3-14 พ.ย. – ทรัมป์เดินทางเยือน 5 ประเทศเอเชีย / 20 พ.ย. – สภาพัฒน์ประกาศจีดีพี 3Q60 / 30 พ.ย. – ประชุมโอเปค
รายงานฉบับนี้จัดทำขึ้นโดยข้อมูลเท่าที่ปรากฏและเชื่อว่าเป็นที่น่าเชื่อถือได้แต่ไม่ถือเป็นการยืนยันความถูกต้องและความสมบูรณ์ของข้อมูลนั้นๆ โดยบริษัทหลักทรัพย์ ยูโอบี เคย์เฮียน(ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ผู้จัดทำขอสงวนสิทธ์ในการเปลี่ยนแปลงความเห็นหรือประมาณการณ์ต่างๆที่ปรากฏในรายงานฉบับนี้ โดยไม่ต้องแจ้งล่วงหน้า รายงานฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจของนักลงทุน โดยไม่ได้เป็นการชี้นำชักชวนให้นักลงทุนทำการซื้อหรือขายหลักทรัพย์ หรือตราสารทางการเงินใดๆ ที่ปรากฏในรายงาน
OO2229