- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 09 November 2017 16:58
- Hits: 1020
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นไทยยังเผชิญกับแรงขายรับงบ แต่แรงหนุน LTF และแรงขายต่างชาติแผ่วเบา ทำให้ SET ยังยืนเหนือ 1700 จุดต่อไป ยังชอบ BJC(FV@60) นอกจากได้ประโยชน์จากนโยบายช็อปช่วยชาติแล้ว คาดว่า CCI มีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่อง ล้วนหนุนให้ SSSG ฟื้นตัวต่อเนื่องใน 3Q60 และ 4Q60 จะหนุนกำไรทั้งปีนี้เติบโต 50% ปี 2560 และเติบโตอีก 16.5% ในปี 2561
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นไทยยังเผชิญกับแรงขายรับงบ แต่แรงหนุน LTF และแรงขายต่างชาติแผ่วเบา ทำให้ SET ยังยืนเหนือ 1700 จุดต่อไป ยังชอบ BJC(FV@60) นอกจากได้ประโยชน์จากนโยบายช็อปช่วยชาติแล้ว คาดว่า CCI มีแนวโน้มที่ดีต่อเนื่อง ล้วนหนุนให้ SSSG ฟื้นตัวต่อเนื่องใน 3Q60 และ 4Q60 จะหนุนกำไรทั้งปีนี้เติบโต 50% ปี 2560 และเติบโตอีก 16.5% ในปี 2561
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ... หุ้นกลุ่ม ธ.พ. ช่วยประคองตลาดปิดบวกเล็กน้อย
วานนี้ตลาดหุ้นไทยแกว่งในกรอบแคบๆ ตลอดวันและปิดที่ระดับ 1714.65 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.90 จุด หรือ 0.06% มูลค่าการซื้อขาย 5.67 หมื่นล้านบาท โดยยังมีแรงขายรับงบ 3Q60 กลุ่มที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้หุ้นที่ปรับขึ้นโดดเด่นคือ กลุ่ม ธ.พ. นำโดย SCB เพิ่มขึ้นโดดเด่นกว่า 1.71% หลัง PACE มีแผนระดมทุนผ่านการออกหุ้นสามัญ และ ขายสินทรัพย์บางส่วน เพื่อเตรียมชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายใหญ่อย่าง SCB ตามด้วย KBANK เพิ่มขึ้น 0.91% และ TMB 0.78% ตามด้วยกลุ่มปิโตรเคมี PTTGC เพิ่มขึ้นโดดเด่น 2.88% หลังรายงานงบฯ 3Q60 ออกมาใกล้เคียงกับที่ฝ่ายวิจัยคาด โดยมีกำไรสุทธิ 9.9 พันล้านบาท เติบโต 50% qoq และ 60% yoy หนุนจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการใช้กำาลังการผลิตที่ดีขึ้น รวมทั้งราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น
ตรงข้ามกับกลุ่มชิ้นส่วนฯ ลดลงแรง นำโดย KCE ลดลงกว่า 8.21% หลังรายงานงบ 3Q60 มีกำไรสุทธิ 612.4 ล้านบาท ลดลง 22.1% yoy ผลจากเงินบาทที่แข็งค่าและราคาทองแดงยังอยู่ในระดับสูง กดดันประสิทธิภาพการทำไร จึงแนะนำขายและไปลงทุนใน HANA ที่มีแนวโน้มกำไรเติบโตโดดเด่นกว่าโดย 3Q60 เป็นช่วง high season ของกลุ่มชิ้นส่วนฯ เช่นเดียวกับหุ้นในกลุ่ม ICT ที่เริ่มเห็นการพักฐานหลังจากปรับตัวขึ้นตั้งแต่ต้นสัปดาห์ โดยผู้ให้บริการมือถือทั้ง 3 ค่าย TRUE DTAC และ ADVANC ลดลง 0.88% 0.52% และ 1.07% ตามลำดับ ส่วน INTUCH และ THCOM ลดลง 0.44% และ 3.03%
ยกเว้นเพียง AIT ที่ปรับตัวขึ้นสวนทางกลุ่มกว่า 2.65% รับงบในงวด 3Q60 ที่มีกำไรสุทธิ 123 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% qoq และ 21% yoy
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีน่าจะแกว่งพักตัวต่อ โดยปรับขึ้นในช่วงเช้า แต่ย่อตัวลงในช่วงบ่าย โดยมีแนวรับที่ 1700 จุด แนวต้าน 1730 จุด
วานนี้ตลาดหุ้นไทยแกว่งในกรอบแคบๆ ตลอดวันและปิดที่ระดับ 1714.65 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 1.90 จุด หรือ 0.06% มูลค่าการซื้อขาย 5.67 หมื่นล้านบาท โดยยังมีแรงขายรับงบ 3Q60 กลุ่มที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้หุ้นที่ปรับขึ้นโดดเด่นคือ กลุ่ม ธ.พ. นำโดย SCB เพิ่มขึ้นโดดเด่นกว่า 1.71% หลัง PACE มีแผนระดมทุนผ่านการออกหุ้นสามัญ และ ขายสินทรัพย์บางส่วน เพื่อเตรียมชำระหนี้แก่เจ้าหนี้รายใหญ่อย่าง SCB ตามด้วย KBANK เพิ่มขึ้น 0.91% และ TMB 0.78% ตามด้วยกลุ่มปิโตรเคมี PTTGC เพิ่มขึ้นโดดเด่น 2.88% หลังรายงานงบฯ 3Q60 ออกมาใกล้เคียงกับที่ฝ่ายวิจัยคาด โดยมีกำไรสุทธิ 9.9 พันล้านบาท เติบโต 50% qoq และ 60% yoy หนุนจากปริมาณการขายที่เพิ่มขึ้นตามอัตราการใช้กำาลังการผลิตที่ดีขึ้น รวมทั้งราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้น
ตรงข้ามกับกลุ่มชิ้นส่วนฯ ลดลงแรง นำโดย KCE ลดลงกว่า 8.21% หลังรายงานงบ 3Q60 มีกำไรสุทธิ 612.4 ล้านบาท ลดลง 22.1% yoy ผลจากเงินบาทที่แข็งค่าและราคาทองแดงยังอยู่ในระดับสูง กดดันประสิทธิภาพการทำไร จึงแนะนำขายและไปลงทุนใน HANA ที่มีแนวโน้มกำไรเติบโตโดดเด่นกว่าโดย 3Q60 เป็นช่วง high season ของกลุ่มชิ้นส่วนฯ เช่นเดียวกับหุ้นในกลุ่ม ICT ที่เริ่มเห็นการพักฐานหลังจากปรับตัวขึ้นตั้งแต่ต้นสัปดาห์ โดยผู้ให้บริการมือถือทั้ง 3 ค่าย TRUE DTAC และ ADVANC ลดลง 0.88% 0.52% และ 1.07% ตามลำดับ ส่วน INTUCH และ THCOM ลดลง 0.44% และ 3.03%
ยกเว้นเพียง AIT ที่ปรับตัวขึ้นสวนทางกลุ่มกว่า 2.65% รับงบในงวด 3Q60 ที่มีกำไรสุทธิ 123 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% qoq และ 21% yoy
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีน่าจะแกว่งพักตัวต่อ โดยปรับขึ้นในช่วงเช้า แต่ย่อตัวลงในช่วงบ่าย โดยมีแนวรับที่ 1700 จุด แนวต้าน 1730 จุด
การเยือนเอเชียของทรัมป์ไม่มี surprise
ปัจจัยต่างประเทศในช่วงนี้ให้น้ำหนักไปที่การเดินทางเยือน จีน วันนี้ของประธานาธิปดี ทรัมป์ ซึ่งเป็นประเทศที่ 3 หลังจากเยือนญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ไปในต้นสัปดาห์ โดยเชื่อว่าได้ข้อสรุปคล้ายๆกัน คือ มุ่งให้จีนกดดันเกาหลีเหนือ โดยเฉพาะด้านการค้า เนื่องจากประเทศที่เป็นคู่ค้าหลัก (X+M)ของเกาหลีเหนือ คือ จีนมากที่สุดราว 85% ของมูลค้าการค้ารวมของเกาหลีเหนือ (สินค้าหลักๆ จีนส่งออกไปเกาหลีเหนือ มากสุดคือ สิ่งทอ รองลงมาคือ เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องจักร และเคมีภัณฑ์ ขณะที่สินค้านำเข้าคือ สินแร่บุก, เครื่องนุ่งห่มรองเท้า และอาหาร) และ ประเด็นถัดมาน่าจะเรื่อง ช่วยลดขาดดุลการค้า เนื่องจาก จีนเป็นประเทศที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐมากที่สุด ราว 40%ของการขาดดุลการค้าทั้งหมดของจีน โดย สินค้าส่งออกหลักจีนไปสหรัฐ คือ คอมพิวเตอร์ (11%ของยอดส่งออกรวมของจีนไปสหรัฐ) อุปกรณ์โทรคมนาคม (6.8%) โทรศัพท์ (3%) เฟอร์นิเจอร์ (2.2%) สิ่งทอ (2.1%) ตรงกันข้าม สินค้านำเข้าสินค้าจากสหรัฐของจีน คือ ถั่วเหลือง (10% ของการนำเข้าทั้งหมดจากสหรัฐ) อากาศยานและชิ้นส่วน (9.3%) รถยนต์ (8.8%) และ แผงวงจร (6.5%)
ปัจจัยต่างประเทศในช่วงนี้ให้น้ำหนักไปที่การเดินทางเยือน จีน วันนี้ของประธานาธิปดี ทรัมป์ ซึ่งเป็นประเทศที่ 3 หลังจากเยือนญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ไปในต้นสัปดาห์ โดยเชื่อว่าได้ข้อสรุปคล้ายๆกัน คือ มุ่งให้จีนกดดันเกาหลีเหนือ โดยเฉพาะด้านการค้า เนื่องจากประเทศที่เป็นคู่ค้าหลัก (X+M)ของเกาหลีเหนือ คือ จีนมากที่สุดราว 85% ของมูลค้าการค้ารวมของเกาหลีเหนือ (สินค้าหลักๆ จีนส่งออกไปเกาหลีเหนือ มากสุดคือ สิ่งทอ รองลงมาคือ เครื่องใช้ไฟฟ้า, เครื่องจักร และเคมีภัณฑ์ ขณะที่สินค้านำเข้าคือ สินแร่บุก, เครื่องนุ่งห่มรองเท้า และอาหาร) และ ประเด็นถัดมาน่าจะเรื่อง ช่วยลดขาดดุลการค้า เนื่องจาก จีนเป็นประเทศที่ได้ดุลการค้ากับสหรัฐมากที่สุด ราว 40%ของการขาดดุลการค้าทั้งหมดของจีน โดย สินค้าส่งออกหลักจีนไปสหรัฐ คือ คอมพิวเตอร์ (11%ของยอดส่งออกรวมของจีนไปสหรัฐ) อุปกรณ์โทรคมนาคม (6.8%) โทรศัพท์ (3%) เฟอร์นิเจอร์ (2.2%) สิ่งทอ (2.1%) ตรงกันข้าม สินค้านำเข้าสินค้าจากสหรัฐของจีน คือ ถั่วเหลือง (10% ของการนำเข้าทั้งหมดจากสหรัฐ) อากาศยานและชิ้นส่วน (9.3%) รถยนต์ (8.8%) และ แผงวงจร (6.5%)
มาตรการช๊อปช่วยชาติ และดอกเบี้ยต่ำ ยังจำเป็นกระตุ้นกำลังซื้อ
ส่วนปัจจัยในประเทศนอกจากการรายงานงบที่ทำให้เกิด sell on fact แล้ว ผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) วานนี้เป็นไปตามคาด คือ ให้คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% แม้ กนง.มีมุมมองต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยที่ดีขึ้น ทั้งจากการส่งออก และ ลงทุนโดยรวม ของเอกชนและภาครัฐ ยกเว้นการบริโภคครัวเรือนยังมีแนวโน้มฟื้นตัวล่าช้า (ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและ SMES เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรชะลอลงและผลกระทบจากน้ำท่วมในบางพื้นที่) และอัตราเงินเฟ้อ ยังต่ำล่าสุดอยู่ที่ 0.86% ในเดือน ต.ค. ซึ่ถือว่าเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นในระยะสั้น
และ วันนี้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจะรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) เดือน ต.ค. คาดว่า CCI น่าจะฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยที่หนุนหุ้นกลุ่มค้าปลีกต่อไป นอกเหนือจากก่อนหน้านี้ที่ ครม. อนุมัติ มาตรการช็อปช่วยชาติ เป็นเวลา 23 วัน (11 พ.ย. ถึง 3 ธ.ค.) น่าจะหนุนกำลังซื้อในช่วงที่เหลือของปี ซึ่งหนุนค้าปลีกต่อเนื่องในงวด 4Q60 หลังจากมีสัญญาณฟื้นตัวที่ดีขึ้นนับจากงวด 3Q60 สะท้อนจากยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ที่มีสัญญาณฟื้นตัวที่ดีนับจากงวด 3Q60 ตัวอย่างเช่น HMPRO พบว่า SSSG 3Q60 พลิกกลับมาขยายตัว 2.5%yoy จาก -6.3%yoy ใน 2Q60 และ -2.9%yoy ใน 1Q60, TNP มี SSSG พลิกมาเป็น +1%yoy จาก -0.1%yoy ใน 2Q60 และ -0.3%yoy ใน 1Q60 และ น่าจะหนุนให้หุ้นกลุ่มค้าปลีกยังมีการเติบโตต่อเนื่องในปี 2561 แต่อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นในกลุ่มค้าปลีกส่วนใหญ่ปรับขึ้นสะท้อนประเด็นดังกล่าวจนบวกไปแล้ว จนมี upside จำกัด ยกเว้น คือ BJC (FV’61@B60) และ COM7 (FV’61@B19) ซึ่งมี จุดเด่นในเรื่องการเติบโตของกำไรทั้ง 2 บริษัท กล่าวคือ BJC จะมีกำไรเติบโต 50% ในปีนี้ และ 16.5% ในปีหน้า ขณะที่ COM7 จะเติบโต 30% และ 26% ตามลำดับ
Sell on fact รับงบ 3Q60 ยังมีอยู่
ล่าสุด การายงานงบ 3Q60 ของบริษัทจดทะเบียน แล้ว 102 บริษัท คิดเป็น 39% ของ Market Cap. ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 1.01 แสนล้านบาท หากเทียบงวด 3Q59 และ 2Q60 ของบริษัทฯ จำกนวนเดียวกัน พบว่ากำไรสุทธิลดลง 6.9%yoy และ 2.2%qoq แต่หากพิจารณาเฉพาะภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ (Real Sector) พบว่า ผลการดำเนินงานยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยกำไรสุทธิ 3Q60 อยู่ที่ 5.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 6%yoy และ 3.6%qoq ขณะที่ภาพรวมกำไรสุทธิงวด 9M60 (เฉพาะที่ประกาศงบฯ แล้ว ) อยู่ที่ 3.38 แสนล้านบาท ใกล้เคียงกับ 9M59 ที่ 3.36 แสนล้านบาท ส่วนกำไรสุทธิ 9M60 ของ Real sector อยู่ที่ 1.93 แสนล้านบาท ดีกว่า 9M59 ที่ 1.85 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทฯ ที่มีผลการดำเนินงานเติบโตโดดเด่นทั้ง yoy และ qoq คือ ธุรกิจโรงกลั่น-ปิโตรเคมี เช่น PTTGC (+60%yoy, +51%qoq) และ IRPC (+148%yoy, +164%qoq) โดยได้อานิสงส์จากค่าการกลั่นที่สูงขึ้น, ตามมาด้วย spread ปิโตรเคมีที่ยังอยู่ในระดับสูง และการบันทึกกำไรจากสต็อกน้ำมัน
กลุ่มถัดมาคือ หุ้นสื่อ-บันเทิง เช่น MACO (+183%yoy, +18%qoq) และ PLANB (+23%yoy, 24%qoq) ล้วนเป็นสื่อนอกบ้านที่โดดเด่น ตามด้วย CPN (+155%yoy, +141%qoq) มีการบันทึกกำไรพิเศษเงินประกันก่อการร้าย
ตรงข้ามกับบริษัทที่ผลการดำเนินงานหดตัวลง yoy และ qoq เช่น SCC (-16%yoy, -11%qoq) GGC (-73%yoy, -23%qoq) BSBM (-17%yoy, -39%qoq) KCE (-22%yoy, -9%qoq) และ THCOM (-85%yoy, -70%qoq)
การรายงานงบฯ จะทยอยออกมาต่อเนื่องจนถึงกลางสัปดาห์หน้า จึงทำให้อาจจะยังเห็นการ Sell on Fact ออกมาเป็นปัจจัยกดดันตลาดฯ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การปรับฐานของ SET Index ยังไม่น่าจะหลุดต่ำกว่า 1700 จุด เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยที่แข็งแกร่ง รวมทั้งแรงขายของนักลงทุนต่างชาติที่น่าจะเบาบางลง อีกทั้งจะได้แรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศตามเม็ดเงินของ LTF ที่จะเข้ามาหนุนในช่วงปลายปี
ส่วนปัจจัยในประเทศนอกจากการรายงานงบที่ทำให้เกิด sell on fact แล้ว ผลประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) วานนี้เป็นไปตามคาด คือ ให้คงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% แม้ กนง.มีมุมมองต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยที่ดีขึ้น ทั้งจากการส่งออก และ ลงทุนโดยรวม ของเอกชนและภาครัฐ ยกเว้นการบริโภคครัวเรือนยังมีแนวโน้มฟื้นตัวล่าช้า (ในกลุ่มผู้มีรายได้น้อยและ SMES เนื่องจากราคาสินค้าเกษตรชะลอลงและผลกระทบจากน้ำท่วมในบางพื้นที่) และอัตราเงินเฟ้อ ยังต่ำล่าสุดอยู่ที่ 0.86% ในเดือน ต.ค. ซึ่ถือว่าเป็นปัจจัยหนุนตลาดหุ้นในระยะสั้น
และ วันนี้ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยจะรายงานดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) เดือน ต.ค. คาดว่า CCI น่าจะฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 ซึ่งน่าจะเป็นปัจจัยที่หนุนหุ้นกลุ่มค้าปลีกต่อไป นอกเหนือจากก่อนหน้านี้ที่ ครม. อนุมัติ มาตรการช็อปช่วยชาติ เป็นเวลา 23 วัน (11 พ.ย. ถึง 3 ธ.ค.) น่าจะหนุนกำลังซื้อในช่วงที่เหลือของปี ซึ่งหนุนค้าปลีกต่อเนื่องในงวด 4Q60 หลังจากมีสัญญาณฟื้นตัวที่ดีขึ้นนับจากงวด 3Q60 สะท้อนจากยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ที่มีสัญญาณฟื้นตัวที่ดีนับจากงวด 3Q60 ตัวอย่างเช่น HMPRO พบว่า SSSG 3Q60 พลิกกลับมาขยายตัว 2.5%yoy จาก -6.3%yoy ใน 2Q60 และ -2.9%yoy ใน 1Q60, TNP มี SSSG พลิกมาเป็น +1%yoy จาก -0.1%yoy ใน 2Q60 และ -0.3%yoy ใน 1Q60 และ น่าจะหนุนให้หุ้นกลุ่มค้าปลีกยังมีการเติบโตต่อเนื่องในปี 2561 แต่อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นในกลุ่มค้าปลีกส่วนใหญ่ปรับขึ้นสะท้อนประเด็นดังกล่าวจนบวกไปแล้ว จนมี upside จำกัด ยกเว้น คือ BJC (FV’61@B60) และ COM7 (FV’61@B19) ซึ่งมี จุดเด่นในเรื่องการเติบโตของกำไรทั้ง 2 บริษัท กล่าวคือ BJC จะมีกำไรเติบโต 50% ในปีนี้ และ 16.5% ในปีหน้า ขณะที่ COM7 จะเติบโต 30% และ 26% ตามลำดับ
Sell on fact รับงบ 3Q60 ยังมีอยู่
ล่าสุด การายงานงบ 3Q60 ของบริษัทจดทะเบียน แล้ว 102 บริษัท คิดเป็น 39% ของ Market Cap. ทั้งตลาดฯ ทำกำไรสุทธิรวมกันได้ 1.01 แสนล้านบาท หากเทียบงวด 3Q59 และ 2Q60 ของบริษัทฯ จำกนวนเดียวกัน พบว่ากำไรสุทธิลดลง 6.9%yoy และ 2.2%qoq แต่หากพิจารณาเฉพาะภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ (Real Sector) พบว่า ผลการดำเนินงานยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดี โดยกำไรสุทธิ 3Q60 อยู่ที่ 5.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 6%yoy และ 3.6%qoq ขณะที่ภาพรวมกำไรสุทธิงวด 9M60 (เฉพาะที่ประกาศงบฯ แล้ว ) อยู่ที่ 3.38 แสนล้านบาท ใกล้เคียงกับ 9M59 ที่ 3.36 แสนล้านบาท ส่วนกำไรสุทธิ 9M60 ของ Real sector อยู่ที่ 1.93 แสนล้านบาท ดีกว่า 9M59 ที่ 1.85 แสนล้านบาท
ทั้งนี้ บริษัทฯ ที่มีผลการดำเนินงานเติบโตโดดเด่นทั้ง yoy และ qoq คือ ธุรกิจโรงกลั่น-ปิโตรเคมี เช่น PTTGC (+60%yoy, +51%qoq) และ IRPC (+148%yoy, +164%qoq) โดยได้อานิสงส์จากค่าการกลั่นที่สูงขึ้น, ตามมาด้วย spread ปิโตรเคมีที่ยังอยู่ในระดับสูง และการบันทึกกำไรจากสต็อกน้ำมัน
กลุ่มถัดมาคือ หุ้นสื่อ-บันเทิง เช่น MACO (+183%yoy, +18%qoq) และ PLANB (+23%yoy, 24%qoq) ล้วนเป็นสื่อนอกบ้านที่โดดเด่น ตามด้วย CPN (+155%yoy, +141%qoq) มีการบันทึกกำไรพิเศษเงินประกันก่อการร้าย
ตรงข้ามกับบริษัทที่ผลการดำเนินงานหดตัวลง yoy และ qoq เช่น SCC (-16%yoy, -11%qoq) GGC (-73%yoy, -23%qoq) BSBM (-17%yoy, -39%qoq) KCE (-22%yoy, -9%qoq) และ THCOM (-85%yoy, -70%qoq)
การรายงานงบฯ จะทยอยออกมาต่อเนื่องจนถึงกลางสัปดาห์หน้า จึงทำให้อาจจะยังเห็นการ Sell on Fact ออกมาเป็นปัจจัยกดดันตลาดฯ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่า การปรับฐานของ SET Index ยังไม่น่าจะหลุดต่ำกว่า 1700 จุด เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานทางเศรษฐกิจของไทยที่แข็งแกร่ง รวมทั้งแรงขายของนักลงทุนต่างชาติที่น่าจะเบาบางลง อีกทั้งจะได้แรงซื้อของนักลงทุนสถาบันในประเทศตามเม็ดเงินของ LTF ที่จะเข้ามาหนุนในช่วงปลายปี
ราคาน้ำมันดิบย่อตัว ถือเป็นโอกาสสะสมหุ้น Laggard อย่าง PTTEP
วานนี้ราคาน้ำมันดิบ WTI ย่อตัวลงเล็กน้อย 0.26% หลังปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปีครึ่ง ส่วนหนึ่งน่าจะได้รับแรงกดดันจาก 2 ประเด็นคือ 1) สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานล่าสุดเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด อยู่ที่ 2.24 ล้านบาร์เรล (ตลาดฯคาดว่าจะลดลง 2.88 ล้านบาร์เรล) และ 2) ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 6.7 หมื่นบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 9.62 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
อย่างไรก็ตามยังมีประเด็นบวกหนุนจากการที่ไนจีเรีย แสดงจุดยืนในการสนับสนุนให้ยืดระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบราว 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิมที่สิ้นสุดเดือน มี.ค. 2561 ขยายออกไปอีกจนถึงสิ้นปี 2561 แม้ไนจีเรียจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับการยกเว้นข้อตกลงลดกำลังการผลิตในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม รวมถึงแรงสนับสนุนจากแกนนำหลักอย่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซีย (แม้ ความตึงเครียดระหว่างซาอุดิอาระเบียและอิหร่านยังทวีความรุนแรง) โดยนักลงทุนจะต้องติดตามผลการประชุมที่จะเกิดขึ้น ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในวันที่ 30 พ.ย. 2560 นี้
กลยุทธ์การลงทุนยามที่ราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลง จึงเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นน้ำมัน อย่าง PTT(FV’61@B500) และ PTTEP(FV’61@B116) และหากพิจารณาราคาน้ำมันดิบ Dubai ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่าปรับขึ้นมาแล้วกว่า 14.28% (ytd) ขณะที่ราคาหุ้น PTT ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ 12.9% (ytd) และ PTTEP ลดลงจากต้นปีราว 1.82% (ytd) จึงถือได้ว่าราคาหุ้นทั้ง 2 บริษัท ยัง Laggard ราคาน้ำมันดิบ โดยเฉพาะ PTTEP
วานนี้ราคาน้ำมันดิบ WTI ย่อตัวลงเล็กน้อย 0.26% หลังปรับตัวเพิ่มขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 2 ปีครึ่ง ส่วนหนึ่งน่าจะได้รับแรงกดดันจาก 2 ประเด็นคือ 1) สต็อกน้ำมันดิบสหรัฐฯ โดยสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานล่าสุดเพิ่มขึ้นมากกว่าคาด อยู่ที่ 2.24 ล้านบาร์เรล (ตลาดฯคาดว่าจะลดลง 2.88 ล้านบาร์เรล) และ 2) ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบสหรัฐฯที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอีก 6.7 หมื่นบาร์เรลต่อวัน มาอยู่ที่ 9.62 ล้านบาร์เรลต่อวัน ซึ่งเป็นระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์
อย่างไรก็ตามยังมีประเด็นบวกหนุนจากการที่ไนจีเรีย แสดงจุดยืนในการสนับสนุนให้ยืดระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบราว 1.8 ล้านบาร์เรลต่อวัน จากเดิมที่สิ้นสุดเดือน มี.ค. 2561 ขยายออกไปอีกจนถึงสิ้นปี 2561 แม้ไนจีเรียจะเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับการยกเว้นข้อตกลงลดกำลังการผลิตในช่วงที่ผ่านมาก็ตาม รวมถึงแรงสนับสนุนจากแกนนำหลักอย่างซาอุดิอาระเบียและรัสเซีย (แม้ ความตึงเครียดระหว่างซาอุดิอาระเบียและอิหร่านยังทวีความรุนแรง) โดยนักลงทุนจะต้องติดตามผลการประชุมที่จะเกิดขึ้น ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ในวันที่ 30 พ.ย. 2560 นี้
กลยุทธ์การลงทุนยามที่ราคาน้ำมันที่อ่อนตัวลง จึงเป็นโอกาสในการสะสมหุ้นน้ำมัน อย่าง PTT(FV’61@B500) และ PTTEP(FV’61@B116) และหากพิจารณาราคาน้ำมันดิบ Dubai ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่าปรับขึ้นมาแล้วกว่า 14.28% (ytd) ขณะที่ราคาหุ้น PTT ปรับเพิ่มขึ้นน้อยกว่าที่ 12.9% (ytd) และ PTTEP ลดลงจากต้นปีราว 1.82% (ytd) จึงถือได้ว่าราคาหุ้นทั้ง 2 บริษัท ยัง Laggard ราคาน้ำมันดิบ โดยเฉพาะ PTTEP
ต่างชาติสลับมาขายหุ้นในภูมิภาค แต่ยังซื้อไทย
แม้วานนี้ต่างชาติจะสลับมาขายสุทธิตลาดหุ้นในภูมิภาค มูลค่ารวม 85 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) แต่เป็นการสลับมาขายสุทธิในตลาดหุ้น 2 แห่งคือ ไต้หวันและอินโดนิเซีย มูลค่าราว 95 ล้านเหรียญ และ 60 ล้านเหรียญ ตามลำดับ ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 แห่ง ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิต่อเนื่อง เริ่มจากเกาหลีใต้ 50 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 3 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) และไทยต่างชาติซื้อสุทธิอีก 16 ล้านเหรียญ หรือ 546 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตรงข้ามกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิ 772 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 3 วัน)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศสลับมาขายสุทธิ 6.88 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิต่อเนื่องอีก 383 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8 ด้วยมูลค่ารวม 1.51 หมื่นล้านบาท)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศสลับมาขายสุทธิ 6.88 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิต่อเนื่องอีก 383 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8 ด้วยมูลค่ารวม 1.51 หมื่นล้านบาท)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
OO2165