- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 03 November 2017 17:13
- Hits: 1059
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
การปรับฐานยังมีอยู่ วันนี้มีโอกาสแกว่งตัว 1690-1710 จุดได้ จากแรงขายต่างชาติ และแรงขายรับงบภาคการผลิตใน 3Q60 แม้คาดหวังว่าจะมีแรงหนุน LTF เข้ามาหนุน Top picks เลือกหุ้น Laggards PTTEP(FV@B118) เชื่อผ่านจุดเลวร้ายไปแล้ว ขณะที่คาดว่างบจะดีขึ้นในงวดถัดไป และปี 2560 กำไรสุทธิจะเติบโต 50% และยังชื่นชอบ MINT(FV@50) ได้รับแรงหนุนช็อปช่วยชาติ
กลยุทธ์การลงทุน
การปรับฐานยังมีอยู่ วันนี้มีโอกาสแกว่งตัว 1690-1710 จุดได้ จากแรงขายต่างชาติ และแรงขายรับงบภาคการผลิตใน 3Q60 แม้คาดหวังว่าจะมีแรงหนุน LTF เข้ามาหนุน Top picks เลือกหุ้น Laggards PTTEP(FV@B118) เชื่อผ่านจุดเลวร้ายไปแล้ว ขณะที่คาดว่างบจะดีขึ้นในงวดถัดไป และปี 2560 กำไรสุทธิจะเติบโต 50% และยังชื่นชอบ MINT(FV@50) ได้รับแรงหนุนช็อปช่วยชาติ
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย...SET Index ปรับฐานลงมาใกล้ 1700 จุดอีกครั้ง
วานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงหนักสุดในภูมิภาค โดยดัชนีพยายามที่จะดันขึ้นมาในแดนบวก แต่ก็เจอแรงขายกดดันหนักช่วงท้ายตลาด ส่งผลให้ดัชนีปิดที่ 1701.93 จุด ลดลงแรง 12.62 จุด หรือ 0.74% มูลค่าการซื้อขายกว่า 6.3 หมื่นล้านบาท โดยภาพรวมปรับลดทุกกลุ่มฯ นำโดยกลุ่ม ICT ที่ปรับลดลงแรงเป็นส่วนแทบทั้งกลุ่ม นำโดย DTAC ลดลงกว่า 10.29%, TRUE ลดลง 4.88%, ADVANC ลดลง 2.85% ตามด้วย THCOM ที่ยังปรับลดลงต่อเนื่องอีก 7.63% และ INTUCH ลดลง 1.74%
รองลงมาคือ ธนาคารพาณิชย์ นำโดย BBL ลดลง 1.29%, KBANK ลดลง 0.45% SCB ลดลง 0.34% และ TMB ลดลง 0.76% ตามมาด้วยกลุ่มพลังงาน นำโดยหุ้นปิโตรเลี่ยมอย่าง PTT ลดลง 0.95% ปิโตรเคมี PTTGC ลดลง 0.96% IRPC ลดลง 1.56% และ TOP ลดลง 1.01% กลุ่มโรงไฟฟ้า SUPER, BCP, BPP, BANPU และ BCPG ลดลง 1.61%, 2.47%, 2.50%, 0.57% และ 0.84%
ตรงข้ามกับหุ้นที่ปรับขึ้นสวนตลาดคือ TPIPP บวก 4.43% ขึ้นทำ New high นับแต่เข้ามาตลาดเดือนเมษายน เช่นเดียวกับ PTTEP กลับปรับตัวขึ้นกว่า 2.33% หลังจากผลประกอบการใน 3Q60 ออกมาดีกว่าที่คาดแม้ขาดทุนสุทธิ 8.7 พันล้านบาท และหากตัดรายการพิเศษที่เกิดขึ้นจากการตั้งสำรองด้อยค่า oilsand ที่แคนาดา (คงเหลือมูลค่าเงินลงทุนสุทธิ 45 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยตั้งสำรองด้อยค่ารวม 3 ครั้งเป็นเงิน 1800 ล้านเหรียญฯ )จะมีกำไรปกติ 7.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.1% qoq ราคาหุ้นที่ปรับลดลงมาก่อนหน้านี้ได้สะท้อนข่าวลบไประดับหนึ่งแล้ว ขณะที่ระยะสั้นมีแรงหนุน ราคาน้ำมันที่ฟื้นตัวแตะ 60 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล หนุนกำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 50.5% มูลค่าพื้นฐานปี 2561 คือ 118 บาท (ปัจจุบันมีโครงลงทุน LPG ที่โมซัมบิก 72000 ล้านบาท ที่ยังดำเนินงานปกติ)
แนวโน้มตลาดฯ วันนี้ ต้องลุ้นให้ SET Index ไม่หลุด 1690 จุด แต่หากรับไม่อยู่ แนวรับถัดไปจะเป็น 1680 จุด แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการปรับฐานจะไม่ลงลึกเช่นนั้น ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1710 จุด
วานนี้ตลาดหุ้นไทยปรับตัวลงหนักสุดในภูมิภาค โดยดัชนีพยายามที่จะดันขึ้นมาในแดนบวก แต่ก็เจอแรงขายกดดันหนักช่วงท้ายตลาด ส่งผลให้ดัชนีปิดที่ 1701.93 จุด ลดลงแรง 12.62 จุด หรือ 0.74% มูลค่าการซื้อขายกว่า 6.3 หมื่นล้านบาท โดยภาพรวมปรับลดทุกกลุ่มฯ นำโดยกลุ่ม ICT ที่ปรับลดลงแรงเป็นส่วนแทบทั้งกลุ่ม นำโดย DTAC ลดลงกว่า 10.29%, TRUE ลดลง 4.88%, ADVANC ลดลง 2.85% ตามด้วย THCOM ที่ยังปรับลดลงต่อเนื่องอีก 7.63% และ INTUCH ลดลง 1.74%
รองลงมาคือ ธนาคารพาณิชย์ นำโดย BBL ลดลง 1.29%, KBANK ลดลง 0.45% SCB ลดลง 0.34% และ TMB ลดลง 0.76% ตามมาด้วยกลุ่มพลังงาน นำโดยหุ้นปิโตรเลี่ยมอย่าง PTT ลดลง 0.95% ปิโตรเคมี PTTGC ลดลง 0.96% IRPC ลดลง 1.56% และ TOP ลดลง 1.01% กลุ่มโรงไฟฟ้า SUPER, BCP, BPP, BANPU และ BCPG ลดลง 1.61%, 2.47%, 2.50%, 0.57% และ 0.84%
ตรงข้ามกับหุ้นที่ปรับขึ้นสวนตลาดคือ TPIPP บวก 4.43% ขึ้นทำ New high นับแต่เข้ามาตลาดเดือนเมษายน เช่นเดียวกับ PTTEP กลับปรับตัวขึ้นกว่า 2.33% หลังจากผลประกอบการใน 3Q60 ออกมาดีกว่าที่คาดแม้ขาดทุนสุทธิ 8.7 พันล้านบาท และหากตัดรายการพิเศษที่เกิดขึ้นจากการตั้งสำรองด้อยค่า oilsand ที่แคนาดา (คงเหลือมูลค่าเงินลงทุนสุทธิ 45 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยตั้งสำรองด้อยค่ารวม 3 ครั้งเป็นเงิน 1800 ล้านเหรียญฯ )จะมีกำไรปกติ 7.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.1% qoq ราคาหุ้นที่ปรับลดลงมาก่อนหน้านี้ได้สะท้อนข่าวลบไประดับหนึ่งแล้ว ขณะที่ระยะสั้นมีแรงหนุน ราคาน้ำมันที่ฟื้นตัวแตะ 60 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล หนุนกำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 50.5% มูลค่าพื้นฐานปี 2561 คือ 118 บาท (ปัจจุบันมีโครงลงทุน LPG ที่โมซัมบิก 72000 ล้านบาท ที่ยังดำเนินงานปกติ)
แนวโน้มตลาดฯ วันนี้ ต้องลุ้นให้ SET Index ไม่หลุด 1690 จุด แต่หากรับไม่อยู่ แนวรับถัดไปจะเป็น 1680 จุด แต่อย่างไรก็ตามเชื่อว่าการปรับฐานจะไม่ลงลึกเช่นนั้น ส่วนแนวต้านอยู่ที่ 1710 จุด
BOE ขึ้นดอกเบี้ย เพื่อสกัดเงินเฟ้อ และลดเศรษฐกิจร้อนแรง
ที่ประชุม BOE วานนี้สรุปว่า ขึ้นดอกเบี้ยตามหลังสหรัฐ และแคนาดาที่นำร่องขึ้นดอกเบี้ยไปก่อน แต่คือ เป็นไปตามที่ตลาดคาด คือขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบ 10 ปี 25bps เป็น 0.5% เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ล่าสุด เดือน ก.ย. อยู่ที่ 3% จาก 2.9% เดือน ส.ค. และ 2.6% ก.ค. เนื่องจากค่าเงินปอนด์เทียบดอลลาร์อ่อนค่าราว 9.6% นับจาก Brexit ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น ซึ่งทำให้ส่วนต่าง เงินเฟ้อ หัก ดอกเบี้ยนโยบายยังสูงถึง 2.5% นอกจากนี้เศรษฐกิจอังกฤษที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ BOE ยังมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยได้ในการประชุมหลังจากนี้ ซึ่งจากผลสำรวจของ Bloomberg คาด BOE จะขึ้นดอกเบี้ยปีหน้าราว 2 ครั้งๆละ 0.25% จะทำให้ดอกเบี้ยสิ้นปี 2561 อยู่ที่ 1% ทำให้ส่วนต่าง เงินเฟ้อ หักดอกเบี้ย เหลือ 2% ทำให้อังกฤษยังมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 2 ครั้งในปี 2561 ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ย โดยที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวต่อเนื่องถือเป็นปัจจัยหนุนตลาด โดยหากเทียบเคียงกับในอดีต เงินเฟ้ออังกฤษ เดือน ก.ค. 2546 อยู่ที่ 1.3%yoy และพุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 2.3%ในปี ก.ค. 2548 ทำให้ BOE ขึ้นดอกเบี้ยฯ ติดต่อกัน 5 ครั้งๆละ 25bps (จาก 3.5% ก.ค. 2546 เป็น 4.75% ก.ค. 2548) พบว่าตลาดหุ้นได้ตอบรับด้านบวกก่อนการขึ้นดอกเบี้ยนาน 4-6 เดือน
ขณะที่สหรัฐ ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นประธาน Fed คนถัดไปต่อจากนางเจเน็ต เยลเลนที่จะครบวาระ ก.พ.2561 เป็นไปตามที่ตลาดคาด คือ นาย Jerome Powell 1 ในคณะกรรมการ Fed ปัจจุบัน (ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2555) ซึ่งมีแนวคิดใช้นโยบายการเงินเข้มงวด แต่น้อยกว่าประธาน Fed คนปัจจุบัน ซึ่งขั้นตอนถัดไปคือ จะต้องได้การรับรองจากวุฒิสภา
ส่วนประเด็นการปฎิรูปภาษีสหรัฐ ล่าสุดมีการเผยร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีเป็นไปตามที่ตลาดคาด คือ ภาษีนิติบุคคลจะลดเหลืออัตรา 20% จากปัจจุบันอยู่ที่ 35% (แต่น้อยกว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์หาเสียงที่ 15%) ส่วนภาษีบุคคลธรรมดา จะลดลงเหลือ 4 ขั้นจาก 7 ขั้นบันได คือ 12%, 25%, 35% และ 39.6% ต่างจากรัฐบาลนำเสนอ คือ ลดเหลือ 3 ขั้นจาก 7 ขั้นบันได คือ 12%, 25%, 35% อย่างไรก็ตามการปรับลดภาษีนิติบุคคลจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจในสหรัฐโดยตรง โดยนักวิเคราะห์ในตลาดมีการคาดการณ์ หากภาษีบุคคลธรรมดามีผลบังคับใช้ในปีหน้า คาดว่าจะทำให้กำไรตลาดหุ้นสหรัฐ (Eps Growth) ในปี 2561 เติบโตที่ 15.4% จากเดิมคาด 12% (EPS ของตลาดเพิ่มขึ้นราวหุ้นละ 4-6 เหรียญ จากเดิมคาดเฉลี่ย 145.69 เหรียญต่อหุ้น) แต่ยังต้องติดตามขั้นตอนการพิจารณาของสภาล่าง (ส.ส.) คือก่อน 23 พ.ย. และน่าจะผลักดันให้ออกเป็นกฎหมายภายใน 25 ธ.ค. แม้เป็นประเด็นบวกต่อตลาด แต่เชื่อว่าหุ้นได้ตอบรับไปมากแล้ว
ที่ประชุม BOE วานนี้สรุปว่า ขึ้นดอกเบี้ยตามหลังสหรัฐ และแคนาดาที่นำร่องขึ้นดอกเบี้ยไปก่อน แต่คือ เป็นไปตามที่ตลาดคาด คือขึ้นดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในรอบ 10 ปี 25bps เป็น 0.5% เพื่อสกัดเงินเฟ้อที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว ล่าสุด เดือน ก.ย. อยู่ที่ 3% จาก 2.9% เดือน ส.ค. และ 2.6% ก.ค. เนื่องจากค่าเงินปอนด์เทียบดอลลาร์อ่อนค่าราว 9.6% นับจาก Brexit ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าสูงขึ้น ซึ่งทำให้ส่วนต่าง เงินเฟ้อ หัก ดอกเบี้ยนโยบายยังสูงถึง 2.5% นอกจากนี้เศรษฐกิจอังกฤษที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง ด้วยเหตุนี้ทำให้ BOE ยังมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยได้ในการประชุมหลังจากนี้ ซึ่งจากผลสำรวจของ Bloomberg คาด BOE จะขึ้นดอกเบี้ยปีหน้าราว 2 ครั้งๆละ 0.25% จะทำให้ดอกเบี้ยสิ้นปี 2561 อยู่ที่ 1% ทำให้ส่วนต่าง เงินเฟ้อ หักดอกเบี้ย เหลือ 2% ทำให้อังกฤษยังมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 2 ครั้งในปี 2561 ซึ่งการขึ้นดอกเบี้ย โดยที่เศรษฐกิจยังฟื้นตัวต่อเนื่องถือเป็นปัจจัยหนุนตลาด โดยหากเทียบเคียงกับในอดีต เงินเฟ้ออังกฤษ เดือน ก.ค. 2546 อยู่ที่ 1.3%yoy และพุ่งขึ้นมาอยู่ที่ 2.3%ในปี ก.ค. 2548 ทำให้ BOE ขึ้นดอกเบี้ยฯ ติดต่อกัน 5 ครั้งๆละ 25bps (จาก 3.5% ก.ค. 2546 เป็น 4.75% ก.ค. 2548) พบว่าตลาดหุ้นได้ตอบรับด้านบวกก่อนการขึ้นดอกเบี้ยนาน 4-6 เดือน
ขณะที่สหรัฐ ผู้ที่ได้รับคัดเลือกเป็นประธาน Fed คนถัดไปต่อจากนางเจเน็ต เยลเลนที่จะครบวาระ ก.พ.2561 เป็นไปตามที่ตลาดคาด คือ นาย Jerome Powell 1 ในคณะกรรมการ Fed ปัจจุบัน (ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2555) ซึ่งมีแนวคิดใช้นโยบายการเงินเข้มงวด แต่น้อยกว่าประธาน Fed คนปัจจุบัน ซึ่งขั้นตอนถัดไปคือ จะต้องได้การรับรองจากวุฒิสภา
ส่วนประเด็นการปฎิรูปภาษีสหรัฐ ล่าสุดมีการเผยร่างกฎหมายปฏิรูปภาษีเป็นไปตามที่ตลาดคาด คือ ภาษีนิติบุคคลจะลดเหลืออัตรา 20% จากปัจจุบันอยู่ที่ 35% (แต่น้อยกว่าที่ประธานาธิบดีทรัมป์หาเสียงที่ 15%) ส่วนภาษีบุคคลธรรมดา จะลดลงเหลือ 4 ขั้นจาก 7 ขั้นบันได คือ 12%, 25%, 35% และ 39.6% ต่างจากรัฐบาลนำเสนอ คือ ลดเหลือ 3 ขั้นจาก 7 ขั้นบันได คือ 12%, 25%, 35% อย่างไรก็ตามการปรับลดภาษีนิติบุคคลจะเอื้อประโยชน์ต่อธุรกิจในสหรัฐโดยตรง โดยนักวิเคราะห์ในตลาดมีการคาดการณ์ หากภาษีบุคคลธรรมดามีผลบังคับใช้ในปีหน้า คาดว่าจะทำให้กำไรตลาดหุ้นสหรัฐ (Eps Growth) ในปี 2561 เติบโตที่ 15.4% จากเดิมคาด 12% (EPS ของตลาดเพิ่มขึ้นราวหุ้นละ 4-6 เหรียญ จากเดิมคาดเฉลี่ย 145.69 เหรียญต่อหุ้น) แต่ยังต้องติดตามขั้นตอนการพิจารณาของสภาล่าง (ส.ส.) คือก่อน 23 พ.ย. และน่าจะผลักดันให้ออกเป็นกฎหมายภายใน 25 ธ.ค. แม้เป็นประเด็นบวกต่อตลาด แต่เชื่อว่าหุ้นได้ตอบรับไปมากแล้ว
PTTEP, ADVANC เผชิญแรงขายรับงบ และปัจจัยภายนอกกดดันช่วงสั้น
ในช่วงการรายงานงบ 3Q60 หุ้น real sector ที่มี Market Cap ใหญ่ ที่รายงานเมื่อวานนี้คือ
PTTEP (FV@B118) งวด 3Q60 กำไรดีกว่าคาด แม้รายงานขาดทุนสุทธิเพียง 8.7 พันล้านบาท แต่เป็นเพราะมีค่าใช้จ่ายพิเศษ 1.58 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ (Impairment Charge) โครงการมาเรียนา ออยล์ แซนด์ ในประเทศแคนาดา 1.85 หมื่นล้านบาท และการบันทึกผลประโยชน์ทางภาษีฯ ราว 2.7 พันล้านบาท แต่หากตัดรายการพิเศษออกจะมีกำไรจากการดำเนินงานปกติ 7.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.1%qoq จากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น 5.9%qoq และราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น 1.8%qoq นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จากต้นทุนต่อหน่วย (unit cost) ปรับตัวลดลงอีก 2.0%qoq โดรวมผลการดำเนินสุทธิงวด 9M60 ยังคงเป็นกำไรสุทธิที่ 1.1 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 55.5% ของประมาณการทั้งปีที่ประเมินไว้ ทั้งนี้ เชื่อว่า ราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมาได้ปรับตัวลดลงสะท้อนประเด็นลบต่างๆที่เกิดขึ้นไปในระดับหนึ่งแล้ว ประกอบกับในภาพระยะยาวคงมุมมองบวกต่อทิศทางราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในช่วงขาขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะช่วยหนุนให้รายได้จากการขายปรับตัวขึ้นได้ต่อเนื่อง ฝ่ายวิจัยจึงยังแนะนำ ซื้อ โดย Fair Value ปี 2561 อยู่ที่ 118 บาท ทั้งยังคาดหวังอัตราผลตอบแทนเงินปันผลได้เฉลี่ยกว่า 4% ต่อปี
ADVANC (FV@B230) งวด 3Q60 กำไรเป็นไปตามคาด คือเติบโต 14%yoy และ 3.5%qoq โดยรายได้ค่าบริการ (ไม่รวม IC) ทรงตัว โดยเติบโตเล็กน้อย 0.9%qoq (+6%yoy) จากการขยายฐานลูกค้ารายเดือนที่เพิ่มขึ้น แม้ลูกค้าระบบเติมเงินลดลงก็ตาม แต่พบว่าอัตรากำไรสุทธิปรับตัวดีขึ้นเป็น 19.4% จาก 17.6% ในงวด 3Q59 และ 18.5% ในงวด 2Q60 ทำให้แนวโน้มกำไรใน 4Q60 คาดจะเติบโตทั้ง qoq และ yoy โดยรวมแนวโน้มผลประกอบการปีนี้แม้จะอ่อนตัวลงเล็กน้อยราว 3.2%yoy แต่จะกลับมาเติบโต 8% ในปี 2561 ยัแนะนำ ซื้อ Fair Value ที่ 230 บาท โดยจุดเด่นอยู่ที่ความพร้อมเติบโตระยะยาวทั้งกลุ่มลูกค้าบุคคลและองค์กร ราคาหุ้นที่ลดลงเร็ว เป็นโอกาสสะสม
ต่างชาติสลับมาขายหุ้นในภูมิภาค รวมถึงไทย
วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 436 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน) และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เพียงแห่งเดียวที่ถูกซื้อสุทธิ 15 ล้านเหรียญ (หลังจากหยุดทำการไป 2 วัน) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 แห่งถูกขายสุทธิทั้งหมด เริ่มจากอินโดนีเซียถูกขายสุทธิกว่า 331 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยไต้หวัน 57 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3), เกาหลีใต้ 14 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน) และไทยที่ต่างชาติยังคงขายสุทธิอีก 48 ล้านเหรียญ หรือ 1.58 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกัน 6 วัน มีมูลค่ารวมกว่า 1.02 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิเล็กน้อย 48 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.28 หมื่นล้านบาท สวนทางกับต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิ 4.00 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่ารวม 1.07 หมื่นล้านบาท)
ตลาดฯ ปรับฐาน เน้นหุ้นพื้นฐานแกร่งราคา Laggard
นับตั้งแต่ SET Index ปรับขึ้นผ่าน 1600 จุด เมื่อ 29 ส.ค. ที่ผ่านมา จนถึงวานนี้ดัชนีปรับขึ้นไปแล้วถึง7.32% มาอยู่ที่ 1701.93 จุด จนทำให้หุ้นหลายๆ บริษัทพุ่งขึ้นมาจนเกินมูลค่าพื้นฐานไปมากแล้ว เช่น BCPG, RS, ORI และ TKN เพิ่มขึ้นมาในช่วงเวลาดังกล่าวกว่า 50.64%, 47.59%, 47.89% และ 29.49% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายหุ้นที่ราคาปรับขึ้นสะท้อนประเด็นบวกในเรื่องของผลประกอบการที่เติบโต แม้จะปรับไปใช้ Fair Value ของปีหน้าแล้ว แต่ upside ก็ยังเหลือน้อย อย่างไรก็ตาม ยังมีบางหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง แต่ราคาหุ้นยังปรับขึ้นน้อยกว่ากลุ่มฯ หรือตลาดฯ ทำให้ยังมี upside เหลืออยู่ จึงเชื่อว่าหุ้น laggard เหล่านี้น่าจะ outperform ได้ในช่วงถัดไป
ในช่วงการรายงานงบ 3Q60 หุ้น real sector ที่มี Market Cap ใหญ่ ที่รายงานเมื่อวานนี้คือ
PTTEP (FV@B118) งวด 3Q60 กำไรดีกว่าคาด แม้รายงานขาดทุนสุทธิเพียง 8.7 พันล้านบาท แต่เป็นเพราะมีค่าใช้จ่ายพิเศษ 1.58 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นขาดทุนจากการด้อยค่าสินทรัพย์ (Impairment Charge) โครงการมาเรียนา ออยล์ แซนด์ ในประเทศแคนาดา 1.85 หมื่นล้านบาท และการบันทึกผลประโยชน์ทางภาษีฯ ราว 2.7 พันล้านบาท แต่หากตัดรายการพิเศษออกจะมีกำไรจากการดำเนินงานปกติ 7.2 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 25.1%qoq จากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น 5.9%qoq และราคาขายเฉลี่ยที่เพิ่มขึ้น 1.8%qoq นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จากต้นทุนต่อหน่วย (unit cost) ปรับตัวลดลงอีก 2.0%qoq โดรวมผลการดำเนินสุทธิงวด 9M60 ยังคงเป็นกำไรสุทธิที่ 1.1 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 55.5% ของประมาณการทั้งปีที่ประเมินไว้ ทั้งนี้ เชื่อว่า ราคาหุ้นในช่วงที่ผ่านมาได้ปรับตัวลดลงสะท้อนประเด็นลบต่างๆที่เกิดขึ้นไปในระดับหนึ่งแล้ว ประกอบกับในภาพระยะยาวคงมุมมองบวกต่อทิศทางราคาน้ำมันที่ยังอยู่ในช่วงขาขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป ซึ่งจะช่วยหนุนให้รายได้จากการขายปรับตัวขึ้นได้ต่อเนื่อง ฝ่ายวิจัยจึงยังแนะนำ ซื้อ โดย Fair Value ปี 2561 อยู่ที่ 118 บาท ทั้งยังคาดหวังอัตราผลตอบแทนเงินปันผลได้เฉลี่ยกว่า 4% ต่อปี
ADVANC (FV@B230) งวด 3Q60 กำไรเป็นไปตามคาด คือเติบโต 14%yoy และ 3.5%qoq โดยรายได้ค่าบริการ (ไม่รวม IC) ทรงตัว โดยเติบโตเล็กน้อย 0.9%qoq (+6%yoy) จากการขยายฐานลูกค้ารายเดือนที่เพิ่มขึ้น แม้ลูกค้าระบบเติมเงินลดลงก็ตาม แต่พบว่าอัตรากำไรสุทธิปรับตัวดีขึ้นเป็น 19.4% จาก 17.6% ในงวด 3Q59 และ 18.5% ในงวด 2Q60 ทำให้แนวโน้มกำไรใน 4Q60 คาดจะเติบโตทั้ง qoq และ yoy โดยรวมแนวโน้มผลประกอบการปีนี้แม้จะอ่อนตัวลงเล็กน้อยราว 3.2%yoy แต่จะกลับมาเติบโต 8% ในปี 2561 ยัแนะนำ ซื้อ Fair Value ที่ 230 บาท โดยจุดเด่นอยู่ที่ความพร้อมเติบโตระยะยาวทั้งกลุ่มลูกค้าบุคคลและองค์กร ราคาหุ้นที่ลดลงเร็ว เป็นโอกาสสะสม
ต่างชาติสลับมาขายหุ้นในภูมิภาค รวมถึงไทย
วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 436 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน) และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เพียงแห่งเดียวที่ถูกซื้อสุทธิ 15 ล้านเหรียญ (หลังจากหยุดทำการไป 2 วัน) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 4 แห่งถูกขายสุทธิทั้งหมด เริ่มจากอินโดนีเซียถูกขายสุทธิกว่า 331 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยไต้หวัน 57 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3), เกาหลีใต้ 14 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 4 วัน) และไทยที่ต่างชาติยังคงขายสุทธิอีก 48 ล้านเหรียญ หรือ 1.58 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกัน 6 วัน มีมูลค่ารวมกว่า 1.02 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิเล็กน้อย 48 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.28 หมื่นล้านบาท สวนทางกับต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิ 4.00 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่ารวม 1.07 หมื่นล้านบาท)
ตลาดฯ ปรับฐาน เน้นหุ้นพื้นฐานแกร่งราคา Laggard
นับตั้งแต่ SET Index ปรับขึ้นผ่าน 1600 จุด เมื่อ 29 ส.ค. ที่ผ่านมา จนถึงวานนี้ดัชนีปรับขึ้นไปแล้วถึง7.32% มาอยู่ที่ 1701.93 จุด จนทำให้หุ้นหลายๆ บริษัทพุ่งขึ้นมาจนเกินมูลค่าพื้นฐานไปมากแล้ว เช่น BCPG, RS, ORI และ TKN เพิ่มขึ้นมาในช่วงเวลาดังกล่าวกว่า 50.64%, 47.59%, 47.89% และ 29.49% ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีอีกหลายหุ้นที่ราคาปรับขึ้นสะท้อนประเด็นบวกในเรื่องของผลประกอบการที่เติบโต แม้จะปรับไปใช้ Fair Value ของปีหน้าแล้ว แต่ upside ก็ยังเหลือน้อย อย่างไรก็ตาม ยังมีบางหุ้นที่ปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง แต่ราคาหุ้นยังปรับขึ้นน้อยกว่ากลุ่มฯ หรือตลาดฯ ทำให้ยังมี upside เหลืออยู่ จึงเชื่อว่าหุ้น laggard เหล่านี้น่าจะ outperform ได้ในช่วงถัดไป
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
OO1931