- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 01 November 2017 17:47
- Hits: 5668
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ประเมินแรงซื้อ LTF 2 เดือนสุดท้ายของปีน่าจะอยู่ที่ราว 3.3 หมื่นล้านบาท ขณะที่แรงขายทำกำไรจากต่างชาติลดลง น่าจะทำให้ SET Index ดีดตัวกลับขึ้นไปได้ หุ้นที่มักจะ Outperform ช่วงที่ LTF ทำงานอาจถูกเลือกขึ้นมาเก็งกำไรเช่น BDMS และ UNIQ นอกจากนี้ยังคาดหวังผลบวกจากมาตรการกระตุ้นการจับจ่ายใช้สอยปลายปีของรัฐบาล ซึ่งจะเป็นผลดีต่อหุ้นในกลุ่มค้าปลีก และ ท่องเที่ยว โดยวันนี้เลือก MINT (FV@B 50) เป็น Top Pick ขณะที่ CPF (FV@B32), BBL (FV@B 210) และ QH ([email protected]) ยังสะสมได้
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …. แรงหนุนหุ้นใหญ่ยังประคอง SET Index ปรับตัวขึ้นเล็กน้อย
วานนี้ช่วงเช้า SET Index แกว่งตัวขึ้นแตะจุดสูงสุดที่ 1726 จุด ก่อนที่จะมีแรงขายกดดัชนีลงมาปิดที่ 1721.37 จุด เพิ่มขึ้น 2.71 จุด หรือ 0.16% มูลค่าการซื้อขาย 5.5 หมื่นล้านบาท แรงหนุนมาจากหุ้น Big Cap ของกลุ่มขนส่งอย่าง AOT เพิ่มขึ้น 1.71% รับข่าวบวกหลังจากภาครัฐฯ มีนโยบายให้ AOT เพิ่มประสิทธิภาพและบทบาทในการบริหารสนามบินของประเทศ คือ จากเดิมที่ AOT บริหารสนามบินทั้งสิ้น 6 จาก 39 แห่ง โดย AOT จะเสนอตัวเข้าบริหารสนามบินเพิ่มอีกจำนวน 15 แห่ง แม้ยังต้องผ่านกระบวนการนำเสนอกระทรวงคมนาคมและ ครม. แต่เชื่อว่าทิศทางดังกล่าวจะช่วยหนุนศักยภาพการทำกำไรเพิ่มมากขึ้น ส่วนหุ้นอื่นๆ ในกลุ่มที่ปรับตัวขึ้นคือ กลุ่มสายการบิน THAI เพิ่มขึ้น 1.64% NOK เพิ่มขึ้น 1.16% และ AAV เพิ่มขึ้น 1.59% ตามด้วยหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ BBL เพิ่มขึ้นอีก 2.12% TISCO และ TCAP เพิ่มขึ้น 0.86% และ 0.92%
อีกกลุ่มที่ปรับขึ้นคือ หุ้นพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่าง PSH เพิ่มขึ้น 1.81%, ANAN เพิ่มขึ้น 0.85% ส่วน LH และ QH เพิ่มขึ้น 1.87% และ 2.08% ตามลำดับ ซึ่งฝ่ายวิจัยยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อ QH โดยคาดว่าผลประกอบการในงวด 3Q60 กำไรสุทธิเติบโตโดดเด่นมากถึง 102.4%qoq และ 104.5%yoy โดยรายได้จากการขายอสังหาฯ เติบโต 7.3% qoq และ 5.4% yoy รวมทั้งมีการบันทึกส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม และกำไรจากเงินลงทุน ขณะที่ 4Q60 จะเป็นจุดสูงสุดของปี จากยอดโอนคอนโดฯ และแนวราบ รวมทั้งส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม หนุนกำไร QH สูงสุดใน 4Q60 แนวโน้มกำไรสุทธิทั้งปีเติบโต 27%yoy
สำหรับกลุ่มที่ปรับลดลง คือ กลุ่มโรงพยาบาล นำโดย BCH ลดลง 1.20% BDMS ลดลง 1.40% และ BH ลดลง 0.90% ส่วนหุ้นรายตัวที่ปรับลงแรง คือ GL ลดลงถึง 21.5% หลังจากตลาดฯ ปลดเครื่องหมาย SP ภายหลังจากผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินปี 2559 และไม่ให้ข้อสรุปต่องบการเงินไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ทั้งนี้ ตลาดฯ ยังคงขึ้นเครื่องหมาย NP ต่อไปจนกว่า GL จะนำส่งข้อมูลที่แก้ไขให้ถูกต้องแล้วต่อ ก.ล.ต.
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ แกว่งตัวในกรอบโดยมีโอกาสที่จะผันผวนตาม Sell on Fact หลังการรายงานงบฯ โดยแนวรับระหว่างวันอยู่ที่ 1710 จุด และแนวต้าน 1730 จุด
วานนี้ช่วงเช้า SET Index แกว่งตัวขึ้นแตะจุดสูงสุดที่ 1726 จุด ก่อนที่จะมีแรงขายกดดัชนีลงมาปิดที่ 1721.37 จุด เพิ่มขึ้น 2.71 จุด หรือ 0.16% มูลค่าการซื้อขาย 5.5 หมื่นล้านบาท แรงหนุนมาจากหุ้น Big Cap ของกลุ่มขนส่งอย่าง AOT เพิ่มขึ้น 1.71% รับข่าวบวกหลังจากภาครัฐฯ มีนโยบายให้ AOT เพิ่มประสิทธิภาพและบทบาทในการบริหารสนามบินของประเทศ คือ จากเดิมที่ AOT บริหารสนามบินทั้งสิ้น 6 จาก 39 แห่ง โดย AOT จะเสนอตัวเข้าบริหารสนามบินเพิ่มอีกจำนวน 15 แห่ง แม้ยังต้องผ่านกระบวนการนำเสนอกระทรวงคมนาคมและ ครม. แต่เชื่อว่าทิศทางดังกล่าวจะช่วยหนุนศักยภาพการทำกำไรเพิ่มมากขึ้น ส่วนหุ้นอื่นๆ ในกลุ่มที่ปรับตัวขึ้นคือ กลุ่มสายการบิน THAI เพิ่มขึ้น 1.64% NOK เพิ่มขึ้น 1.16% และ AAV เพิ่มขึ้น 1.59% ตามด้วยหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ BBL เพิ่มขึ้นอีก 2.12% TISCO และ TCAP เพิ่มขึ้น 0.86% และ 0.92%
อีกกลุ่มที่ปรับขึ้นคือ หุ้นพัฒนาที่อยู่อาศัยอย่าง PSH เพิ่มขึ้น 1.81%, ANAN เพิ่มขึ้น 0.85% ส่วน LH และ QH เพิ่มขึ้น 1.87% และ 2.08% ตามลำดับ ซึ่งฝ่ายวิจัยยังคงมีมุมมองเชิงบวกต่อ QH โดยคาดว่าผลประกอบการในงวด 3Q60 กำไรสุทธิเติบโตโดดเด่นมากถึง 102.4%qoq และ 104.5%yoy โดยรายได้จากการขายอสังหาฯ เติบโต 7.3% qoq และ 5.4% yoy รวมทั้งมีการบันทึกส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม และกำไรจากเงินลงทุน ขณะที่ 4Q60 จะเป็นจุดสูงสุดของปี จากยอดโอนคอนโดฯ และแนวราบ รวมทั้งส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วม หนุนกำไร QH สูงสุดใน 4Q60 แนวโน้มกำไรสุทธิทั้งปีเติบโต 27%yoy
สำหรับกลุ่มที่ปรับลดลง คือ กลุ่มโรงพยาบาล นำโดย BCH ลดลง 1.20% BDMS ลดลง 1.40% และ BH ลดลง 0.90% ส่วนหุ้นรายตัวที่ปรับลงแรง คือ GL ลดลงถึง 21.5% หลังจากตลาดฯ ปลดเครื่องหมาย SP ภายหลังจากผู้สอบบัญชีไม่แสดงความเห็นต่องบการเงินปี 2559 และไม่ให้ข้อสรุปต่องบการเงินไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ปี 2560 ทั้งนี้ ตลาดฯ ยังคงขึ้นเครื่องหมาย NP ต่อไปจนกว่า GL จะนำส่งข้อมูลที่แก้ไขให้ถูกต้องแล้วต่อ ก.ล.ต.
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ แกว่งตัวในกรอบโดยมีโอกาสที่จะผันผวนตาม Sell on Fact หลังการรายงานงบฯ โดยแนวรับระหว่างวันอยู่ที่ 1710 จุด และแนวต้าน 1730 จุด
BOJ ยังคงดอกเบี้ยฯ และ QQE ตามคาด และ Fed ประชุมวันที่สองคาดยังไม่ขึ้นดอกเบี้ย
ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) วานนี้เป็นไปตามที่คาด คือ ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% เช่นเดิม(ตั้งแต่ ม.ค. 2559) และคงวงเงิน QQE ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี (ตั้งแต่ พ.ย. 2557) อย่างไรก็ตามเป็นที่สังเกตว่าการประชุมครั้งนี้ BOJ ได้ปรับเพิ่ม GDP Growth ญี่ปุ่นในปี 2560 เป็น 1.9%yoy (เดิมคาด 1.8%) แต่ยังคงปี 2561-62 ที่ 1.4%yoy และ 0.7% ตามเดิม แต่ปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2560 ลงเหลือ 0.8%yoy (จากเดิมคาดไว้ 1.1%) และปี 61 ลดเหลือ 1.4% (จากเดิมคาดไว้ 1.5%) ขณะที่สหรัฐ วันนี้เป็นวันที่สองของการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) (ทราบผลเช้าวันพฤหัส) คาดว่าน่าจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้ แต่น่าจะไปขึ้นในรอบสุดท้ายปลายปี ธ.ค. ขณะที่ไทย วันนี้กระทรวงพาณิชย์จะรายงานอัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. (ทราบผลประมาณ 11.00 น.) ซึ่งตลาดคาดที่ 0.82%yoy ชะลอลงจาก 0.86% ในเดือน ก.ย. อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อยังต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% จึงคาดว่า กนง. น่ายังคงอัตราดอกเบี้ยในรอบการประชุมรอบ 8 พ.ย. และน่าจะยังคงดอกเบี้ยไปจนถึงกลางปี 2561 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจน
ผลการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่น (BOJ) วานนี้เป็นไปตามที่คาด คือ ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ -0.1% เช่นเดิม(ตั้งแต่ ม.ค. 2559) และคงวงเงิน QQE ที่ 80 ล้านล้านเยนต่อปี (ตั้งแต่ พ.ย. 2557) อย่างไรก็ตามเป็นที่สังเกตว่าการประชุมครั้งนี้ BOJ ได้ปรับเพิ่ม GDP Growth ญี่ปุ่นในปี 2560 เป็น 1.9%yoy (เดิมคาด 1.8%) แต่ยังคงปี 2561-62 ที่ 1.4%yoy และ 0.7% ตามเดิม แต่ปรับลดคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 2560 ลงเหลือ 0.8%yoy (จากเดิมคาดไว้ 1.1%) และปี 61 ลดเหลือ 1.4% (จากเดิมคาดไว้ 1.5%) ขณะที่สหรัฐ วันนี้เป็นวันที่สองของการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) (ทราบผลเช้าวันพฤหัส) คาดว่าน่าจะยังไม่ขึ้นอัตราดอกเบี้ยในรอบนี้ แต่น่าจะไปขึ้นในรอบสุดท้ายปลายปี ธ.ค. ขณะที่ไทย วันนี้กระทรวงพาณิชย์จะรายงานอัตราเงินเฟ้อ เดือน ต.ค. (ทราบผลประมาณ 11.00 น.) ซึ่งตลาดคาดที่ 0.82%yoy ชะลอลงจาก 0.86% ในเดือน ก.ย. อย่างไรก็ตามเงินเฟ้อยังต่ำกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% จึงคาดว่า กนง. น่ายังคงอัตราดอกเบี้ยในรอบการประชุมรอบ 8 พ.ย. และน่าจะยังคงดอกเบี้ยไปจนถึงกลางปี 2561 เนื่องจากเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจน
ช็อปช่วยชาติ ... กลุ่มค้าปลีกได้ประโยชน์เต็มๆ ส่วนกลุ่มท่องเที่ยวได้อานิสงค์
ในที่สุด มาตรการช็อปช่วยชาติเริ่มเห็นความคืบหน้า หลังจากนายกรัฐมนตรีได้สั่งให้กระทรวงการคลังศึกษามาตรการฯ รวมถึงพิจารณาขยายระยะเวลาให้นานขึ้นเดิมที่เคยใช้ 2 ปีก่อนหน้า คือปี 2558 ระยะเวลา 11 วัน (21-21 ธ.ค.) และปี 2559 ระยะเวลา 17 วัน (15-31 ธ.ค.2559) โดยให้นำค่าใช้จ่ายในการซื้อสินค้าและบริการในประเทศ อาทิ ค่าซื้อสินค้าจากห้างสรรพสินค้า , ค่าอาหารในร้านหรือโรงแรม ไม่เกิน 1.5 หมื่นบาทมาลดหย่อนภาษี เป็นการกระตุ้นการบริโภคโดยตรง ซึ่งน่าจะเป็นอีกปัจจัยหนุนเศรษฐกิจไทยในงวด 4Q60
ทั้งนี้ หากนำมาตรการช็อปช่วยชาติปีที่แล้วมาเปรียบเทียบ จะพบว่า กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว ราคาหุ้นปรับขึ้นในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. เช่น กลุ่มค้าปลีก ปรับขึ้น 2.6% นำโดย ROBINS ปรับขึ้นถึง 9.5% MAKRO ปรับขึ้น 4.5% CPALL ปรับขึ้น 2.9% BEAUTY ปรับขึ้น 2.6% และ COM7 ปรับขึ้น 2.6% เช่นเดียวกับหุ้นธุรกิจร้านอาหาร คือ M ปรับขึ้นถึง 12.5% รวมทั้งหุ้นโรงแรมที่มีธุรกิจอาหาร คือ CENTEL ปรับขึ้น 4.6% (ยกเว้น MINT ลดลง 7%) และหุ้นที่มีรายได้ค่าเช่าจากผู้เช่าในรูปแบบส่วนแบ่งรายได้อย่าง CPN ปรับขึ้น 1.79% รวมทั้งหุ้น MAJOR ปรับขึ้น 12.9%
จึงเชื่อว่า หุ้นในกลุ่มดังกล่าวข้างต้น น่าจะได้ประโยชน์ในปีนี้เช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มค้าปลีก แต่อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นในกลุ่มฯ ปรับขึ้นไปมากแล้วจนเหลือ upside น้อย มีเพียง COM7 (FV’61@B19) ที่ยังเหลือ upside ราว 22% ส่วนหุ้นโรงแรมที่มีธุรกิจอาหารก็เหลือ upside น้อยเช่นกัน มีเพียง MINT (FV’61@B50) ที่ยังมี upside 15% รวมทั้ง MAJOR (FV@B37) มี upside 17% ซึ่งหุ้นดังกล่าวน่าจะ outperform ได้จากมาตรการดังกล่าว
ทั้งนี้ หากนำมาตรการช็อปช่วยชาติปีที่แล้วมาเปรียบเทียบ จะพบว่า กลุ่มที่ได้ประโยชน์จากมาตรการดังกล่าว ราคาหุ้นปรับขึ้นในช่วงเดือน พ.ย.-ธ.ค. เช่น กลุ่มค้าปลีก ปรับขึ้น 2.6% นำโดย ROBINS ปรับขึ้นถึง 9.5% MAKRO ปรับขึ้น 4.5% CPALL ปรับขึ้น 2.9% BEAUTY ปรับขึ้น 2.6% และ COM7 ปรับขึ้น 2.6% เช่นเดียวกับหุ้นธุรกิจร้านอาหาร คือ M ปรับขึ้นถึง 12.5% รวมทั้งหุ้นโรงแรมที่มีธุรกิจอาหาร คือ CENTEL ปรับขึ้น 4.6% (ยกเว้น MINT ลดลง 7%) และหุ้นที่มีรายได้ค่าเช่าจากผู้เช่าในรูปแบบส่วนแบ่งรายได้อย่าง CPN ปรับขึ้น 1.79% รวมทั้งหุ้น MAJOR ปรับขึ้น 12.9%
จึงเชื่อว่า หุ้นในกลุ่มดังกล่าวข้างต้น น่าจะได้ประโยชน์ในปีนี้เช่นกัน โดยเฉพาะในกลุ่มค้าปลีก แต่อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นในกลุ่มฯ ปรับขึ้นไปมากแล้วจนเหลือ upside น้อย มีเพียง COM7 (FV’61@B19) ที่ยังเหลือ upside ราว 22% ส่วนหุ้นโรงแรมที่มีธุรกิจอาหารก็เหลือ upside น้อยเช่นกัน มีเพียง MINT (FV’61@B50) ที่ยังมี upside 15% รวมทั้ง MAJOR (FV@B37) มี upside 17% ซึ่งหุ้นดังกล่าวน่าจะ outperform ได้จากมาตรการดังกล่าว
คาดเดือน พ.ย. แรงขายจากต่างชาติมีจำกัด และมี LTF เริ่มกลับเข้ามาหนุนแทน
วานนี้ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์หยุดทำการ เนื่องจากเป็นวัน “Special Non-Working Day” ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 อีกราว 337 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 2 ประเทศคือ เกาหลีใต้ 337 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และอินโดนีเซีย 38 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติขายสุทธิคือ ไต้หวัน 26 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติยังคงขายสุทธิอีก 12 ล้านเหรียญ หรือ 400 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 827 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6)
ส่วนแนวโน้ม Fund Flow ในเดือน พ.ย. แม้จากสถิติในอดีตย้อนหลัง 10 ปี พบว่า ต่างชาติมักจะขายสุทธิเฉลี่ยหุ้นในเดือน พ.ย. มากที่สุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่นๆ กว่า 1.62 หมื่นล้านบาท (ขายสุทธิ 8 ใน 10 ปี) แต่ในปีนี้ ฝ่ายวิจัยฯคาดว่าแรงขายน่าจะไม่มากเหมือนในอดีต เนื่องจากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติรอบใหม่ที่เข้ามาซื้อ นับตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. 60 เป็นต้นมา ซื้อสะสมด้วยมูลค่าสูงสุดที่ 2.26 หมื่นล้านบาท (ณ 16 ต.ค. 60) แล้วมีการขายทำกำไรออกมาจนทำให้ยอดซื้อตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. ถึงปัจจุบัน เหลือเพียง 7.03 พันล้านบาท และเมื่อนับสะสมจากต้นปี 2560 ถึงปัจจุบันมียอดซื้อสะสมเพียง 2.36 พันล้านบาทเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ทำให้คาดว่าแรงขายต่างชาติน่าจะเบาบางในเดือน พ.ย. และยิ่งน้อยลงในเดือน ธ.ค. เนื่องจากเป็นช่วงหยุดยาวของทุกปี แต่เชื่อว่าแรงซื้อของ LTF น่าจะช่วยพยุงตลาดได้ในช่วงที่เหลือของปีแทน (ดังหัวข้อถัดไป)
วานนี้ตลาดหุ้นฟิลิปปินส์หยุดทำการ เนื่องจากเป็นวัน “Special Non-Working Day” ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่าต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 2 อีกราว 337 ล้านเหรียญ โดยเป็นการซื้อสุทธิอยู่ 2 ประเทศคือ เกาหลีใต้ 337 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และอินโดนีเซีย 38 ล้านเหรียญ ส่วนที่เหลืออีก 2 ประเทศต่างชาติขายสุทธิคือ ไต้หวัน 26 ล้านเหรียญ และไทยที่ต่างชาติยังคงขายสุทธิอีก 12 ล้านเหรียญ หรือ 400 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิ 827 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6)
ส่วนแนวโน้ม Fund Flow ในเดือน พ.ย. แม้จากสถิติในอดีตย้อนหลัง 10 ปี พบว่า ต่างชาติมักจะขายสุทธิเฉลี่ยหุ้นในเดือน พ.ย. มากที่สุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่นๆ กว่า 1.62 หมื่นล้านบาท (ขายสุทธิ 8 ใน 10 ปี) แต่ในปีนี้ ฝ่ายวิจัยฯคาดว่าแรงขายน่าจะไม่มากเหมือนในอดีต เนื่องจากแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติรอบใหม่ที่เข้ามาซื้อ นับตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. 60 เป็นต้นมา ซื้อสะสมด้วยมูลค่าสูงสุดที่ 2.26 หมื่นล้านบาท (ณ 16 ต.ค. 60) แล้วมีการขายทำกำไรออกมาจนทำให้ยอดซื้อตั้งแต่วันที่ 29 ส.ค. ถึงปัจจุบัน เหลือเพียง 7.03 พันล้านบาท และเมื่อนับสะสมจากต้นปี 2560 ถึงปัจจุบันมียอดซื้อสะสมเพียง 2.36 พันล้านบาทเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ทำให้คาดว่าแรงขายต่างชาติน่าจะเบาบางในเดือน พ.ย. และยิ่งน้อยลงในเดือน ธ.ค. เนื่องจากเป็นช่วงหยุดยาวของทุกปี แต่เชื่อว่าแรงซื้อของ LTF น่าจะช่วยพยุงตลาดได้ในช่วงที่เหลือของปีแทน (ดังหัวข้อถัดไป)
เข้าสู่ฤดูกาลซื้อ LTF หนุนเม็ดเงินไหลเข้าตลาดหุ้น
ย่างเข้าสู่ 2 เดือนสุดท้ายของปี มักจะเป็นฤดูกาลของการซื้อกองทุนประหยัดภาษี LTF แม้ตามเกณฑ์ใหม่จะต้องลงทุนนานขึ้นจากเดิม 5 ปีปฏิทิน เป็น 7 ปีปฎิทิน แต่น่าจะมีผลกระทบน้อย สะท้อนจากปี 2559 พบว่า ในเดือน พ.ย. – ธ.ค. 2559 มียอดซื้อ LTF ราว 3.31 หมื่นล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 7.2% จาก 3.57 หมื่นล้านบาท ในช่วงเดียวกันของ ปี 2558 และหากแยกเป็นรายเดือน พบว่าแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันฯ จะกระจุกตัวในเดือน พ.ย. – ธ.ค. รวมกันกว่า 55-60% ของยอดซื้อ LTF ทั้งปี จึงเชื่อว่าแรงซื้อของ LTF น่าจะช่วยพยุงตลาดได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้
ทั้งนี้ จากการใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2559 พบว่า แรงซื้อ LTF เฉลี่ยในเดือน พ.ย. และ ธ.ค. คิดเป็นกว่า 11% และ 45% ของมูลค่าซื้อ LTF ทั้งหมด หรือคิดเป็นเม็ดเงินที่ซื้อ LTF เฉลี่ยในเดือน พ.ย. กว่า 5.5 พันล้านบาท ก่อนที่จะโถมเข้าซื้อในเดือน ธ.ค. เฉลี่ยถึง 2.34 หมื่นล้านบาท จากยอดซื้อเฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่า 5 หมื่นล้านบาท
สำหรับปีนี้ 6 เดือนแรก พบว่า กองทุน LTF จำนวน 77 กอง มีมูลค่าซื้อรวมกันราว 9.6 พันล้านบาท ซึ่งหากประเมินว่ายอดซื้อ LTF ในปีนี้ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว คือ 5.87 หมื่นล้านบาท ก็เชื่อว่าน่าจะมีเม็ดเงินไหลเข้าซื้อ LTF ในเดือน พ.ย. ถึง 6.45 พันล้านบาท และไหลเข้าในเดือน ธ.ค. กว่า 2.64 หมื่นล้านบาท
สถิติดังกล่าว สอดคล้องกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่มักเป็นผู้ซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยช่วงท้ายของปีเสมอ จากสถิติในช่วง 2553-59 นักลงทุนสถาบันฯ มีสถานะซื้อสุทธิในเดือน พ.ย. ถึง 6 ใน 7 ปี ด้วยมูลค่าเฉลี่ยกว่า 7.1 พันล้านบาท เช่นเดียวกับเดือน ธ.ค. ที่ซื้อสุทธิ 6 ใน 7 ปี เช่นกัน มูลค่าเฉลี่ยกว่า 1.15 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยได้คัดเลือกหุ้นที่กองทุนฯ มีโอกาสซื้อสะสมเข้าในพอร์ต โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
เป็นหุ้นใน SET100
ราคาหุ้นที่มีโอกาสสูงที่จะปรับขึ้นในเดือน พ.ย. – ธ.ค.
ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่าตลาด
ฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ
ได้รายชื่อหุ้นที่น่าสนใจดังภาพด้านล่าง คือ UNIQ (FV’61@B24), ROBINS (FV’61@B75) และ BDMS (FV’[email protected]) แนะนำ ซื้อสะสม ส่วน WORK (FV’61@B105) และ AOT (FV@B58) แนะนำให้ทยอยซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
ย่างเข้าสู่ 2 เดือนสุดท้ายของปี มักจะเป็นฤดูกาลของการซื้อกองทุนประหยัดภาษี LTF แม้ตามเกณฑ์ใหม่จะต้องลงทุนนานขึ้นจากเดิม 5 ปีปฏิทิน เป็น 7 ปีปฎิทิน แต่น่าจะมีผลกระทบน้อย สะท้อนจากปี 2559 พบว่า ในเดือน พ.ย. – ธ.ค. 2559 มียอดซื้อ LTF ราว 3.31 หมื่นล้านบาท ลดลงเล็กน้อย 7.2% จาก 3.57 หมื่นล้านบาท ในช่วงเดียวกันของ ปี 2558 และหากแยกเป็นรายเดือน พบว่าแรงซื้อของนักลงทุนสถาบันฯ จะกระจุกตัวในเดือน พ.ย. – ธ.ค. รวมกันกว่า 55-60% ของยอดซื้อ LTF ทั้งปี จึงเชื่อว่าแรงซื้อของ LTF น่าจะช่วยพยุงตลาดได้ในช่วงที่เหลือของปีนี้
ทั้งนี้ จากการใช้ข้อมูลตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2559 พบว่า แรงซื้อ LTF เฉลี่ยในเดือน พ.ย. และ ธ.ค. คิดเป็นกว่า 11% และ 45% ของมูลค่าซื้อ LTF ทั้งหมด หรือคิดเป็นเม็ดเงินที่ซื้อ LTF เฉลี่ยในเดือน พ.ย. กว่า 5.5 พันล้านบาท ก่อนที่จะโถมเข้าซื้อในเดือน ธ.ค. เฉลี่ยถึง 2.34 หมื่นล้านบาท จากยอดซื้อเฉลี่ยทั้งปีไม่น้อยกว่า 5 หมื่นล้านบาท
สำหรับปีนี้ 6 เดือนแรก พบว่า กองทุน LTF จำนวน 77 กอง มีมูลค่าซื้อรวมกันราว 9.6 พันล้านบาท ซึ่งหากประเมินว่ายอดซื้อ LTF ในปีนี้ใกล้เคียงกับปีที่แล้ว คือ 5.87 หมื่นล้านบาท ก็เชื่อว่าน่าจะมีเม็ดเงินไหลเข้าซื้อ LTF ในเดือน พ.ย. ถึง 6.45 พันล้านบาท และไหลเข้าในเดือน ธ.ค. กว่า 2.64 หมื่นล้านบาท
สถิติดังกล่าว สอดคล้องกับนักลงทุนสถาบันในประเทศที่มักเป็นผู้ซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยช่วงท้ายของปีเสมอ จากสถิติในช่วง 2553-59 นักลงทุนสถาบันฯ มีสถานะซื้อสุทธิในเดือน พ.ย. ถึง 6 ใน 7 ปี ด้วยมูลค่าเฉลี่ยกว่า 7.1 พันล้านบาท เช่นเดียวกับเดือน ธ.ค. ที่ซื้อสุทธิ 6 ใน 7 ปี เช่นกัน มูลค่าเฉลี่ยกว่า 1.15 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยได้คัดเลือกหุ้นที่กองทุนฯ มีโอกาสซื้อสะสมเข้าในพอร์ต โดยมีหลักเกณฑ์ดังนี้
เป็นหุ้นใน SET100
ราคาหุ้นที่มีโอกาสสูงที่จะปรับขึ้นในเดือน พ.ย. – ธ.ค.
ให้ผลตอบแทนเฉลี่ยมากกว่าตลาด
ฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ
ได้รายชื่อหุ้นที่น่าสนใจดังภาพด้านล่าง คือ UNIQ (FV’61@B24), ROBINS (FV’61@B75) และ BDMS (FV’[email protected]) แนะนำ ซื้อสะสม ส่วน WORK (FV’61@B105) และ AOT (FV@B58) แนะนำให้ทยอยซื้อเมื่อราคาอ่อนตัว
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
OO1779